การปรับเสียงคํายืมภาษาสันสกฤตในต้าถังซียวี่จี้
คำสำคัญ:
คํายืมภาษาสันสกฤต, ต้าถังซียวี่จี้, ภาษาจีนยุคกลาง, การปรับเสียงคํายืมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์คํายืมภาษาสันสกฤตจํานวน ๑๒๙ คํา จากหนังสือ ต้าถังซียวี่จี้ ซึ่งบันทึกการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของพระถังซัมจั๋งระหว่างปี ค.ศ. ๖๒๖-๖๔๕ โดยศึกษาการปรับเสียงคํายืมภาษา สันสกฤตใน ๒ ระดับคือระดับหน่วยเสียงและกฎเกณฑ์การเรียงหน่วยเสียงในกระบวนการปรับเสียงภาษาต่างประเทศเข้ามาสู่ภาษาแม่พบว่าความคล้ายคลึงทางสัทศาสตร์มีบทบาทสําคัญในกระบวนการปรับเสียง นอกจากนั้นยังพบว่าความคล้ายคลึงกันในการรับรู้เสียงและการกลมกลืนเสียงมีบทบาทในกระบวนการปรับเสียงด้วยเช่นกัน ในระดับของการเรียงหน่วยเสียงพบว่าการปรับเสียงพยัญชนะต้นประสมมักใช้วิธีการแทรกเสียงสระ ส่วนการปรับเสียงพยัญชนะท้ายในภาษาต่างประเทศมักใช้วิธีการสูญเสียงพยัญชนะ นอกจากนั้นยังมีการแทรกเสียงพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้าย เพื่อจัดโครงสร้างพยางค์ใหม่ สําหรับคําที่มีหลายพยางค์จะใช้วิธีการสูญเสียงสระท้ายพยางค์ ส่วนคําที่มีสระเสียงยาวในภาษาสันสกฤตจะใช้วิธีการทอนเสียงสระให้สั้นลง ผลการวิจัยสรุปได้ว่ากระบวนการปรับเสียงเกิดขึ้นในระดับทางสัทศาสตร์ หน่วยเสียงในภาษาสันสกฤตจะเปลี่ยนเป็นหน่วยเสียงที่มีสัทลักษณะใกล้เคียงกันในภาษาจีน ไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีการปรับเสียงคํายืมซึ่งเกิดขึ้นในระดับของระบบเสียงภาษาผู้รับ
Downloads
References
Baxter, William H. 1992. A Handbook of Old Chinese Phonology. Berlin : Mouton de Gruyter.
Baxter, William H. 2000. An Etymological Dictionary of Common Chinese Characters. (a preliminary draft of 28 October 2000)
Chang, Charles B. 2009. English loanword adaptation in Burmese. Journal of the Southeast Asian Linguistics Society 1 : 77–94.
Chang, Charles B. 2003. "High-interest loans”: The phonology of English loanword adaptation in Burmese. AM thesis, Harvard University.
Karlgen, Bernhard. 1915. Etudes sur la Chinologie Chinoise. Leyde et Stockholm.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้เขียนบทความต้องยินยอมในข้อกำหนดต่าง ๆ ของวารสารก่อนส่งบทความตีพิมพ์