TY - JOUR AU - เรืองวิชาธร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุมพิตา PY - 2022/06/27 Y2 - 2024/03/28 TI - กฎหมายสัญญาของประเทศไทย: ข้อเสนอสำหรับการปฎิรูปกฎหมายซื้อขายโดยการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายสัญญาของประเทศญี่ปุ่น และ CISG JF - นิตยสารบทบัณฑิตย์ JA - Bot Bundit VL - 78 IS - 2 SE - บทความ DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/259619 SP - 73 - 93 AB - <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในปัจจุบัน ประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับกับการซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ในประเทศ (Domestic Commercial Sales) และการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (International Sales) ส่งผลให้เกิดข้อขัดข้องในทางกฎหมายหลายประการ บทบัญญัติในเรื่องซื้อขายที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยเป็นกฎหมายเพียงชุดเดียวที่ใช้บังคับมาโดยตลอด ไม่ว่าสำหรับการซื้อขายประเภทใด ทั้ง ๆ ที่การซื้อขายแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน โดยที่ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นมีความใกล้ชิดและคล้ายคลึงกันในด้านการพัฒนาระบบกฎหมายหลายประการ อาทิ การรับเอาอิทธิพลของระบบกฎหมายภาคพื้นยุโรป (Civil Law System) มาพัฒนาเป็นระบบกฎหมายของตนและการที่ประเทศไทยรับเอาประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๐๕ มาเป็นแม่แบบหนึ่งในการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยในอดีต ดังนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีนัยสำคัญต่อประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น ย่อมมีความสำคัญต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยด้วยเช่นกัน</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อนึ่ง ประเทศญี่ปุ่นมีความแตกต่างไปจากประเทศไทย กล่าวคือ ประเทศญี่ปุ่นได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วย สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักแพร่หลายในชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “CISG” หรือ “the 1980 Vienna Sales Convention” ที่ถูกออกแบบขึ้น เพื่อให้มีบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะในปัจจุบันถือได้ว่า CISG เป็นกฎหมายระหว่างประเทศฉบับหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกเรื่อยมาและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับจนถึงขณะนี้ รวม ๙๔ ประเทศทั่วโลก</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลังจากที่ไม่เคยได้รับการแก้ไขครั้งใหญ่ใด ๆ มาก่อนในรอบ ๑๒๐ ปีที่ผ่านมา ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่นเพิ่งได้รับการแก้ไขครั้งใหญ่และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา บทความวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา (๑) ความสำคัญของประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น ในส่วนที่ถูกแก้ไขเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายสัญญาของไทยในประเด็นซื้อขาย (๒) ความสำคัญของ CISG เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายซื้อขายของไทย (๓) ความสำคัญในการพัฒนากฎหมายสัญญาของไทยในประเด็นซื้อขาย โดยใช้ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่นในส่วนที่ถูกแก้ไขและ CISG เป็นแนวทาง อย่างไรก็ตามบทความวิจัยฉบับนี้ศึกษาเฉพาะบางประเด็นที่ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่นถูกแก้ไขเท่านั้น</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความวิจัยฉบับนี้จะเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญในการพัฒนากฎหมายซื้อขายของไทย เนื่องจาก มีการหยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่นในส่วนที่ถูกแก้ไขและ CISG ขึ้นมาเป็นแนวทาง และเสนอให้มีการพัฒนากฎหมายซื้อขายไทย ด้วยวิธีการที่พิจารณาแล้วว่าเหมาะสม กล่าวคือ (๑) แยกการซื้อขายทางพาณิชย์และการซื้อขายทางแพ่งออกจากกัน (๒) การตรากฎหมายใหม่ที่ใช้บังคับเฉพาะกับการซื้อขายทางพาณิชย์ในประเทศ (๓) การเข้าเป็นภาคีสมาชิกของ CISG และออกกฎหมายอนุวัติการเพื่อให้มีกฎหมายฉบับใหม่ที่ใช้บังคับกับการซื้อขาย สินค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะ</p> ER -