ศึกษาศาสตร์ มมร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj <p><strong>วารสารศึกษาศาสตร์ มมร</strong></p> <p><strong>ISSN </strong>: 3056-9850 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออก : </strong>2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong> : วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านการศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ คณาจารณ์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งภายในและภายนอก เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนทัศนะและข้อคิดเห็นทางด้านการศึกษา</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong> : บทความทุบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong> : ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong> : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย</p> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย th-TH ศึกษาศาสตร์ มมร 3056-9850 การบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/262350 <p>สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของครู จําแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวบรวมข้อมูลจากครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 335 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วย T-test และ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ด้านอัตถจริยาอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาด้านปิยวาจา และอยู่ในระดับมาก ด้านสมานัตตตา และด้านทาน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ 2) จากการเปรียบเทียบการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา โดยพิจารณาจำแนกตามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล พบว่า เพศที่แตกต่างกัน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน และประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา</p> บุญธรรม เมียนแก้ว เกศริน มนูญผล สรัญญา แสงอัมพร Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-07-21 2024-07-21 12 1 1 16 การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/262325 <p>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารสถานศึกษา ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 458 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิดซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า&nbsp;</p> <ol> <li class="show">ระดับการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านปิยวาจาอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมา ด้านทาน ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ</li> <li class="show">ผลการเปรียบเทียบ การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประกอบด้วย ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน</li> <li class="show">ผลการรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่า ด้านทานข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมบุคลากร โดยจัดให้มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ อย่างพึงพอใจ รองลงมา ให้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียนอยู่เสมอ และจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ด้านปิยวาจาข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ควรใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ให้กำลังใจ ไม่ใช้คำพูดส่อเสียด หรือคำกล่าวที่เพ้อเจ้อ รองลงมา บุคลากรมีการชี้แจงการใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสม และให้คำแนะนำในการใช้งบประมาณแก่บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านอัตถจริยาข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ควรบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ ตามโอกาสสมควร รองลงมา&nbsp; มีความโปร่งใส แสดงหลักเกณฑ์วิธีการประเมินผลงานของบุคลากรอย่างชัดเจน และช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ด้านสมานัตตตาข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ควรมีการกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานของสถานศึกษาเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ รองลงมา การประชาสัมพันธ์ในการศึกษา โดยใช้หลักคุณธรรมในการสร้างความสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลา และทำตนเป็นกันเองกับบุคคลอื่นไม่ถือตัวเย่อหยิ่งกับบุคคลอื่น</li> </ol> ยุวนาถ คงแหล่ สันติ อุนจะนำ สรัญญา แสงอัมพร Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-07-21 2024-07-21 12 1 17 27 แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบ E-LEARNING โดยใช้หลักโยนิโสมนสิการของโรงเรียน ในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/263026 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปทางการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบ E-LEARNING ของโรงเรียนในอำเภอเมืองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบ E-LEARNING กับ หลักโยนิโสมนสิการ ของโรงเรียนในอำเภอเมืองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบ E-LEARNING โดยใช้หลักโยนิโสมนสิการ ของโรงเรียนในอำเภอเมืองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ของโรงเรียนในอำเภอเมืองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช กลุ่มประชากรที่ใช้ในการทำวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน ทั้งสิ้น 584 คน กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกโดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์และคุณสมบัติโดยมีบทบาทหน้าที่ทางการจัดการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษาภายในสถานศึกษา วิธีการได้มาซึ่งแบบถั่วเฉลี่ย (โดยวิธีสุ่ม) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 จากตารางเทียบค่าทาโร่ ยามาเน่ จึงได้กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 250 คน จาก 8 โรงเรียนในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามวัดค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท สเกลล์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาพบว่า สภาพทั่วไปทางการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบ E-LEARNING ของโรงเรียนในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ผู้ตอบแบบสอบถามด้านสภาพทั่วไปทางการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบ E-LEARNING โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด <br />(x̄ = 4.95, S.D. = 0.17) 2) ผลการศึกษาพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้ ด้วยระบบ E-LEARNING โดยใช้หลักโยนิโสมนสิการของโรงเรียนในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.82, S.D. = 0.43) และ 3) แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบ E-LEARNING ของโรงเรียนในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ดังนี้ การจัดการเรียนรู้ด้วยระบบ E-LEARNING โดยใช้หลักโยนิโสมนสิการของโรงเรียนในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.82, S.D. = 0.46) โดยข้อ 4 มีการสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุง พัฒนาสื่อการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.91, S.D. = 0.41) รองลงมาคือ ข้อ 5 มีการมอบหมายบุคลากรในการทำงานได้ อย่างเหมาะสม (x̄ = 4.90, S.D. = 0.39) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 2 มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินงานในแต่ละส่วนได้อย่างเหมาะสม และ ด้านการมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.76, S.D. = 0.43) โดยข้อ 3 การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบ E-LEARNING (x̄ = 4.83, S.D. = 0.375) และ ข้อ 1 มีการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานวิชาการของสถานศึกษา (x̄ = 4.83, S.D. = 0.37) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน รองลงมาคือ ข้อ 5 ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน (x̄ = 4.82, S.D. = 0.38) และ ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 4 สร้างจิตสำนึกให้บุคลากรทุกคน มีวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกัน (x̄ = 4.61, S.D. = 0.48)</p> จักรพงศ์ วิจิตรประภาวงศ์ สรัญญา แสงอัมพร เกศริน มนูญผล Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-07-21 2024-07-21 12 1 42 55 การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคล ในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/263446 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารในโรงเรียน เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564 จำนวน 113 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ลักษณะแบบประเมินค่า (rating scale) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ให้ความเคารพต่อเพศสตรี รองลงมาคือ ให้ความเคารพ นับถือผู้บังคับบัญชา และหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ การพัฒนาบุคลากร และการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน อยู่ในระดับสูงมาก (r=.853<sup>**</sup>) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> จรวย บุญสาลี สรัญญา แสงอัมพร สันติ อุนจะนำ Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-07-21 2024-07-21 12 1 56 67 การใช้ชุดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265527 <p>วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย และจิตใจที่ซับซ้อนที่สุด เป็นวัยช่วงต่อของชีวิตจากเด็กไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ช่วงวัยรุ่นจะมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของวัยรุ่น จึงจำเป็นต้องหากลวิธีในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหาในการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้งก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการคิดแก้ปัญหา โดยมีกลุ่มเป้าหมายวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านโนนท่อนวิทยา จำนวน 55 คน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหา ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 4 กิจกรรมและกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์อีก 6 กิจกรรม 2) แบบประเมินวัดความฉลาดทางอารมณ์ เก่งดีมีสุข ซึ่งประกอบด้วยด้านย่อยสำคัญ 6 ด้านดังนี้ 1) ด้านการตระหนักรู้ 2) ด้านการแสดงออก 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ 4) ด้านการตัดสินใจ 5) ด้านการจัดการความเครียด และ 6) ด้านความภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน T-test ค่าความถี่ ร้อยละ </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ชุดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ที่ 81.54/87.67 และผลการประเมินวัดความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลังการทดลองแต่ละด้านสูงกว่าการทดลอง เป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้</p> ทิตาวีร์ การรัมย์ สังเวียน ปินะกาลัง ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์ Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-06-28 2024-06-28 12 1 180 191 การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265622 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และเพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 4 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แนวทางนี้ มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ การออกแบบสถานการณ์ปัญหาในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนมีทางเลือกหลากหลายวิธีหรือแนวคิดในการตัดสินใจที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การทบทวนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาในสถานการณ์ และการกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลในชั้นเรียน นอกจากนี้ พบว่า เมื่อผ่านการเรียนรู้ทั้ง 4 วงจร นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความสามารถรายด้าน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น และการตีความอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับความสามารถในการการสรุปอ้างอิง การนิรนัย และการประเมินข้อโต้แย้งอยู่ในระดับมาก</p> พรรณิษา เอี่ยมอ่อน อาทร นกแก้ว Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-06-28 2024-06-28 12 1 166 179 สุขภาพองค์กรตามความคิดเห็นของบุคลากรในหน่วยงานทางการศึกษากรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/264650 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบสุขภาพองค์กรตามความคิดเห็นของบุคลากรในหน่วยงานทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บุคลากรในหน่วยงานทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สุขภาพองค์กรตามความคิดเห็นของบุคลากรในหน่วยงานทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการเปรียบเทียบสุขภาพองค์กรตามความคิดเห็นของบุคลากรในหน่วยงานทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน พบว่า บุคลากรในหน่วยงานทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีประสบการณ์ การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสุขภาพองค์กรทั้งในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน</p> ศรัญญา กองแก้ว กัลยมน อินทุสุต Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-06-28 2024-06-28 12 1 154 165 ประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/262653 <p>สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของสถานศึกษากับการใช้หลักธรรมาภิบาล และเพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษากับการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1.ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก</p> <p>2.การใช้หลักธรรมาภิบาลของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก</p> <p>3.ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของสถานศึกษากับการใช้หลักธรรมาภิบาลของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช พบว่าโดยรวมมีความสัมพันธ์กันสูง(RXY).726 และมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>4.ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาสามารถพยากรณ์การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 61.10 สมการถดถอยพหุคูณในรูปแบบคะแนนดิบ</p> <p>Y = 1.858+.358(X<sub>1</sub>)+ .136(X<sub>2</sub>)+ .104(X<sub>3</sub>)+ .355(X<sub>4</sub>)+ .033(X<sub>5</sub>)+ .130(X<sub>6</sub>)</p> <p>สมการถดถอยพหุคูณในรูปแบบในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Z<sub>Y </sub>= .513(Y<sub>1</sub>)+ .503(Y<sub>4</sub>)+ .204(Y<sub>2</sub>)+ .185(Y<sub>6</sub>)+ .161(Y<sub>3</sub>)+ .044(Y<sub>5</sub>)</p> จิราวรรณ ปรีชา สันติ อุนจะนำ สรัญญา แสงอัมพร Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-07-21 2024-07-21 12 1 81 89 ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมทักษะชีวิตกับการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265765 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมทักษะชีวิตของสถานศึกษา การบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมทักษะชีวิตกับการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1</p> <p> ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 311 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">การส่งเสริมทักษะชีวิตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น</li> <li class="show">การบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผนงานกิจการนักเรียน ด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ด้านการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการบริหารงานกิจการนักเรียน ด้านการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียน และด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน</li> <li class="show">ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมทักษะชีวิตของสถานศึกษากับการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 พบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</li> </ol> ธนัญชกร คงวิเชียร พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์ Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-06-28 2024-06-28 12 1 192 206 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265131 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ให้มีคุณภาพเหมาะสมและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80<br>(2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน (3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านคลองโยง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียรู้ บทเรียนออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย แบบประเมินคุณภาพเครื่องมือ แบบทดสอบ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพข้อมูลการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 96.23/85.56 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีค่าเท่ากับ 0.70 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.37, SD= 0.61)</p> มานิตา ลาโภดม ณัฐพล รำไพ บุญรัตน์ แผลงศร Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-06-28 2024-06-28 12 1 141 153 การประยุกต์ใช้หลักโยนิโสมนสิการกับประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนคติของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/263390 <p>วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักโยนิโสมนสิการ ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะคติของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 2. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักโยนิโสมนสิการ กับประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 1,598 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 306 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานตามหลักโยนิโสมนสิการ อยู่ใน ระดับมาก 2. ประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม ทั้ง 4 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3. การใช้หลักโยนิโสมนสิการ โดยรวม (X) กับประสิทธิผลการบริหารงาน โดยรม (Y) ของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = .882) </p> นัฐวุฒิ คุระเอียด บุญส่ง ทองเอียง ทิพมาศ เศวตวรโชติ Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-07-21 2024-07-21 12 1 90 102 การเสริมสร้างความฉลาดทางจิตวิญญาณของนิสิตปริญญาตรีโดยการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/266469 <p>งานวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความฉลาดทางจิตวิญญาณของนิสิตปริญญาตรี และเปรียบเทียบความฉลาดทางจิตวิญญาณของนิสิตก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค&nbsp; รวมทั้งเปรียบเทียบความฉลาดทางจิตวิญญาณระหว่างนิสิตกลุ่มที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม<br>และนิสิตที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 354 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากประชากร ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 ที่มีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางจิตวิญญาณตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมาจำนวน 12 คน สุ่มเข้ากลุ่ม (assign random sampling) เป็นกลุ่มทดลอง <br>6 คน จาก และกลุ่มควบคุม 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวัดความฉลาดทางจิตวิญญาณ และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิคเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจิตวิญญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ t-test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์มีฉลาดความฉลาดทางจิตวิญญาณอยู่ระดับสูง &nbsp;2. นิสิตกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางจิตวิญญาณโดยรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจำแนกรายองค์ประกอบกลับพบว่า เฉพาะองค์ประกอบด้านการคำนึงถึงการดำรงอยู่ของชีวิต องค์ประกอบด้านการสร้างเป้าหมายในชีวิต และองค์ประกอบด้านการพัฒนาระดับการมีสติ ที่นิสิตกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br>ที่ระดับ .05 และ 3. นิสิตปริญญาตรีกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค มีความฉลาดทางจิตวิญญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการจัดกระทำใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> ณัฐวดี ไทยง้วน Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-06-28 2024-06-28 12 1 262 271 การส่งเสริมสมรรถภาพทางกายในเด็กดาวน์ซินโดรม โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265419 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายในเด็กดาวน์ซินโดรม ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้เรียนได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา(ดาวน์ซินโดรม) และกำลังศึกษาอยู่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2565 อายุระหว่าง 4-6 ปี จำนวน 5 คน การวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง ทดลอง 20 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง และแบบบันทึกข้อมูลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ในด้านความเร็วใช้แบบทดสอบวิ่งเร็ว 20 เมตร และด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาใช้แบบทดสอบยืนกระโดดไกล โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank Test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรที่ศึกษาระหว่างก่อนและหลัง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/84.44 เป็นไปตามเกณฑที่ตั้งไว้ 80/80 และหลังการทดลองใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง เด็กดาวน์ซินโดรมมีสมรรถภาพทางกายสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> สรุปผลการวิจัยได้ว่า กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายในด้านความเร็ว และด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา สำหรับเด็กดาวน์ซินโดรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> คมสันต์ พลึกรุ่งโรจน์ สังเวียน ปินะกาลัง Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-06-28 2024-06-28 12 1 221 232 วิเคราะห์แนวคิดการบริหารกับการจัดการและภาวะผู้นำสู่กรอบแนวคิดเพื่อการบริหารการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/273966 <p>การวิจัยเอกสารนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความกระจ่างทางวิชาการเกี่ยวกับความแตกต่าง ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และการมีอิทธิพลต่อกันระหว่างแนวคิดของการบริหารกับการจัดการและภาวะผู้นำ เพื่อนำไปสู่การนำเสนอกรอบแนวคิดเพื่อการบริหารการศึกษา โดยเฉพาะในระดับในสถานศึกษาเพราะมีผลการวิจัยยืนยันว่ามีความสำคัญเพราะเป็นฐานปฏิบัติที่จะทำให้การระดมทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรวัตถุให้เกิดประโยชน์ที่ใช้งานได้จริง เป็นฐานปฏิบัติที่จะช่วยเสริมสร้างการสอนและการเรียนรู้ที่จะส่งผลให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่ถูกต้องจากครูที่ถูกต้อง และเป็นฐานปฏิบัติที่จะสร้างอิทธิพลที่ส่งผลต่อนักเรียนให้เติบโตไปสู่เป้าหมายที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จากผลการวิจัยพบว่า แนวคิดของการบริหาร การจัดการ และภาวะผู้นำ มีความแตกต่างกัน แต่ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และการมีอิทธิพลต่อกัน ประมวลผลแล้วได้กรอบแนวคิดเพื่อการบริหารการศึกษาในสถานศึกษาที่เสนอแนะให้ยึดเอาแนวคิดของการบริหารเป็นตัวยืน แล้วนำเอาแนวคิดของภาวะผู้นำมาช่วยเสริมให้เข้มแข็งชัดเจนขึ้น รวมทั้งนำเอาแนวคิดของการจัดการช่วยเสริมให้เป็นระบบที่สมบูรณ์</p> พระครูธรรมาภิสมัย พระมหาศุภชัย สุภกิจโจ เอกชาตรี สุขเสน วิโรจน์ สารรัตนะ พระครูสุธีจริยวัฒน์ วิทูล ทาชา Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-06-28 2024-06-28 12 1 315 327 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265420 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม 2) พัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม และ3) ศึกษาผลการใช้แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กที่มีภาวะออทิสซึม ปีการศึกษา 2565จำนวน 10 คน และผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะออทิสซึม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้ปกครองและเด็กที่มีภาวะออทิสซึม แบบวัดเจตคติ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและสถิติทดสอบ Wilcoxon matched pair signed- rank test โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS และวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม พบว่า จากการสนทนากลุ่มผู้ปกครองเห็นว่าเด็กที่มีภาวะออทิสซึม มีความสามารถด้านการรู้จักส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งผู้ปกครองเห็นว่าการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ <br />ถือเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่ควรเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก เพราะมองเห็นเป็นรูปธรรม เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง พัฒนาการคิดเป็นระบบ มีการวางแผนการทำงาน และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระได้ จึงควรมีแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็กที่มีประสิทธิภาพ 2. ผลการพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม พบว่า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 2) บทบาทผู้ที่เกี่ยวข้อง และ3) ระบบสนับสนุน ดังนี้ <br />1) ขั้นตอน ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1.1) การเตรียมการ และ1.2) การดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1.2.1) ประเมินความสามารถพื้นฐานด้านการใช้คอมพิวเตอร์ 1.2.2) จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) หรือ แผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว (IFSP) 1.2.3) จัดทำแผนการสอนรายบุคคล (IIP) หรือแผนการจัดประสบการณ์ 1.2.4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1.3) การวัดประเมินผล ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินผลการเรียนรู้ 2) สรุปและรายงานผลการพัฒนาผู้เรียน 2) บทบาทผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บทบาทของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง 3) ระบบสนับสนุน ได้แก่ 1) บุคลากร 2) งบประมาณ 3) สื่อ อุปกรณ์ 4) การบริหารจัดการ <br />และ3. ผลการใช้แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม พบว่า ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจหลังการใช้แนวทางฯสูงกว่าก่อนการใช้แนวทางฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผู้ปกครองและเด็กที่มีภาวะออทิสซึม มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ หลังการใช้แนวทางฯสูงกว่าก่อนการใช้แนวทางฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผู้ปกครองมีเจตคติหลังการใช้แนวทางฯสูงกว่าก่อนการใช้แนวทางฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม อยู่ในระดับมากที่สุด</p> สิทธิกร สุทธิประภา สังเวียน ปินะกาลัง สมพร หวานเสร็จ Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-06-28 2024-06-28 12 1 207 220 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/262408 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำแบบส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 306 คน ได้มาโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และเมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับพฤติกรรมผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือพฤติกรรมผู้นำแบบร่วมติดตามและประเมินผล รองลงมา คือ ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบร่วมคิด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบร่วมตัดสินใจ 2) ผลการศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา 3) พฤติกรรมผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ใน ทางบวกกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยพฤติกรรมผู้นำแบบร่วมดำเนินการมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการสูงสุด รองลงมา คือพฤติกรรมผู้นำแบบร่วมตัดสินใจ พฤติกรรมผู้นำแบบร่วมคิด พฤติกรรมผู้นำแบบร่วมติดตามและประเมินผล ตามลำดับ</p> ม่านฟ้า ทองอ่อน สรัญญา แสงอัมพร เกศริน มนูญผล Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-07-21 2024-07-21 12 1 28 41 ทักษะชีวิตและอาชีพที่จำเป็นสำหรับครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/264438 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอทักษะชีวิตและอาชีพที่จำเป็นสำหรับครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม ระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากเดิมการศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะเพียงอ่านออก เขียนได้ (Literacy) แต่สำหรับในศตวรรษที่ 21 ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การปฏิบัติ และการสร้างแรงบันดาลใจไปพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้สมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดจาก ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ทัศนคติ และแรงจูงใจของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ตามบทบาทหน้าที่อย่างโดดเด่นแล้วยังจำเป็นที่ต้องมีองค์ประกอบของทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิตและการทำงานเพิ่มเติม เพื่อสามารถปรับตัว รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคของโลกดิจิทัล ที่ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วย 3 ทักษะ ดังนี้ 1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 2) ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี และ 3) ทักษะชีวิตและอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะชีวิตและอาชีพ ซึ่งในปัจจุบันมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง อาจจะมากไปกว่าทักษะการคิด ทักษะความรู้ด้านเนื้อหา ทักษะความสามารถที่จะนำพาชีวิตและอาชีพที่สลับซับซ้อน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่มีการแข่งขันระดับโลก จึงต้องอาศัยความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพอย่างเพียงพอ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก</p> กฤติภัทร อัจนกิตติ ธารินทร์ ก้านเหลือง ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์ พรทิวา ชนะโยธา Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-07-21 2024-07-21 12 1 103 114 การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย : การวิเคราะห์อภิมาน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/265046 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่ทำการศึกษาประสิทธิภาพการสอนของในด้านการตีพิมพ์และผู้วิจัย ด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย และด้านระเบียบวิธีวิจัย และ 2) เพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของงานวิจัยทางการศึกษาที่ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่เผยแพร่ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2562 จำนวน 7 เล่ม ที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์การคัดเลือก คือ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เป็นงานวิจัยเชิงทดลองและมีคะแนนคุณภาพงานวิจัย 3.00 ขึ้นไป&nbsp; ซึ่งรวมรวบข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นโดย นงลักษณ์&nbsp; วิรัชชัย (2530) บันทึกแบบสรุปรายงานการวิจัย แล้วนำมาสังเคราะห์ตามวิธีของ Glass ได้ค่าขนาดอิทธิพล จำนวน 8 ค่า จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะงานวิจัยที่ทำการศึกษาประสิทธิภาพการสอนที่นำมาสังเคราะห์ แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ ด้านคุณลักษณะงานวิจัยด้านการตีพิมพ์ และผู้วิจัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2552-2562 สถาบันที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คิดเป็นร้อยละ 71.43 &nbsp;สาขาวิชาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ หลักสูตรและการสอน คิดเป็นร้อยละ 85.71 และประเภทงานวิจัยที่ผลิตมากที่สุด คือ วิทยานิพนธ์ระดับระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 85.71 ด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย พบว่าวิชาที่ทำวิจัยมากที่สุด คือ วิชาคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 42.86 ระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุด คือ ระดับช่วงชั้นที่ 2 ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 28.57 และประเด็นที่งานวิจัยศึกษามากที่สุด คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอน คิดเป็นร้อยละ 100.00 และด้านระเบียบวิธีวิจัย พบว่า รูปแบบงานวิจัยที่ใช้มากที่สุด คือ การวิจัยเชิงทดลอง คิดเป็นร้อยละ 100.00&nbsp; การกำหนดตัวอย่างที่ใช้มากที่สุด คือ การกำหนดตัวอย่างโดยมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 85.72 โดยใช้วิธีการสุ่มที่ใช้มากที่สุด คือ การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) คิดเป็นร้อยละ 71.43 และการตั้งสมมติฐานที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุด คือ การกำหนดสมมติฐานแบบมีทิศทาง คิดเป็นร้อยละ 85.71 &nbsp;2) การศึกษาที่ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย : Deductive Methods มีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้ของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.294 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.274</p> ณัฐพงษ์ ชุ่มวงศ์ รุ่งทิวา กองสอน Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-07-21 2024-07-21 12 1 115 128 รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญาในโรงเรียนเฉพาะความพิการกลุ่ม 7 ภาคใต้ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/266394 <p>วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในโรงเรียนเฉพาะความพิการ กลุ่ม 7 ภาคใต้ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในโรงเรียนเฉพาะความพิการ กลุ่ม 7 ภาคใต้ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในโรงเรียนเฉพาะความพิการ กลุ่ม 7 ภาคใต้ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสาร การสอบถามครู จำนวน 80 คน และผู้ปกครอง จำนวน 80 คน ได้มาโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง และศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และทำการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบฯ และแบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบฯ จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสม โดยสอบถามด้วยแบบประเมินความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong> ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li class="show">ผลการศึกษาสภาพและปัจจัยการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในโรงเรียนเฉพาะความพิการ กลุ่ม 7 ภาคใต้ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน</li> <li class="show">ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในโรงเรียนเฉพาะความพิการ กลุ่ม 7 ภาคใต้ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า ผลการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในโรงเรียนเฉพาะความพิการ กลุ่ม 7 ภาคใต้ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร องค์ประกอบที่ 2 การจัดการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ 3 การบริหารการเรียนการสอน และองค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผล การดำเนินงานของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในโรงเรียนเฉพาะความพิการ กลุ่ม 7 ภาคใต้ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ยึดหลักการบริหาร PDCA และหลักการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นบุคคลในองค์กรหรือต่างองค์กรได้เข้ามาดำเนินการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และสถานประกอบการ</li> <li class="show">ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงานของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในโรงเรียนเฉพาะความพิการ กลุ่ม 7 ภาคใต้ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน</li> </ol> <p> </p> ยุมรินทร์ ณ ศรีสุข บุญส่ง ทองเอียง ทิพมาศ เศวตวรโชติ Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-08-28 2024-08-28 12 1 248 261 Active Learning: การจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21 หลังวิกฤตการณ์โควิด-19 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/259963 <p>Active Learning หรือการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยการเชื่อมโยงและบูรณาการจากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งครูผู้สอนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้ที่เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้มาเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวก (Facilitator) ในชั้นเรียน เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา (Coach) ในระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นผู้ร่วมเรียนรู้ (Co-learner) ข้อมูลความรู้ต่างๆไปพร้อมๆกันกับผู้เรียน ตลอดจนเป็นผู้สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ (Motivator) ให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน เห็นคุณค่าของการเรียน และเป็นบุคคลที่เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต นอกจากนี้ครูผู้สอนยังต้องปรับเปลี่ยนขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ และวิธีวัดและประเมินผลให้มีความหลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนและเป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีชีวิตชีวา โดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในทุกองค์ประกอบของการเรียนการสอนเพื่อสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนจากการลงมือปฏิบัติจริง ในขณะเดียวกันผู้เรียนเองก็ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ที่รับความรู้ (Receiver) ไปเป็นผู้ที่มีส่วนในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Co-Creator) ด้วยการเสนอความคิดเห็น โต้แย้ง อภิปราย ทั้งในการทำงานแบบรายบุคคลและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะก่อให้เกิดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและภาวะความเป็นผู้นำ (Collaboration Teamwork and Leadership) ทักษะด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) รวมไปถึงทักษะด้านอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งโลกในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่โลกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากมาย วิกฤตการณ์โควิด-19 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการคาดการณ์ของมนุษย์ การปรับทิศทางการศึกษาด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) จึงถือเป็นหนทางในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้เยาวชนมีความพร้อมและสามารถก้าวเข้าสู่โลกแห่งศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมั่นคง เป็นผู้ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต</p> ดวงแก้ว สุหลง สุพินดา เลิศฤทธิ์ Copyright (c) 2024 ศึกษาศาสตร์ มมร 2024-06-28 2024-06-28 12 1 299 314