วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku <p>วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการราย 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และ ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดพิมพ์วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ นิสิต บุคลากร นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบุคคลทั่วไป มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการในสาขาศึกษาศาสตร์ และสาขา ที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH <p style="text-align: center;">บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน</p> <p style="text-align: center;">วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)</p> fedujnb@ku.ac.th (รองศาสตราจารย์ ดร.จิตตินันท์ บุญสถิรกุล) fedutny@ku.ac.th (นางธนพร ยอดชมยาน) Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของพ่อแม่เจเนอเรชันวาย และเจเนอเรชันแซด https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/267251 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของพ่อแม่เจเนอเรชันวาย และเจเนอเรชันแซด 2) เปรียบเทียบรูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของพ่อแม่เจเนอเรชันวาย และเจเนอเรชันแซด ในจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พ่อหรือแม่ที่เกิดช่วงระหว่าง พ.ศ. 2528 –2557 อาศัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ และทำหน้าที่เป็นผู้เลี้ยงดูหลักของเด็กวัย 3-6 ปี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G* Power จำนวน 210 คน แบ่งเป็นพ่อแม่เจเนอเรชันวาย และพ่อแม่เจเนอเรชันแซด กลุ่มละ 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยคะแนนมาตรฐาน (z-score) การหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) พ่อแม่เจเนอเรชันวายส่วนใหญ่มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 66.67 รองลงมา คือ แบบประชาธิปไตย คิดเป็นร้อยละ 30.48 ส่วนพ่อแม่เจเนอเรชันแซด ส่วนใหญ่มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 23.80 รองลงมา คือ แบบประชาธิปไตย คิดเป็นร้อยละ 20.95 2) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของพ่อแม่เจเนอเรชันวาย และเจเนอเรชันแซด ในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สุกานดา พันตาเอก, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ, ณฐิณี เจียรกุล Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/267251 Fri, 03 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สถานะของสสารโดยการจัด การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/265459 <p style="font-weight: 400;">งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สถานะของสสาร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้งก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน เรื่อง สถานะของสสาร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะ หาความรู้(5E) ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 คน ที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัด<br />การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย <br />ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t –test (Dependent sample) <br />ผลการวิจัยพบว่า พบว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีคะแนน เฉลี่ยสูงขึ้น ครบถ้วนทั้ง 8 ทักษะ โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 17.17 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะ (5E) เรื่องสถานะของสสาร เท่ากับ 16.94 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 แสดงว่า การจัด การเรียนรู้ด้วยวิธี แบบสืบเสาะ (5E) ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4</p> ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ, อณัญญา หมาดเหยด Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/265459 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตามสภาพจริงผ่านการมีส่วนร่วมในชุมชนนักปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/266356 <p>งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและพัฒนาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนมีประสบการณ์ตามสภาพจริงผ่านการมีส่วนร่วมในชุมชนนักปฏิบัติ และศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ที่ต่อสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียน ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 คน โดยดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทของชุมชนนักปฏิบัติ ระยะที่ 2 พัฒนากรอบแนวคิดและรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ระยะที่ 3 ศึกษาการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือหลังการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 4 พัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกกิจกรรม สมุดพกประจำตัวนักเรียน และแบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ซึ่งผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive Analysis) เพื่อจัดระดับของสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออยู่ในระดับกลาง ทั้ง 3 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ การสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน ซึ่งการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอน จะเน้นให้นักเรียนสื่อสารการทำงานภายในกลุ่มอยู่ตลอดเวลา การมีส่วนร่วมในชุมชนนักปฏิบัติของนักเรียน จะทำให้นักเรียนได้แก้ปัญหาจริงที่มีความซับซ้อน แต่ในสมรรถนะการเลือกวิธีการดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ยังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจากสภาพปัญหาจริงมีความซับซ้อนและไม่แน่นอน ดังนั้นครูผู้สอนควรนำนักวิทยาศาสตร์เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีมุมมองหรือมีวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายและเป็นไปได้มากขึ้น</p> เกรียงไกร เอ็งโอภาสนันท์, เอกรัตน์ ทานาค Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/266356 Fri, 03 May 2024 00:00:00 +0700 Development of Task-driven Instructional Model to Enhance Problem-Solving Skills of Undergraduate Students https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/272302 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาปริญญาตรี&nbsp; ข้อมูลการวิจัยเก็บจากประชากรจำนวน 150 คนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาจิตวิทยาการศึกษาและผู้สอน 3 คน จาก Nanning Normal University ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ใช้ คือ แบบสอบถามสำหรับนักศึกษาและแบบสัมภาษณ์สำหรับอาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อทักษะการแก้ปัญหาจากกลุ่มของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในจีนในระดับที่สูง สำหรับการสัมภาษณ์อาจารย์ ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยภายในที่อาจารย์ระบุ ได้แก่ ความรู้ของผู้สอน และเจตคติ&nbsp; ส่วนปัจจัยภายนอกที่อาจารย์ระบุ ได้แก่ สื่ออุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ วิธีการสอนและการประเมินการเรียนรู้</p> Zhang Aihua, Jittawisut Wimutipany, Areewan Iamsa-ard, Suriya Phankosol Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/272302 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดกิจกรรมศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/266624 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัยทั้งชายและหญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จำนวน 27 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุน จำนวน 16 แผน และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากการวาดภาพ TCT-DP (Test of Creative Thinking – Drawing Production) ของ Jellen and Urban (1986) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดกลุ่มข้อมูลและเขียนบรรยายเชิงพรรณา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.85 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.32 และ หลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 37.07 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.46 โดยรายด้านเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านความคิดละเอียดลออ ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดคล่องแคล่ว</p> นิชาภา แก้วประดิษฐ์, อรพรรณ บุตรกตัญญู, ปัทมาวดี เล่ห์มงคล Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/266624 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ประสบการณ์และแนวทางการพัฒนาการคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว”: การศึกษาเชิงคุณภาพ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/267053 <p>การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาประสบการณ์ในการเข้าร่วมคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว” และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโปรแกรมออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว” กลุ่มตัวอย่าง เป็นประชาชนที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่อาสาสมัครเข้าร่วมงานวิจัย จำนวน 20 คน แบ่งเป็น เพศชาย จำนวน 9 คน และเพศหญิง จำนวน 11 คน มีอายุระหว่าง 20-24 ปี เข้าร่วมคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว” เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสังเกต การบรรยายเหตุการณ์สำคัญ และการสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล และตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า สรุปผลวิจัยได้ 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ <br />1. ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว” จากการเก็บรวบรวมข้อมูลสรุปองค์ความรู้ ไว้จำนวน 6 หัวข้อ คือ 1) การอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้ด้วยอาวุธไทย 2) พัฒนาการทักษะการใช้ดาบ 3) การได้รับข้อมูลย้อนกลับ 4) สมรรถภาพทางกายดีขึ้น 5) อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และ 6) การเสริมแรงขับของผู้นำออกกำลังกาย <br />2. แนวทางการพัฒนาโปรแกรมคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว” จากการเก็บรวบรวมข้อมูลได้สรุปองค์ความรู้ ไว้จำนวน 4 หัวข้อ คือ 1) ท่าทาง การเคลื่อนไหว และจังหวะดนตรี 2) รูปแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย 3) อุปกรณ์การออกกำลังกาย และ 4) การใช้ข้อตกลง แนวปฏิบัติ และข้อควรระวังที่ดี</p> ปรัชญา ชมสะห้าย, กุลชาดา ศรีใส, สุดยอด ชมสะห้าย, ดุสิต สุขประเสริฐ, วนิดา โนรา Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/267053 Fri, 03 May 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 5 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/267234 <p>แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 5 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 260 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม เรื่อง แนวทางการบริหารวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 5 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์และแปลผล<br />ผลการวิจัยพบว่า<br />1. การบริหารวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน โดยรวมมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ<br />2. แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาควรจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นการวัดและประเมินตามสภาพจริง นำเทคโนโลยีมาช่วยในการวัดและประเมินผล ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด มีการตรวจสอบติดตาม และประเมินผล ส่งเสริมความร่วมมือขององค์กร ชุมชน ท้องถิ่น ในการพัฒนาการศึกษา</p> อนันต์ ปิงยศ, ไตรรัตน์ สิทธิทูล Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/267234 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/263203 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน และ 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานหลังการใช้รูปแบบของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายที่เรียนรายวิชาเคมีวิเคราะห์ จำนวน 11 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 แผน และ <br />2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ <br />2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นที่ 2 ขั้นทำความเข้าใจและค้นหา ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและสรุปข้อมูล ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ และขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอและประเมินผล 4) การวัดและประเมินผลและ 5) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล</p> <p>2) หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีนักศึกษามีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในระดับปานกลาง</p> สุธิดา ทองคำ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/263203 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 Development of Task-based Instructional Model to Improve Chinese Culture English Reading Ability of Undergraduate Students https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/272301 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษในวัฒนธรรมจีนของนักศึกษาปริญญาตรี ข้อมูลการวิจัยเก็บจากประชากรจำนวน 150 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้สอน 3 คน จาก 3 มหาวิทยาลัยในมณฑลยูนนาน ได้แก่ Southwest Forestry University, Yunnan Normal University, and Kunming University of Science and Technology เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ใช้ แบบสอบถามสำหรับนักศึกษาและแบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย &nbsp;และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในและภายนอกที่สงผลต่อความสามารถวัฒนธรรมการของจีนจากกลุ่มของนักเรียนจากมหาวิทยาลัยในจีน 3 วิทยาลัย ในระดับที่สูง สำหรับการสัมภาษณ์อาจารย์ ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยภายในที่อาจารย์ระบุได้แก่ แรงจูงใจของนักเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน และความร่วมมือในการทำกิจกรรมของนักเรียน ส่วยปัจจัยภายนอกที่อาจารย์ระบุได้แก่ การจัดการเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ และการประเมินการเรียนรู้</p> Wang Beiyan, Areewan Iamsa-ard, Wapee Kong-In , Suriya Phankosol Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/272301 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 บทพินิจหนังสือ: โรงเรียนนี้ใช่เลย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/269574 วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/269574 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โค้ดดิ้งโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ที่มีต่อกรอบความคิดแบบเติบโตของเด็กปฐมวัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/266198 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โค้ดดิ้งโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ และเพื่อเปรียบเทียบผลของกรอบความคิดแบบเติบโตของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โค้ดดิ้งโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กชาย – หญิง อายุ 4 - 5 ปี ที่กําลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล(ภาวนารังสี) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบยกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โค้ดดิ้งโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ และแบบประเมินกรอบความคิดแบบเติบโตของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โค้ดดิ้งโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.73 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.06 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.30 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.86 โดยด้านที่พัฒนามากที่สุดคือความสนุกสนานในการเรียนรู้ รองลงมาคือความพยายามในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ความไม่ย่อท้อ ต่ออุปสรรค และการเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดได้ตามลำดับ</p> ปวริศา ทวีวิทย์, อรพรรณ บุตรกตัญญู, ชลาธิป สมาหิโต Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/266198 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมความรุนแรงของเด็กปฐมวัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/256988 <p>ศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในทุกด้าน เทคโนโลยีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีได้ เด็กปฐมวัยเอง ก็ได้รับเทคโนโลยีเหล่านี้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เด็กนอกจากจะได้รับความสะดวกสบายแล้ว ยังมาพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่า วิดีโอเกม ในโลกยุคปัจจุบันวิดีโอเกมเข้ามามีบทบาทกับเด็กปฐมวัยมากขึ้น บทความนี้ได้นำเสนอเรื่องของพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กปฐมวัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเล่นวิดีโอเกม การให้คำแนะนำเด็กในการเล่นวิดีโอเกมอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัย รวมถึงการให้คำแนะนำผู้ปกครอง</p> ธรรมสรณ์ วิรุฬห์จรรยา, ชลาธิป สมาหิโต, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลธร Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/256988 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700