https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/issue/feed นิตยสารบทบัณฑิตย์ 2024-03-29T12:19:14+07:00 ดร.สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์ [email protected] Open Journal Systems <p><strong>นิตยสารบทบัณฑิตย์</strong></p> <p><strong>ISSN :</strong> <u>0857-2992</u></p> <p><strong>กำหนดออก </strong><strong>: </strong>ออกเผยแพร่ปีละ 4 ตอน ตอน 1 ประจำเดือนมกราคม - มีนาคม ตอน 2 ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน ตอน 3 ประจำเดือนกรกฎาคม - กันยายน และตอน 4 ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม</p> <p>นิตยสารบทบัณฑิตย์มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัยและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดความรู้ทางวิชาการแก่สังคมทั่วไปและเพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้าและการอ้างอิง</p> <p>กองบรรณาธิการนิตยสารบทบัณฑิตย์ยินดีรับบทความวิชาการ บทความวิจัยฎีกาวิเคราะห์ ปกิณกะกฎหมาย บทวิจารณ์หนังสือและบทความปริทัศน์ ซึ่งจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน พิจารณาและประเมินบทความทุกเรื่องอย่างเป็นธรรมด้วยกระบวนการที่เป็นอิสระและเชื่อถือได้ของกองบรรณาธิการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน</p> <p>กองบรรณาธิการจะเก็บรักษาความลับเกี่ยวกับบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาลงตีพิมพ์ในบทบัณฑิตย์ รวมทั้งกำกับให้การพิจารณาประเมินคุณภาพบทความเป็นไปตามรูปแบบที่ <strong>ผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ และผู้ประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้เขียนบทความ (Double-blinded review)</strong> และรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาให้ปราศจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการส่งบทความ : </strong>ปัจจุบันนิตยสารบทบัณฑิตย์ <strong>ไม่มีนโยบายในการเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งบทความ </strong>กับผู้เขียนบทความ เพื่อตีพิมพ์ในนิตยสารบทบัณฑิตย์ โปรดระวังมีบุคคลแอบอ้างเรียกเก็บเงิน ซึ่งทางนิตยสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ขอรับผิดชอบโดยประการทั้งปวง</p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/270707 บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2565 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2566 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2566 (ประชุมใหญ่) 2024-02-14T13:22:18+07:00 ศาสตราจารย์พิเศษไพโรจน์ วายุภาพ [email protected] <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักกฎหมายตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2565 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2566 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2566 (ประชุมใหญ่)</p> <p> ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2565 ศาลได้หยิบยกประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลและอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยในกรณีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมแล้วฟ้องคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีใหม่ ซึ่งผู้เขียนมีข้อสังเกตในรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับบทกฎหมายในคดีดังกล่าว</p> <p> ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2566 ศาลได้วินิจฉัยในประเด็นฟ้องซ้อน โดยศาลเห็นว่ากรณีที่โจทก์ในคดีก่อนและคดีหลังต่างฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อขอแบ่งทรัพย์มรดก แต่ทรัพย์ที่ขอแบ่งในแต่ละคดีเป็นคนละทรัพย์สินกันนั้นจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ผู้เขียนได้นำประเด็นตามคำพิพากษาศาลฎีกามาตั้งเป็นข้อสังเกตเพื่อวิเคราะห์และศึกษามาตรา 173 วรรคสอง (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันและศาลอื่น</p> <p> คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2566 (ประชุมใหญ่) วินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา ตามมาตรา 44/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งกำหนดว่าในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี มาตรา 44/1 ไม่ได้กำหนดขอบเขตของคำร้องที่เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายว่าต้องเป็นคำร้องตามฐานความผิดที่พนักงานอัยการขอให้ลงโทษจำเลยด้วยหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ศาลได้วางหลักไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2566 (ประชุมใหญ่) สอดคล้องกับหลักการตีความตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และน่าจะเป็นคำพิพากษาหนึ่งที่นักกฎหมายนำมาเป็นแนววินิจฉัยต่อไปได้</p> 2024-03-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/270687 หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกา เรื่อง อำนาจฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ 2024-03-06T10:06:06+07:00 รวินท์ ชัยภิวัตรภักดี [email protected] <p> ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 กำหนดให้พนักงานอัยการและผู้เสียหายมีอำนาจในการฟ้องคดีจำเลยหรือผู้กระทำความผิดได้ และมาตรา 120 ยังได้กำหนดเงื่อนไขในการฟ้องคดีของพนักงานอัยการว่าจะต้องผ่านการสอบสวนของพนักงานสอบสวนมาแล้ว หากไม่มีการสอบสวนมาก่อนพนักงานอัยการจะฟ้องคดีอาญาไม่ได้ ดังนั้น ในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั้น การพิจารณาว่าคดีดังกล่าวผ่านการสอบสวนมาก่อนแล้วหรือไม่จึงเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี</p> 2024-03-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/271546 บก.บอกกล่าว 2024-03-27T10:37:25+07:00 ดร.สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์ [email protected] 2024-03-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/266516 มาตรการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ P2P Lending ในประเทศไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีน 2023-08-28T13:40:59+07:00 สิทธิภาคย์ ภูริสินสิทธิ์ [email protected] <p> ในปัจจุบัน แนวคิดเรื่องส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises หรือ SMEs) เป็นสิ่งที่ภาครัฐในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย เน้นว่าจำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ เนื่องจาก SMEs เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่อุปสรรคสำคัญของ SMEs คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน</p> <p> ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยผ่านสถาบันการเงินซึ่งเป็นตัวกลางทางการเงิน (Indirect Financing) หรือช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยผ่านตลาดทุน (Direct Financing) รวมไปถึงช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยผ่านผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) เช่น ผู้ให้บริการบัตรเครดิต ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับหรือผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพสำหรับบุคคลรายย่อย (นาโนไฟแนนซ์) อาจไม่เพียงพอต่อจำนวนของผู้ประกอบการ SMEs อันเห็นได้จากข้อมูล ณ ปี 2565 ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่พบว่าผู้ประกอบการ SMEs มากกว่าร้อยละ 60 ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้</p> <p> ดังนั้น หลายประเทศจึงให้ความสำคัญต่อการนำเทคโนโลยีทางการเงินที่เรียกว่า Loan–based Crowdfunding หรือ Peer to Peer Lending (P2P Lending) มาใช้ในการพัฒนาช่องทางการจัดหาแหล่งเงินทุนจากคนจำนวนมากให้กับผู้ที่ต้องการใช้เงินผ่านตัวกลางที่เป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งทั้งสามประเทศมีการประกอบธุรกิจ P2P Lending มาอย่างยาวนาน มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ P2P Lending ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการรับทราบปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ P2P Lending อยู่เสมอ</p> <p> ขณะที่ประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยอาศัยอำนาจประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล) ได้ทำการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.14/2563 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (peer to peer lending platform) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 โดยเป็นประกาศที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน</p> <p> ทั้งนี้ จากการศึกษาของผู้เขียน พบว่า หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ P2P Lending และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ยังคงมีหลายประเด็นที่เป็นปัญหาและอุปสรรค เช่น ปัญหาเกี่ยวกับองค์กรในการกำกับดูแลและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ P2P Lending ปัญหาเกี่ยวกับความหลากหลายของประเภทสินเชื่อ ปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุนใน P2P Lending Platform ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และปัญหาเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมายของธุรกิจ P2P Lending</p> <p> ในประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับการกำกับดูแลและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ P2P Lending ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมทั้งได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงและแก้ไขหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ P2P Lending ในประเทศไทย เพื่อทำให้การประกอบธุรกิจ P2P Lending ในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย สามารถช่วยประชาชนและภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ลดการเกิดหนี้นอกระบบ รวมทั้งทำให้การกำกับดูแลธุรกิจ P2P Lending และการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> 2024-03-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/266466 อำนาจฟ้องในคดีสิ่งแวดล้อมในศาลยุติธรรม 2023-07-10T14:34:49+07:00 สุภาพร เสือประสงค์ [email protected] <p> อำนาจฟ้องในคดีสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมของไทยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอำนาจฟ้องและรูปแบบการฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมของไทยและต่างประเทศ เพื่อเสนอหลักเกณฑ์อำนาจฟ้องและรูปแบบกระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมในศาลยุติธรรมของไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนทางสิ่งแวดล้อมที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติได้รับการยอมรับจากองค์กรระหว่างประเทศในหลาย ประเทศ ประชาชนทั่วไปสามารถฟ้องคดีได้ในลักษณะเปิด (open standing) โดยหลักการฟ้องคดีโดยประชาชนและในประเทศสหรัฐอเมริกายังขยายอำนาจฟ้องไปยังสัตว์ป่าในสถานะเป็นโจทก์ที่เป็นผู้เสียหายในคดี โดยให้มนุษย์มีหน้าที่ใช้สิทธิในการฟ้องร้องคดีอาญาแทนสัตว์ป่าเหล่านั้น เพื่อสร้างกลไกและรูปแบบด้านกฎหมายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมได้โดยง่ายและเพื่อปกป้องและคุ้มครองระบบนิเวศตามธรรมชาติไว้ให้ชนรุ่นหลัง การสร้างกลไกหรือเครื่องมือทางกฎหมายในการปกป้องและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในศาลยุติธรรมของไทยโดยหลักนิติรัฐ จึงควรขยายอำนาจฟ้องไปยังประชาชนโดยใช้หลักการฟ้องคดีแทนประชาชน (class action) และหลักการฟ้องคดีโดยประชาชน (citizen suit) ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบกระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมในศาลยุติธรรม ดังนี้ 1. ควรกำหนดให้มีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม 2. บัญญัตินิยามผู้มีอำนาจฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน 3. จัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมเป็นศาลชำนัญพิเศษในศาลยุติธรรม 4.จัดให้มีหน่วยงานในการระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมก่อนนำคดีมาฟ้องศาล เพื่อพัฒนาระบบการบังคับใช้กฎหมาย การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและการระงับข้อพิพาทอย่างสันติวิธีเพื่อช่วยเยียวยาผู้เสียหายและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p> 2024-03-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/262535 ปัญหาทางกฎหมายในการกำกับดูแลงานแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านระบบ Over the Top 2023-05-08T09:12:47+07:00 ชลธิชา นวลศรี [email protected] ดร.วรรณวิภา พัวศิริ [email protected] <p> ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก เช่น การรับชมโทรทัศน์ในรูปแบบการรับชมการแพร่ภาพและเสียงได้ตามเวลาที่ต้องการ (Video On Demand) ผ่านโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ หรือเรียกว่าการให้บริการแบบ Over the Top (OTT) การเติบโตอย่างรวดเร็วของบริการดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์และปัญหาด้านอื่น ๆ แต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองงานแพร่เสียงแพร่ภาพในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 นั้น ได้รับการแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาความล้าสมัยของตัวบทกฎหมายที่ไม่สามารถมารองรับเทคโนโลยีการแพร่เสียงแพร่ภาพได้ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการศึกษาก็เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อเป็นหลักการในการกําหนดมาตรการควบคุมกํากับดูแลการให้บริการลักษณะ OTT ในประเทศไทยได้อย่างชัดเจน</p> <p> จากการศึกษาปัญหาทางกฎหมายและการกํากับดูแลงานแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านระบบ Over the Top พบว่า แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้ามากขึ้น แต่บทกฎหมายหรือข้อบังคับในปัจจุบันยังมิได้รับการแก้ไขและยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ รวมทั้งยังไม่มีองค์กรที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ มีแต่การใช้กฎหมายใกล้เคียงหรือองค์กรที่มีอำนาจใกล้เคียงมาดูแลโดยอนุโลม ทำให้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหรือเยียวยาผู้เสียหายจากการกระทำผิดในกรณีนี้ได้อย่างครบถ้วน</p> <p> ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่า ควรแก้ไขกฎหมายให้ครอบคลุมถึงการให้บริการในระบบ OTT ในทุกด้าน อีกทั้งควรมีการจัดตั้งให้สำนักงาน กสทช. กํากับดูแลก่อนที่จะมีการจัดตั้งองค์กรที่จะเข้ามากํากับดูแลการให้บริการโดยตรง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในระยะเริ่มต้นของการให้บริการ OTT ของประเทศไทย โดยกำกับดูแลในเรื่องการให้ใบอนุญาต หลักความเป็นกลาง (Net Neutrality) และทางด้านเนื้อหา เป็นต้น โดยศึกษาจากกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติที่ใกล้เคียงของต่างประเทศและสภาพปัญหาของประเทศไทยควบคู่กันไป</p> 2024-03-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/270936 กรอบการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยของศาลสูง : มุมมองจากประเทศสหรัฐอเมริกา 2024-02-28T13:30:16+07:00 สิตานันท์ ศรีวรกร [email protected] <p> ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 บัญญัติว่า “คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น” เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองจำเลยไม่ให้ต้องรับโทษหนักขึ้นถ้าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย อย่างไรก็ดี การแปลความบทบัญญัติดังกล่าวในบริบทของกระบวนพิจารณาคดีอาญาในประเทศไทยเป็นไปตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งในบางกรณีแม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้อง เช่น การบวกโทษที่รอ หรือแม้โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในอุทธรณ์หรือฎีกา เช่น การนับโทษต่อ หากศาลชั้นต้นพิพากษาโดยผิดหลงและความปรากฏต่อศาลสูง ศาลสูงก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอจะกล่าวถึงกรอบการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยของศาลสูงในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนำมาเทียบเคียงกับกรณีคำวินิจฉัยของศาลไทย</p> 2024-03-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา