TY - JOUR AU - อรรถพิมล, ดร.โชติกา AU - อรรถพิมล, ดร.สมบัติ PY - 2022/06/27 Y2 - 2024/03/29 TI - สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนกับความเป็นอิสระในการสั่งคดีของพนักงานอัยการและผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา JF - นิตยสารบทบัณฑิตย์ JA - Bot Bundit VL - 78 IS - 2 SE - บทความ DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/259620 SP - 94 - 109 AB - <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนกับความเป็นอิสระในการสั่งคดีของพนักงานอัยการและผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รัฐธรรมนูญรับรองให้พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้พนักงานอัยการแจ้งคำสั่งให้ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบ และผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอต่อพนักงานอัยการเพื่อขอทราบสรุปพยานหลักฐานในสำนวนพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสั่งคดี นอกจากนี้ บุคคลดังกล่าวอ้างสิทธิตามกฎหมายพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ขอทราบคำให้การพยานบุคคลในสำนวนการสอบสวนและความเห็นตาม ขั้นตอนการสั่งคดีของพนักงานอัยการตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา (อก.๔) ด้วย เมื่อถูกปฏิเสธจะเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิเคราะห์พบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีกระบวนการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการไว้เป็นขั้นเป็นตอน จำแนกเป็นคำสั่งในกรุงเทพมหานครและในจังหวัดอื่น หากมีการแย้งคำสั่งให้เสนออัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาด รวมทั้งให้สิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีเองได้ด้วย ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การอ้างสิทธิตามกฎหมายพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการอาจทำให้ล่วงรู้ว่าพยานคนใดให้การเป็นผลร้ายและนำไปสู่กรณีพิพาทกันขึ้นได้ เป็นการก้าวล่วงความเป็นอิสระของพนักงานอัยการในการพิจารณาสั่งคดีตามรัฐธรรมนูญตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ทั้งไม่มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้านสาขากระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นการเฉพาะ และศาลที่มีอำนาจพิจารณาเรื่องนี้ควรเป็นศาลยุติธรรมไม่ใช่ศาลปกครอง</p> ER -