https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/issue/feed
ศึกษาศาสตร์ มมร
2025-02-06T17:07:49+07:00
กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ มมร
journal.edu@mbu.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารศึกษาศาสตร์ มมร</strong></p> <p><strong>ISSN </strong>: 3056-9850 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออก : </strong>2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong> : วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านการศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ คณาจารณ์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งภายในและภายนอก เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนทัศนะและข้อคิดเห็นทางด้านการศึกษา</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong> : บทความทุบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong> : ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong> : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย</p>
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/263519
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3
2023-03-31T13:02:37+07:00
อรวดี ศรีชาย
xrwdisrichay@gmail.com
<p>สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 4) เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ประชากร ได้แก่ ครูและบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 1,971 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง Krejcic and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Peason’s Product Moment Correlation Coefficient)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong><strong> </strong></p> <p>1.ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 <em> มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ </em>ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการนิเทศการศึกษา</p> <p>2.ระดับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3<em> มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ </em>ด้านมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ รองลงมาคือ ด้านมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน</p> <p>3.ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่าโดยรวมมีความสัมพันธ์กันสูง (R<sub>XY</sub>).862 และมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>4.ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อพยากรณ์ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา กับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ทุกด้าน สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้ร้อยละ 77.40 โดยผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ที่ดีที่สุดคือ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้(<em>β</em><em>=</em>.192, t=4.16, p-value =.00) ด้านการวัดและประเมินผล(<em>β</em><em>=</em>.298, t=4.63, p-value =.00) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา(<em>β</em><em>=</em>.281, t=4.73, p-value =.00) และด้านการบริหารจัดการหลักสูตร (<em>β</em><em>=</em>.119, t=2.40, p-value =.01)มีผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01นำมาเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังต่อไปนี้</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p>Y = .323+.006(X<sub>1</sub>)+ 003(X<sub>2</sub>)+ 116(X<sub>3</sub>)+ 160(X<sub>4</sub>)+ 178(X<sub>5</sub>)+ 289(X<sub>6</sub>)+261(X<sub>7</sub>)</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Z<sub>Y </sub>=.298(Y<sub>6</sub>) + .281(Y<sub>7</sub>) +.192(Y<sub>4</sub>)+.119(Y<sub>3</sub>) )+ .085(Y<sub>5</sub>)+ .006(Y<sub>1</sub>)+ .003(Y<sub>2</sub>)</p> <p> </p>
2025-02-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265696
การใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1
2024-06-28T12:18:44+07:00
ขจรศักดิ์ จันทร์สว่าง
oatto.kc@gmail.com
สรัญญา แสงอัมพร
oatto.kc@gmail.com
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
oatto.kc@gmail.com
<p style="font-weight: 400;"> วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 4) เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์การใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li class="show" style="font-weight: 400;">การใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.18 , S.D. = 0.67 )</li> <li class="show" style="font-weight: 400;">การทำงานเป็นทีมของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.12 , S.D. = 0.65 )</li> <li class="show" style="font-weight: 400;">การใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กับการทำงานเป็นทีมของครู มีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับสูง (= 0.834) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01</li> <li class="show" style="font-weight: 400;">ตัวแปรพยากรณ์พรหมวิหาร 4 ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู ได้แก่ ด้านมุทิตา () ด้านอุเบกขา () ด้านเมตตา () ซึ่งตัวแปรทั้งสามร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้ร้อยละ 72.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สามารถเขียนเป็นสมการถดถอยสำหรับการทำนาย ดังนี้ Zy ่ = 0.437 () + 0.238 () + 0.266 ()</li> </ol> <p style="font-weight: 400;"> </p> <p style="font-weight: 400;"> </p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/263523
ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
2023-10-20T14:46:02+07:00
วรพล ครุฑวิสัย
kroobank1911@gmail.com
เกศริน มนูญผล
kroobank1911@gmail.com
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
kroobank1911@gmail.com
<p>สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 2. เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564 จำนวน 71 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 2,710 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู 335 คน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564 (ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน)จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิดซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independent sample t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช พบว่า ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x= 4.59, S.D. x= 0.49)</li> </ol> <p> เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล (x= 4.67, S.D. x= 0.54) รองลงมา ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน (x= 4.64, S.D. x= 0.42) การสนับสนุนการจัดการและการดำเนินการ (x= 4.60, S.D. x= 0.59) ประสิทธิภาพและความชำนาญเชิงวิชาชีพ (x= 4.61, S.D. x= 0.53) ความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ (x= 4.53, S.D.x = 0.69) และสังคม กฎหมาย และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (x= 4.52, S.D. x= 0.60) ตามลำดับ</p> <ol start="2"> <li class="show">ผลการการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช</li> </ol> <p> 2.1 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวม จำแนกตามเพศ พบว่า ข้าราชการครูที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน</p> <p> 2.2 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวม จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวม ทั้ง 6 ด้าน ไม่แตกต่างกัน</p> <p> 2.3 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวม จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า ข้าราชการครูที่มีขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวม ทั้ง 6 ด้าน ไม่แตกต่างกัน</p> <ol start="3"> <li class="show">ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช พบว่า ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยเรียงลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการสนับสนุนการจัดการและการดำเนินการ มีความถี่มากที่สุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้ ส่งเสริมและพัฒนาให้ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน รองลงมา ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนาโดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ์ การบริหารงานอาคารสถานที่ และอื่นๆ ด้านสังคม กฎหมาย และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม กฎหมาย และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านประสิทธิภาพและความชำนาญเชิงวิชาชีพ และ ด้านความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ มีความถี่น้อย ที่สุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรู้เทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีเป็น และต้องเป็นไปในทางที่ สร้างสรรค์</li> </ol>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265774
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
2023-05-27T17:32:37+07:00
เกศรา ครุธเครือ
ket120636@gmail.com
พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์
ket120636@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการทำงาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 302 คน โดยใช้สุ่มแบบชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li class="show">ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมกาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน รองลงมาคือ ด้านการมีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี ด้านการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน และด้านการมีวิสัยทัศน์</li> <li class="show">การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามเพศ โดยภาพรวม และรายด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</li> <li class="show">การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</li> </ol>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/266190
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
2024-07-01T14:28:59+07:00
ชัยวัฒน์ กองน้ำ
darkdevillock@gmail.com
มิตภาณี พุ่มกล่อม
pianohawi@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3</p> <p> ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 293 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ พฤติกรรมที่เน้นการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้นำที่เน้นความสัมพันธ์ และมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ พฤติกรรมผู้นำที่เน้นงาน</li> <li class="show">การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้</li> <li class="show">ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 พบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</li> </ol>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/264108
ทศชาดกแผนที่แห่งความสำเร็จในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต2
2024-06-28T11:29:00+07:00
ชนะศักดิ์ รักขนาม
nanon4563@gmail.com
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
nanon4563@gmail.com
สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี
nanon4563@gmail.com
<p>วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักทศชาดกของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา 4 ด้าน ตามทรรศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักทศชาดกกับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา 4 ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งหมด 2,620 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 2 จำนวน 345 คน ซึ่งจำนวนของกลุ่มตัวอย่างเทียบตามสัดส่วนจากตารางสำเร็จรูปของทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol start="3"> <li class="show">ผลการวิเคราะห์ระดับการใช้ทศชาดกในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า มีการบริหารงานตามหลักทศชาดก อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านขันติบารมี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ สัจจะ ส่วน ด้านอธิษฐานบารมี มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด</li> <li class="show"> ผลการวิเคราะห์ความสำเร็จในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า มีระดับประสิทธิผลของการบริหารงาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การบริหารงานวิชาการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การบริหารงานทั่วไป ส่วน การบริหารงานงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด</li> <li class="show"> ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักทศชาดกในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยภาพรวม (X) กับประสิทธิผลการบริหารงาน โดยภาพรวม (Y) พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การใช้หลักทศชาดกในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ในทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานด้านการบริหารงานบุคคล (r = .153) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เพียงด้านเดียว ส่วนอีก 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ และ ด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน</li> </ol> <p> </p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/267992
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชาชีววิทยา 1 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์
2023-09-19T15:55:16+07:00
สุปวีณ์ ชูรัศมี
supaweechooratsamee@gmail.com
<p> </p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชาชีววิทยา 1 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชาชีววิทยา 1 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ จังหวัดสมุทรปราการ จํานวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชาชีววิทยา 1 2) แบบสังเกตทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับดี และมีพัฒนาการของทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ2) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> </p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/264811
เจตคติของครูต่อการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับอนุบาลในประเทศจีน
2023-04-07T13:03:36+07:00
Mengshan Han
hannahhan33331@outlook.com
สุพินดา เลิศฤทธิ์
supinda.l@rsu.ac.th
<p>การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจทัศนคติของครูภาษาอังกฤษระดับอนุบาล 44 คนในวิทยาเขตคุนหมิงและฉงชิ่งของ EF ที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย ความท้าทายที่พวกเขาเผชิญ และกลยุทธ์การสอนของพวกเขางานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยได้สำรวจปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติของครูในการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับอนุบาล ความท้าทายที่ครูต้องเผชิญขณะใช้สื่อมัลติมีเดีย และกลยุทธ์ในการสอนของครู ผลการวิจัยพบว่า ครูภาษาอังกฤษระดับอนุบาลส่วนใหญ่สนับสนุนการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วยสอน แต่สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยและการฝึกอบรมด้านการใช้สื่อมัลติมีเดียที่ไม่เพียงพอส่งผลต่อเจตคติของครูในการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษ ไม่เพียงเท่านี้ ครูผู้สอนยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์มัลติมีเดียในห้องเรียนใช้งานไม่ได้ นักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน และครูผู้สอนพึ่งพาสื่อมัลติมีเดียมากเกินไป เป็นต้น นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ครูภาษาอังกฤษระดับอนุบาลควรนำการสอนภาษาอังกฤษด้วยสื่อมัลติมีเดียมาผสมผสานกับการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบเดิม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น และครูภาษาอังกฤษระดับอนุบาลจำเป็นต้องเสริมการวิจัยเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียช่วยสอน เพื่อกำหนดตำแหน่งและหน้าที่ของสื่อมัลติมีเดียในชั้นเรียน ขณะเดียวกัน ครูสอนภาษาอังกฤษระดับอนุบาลไม่ควรละทิ้งวิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบดั้งเดิมโดยสิ้นเชิง แต่ควรผสมผสานการสอนภาษาอังกฤษแบบดั้งเดิมเข้ากับการสอนแบบมัลติมีเดีย</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/263391
การประยุกต์ใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
2024-07-22T21:22:13+07:00
พงศ์ธร นาบอน
akepongthornnaborn@gmail.com
บุญส่ง ทองเอียง
akepongthornnaborn@gmail.com
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
akepongthornnaborn@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ประชากร ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 2,620 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2จำนวน 335 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวม ทั้ง 10 ด้าน พบว่า มีการประยุกต์ใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการให้ (ทาน) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความซื่อตรง (อาชวะ) ส่วนด้านควบคุมพฤติกรรม (ศีล) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ 2) ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวม ทั้ง 3 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านมีคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านแรงจูงใจในการทำงาน ส่วนด้านความรู้ ความสามารถ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 3) ผลการวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่า มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ความสามารถ (r = .739) ด้านแรงจูงใจในการทำงาน (r = .665) ด้านมีคุณธรรม จริยธรรม (r = .803)</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/268816
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL)
2024-06-18T16:42:23+07:00
ชัยรัตน์ มีมา
chairat.me24@gmail.com
กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล
kanitha.ch@ku.th
วสันต์ เดือนแจ้ง
kent2513@gmail.com
จักรินทร์ ชินณะ
Jakkarin@skburana.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างกลุ่มที่มีความสามารถต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 149 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ด้วยการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL) แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐาน เรื่อง กฎการนับเบื้องต้น เพื่อทดสอบและแยกกลุ่มความสามารถของนักเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ T-Test แบบ Dependent Sample และ T-Test แบบ One Sample และการทดสอบสมมติฐานใช้ ANOVA แบบ Oneway ANOVA</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างกลุ่มที่มีความสามารถต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น แตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ ได้แก่ นักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนสูง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลางและอ่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265329
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1
2023-05-19T18:10:03+07:00
ธัญติญา ชอบประกอบกิจ
kaetantiya@gmail.com
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
kaetantiya@gmail.com
สรัญญา แสงอัมพร
kaetantiya@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 303 คน โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) เพื่อร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และ3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 9 คน ใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบใช้สถิติค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า<br />1.สภาพการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านวิธีการจัดการ ด้านการติดตามและประเมินผล ด้านปรัชญาและหลักการ และด้านโครงสร้างระบบบริหาร </p> <p> 2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ด้านโครงสร้างระบบบริหาร (2) ด้านวิธีการจัดการ (3) ด้านปรัชญาและหลักการ และ (4) ด้านการติดตามและประเมินผล</p> <p>3. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในร้อยละ 95.06<br /><br /></p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/263507
การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
2023-01-26T23:21:09+07:00
กมลทิพย์ ยิ่งบุรุษ
ka_mont_hip@hotmail.com
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
ka_mont_hip@hotmail.com
สันติ อุนจะนำ
ka_mont_hip@hotmail.com
<p>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2. เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จําแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 2,620 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 335 คน (ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่า T-test</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li class="show">ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวม พบว่า มีการการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 อยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน รองลงมาคือ ด้านปิยวาจา ส่วนด้านทานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ</li> <li class="show">2. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จําแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวม ทั้ง 3 ด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน แต่ การจำแนกตามอายุ พบว่า ข้าราชการครูที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> </ol> <p> </p> <p> </p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/276897
นวัตกรรมและกลไกการเพิ่มประสิทธิภาพการทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มคนวัยทำงาน : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง
2025-02-03T15:28:56+07:00
วสันต์ ฉายรัศมีกุล
wason_b8@hotmail.com
ดำรงค์ เบญจคีรี
wason_b8@hotmail.com
พระครูปลัดสุวัฒนสัจจคุณ
wason_b8@hotmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรม กิจกรรม และศึกษาผลการทำกิจกรรม การทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมของกลุ่มคนวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ คนวัยทำงานตอนต้น อายุ 15-29 ปี คนวัยทำงานตอนกลาง อายุ 30-44 ปี และ คนวัยทำงานตอนปลาย อายุ 45-60 ปี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ กิจกรรมการทดลองฟังเสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมของกลุ่มคนวัยทำงาน และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง สถิติที่ใช้ Two-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า</p> <p>1. คลังเสียงการทำสมาธิในกลุ่มคนวัยทำงาน ประกอบด้วย 4 บทสวด ผลการประเมินคลังเสียงผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทดลองใช้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกด้าน</p> <p>2. กิจกรรมการทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมของกลุ่มคนวัยทำงาน ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ใช้รวมเวลาทั้งหมด 36 นาที 5 วินาที</p> <p>3. ค่าเฉลี่ยความสูงศักย์ไฟฟ้าสมองคลื่นอัลฟ่า มีความแตกต่างระหว่างเพศขณะปฏิบัติกิจกรรมการทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมของกลุ่มคนวัยทำงาน ในคลื่นความถี่อัลฟ่า ที่ตำแหน่ง AF4 มีความแตกต่างระหว่างวัยทำงาน (ทำงานตอนต้น วัยทำงานตอนกลาง วัยทำงานตอนปลาย) ที่ตำแหน่ง FC5 และ T7 และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับวัยทำงานที่มีผลต่อคลื่นไฟฟ้าสมองคลื่นอัลฟ่า ขณะปฏิบัติกิจกรรมการทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมของกลุ่มคนวัยทำงาน ที่ตำแหน่ง AF4</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265576
เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราชเขต 1
2023-05-16T15:25:34+07:00
ขวัญใจ ทิพย์เสภา
kwanjai24052529@gmail.com
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
kwanjai24052529@gmail.com
สันติ อุนจะนำ
kwanjai24052529@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการทำงานเป็นทีมของครู ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู และค้นหาตัวพยากรณ์ที่ในการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยโดยใช้ตาราง Krejcic and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p><strong> ผลการวิจัยพบว่า </strong><strong>: </strong></p> <ol> <li class="show">ผลศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 พบว่าระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก</li> <li class="show">ผลศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 พบว่า ระดับการทำงานเป็นทีมของครู อยู่ในระดับมาก</li> <li class="show">ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชราช เขต 1 พบว่า ตัวพยากรณ์ดีที่สุดคือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต่อการทำงานเป็นทีมของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> </ol> <p>เมื่อนำปัจจัยดังกล่าวซึ่งเป็นตัวพยากรณ์ไปสร้างสมการพยากรณ์สามารถสร้าง สมการในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p> = .144 + .107(X<sub>1</sub>) + .446 (X<sub>2</sub>) + .125 (X<sub>4</sub>) + .450 (X<sub>5</sub>)</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ </p> <p> = 9.183 + .113 (X<sub>1</sub>) + .424 (X<sub>2</sub>) + .126 (X<sub>4</sub>) + .68 (X<sub>5</sub>)</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/263912
ภาวะผู้นำแบบยืดหยุ่น : รูปแบบของผู้นำในสถานการณ์พลิกผัน
2023-02-13T16:21:23+07:00
สมชาย เทพแสง
somchai17@hotmail.com
พรรัชต์ ลังกะสูตร
pornrat02@gmail.com
<p>ภาวะผู้นำแบบยืดหยุ่นเป็นภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับโลกในปัจจุบันที่มีการพลิกผันหรือการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้นำจึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน เพื่อนำพาองค์กรให้รอดพ้นจากปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการทำงานแก่บุคลากร แก้ปัญหาความไม่แน่นอนในองค์กร พลิกวิกฤตเป็นโอกาส โดยผู้นำแบบยืดหยุ่นประกอบด้วยการประนีประนอม ความว่องไวและความสามารถในการตอบสนองต่อสถานการณ์ การเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลง โดยเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ มีทักษะการสื่อสารและการประสานงานที่ดี และสามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p> </p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ศึกษาศาสตร์ มมร