วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku <p>วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการราย 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และ ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดพิมพ์วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ นิสิต บุคลากร นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบุคคลทั่วไป มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการในสาขาศึกษาศาสตร์ และสาขา ที่เกี่ยวข้อง</p> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Faculty of Education, Kasetsart University) th-TH วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 3027-7124 <p style="text-align: center;">บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน</p> <p style="text-align: center;">วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)</p> A Book Review: Brave New Words https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/273796 <p style="font-weight: 400;">ในขณะที่วงการการศึกษากำลังถกเถียงเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) &nbsp;หนังสือเล่มนี้โดย Salmon Khan ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร Khan Academy ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ “Educated Bravery” หรือความกล้าหาญของระบบการศึกษาและนักศึกษาในการใช้ AI อย่างชาญฉลาด โดยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการรับรู้(perception) ของสังคมที่มีต่อ AI และความชาญฉลาดของมนุษย์ (intelligence) ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ AI และที่สำคัญที่สุดได้ชี้ให้เห็นว่า AI สามารถพลิกโฉมหรือสร้างการปฏิวัติอย่างยิ่งยวดในวงการการศึกษาและการเรียนรู้ได้อย่างไร&nbsp;</p> วรรณวิศา คล้ายจำแลง Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 39 3 96 98 การพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บริบทสถานการณ์ในชีวิต ในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/270884 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับ<br />ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บริบทสถานการณ์ในชีวิต ในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก กลุ่มวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 22 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนำมาใช้กับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บริบทสถานการณ์ แบบวัดสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ อนุทินการเรียนรู้ของนักเรียน และแบบบันทึกหลังการสอน โดยนักเรียนที่เข้าร่วมมีการพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ในระดับมาก (ระดับ 4 จากคะแนนเต็ม 5) ในด้านการระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ สามารถแยกแยะประเด็นหรือเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ออกจากประเด็นในเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วยประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนสามารถระบุคำถามที่สามารถตอบได้โดยการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ และคำถามใดที่ไม่สามารถตรวจสอบ โดยใช้การทดสอบทางวิทยาศาสตร์ พวกเขายังสามารถประเมินตนเองและกำหนดข้อมูลหรือหลักฐาน ที่จำเป็นในการรวบรวมเพื่อออกแบบการรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้อง สามารถใช้วิธีการตรวจสอบ ที่เที่ยงตรง การออกแบบที่ควบคุมตัวแปรและวิธีการเปลี่ยนแปลงตัวแปร รองลงมาคือด้านการอธิบายปรากฏการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนสามารถบรรยาย อธิบาย และคาดการณ์ ในสถานการณ์ในชีวิตได้ ในด้านการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนยังไม่ได้แสดงถึงการพัฒนาสมรรถนะนี้ชัดเจน อาจเป็นเพราะกิจกรรมการเรียนรู้ไม่ได้เน้นการส่งเสริมด้านนี้โดยเฉพาะในบริบทของการใช้ข้อมูลหรือหลักฐานที่ได้รับจากการวิจัยมาสนับสนุนข้อสรุปหรือการคาดการณ์หรือการพยากรณ์ แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บริบทสถานการณ์ในชีวิต ในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์เพิ่มสูงขึ้น</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><em>: </em>สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ บริบทสถานการณ์ในชีวิต ในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก, การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน</p> ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ รุ่งนภา แซ่แต้ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 39 3 1 13 ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก กรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/273152 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ<br />สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค KWDL กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค KWDL กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก กรุงเทพมหานคร แผนการเรียนวิทย์-คณิต จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 80 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียนและกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ <br />1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โมเมนตัมและการชน จำนวน 6 แผน เวลา 18 ชั่วโมง 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 6 แผนเวลา 18 ชั่วโมง <br />3) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์และ 4) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัด การเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, เทคนิค KWDL, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ</p> ศศิตา กองเป็ง ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 39 3 14 25 ผลของการใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในบริบททางการเงินที่มีต่อความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/272812 <p>ความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ เป็นความสามารถของบุคคลในการคิดและแปลงปัญหา การใช้คณิตศาสตร์ และการตีความและประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาในบริบทชีวิตจริง รวมไปถึงช่วยบรรยายและคาดการณ์ปรากฏการณ์ชีวิตจริง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนรู้จากชุดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในบริบททางการเงิน โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 35 คน ที่เรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในบริบททางการเงิน และแบบวัดความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ โดยวิเคราะห์ผลด้วยสถิติบรรยายโดยหาความถี่และร้อยละ และการจำแนกกลุ่มแนวโน้มความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ด้วยการแบ่งกลุ่มแบบค่าเฉลี่ย K ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในบริบททางการเงินส่วนใหญ่มีระดับของความฉลาดรู้คณิตศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับปานกลางและดีซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในบริบททางการเงินมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ โดยมีระดับการคิดและแปลงปัญหาและระดับการใช้คณิตศาสตร์สูงขึ้น อย่างไรก็ตามการตีความและประเมินมีระดับคงที่</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ความฉลาดรู้คณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ชุดกิจกรรม, บริบททางการเงิน</p> ชยังกูร ทองปัญญนพ ศันสนีย์ เณรเทียน Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 39 3 26 40 การพัฒนาแบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/273685 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 2) สร้างเกณฑ์ปกติ (Norm) สำหรับแปลความหมายคะแนน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2/2566 จำนวน 564 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดที่สร้างขึ้นมี 5 องค์ประกอบ คือ 1.ทักษะการแก้ปัญหา 2.ทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ 3.ทักษะการเชื่อมโยง 4.ทักษะการให้เหตุผล และ 5.ทักษะการคิด สร้างสรรค์ เป็นข้อคำถามเชิงสถานการณ์ องค์ประกอบที่ 1–4 เป็นแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก <br />ให้คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน ตอบถูกได้ 1 คะแนน จำนวน 40 ข้อ และองค์ประกอบที่ 5 เป็นแบบเขียนตอบ มีเกณฑ์คะแนนแบบรูบริค จำนวน 2 ข้อ รวมข้อคำถามทั้งหมด 42 ข้อ 2) แบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 - 1.00 ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก 0.37 - 0.74 และ 0.30 - 0.82 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเป็น 0.96 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 1.46, p = 0.23, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.03, RMR = 0.00) 3) เกณฑ์ปกติของแบบวัดในรูปคะแนนมาตรฐานทีปกติมีค่าตั้งแต่ T35 – T70 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถทางทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ระดับปานกลาง</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เกณฑ์ปกติ การพัฒนาแบบวัด</p> เพ็ญพิพร ทรัพย์สุวรรณ์ สรียา โชติธรรม ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 39 3 41 54 ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนจากการผสมผสานระหว่าง โลกเชิงกายภาพและโลกเชิงสัญลักษณ์ในชั้นเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/273961 <p>การวิจัยนี้จัดทำขึ้นภายใต้บริบทการผสมผสานระหว่างโลกเชิงกายภาพกับโลกเชิงสัญลักษณ์ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน 2) ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนและแนวปฏิบัติของวิธีการสอนที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดถนนแค จำนวน 11 คน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบบันทึกภาคสนาม โดยค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ที่ 4.12</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์นักเรียนเกิดจาก แนวคิดจากการแก้ปัญหาผ่านสื่อรูปธรรม (โลกเชิงกายภาพ) และแนวคิดที่เกิดจากการคำนวณเชิงสัญลักษณ์ (โลกเชิงสัญลักษณ์) 2) วิธีการสอนที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ คือ วิธีการแบบเปิด วิธีการสอนลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เพื่อเกิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีความหมาย นอกจากนี้ ในการวิจัยนี้มีข้อค้นพบใหม่ คือ ภายหลังจากที่นักเรียนเกิดแนวคิดจากโลกเชิงกายภาพและโลกเชิงสัญลักษณ์ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่จะคิดอย่างเป็นคณิตศาสตร์จนกระทั่งเกิดเป็นความคิดรวบยอด</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>:</strong>&nbsp; ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ โลกเชิงกายภาพ โลกเชิงสัญลักษณ์ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก</p> บงกช นิ่มตระกูล Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 39 3 55 69 ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเป็นฐานที่มีต่อทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/274198 <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเป็นฐานที่มีต่อทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก<br />ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 สถานรับเลี้ยงเด็ก The Edu จำนวน 14 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเป็นฐาน 24 แผน แบบประเมินทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟังและการพูด 20 ข้อ และแบบสังเกตทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟังและการพูด เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์<br />เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง<br />เป็นฐานมีทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง โดยทักษะภาษาอังกฤษการฟัง และการพูดก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 11.57 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.16 และ<br />หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 18.57 และ มีค่าเบี่ยงเบนเท่ากับ 1.22 เด็กเกิดการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการพูดและการฟังโดยสามารถพูดจากการใช้คำศัพท์จนสามารถพูดเป็นประโยคที่ถูกต้องได้ และสามารถเข้าใจความหมาย ใช้คำศัพท์และประโยคภาษาอังกฤษผ่านบทบาทและสถานการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> สถานการณ์จำลอง ทักษะการฟัง ทักษะการพูด เด็กปฐมวัย</p> พัทธดนย์ รัตนพิทักษ์ ชลาธิป สมาหิโต อรพรรณ บุตรกตัญญู Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 39 3 70 80 เปรียบเทียบการฝึกตารางเก้าช่อง 2 วิธี เท้ากับมือและเท้าร่วมกับการโยนลูกเทนนิส ที่มีต่อทักษะสมรรถภาพทางกายของคนวัยทำงานที่เล่นกีฬาเทนนิส https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/271934 <p>การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบโปรแกรมการฝึกด้วยตารางเก้าช่องระหว่างเท้ากับมือและการฝึกตารางเก้าช่องเท้าร่วมกับการโยนลูกเทนนิสที่มีผลต่อทักษะกีฬาเทนนิสและสมรรถภาพทางกายสำหรับกีฬาเทนนิส กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ออกกำลังกายกีฬาเทนนิส จำนวน 36 คน อายุระหว่าง 22-35 ปี แบ่งกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เวลาการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 60 นาที เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มโปรแกรมการฝึกตารางเก้าช่องเท้ากับมือกับกลุ่มโปรแกรมการฝึกตารางเก้าช่องเท้าร่วมกับการโยนลูกเทนนิสต่อทักษะการตีโฟร์แฮนด์และแบคแฮนด์ กราวด์สโตรค ความคล่องแคล่ว<em>ว่องไว</em> เวลาปฏิกิริยาตอบสนองมือและเท้า แรงเหยียดขา ความอ่อนตัว ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่ม พบว่ากลุ่มโปรแกรมการฝึกตารางเก้าช่องเท้ากับมือ และโปรแกรมการฝึกตารางเก้าช่องเท้าร่วมกับการโยนลูกเทนนิส ดีขึ้นตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมเล่นเทนนิสเพียงอย่างเดียว ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: การฝึกตารางเก้าช่อง, สมรรถภาพทางกายกีฬาเทนนิส</p> อภิวุฒิ เชนรัตน์ ประสิทธิ์ ปีปทุม ปาริยา ปาริยะวุทธิ์ วิรัช ถนอมทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 39 3 81 95