TY - JOUR AU - มาตชรา, ธนัฐ PY - 2022/06/20 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24: THE RESULTS OF USING THE MODEL OF TEACHER COMPETENCY DEVELOPMENT IN EDUCATIONAL INSTITUTIONS BY USING THE PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY UNDER THE OFFICE OF SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA, DISTRICT 24 JF - ศึกษาศาสตร์ มมร JA - MBU.EDU.J VL - 10 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/255210 SP - 173-189 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อสมรรถนะครูที่จำเป็นในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ประเมินสมรรถนะครูของตนเองตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ3) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นและประเมินสมรรถนะครูของตนเองจาก ครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์ จำนวน 17 คน และตรวจสอบแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินสมรรถนะครูของตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติที  </p><p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p><p>1) ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อสมรรถนะครูที่จำเป็นในสถานศึกษา พบว่าครูผู้สอนทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นใกล้เคียงกันและสอดคล้องกัน จำนวน 10 สมรรถนะ</p><p>2) ผลการประเมินสมรรถนะครูของตนเองตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาพบว่า ครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีสมรรถนะหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p><p>3) ผลการเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา พบว่า มีรายการปฏิบัติ 3</p><p>รายการดังนี้ 1) ควรจัดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะครูอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่องเป็นระยะทุก 1 ปี โดยยึดแนวทางการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยและกรณีตัวอย่างของความร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครู 3) ควรมีการจัดให้มีการพัฒนาสมรรถนะครูด้วยการเสริมสร้างสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง </p><p>The purposes of the research were to 1) to study the teachers' opinions on teacher competency in schools using professional learning communities; 2) to assess their teacher competency according to the model of teacher competency development in schools. And 3) propose guidelines for developing teacher competency in schools by using professional learning communities. Data were collected, opinions, and self-assessment of teachers' competence from 17 teachers at PhuhangPattanawit Secondary School, and examined guidelines for developing teacher competency in schools by using professional learning communities by experts and experts. From 80 stakeholders, the research instruments were questionnaires and self-efficacy assessment forms. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation and test hypotheses with t-test (Dependent).</p><p>The results of the research were as follows:</p><p>1) The Office of the Basic Education Commission should provide a curriculum</p><p>for development; The competence of teachers continuously and continuously every 1 year, based on the guidelines for the joint operation between the educational institutions and the Secondary Education Service Area Office.</p><p>2) There should be promotion and support for research studies and case studies of cooperation with educational institutions.</p><p>3) Teacher competency development should be established by enhancing teacher competency in schools by using a professional learning community that must be continuously implemented.</p> ER -