นิตยสารบทบัณฑิตย์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit
<p><strong>นิตยสารบทบัณฑิตย์</strong></p> <p><strong>ISSN :</strong> <u>0857-2992</u></p> <p><strong>กำหนดออก </strong><strong>: </strong>ออกเผยแพร่ปีละ 4 ตอน ตอน 1 ประจำเดือนมกราคม - มีนาคม ตอน 2 ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน ตอน 3 ประจำเดือนกรกฎาคม - กันยายน และตอน 4 ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม</p> <p>นิตยสารบทบัณฑิตย์มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัยและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดความรู้ทางวิชาการแก่สังคมทั่วไปและเพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้าและการอ้างอิง</p> <p>กองบรรณาธิการนิตยสารบทบัณฑิตย์ยินดีรับบทความวิชาการ บทความวิจัยฎีกาวิเคราะห์ ปกิณกะกฎหมาย บทวิจารณ์หนังสือและบทความปริทัศน์ ซึ่งจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน พิจารณาและประเมินบทความทุกเรื่องอย่างเป็นธรรมด้วยกระบวนการที่เป็นอิสระและเชื่อถือได้ของกองบรรณาธิการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน</p> <p>กองบรรณาธิการจะเก็บรักษาความลับเกี่ยวกับบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาลงตีพิมพ์ในบทบัณฑิตย์ รวมทั้งกำกับให้การพิจารณาประเมินคุณภาพบทความเป็นไปตามรูปแบบที่ <strong>ผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ และผู้ประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้เขียนบทความ (Double-blinded review)</strong> และรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาให้ปราศจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการส่งบทความ : </strong>ปัจจุบันนิตยสารบทบัณฑิตย์ <strong>ไม่มีนโยบายในการเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งบทความ </strong>กับผู้เขียนบทความ เพื่อตีพิมพ์ในนิตยสารบทบัณฑิตย์ โปรดระวังมีบุคคลแอบอ้างเรียกเก็บเงิน ซึ่งทางนิตยสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ขอรับผิดชอบโดยประการทั้งปวง</p>
เนติบัณฑิตยสภา (The Thai Bar)
th-TH
นิตยสารบทบัณฑิตย์
0857-2992
-
บก.บอกกล่าว
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/275331
ดร.สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์
Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-24
2024-09-24
80 3
-
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับวัตถุแห่งคดีในการให้สิทธิบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 213
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/269530
<p> ระบบการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญเป็นกลไกในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ถูกกระทำละเมิดให้เป็นไปตามหลักประกันความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โดยบุคคลซึ่งถูกกระทำละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันเกิดจากการกระทำของรัฐสามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อพิจารณาวัตถุแห่งคดีในการใช้สิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดข้อจำกัดขอบเขตวัตถุแห่งคดีในการใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหลายประการ ประกอบกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายมีความไม่ชัดเจน จึงอาจนำมาซึ่งปัญหาในการบังคับใช้ การตีความกฎหมายอันอาจส่งผลกระทบต่อหลักประกันการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และการใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ</p> <p> บทความฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับวัตถุแห่งคดีในการให้สิทธิบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 213 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 โดยศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับวัตถุแห่งคดีในการให้สิทธิบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุแห่งคดีในการให้สิทธิบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต่อไป</p>
สถิตพร เรืองจันทร์
ดร.ดลนภา นันทวโรไพร
Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-24
2024-09-24
80 3
11
44
-
ศึกษาเปรียบเทียบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการป้องกันอาชญากรรมระหว่างต่างประเทศและประเทศไทย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/273310
<p> ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คนมากมาย แต่ยังสร้างความตระหนกด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการเติบโตของอาชญากรรมไซเบอร์ เพราะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะทำให้อาชญากรรมมีความซับซ้อนและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกันด้านการป้องกันอาชญากรรม หน่วยงานด้านป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั่วโลกก็เห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยี มาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมเช่นกัน โดยในต่างประเทศได้มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลอาชญากรรม ซึ่งเป็นฐานข้อมูลอาชญากรรมขนาดใหญ่ มีเป้าหมายในการลดอัตราการเกิดอาชญากรรมโดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาแนวโน้มการก่อเหตุที่จะเกิดขึ้น และมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของตำรวจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับประเทศไทยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการป้องกันอาชญากรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้มากขึ้น แต่ยังอยู่ในระยะทดลองเท่านั้น รวมถึงยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนในการกำกับดูแลเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์</p> <p> ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า การศึกษาเปรียบเทียบกรณีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของต่างประเทศกับประเทศไทยในการป้องกันอาชญากรรม รวมถึงเปรียบเทียบด้านการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด จะทำให้หน่วยงานด้านการป้องปรามอาชญากรรม มีแนวทางในการพัฒนาหรือเลือกสรรเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อป้องกันอาชญากรรมได้</p>
กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา
Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-24
2024-09-24
80 3
45
83
-
ปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มคดีประเภทฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิในศาลปกครองไทย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/270265
<p> ปัจจุบันคดีปกครองไทยมุ่งตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย แต่ขาดมิติและประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลอย่างรอบด้าน บทความนี้จึงมุ่งศึกษาการฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิซึ่งเป็นคดีประเภทหนึ่งของคดีปกครองเยอรมันที่บัญญัติไว้อย่างเป็นระบบ โดยถือเป็นหลักประกันขั้นต่ำในการเข้าถึงการคุ้มครองทางศาลของบุคคล จึงนำมาสู่การศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มประเภทคดีฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิในศาลปกครองไทย</p> <p> จากการศึกษาพบว่าอาจนำคดีการฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิมาบัญญัติใช้ในคดีปกครองไทยได้ โดยนำมาใช้ในลักษณะที่เป็นคดีระบบสำรองซึ่งไม่ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมแต่อย่างใด เนื่องจากภารกิจของศาลปกครองที่ไม่ใช่เพียงแต่มุ่งตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายแต่ยังต้องมุ่งคุ้มครองสิทธิของบุคคลด้วย และมีร่องรอยคดีฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิในคดีปกครองไทยอยู่แล้วตั้งแต่มีการจัดตั้งศาลปกครอง แต่การนำมาใช้อย่างเป็นระบบแบบประเทศเยอรมนีจะต้องมีการบัญญัติคดีประเภทฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับตัวผู้มีสิทธิฟ้องคดี ระยะเวลาการฟ้องคดี คำขอบังคับและการเป็นคดีประเภทสำรอง ซึ่งล้วนแต่ยังไม่ได้มีการบัญญัติกรณีดังกล่าวในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่อย่างใด</p> <p> คดีปกครองไทยยังขาดกลไกในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลบางประการ การนำคำฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิมาใช้อย่างเป็นระบบในคดีปกครองไทยจะช่วยเพิ่มมิติและประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลและรับรองการใช้สิทธิของบุคคลทางศาลในฐานะเป็นหลักประกันขั้นต่ำได้ จึงควรบัญญัติคดีประเภทฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิเข้าในคดีปกครองไทย</p>
ธีรภัทร เฟื่องวณิชศาสตร์
Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-24
2024-09-24
80 3
84
121
-
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อคุ้มครองนักเรียนจากการกลั่นแกล้ง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/272682
<p> การศึกษาการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อคุ้มครองนักเรียนจากการกลั่นแกล้งตามงานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อคุ้มครองนักเรียนจากการกลั่นแกล้งในประเทศไทย โดยวิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจดังกล่าวในต่างประเทศและประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาแนวคิด ทฤษฎีทางกฎหมาย จากเอกสารวิชาการต่าง ๆ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาทางกฎหมายพร้อมเสนอมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน</p> <p> จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อคุ้มครองนักเรียนจากการกลั่นแกล้งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ส่วนกฎหมายไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตการใช้อำนาจของครูและบุคลากร ทางการศึกษาซึ่งเกิดจากความหมายของ “การกลั่นแกล้ง” ที่ไม่ชัดเจนและครอบคลุมปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีดังกล่าวจากข้อจำกัดการลงโทษและดุลพินิจในการลงโทษที่ไม่เหมาะสม และปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการใช้อำนาจของ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีดังกล่าวจากการไม่ปรากฏกระบวนการสอบสวนนักเรียนที่เป็นผู้กลั่นแกล้งก่อนการลงโทษและหลักเกณฑ์คุ้มครองนักเรียนที่ถูกกลั่นแกล้งในเบื้่องต้นก่อนการลงโทษ รวมทั้งความไม่ชัดเจนในการกำกับดูแลการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีดังกล่าวด้วยการดำเนินการทางวินัย</p>
ชนินทร์ ธนาสุนทรารัตน์
ดร.ดลนภา นันทวโรไพร
Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-24
2024-09-24
80 3
122
162
-
บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2566 ที่ 2354/2566 ที่ 3643/2566 และที่ 3098/2566
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/274762
<p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักกฎหมายตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2566 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2566 และประมวลกฎหมายอาญาที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2566 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2566</p> <p> ระหว่างพิจารณาโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1 เพื่อระงับข้อพิพาท กรณีนี้จะทำให้หนี้กู้ยืมเดิมระงับไปหรือไม่ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ค้ำประกันจะยกเหตุการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ให้ตนไม่ต้องรับผิดได้หรือไม่ อย่างไร ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการปรับบทประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในประเด็นนี้ตามคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2566</p> <p> คดีเดิม ศาลยกฟ้องโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเกินหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ต่อมา โจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวโดยบอกกล่าวไปจำเลยและยื่นฟ้องจำเลยเข้ามาเป็นคดีใหม่อีก ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีหลังจะเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 หรือไม่ อย่างไร ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการเหตุผลตามคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2566</p> <p> คำว่า “วัตถุใด ๆ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 วรรคหนึ่ง จะมีความหมายถึงเพียงว่าวัตถุที่ถูกกระทำให้เกิดเพลิงไหม้นั้นจะต้องเป็นของผู้กระทำให้เกิดเพลิงไหม้เท่านั้นหรือไม่ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยและผู้เขียนได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำวินิจฉัยดังกล่าวในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2566</p> <p> การที่พนักงานสอบสวนมีคำสั่งให้จำเลยในฐานะผู้ต้องหาในความผิดลหุโทษพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากรรม แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 หรือไม่ ผู้เขียนมีข้อสังเกตเป็นความเห็นที่แตกต่างจากคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2566</p>
ศาสตราจารย์พิเศษไพโรจน์ วายุภาพ
Copyright (c) 2024 เนติบัณฑิตยสภา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-24
2024-09-24
80 3
1
10