https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/issue/feed
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
2024-11-01T10:06:48+07:00
รองศาสตราจารย์ ดร.จิตตินันท์ บุญสถิรกุล
fedujnb@ku.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการราย 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และ ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดพิมพ์วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ นิสิต บุคลากร นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบุคคลทั่วไป มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการในสาขาศึกษาศาสตร์ และสาขา ที่เกี่ยวข้อง</p>
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/272473
การพัฒนาแบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
2024-07-01T16:04:34+07:00
ชัยรัมภา พ่วงศิริ
tunyaporn@g.swu.ac.th
สรียา โชติธรรม
sareeya.ch@ku.ac.th
ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ
thananun.t@ku.th
อุษณี ลลิตผสาน
usanee.lalitpasan@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้าง ตรวจสอบคุณภาพ ของแบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ 2) สร้างเกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จากมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 108 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนิสิตปริญญาตรี มีจำนวน 78 ข้อ ประกอบด้วย ด้านความรู้ เป็นแบบทดสอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 24 ข้อ ด้านพื้นนิสัยเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ และ ด้านความสามารถเป็นแบบทดสอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 24 ข้อ แบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ .50 ขึ้นไป องค์ประกอบด้านความรู้และด้านความสามารถมีค่าความยากอยู่ระหว่าง .57 – .77 และ .60 – .77 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20 – .47 .27 – .71 และ .27 – .47 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .76 .92 และ .80 และ 2) เกณฑ์ปกติแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้ คะแนนตั้งแต่ T66 ขึ้นไป, T55-65, T45-54, T35-T44, และเท่ากับหรือต่ำกว่า T34 หมายถึง นิสิตมีการรู้สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก นิสิตโดยส่วนใหญ่ของทุกชั้นปีมีการรู้สิ่งแวดล้อมระดับปานกลาง</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/269510
การพัฒนาเครื่องประเมินการฝึกยิมนาสติก: ท่ากางเขนบนอุปกรณ์ห่วงนิ่ง
2024-01-16T19:40:37+07:00
ชุมพล วงศ์คำจันทร์
wutgym@hotmail.com
อภิชาต โชติชื่น
apichart.cm@gmail.com
กนกวรรณ บัณฑุชัย
ganokwun.bun@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมประเมินความก้าวหน้าการฝึกยิมนาสติกใน ท่ากางเขนบนอุปกรณ์ห่วงนิ่ง ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องต้นแบบสร้างขึ้นตามทฤษฎีแรง <br />โดยวัดความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขนทั้งสองข้างขณะออกแรงดึงห่วงลง อุปกรณ์ประกอบด้วยเซ็นเซอร์<br />วัดแรงตึงติดกับห่วงและกล่องควบคุม มีความละเอียดในการวัดที่ 0.01 กิโลกรัม ค่าความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม ±0.001 และค่าความถูกต้องที่ร้อยละ 99.58 จากนั้นทดสอบการใช้งานในนักศึกษาชายที่มีพื้นฐานยิมนาสติก จำนวน 10 คน โดยเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผู้เข้าร่วมรับการทดสอบ 10 ครั้ง ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบความแตกต่างของแรงข้างซ้ายและขวาด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test ที่ระดับนัยสำคัญ .05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าอุปกรณ์สามารถตรวจจับความแปรผันของแรงแขนตามระดับความแข็งแรงของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ค่าสัมประสิทธิการกระจายอยู่ในช่วงร้อยละ 3.38 – 47.09 ค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 16.36±9.32 ซึ่งมีความแปรปรวนในระดับปานกลาง เมื่อทดสอบความต่างของสัมประสิทธิการกระจายทั้งข้างซ้ายและขวาไม่แตกต่างกัน โดยสรุปอุปกรณ์นี้วัดแรงของแขนทั้งสองข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เหมาะสมกับการประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสมดุลแรงแขน และประเมินความก้าวหน้าในการฝึกยิมนาสติกท่ากางเขนบนอุปกรณ์ห่วงได้ ในการพัฒนาอุปกรณ์นี้สามารถปรับปรุงการแสดงผลเพื่อประมวลความสมดุลและการออกแรงตามน้ำหนักผู้ใช้ นอกจากนี้การใช้ระบบไร้สาย และแสดงข้อมูลออนไลน์พร้อมการดูย้อนหลังจะช่วยเพิ่มความทนทานและความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/269642
บทบาทครูในการส่งเสริมการตระหนักรู้ทางสังคมของเด็กวัยอนุบาล
2024-01-04T16:26:35+07:00
ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
Sasilak.k@chula.ac.th
วิมลสิริ พรหมด้าว
6480165227@student.chula.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมการตระหนักรู้ทางสังคมของเด็กวัยอนุบาล ใน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางบวกในห้องเรียน และ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่าง คือ ครูอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 113 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามครูอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า บทบาทครูในการส่งเสริมการตระหนักรู้ทางสังคมของเด็กวัยอนุบาลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M </em>= 4.22, <em>SD </em>= 0.37) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า <br />1) ด้านการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (<em>M </em>= 4.23, <em>SD </em>= 0.41) โดยองค์ประกอบทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับมากด้วยเช่นกัน ประกอบด้วย การสนทนา (<em>M </em>= 4.03, <em>SD </em>= 0.49) และการจัดกิจกรรม (<em>M</em>=4.36, <em>SD </em>= 0.45) และ 2) ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางบวกในห้องเรียน อยู่ในระดับมาก (<em>M</em>=4.20, <em>SD</em>=0.43) โดยองค์ประกอบทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับมากด้วยเช่นกัน ประกอบด้วย การสร้างชุมชนแห่งความดีและความห่วงใย (<em>M </em>= 4.39, <em>SD </em>= 0.42) และการเป็นแบบอย่าง (<em>M </em>= 3.93, <em>SD </em>= 0.65)</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/273587
การสำรวจพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน: กรณีศึกษาโรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ
2024-07-25T09:09:01+07:00
ดุลยภาส อยู่ชัชวาล
dulyapas.y@ku.th
ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์
fedupns@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน กรณีศึกษาโรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียน วิธีที่ครูใช้แก้ไขเมื่อพบพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียนขณะสอน และความเห็นของครูหลังสอนต่อแนวทางพัฒนานักเรียนให้มีความตั้งใจเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนวิชาต่างๆในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 จำนวน 16 คน ใช้แบบสำรวจที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ช่วงเวลาการดำเนินการวิจัย คือภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัย 1.ลักษณะพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียนของนักเรียนขณะเรียนพบ 9 แบบ ดังนี้ เหม่อลอย คุยกับเพื่อน ไม่ทำงานตามสั่ง ลุกจากที่นั่ง เล่นโทรศัพท์ ตะโกนเสียงดัง ชกต่อย ทะเลาะ นอนหลับ หยิบของเพื่อน 2.ครูแก้ไขพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียนหลายวิธี วิธีที่ใช้ได้ผลมากที่สุด คือ กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วม ปรับกิจกรรมการสอน และเตือนด้วยวาจา 3.ครูมีความเห็นต่อการส่งเสริมนักเรียนให้มีพฤติกรรมตั้งใจเรียน เช่น การปรับปรุงคุณภาพการสอน สร้างข้อตกลงในการปฏิบัติตนก่อนเรียน เป็นต้น</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/269896
บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล
2024-03-12T13:51:24+07:00
ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
sasilak.k@chula.ac.th
อิศราภรณ์ เอี่ยมเอกดุลย์
6480087027@student.chula.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างสัมพันธภาพที่ดี และ2) การสนับสนุนการเรียนรู้ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามผู้ปกครอง ตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กอนุบาล โรงเรียนสาธิตในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร จำนวน 160 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบกำหนดโควตา วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปกครองส่งเสริมความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาลภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M</em>= 3.60, <em>SD</em>= 0.26) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 1) การสร้างสัมพันธภาพที่ดี อยู่ในระดับมาก (<em>M</em>= 3.60, <em>SD</em>= 0.26) โดยองค์ประกอบรอง ได้แก่ การตอบสนองทางบวกต่อเด็ก (<em>M</em>= 3.75, <em>SD</em>= 0.33) และการเป็นแบบอย่างที่ดี (<em>M</em>= 3.45, <em>SD</em>= 0.36) และ 2) การสนับสนุนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก <em>(</em><em>M</em>= 3.59, <em>SD</em>= 0.35)<br />โดยองค์ประกอบรอง ได้แก่ การจัดกิจกรรมบูรณาการเพื่อฝึกการวางแผน (<em>M</em>= 3.73, <em>SD</em>= 0.40) และ การเสริมต่อการเรียนรู้ (<em>M</em>= 3.46, <em>SD</em>= 0.41)</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/274004
การใช้ชุดกิจกรรมนิทานAI ผสานศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเองของเด็กปฐมวัยผ่านความร่วมมือกับผู้ปกครอง
2024-07-23T16:34:14+07:00
อารีย์ลักษณ์ เวือมประโคน
ariluck.w@ku.th
ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร
fedupnht@ku.ac.th
ชลาธิป สมาหิโต
chalatip.s@ku.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมนิทานAI ผสานศิลปะสร้างสรรค์ผ่านความร่วมมือกับผู้ปกครอง กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย ชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 3 - 4 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตฯ แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) ชุดกิจกรรมนิทานAI ผสานศิลปะสร้างสรรค์ผ่านความร่วมมือกับผู้ปกครอง 2) แบบประเมินการตระหนักรู้ในตนเองของเด็กปฐมวัย โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ 3 ด้าน ดังนี้ 1) การระบุบอกเล่าถึงอัตลักษณ์ของตนเอง 2) การมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง 3) การรับรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม จำนวน 12 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยที่ใช้ชุดกิจกรรมนิทานAI ผสานศิลปะสร้างสรรค์ผ่าน ความร่วมมือกับผู้ปกครอง มีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.30 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.94 และหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 32.10 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.10 โดยรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยการตระหนักรู้ในตนเองของเด็กปฐมวัยหลังจากการทดลองสูงที่สุด คือ การมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง รองลงมาคือ การรับรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และการระบุบอกเล่าถึงอัตลักษณ์ของตนเองตามลำดับ</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/270882
การพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้ประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน
2024-04-06T14:39:52+07:00
ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ
drsiriwankief@pkru.ac.th
วราพรรณ แซ่แต้
s6310941219@pkru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายของการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 22 คน วิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใบกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐานสามารถพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเฉพาะด้านการสังเกตและการลงความเห็นมีความแตกต่างกัน การใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการแสวงหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างกันแต่มีความสัมพันธ์กัน</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/271513
ผลของกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทัน สื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2024-04-24T09:12:26+07:00
สุมาลี ขำอิน
sumalee.kh@ku.th
วรางคณา โสมะนันทน์
varangkana.s@ku.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น <br />2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 428 คน ปีการศึกษา 2566 ระยะที่ 2 การทดลองใช้กิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 จำนวน 24 คน สุ่มอย่างง่ายโดยการ จับสลาก เป็นกลุ่มทดลอง 12 คน กลุ่มควบคุม 12 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล 2) กิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิเคราะห์ข้อมูลระยะที่ 1 ด้วยค่าร้อยละ และค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ ระยะที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test สถิติ Mann-Whitney U test การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์</p> <p>ผลการวิจัยสรุปว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง 2) กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีคะแนนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) กลุ่มทดลองที่เข้าร่วม กิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีคะแนนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/263823
การประเมินผลและติดตามการเรียนรู้ภาษาจีนกลางของผู้เข้ารับการอบรมโครงการอบรมภาษาจีนกลางระดับ HSK1 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
2023-11-23T15:50:31+07:00
ประภัสสร แคล้วคลาด
prapassorn.th@nmu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลการสอบภาษาจีนกลางกลางระดับ HSK 1 ของผู้เรียนในโครงการอบรมภาษาจีนกลางระดับ HSK 1 ของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และ 2) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนภาษาจีนกลางระดับ HSK 1 ของผู้เรียนในโครงการอบรมภาษาจีนกลางระดับ HSK 1 ของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เรียนภาษาจีนกลางโครงการอบรมภาษาจีนกลางกลางระดับ HSK 1 ของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ห้องเรียนวันพุธ จำนวน 30 คน และห้องเรียนวันเสาร์ จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling : SRS) ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจเป็นเครื่องมือการวิจัยเพื่อประเมินมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของลิเคิร์ท (Likert’s scale) 5 ระดับ ได้แก่ พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจมาก พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจน้อย และพึงพอใจน้อยที่สุด และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา<br />ผลการวิจัย พบว่า<br />1.การประเมินผลการสอบระดับ HSK 1 ของผู้เรียนในโครงการอบรมภาษาจีนกลางระดับ HSK 1 ของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ของทั้งสองห้องเรียน ได้แก่ห้องเรียนวันพุธ และห้องเรียนวันเสาร์ ได้คะแนนเฉลี่ย 23.57 คะแนน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 23.57, S.D. = 2.121) และ 26.27 คะแนน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 26.27, S.D. = 1.909) ตามลำดับ ซึ่งผู้เรียนทุกคนที่เข้าสอบมีคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของคะแนนสอบ ถือว่าผ่านตามเกณฑ์<br />2.การประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คิดเป็น 4.49 คะแนน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.49, S.D. = 2.451)</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/272079
การพัฒนาชิ้นงานและเกณฑ์การให้คะแนนเพื่อประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนระดับประถมศึกษา
2024-06-24T15:26:04+07:00
ฐิติกรณ์ อาจะสมิต
thitikorn.aj@ku.th
นลินี ณ นคร
nalinee_na_nakorn@hotmail.com
สังวรณ์ งัดกระโทก
Sungworn.Ngu@stou.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชิ้นงานและเกณฑ์การให้คะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนระดับประถมศึกษา และตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานและเกณฑ์การให้คะแนนโดยใช้ทฤษฎีสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 180 คน รูปแบบการศึกษาการสรุปอ้างอิงเป็นแบบ <em>p</em> x <em>t</em> x <em>r</em> เมื่อ <em>p</em> แทนนักเรียน <em>t</em> แทนชิ้นงาน และ <em>r</em> แทนผู้ตรวจ เครื่องมือวิจัย คือ ชิ้นงานศิลปะและเกณฑ์การให้คะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะตามแนวคิดของสเติร์นเบอร์ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน และสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตามทฤษฎีสรุปอ้างอิง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ชิ้นงานและเกณฑ์การให้คะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ (ทัศนศิลป์) มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 1.0 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .46 - .66 ค่าความยากอยู่ระหว่าง .38 - .46 และค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน .78 2) ผลการประมาณค่าความแปรปรวน พบว่า องค์ประกอบความแปรปรวนของด้านนักเรียนมีความแปรปรวนมากที่สุด (58.53%) และ 3) ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความน่าเชื่อถือของผลการวัดที่ยอมรับได้สำหรับการตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์และเชิงสัมบูรณ์ ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\hat{\rho}^{2}_{\delta}" alt="equation" />= .84, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\hat{\rho}^{2}_{\Delta}" alt="equation" />= .83) เสนอว่า ในการวัดความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะให้แม่นยำที่ยอมรับได้ นักเรียนควรทำชิ้นงาน 3 ชิ้น และได้รับการประเมินด้วยครู 2 คน</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/268820
ความฉลาดรู้ครอบครัวของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร
2024-01-24T11:26:15+07:00
ณัฐชยา แสนุสภา
natchaya.sae@ku.th
จินตนา กาญจนวิสุทธิ์
feducnk@Ku.ac.th
นฤมล ศราธพันธุ์
fedunms@ku.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดรู้ครอบครัวของนิสิตนักศึกษา และ 2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ครอบครัวของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว<br />ผลการศึกษา พบว่า<br />1. ความฉลาดรู้ครอบครัวในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม และด้านการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับครอบครัวและชุมชน<br />2. ผลการเปรียบเทียบโดยรวม พบว่า นิสิตนักศึกษาที่บิดามีอาชีพส่วนตัว/เกษตรกร และรายได้ของครอบครัว (ต่อเดือน) ชั้นปีที่ศึกษา และจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกันมีความฉลาดรู้ครอบครัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .01 และ .05 ตามลำดับ และนิสิตนักศึกษาที่มีเพศ สายวิชาที่ศึกษา สถานที่อยู่อาศัย อาชีพของมารดา ระดับการศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดาต่างกัน มีความฉลาดรู้ครอบครัวแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/275988
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อความเข้าใจการป้องกันการบาดเจ็บจากกีฬาของนักศึกษาปริญญาตรี
2024-11-01T09:48:02+07:00
Yu Zhengwen
areewan.iamsaard@icloud.com
Tanaput Chancharoen
areewan.iamsaard@icloud.com
Areewan lamsa-ard
areewan.iamsaard@icloud.com
Sarayut Sethakhajorn
areewan.iamsaard@icloud.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเข้าใจการป้องกันการบาดเจ็บจากกีฬาของนักศึกษาปริญญาตรี ข้อมูลการวิจัยเก็บจากประชากรจำนวน 120 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้สอน 3 คน จาก 3 มหาวิทยาลัยใน Guangxi Autonomous Region ได้แก่ Yulin Normal University, Guilin University, Hezhou University เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ใช้ แบบสอบถามสำหรับนักศึกษาและแบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อความเข้าใจการป้องกันการบาดเจ็บจากกีฬาของนักศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยในจีน 3 แห่งอยู่ในระดับสูง สำหรับการสัมภาษณ์อาจารย์ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยภายในที่อาจารย์ระบุ ได้แก่ ความรู้และประสบการณ์ แรงจูงใจ การแนะแนว ส่วนปัจจัยภายนอกที่อาจารย์ระบุ ได้แก่ สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้ วิธีสอน การประเมิน สิ่งแวดล้อม</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/275989
การพัฒนารูปแบบการสอนประสบการณ์เชิงบวกเพื่อเสริมสร้างการคิดริเริ่มการเติบโตส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
2024-11-01T09:56:55+07:00
Li Yu
areewan.iamsaard@icloud.com
Tanaput Chancharoen
areewan.iamsaard@icloud.com
Areewan lamsa-ard
areewan.iamsaard@icloud.com
Prapai Sridama
areewan.iamsaard@icloud.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการคิดริเริ่มการเติบโตส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ข้อมูลการวิจัยเก็บจากประชากรจำนวน 164 คน และ กลุ่มตัวอย่าง ผู้สอน 3 คน จาก 4 สาขา ใน Guangxi Vocational University Of Agriculture ได้แก่ the Environmental art design Major, the Fine arts Major, the Chinese international education Major and the Smart agricultural technology Major เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ใช้ แบบสอบถามสำหรับนักศึกษาและแบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในและภายนอกที่สงผลต่อการคิดริเริ่มการเติบโตส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี อยู่ในระดับที่สูง สำหรับการสัมภาษณ์อาจารย์ ผู้วิจัย พบว่า ปัจจัยภายในที่อาจารย์ระบุ ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยทางจิตวิทยา ส่วนปัจจัยภายนอกที่อาจารย์ระบุได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคม การจัดการเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์ ขนาดชั้นเรียน และการประเมินการเรียนรู้</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/275990
การพัฒนารูปแบบการสอนตามสถานการณ์เพื่อปรับปรุงความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
2024-11-01T10:06:48+07:00
Wang Qiuju
areewan.iamsaard@icloud.com
Wapee Kong-In
areewan.iamsaard@icloud.com
Areewan lamsa-ard
areewan.iamsaard@icloud.com
Jittawisut Wimutipanya
areewan.iamsaard@icloud.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ข้อมูลการวิจัยเก็บจากประชากรจำนวน 125 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้สอน 3 คน จาก 3 โรงเรียนใน Huludao City ได้แก่ Binhai Junior High School, Huangjia Junior High School, และ Lianwan Junior High Schoolเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ใช้ แบบสอบถามสำหรับนักเรียนและแบบสัมภาษณ์สำหรับผู้สอน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับสูง สำหรับการสัมภาษณ์ผู้สอน ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยภายในที่ผู้สอน ระบุได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพ และปัจจัยด้านจิตภาพ ส่วนปัจจัยภายนอกที่ผู้สอนระบุ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม หนังสือประกอบการเรียนการสอน วิธีการสอน การประเมินการเรียนรู้ และด้านที่ต้องการปรับปรุง</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/273276
บทวิจารณ์หนังสือแปล (Book Review) มนุษย์เรียนรู้อย่างไร สมอง จิต ประสบการณ์ โรงเรียน (ฉบับขยายเนื้อหา)
2024-06-19T10:52:59+07:00
กวิสรา โชติวาณิชย์เสถียร
ss3wz@virginia.edu
ชุติพนธ์ สุวรรณเกต
ss3wz@virginia.edu
ธนภัทร ชัชวัชวิมล
ss3wz@virginia.edu
พพิพัฒน์ พนิกรณ์
ss3wz@virginia.edu
รชต อภิรักษ์นันท์ชัย
ss3wz@virginia.edu
สลา สามิภักดิ์
ss3wz@virginia.edu
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์