เพลงและบทร้องในบทหุ่นกระบอกจักรพันธุ์เรื่องตะเลงพ่าย: ความประสานกลมกลืนของภาษาวรรณศิลป์และดุริยางคศิลป์

ผู้แต่ง

  • รัชนีกร รัชตกรตระกูล ดร. นักวิจัยชำนาญการ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบรรจุเพลง, หุ่นกระบอกจักรพันธุ์เรื่องตะเลงพ่าย, ภาษาวรรณศิลป์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษากลวิธีบรรจุเพลง และความสัมพันธ์ระหว่างบทร้องกับภาษาวรรณศิลป์ในบทหุ่นกระบอกจักรพันธุ์เรื่องตะเลงพ่าย ผลการศึกษาพบว่าเพลงที่บรรจุในหุ่นกระบอกจักรพันธุ์เรื่องตะเลงพ่ายมีจำนวน 113 เพลง โดยใช้กลวิธี 3 ประการ คือ 1) การสืบสานเพลงตามขนบในการแสดง  2) การดัดแปลงเพลง คือการดัดแปลงเพลงสำเนียงภาษา การตัดตอนเพลง และการดัดแปลงทางเพลง และ 3) การสร้างสรรค์เพลงใหม่ เพลงที่บรรจุนี้มีบทบาทสำคัญต่อการขับเน้นภาษาวรรณศิลป์คือ 1) การใช้เพลงเพื่อขับเน้นการสรรคำ 2) การใช้เพลงเพื่อย้ำความ 3) การใช้เพลงเป็นภาพพจน์ คือการใช้เพลงเป็นความเปรียบและอรรถวิภาษ 4) การใช้เพลงเพื่อขับเน้นอารมณ์สะเทือนใจ และ 5) การใช้เพลงเพื่อเกริ่นนำเข้าสู่เรื่องและปิดเรื่อง กลวิธีการบรรจุเพลงในบทหุ่นกระบอกจักรพันธุ์เรื่องตะเลงพ่าย สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการบรรจุเพลงเพื่อใช้ประกอบการแสดงที่ปรากฏทั้งรูปแบบตามขนบและรูปแบบการสร้างสรรค์ใหม่  ส่วนความประสานกลมกลืนระหว่างเพลงที่บรรจุกับภาษาวรรณศิลป์ที่ปรากฏในการแสดงหุ่นกระบอกตะเลงพ่ายนั้น  ช่วยขับเน้นให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกร่วมกับการนำเสนอแก่นเรื่องความเสียสละที่ช่วยธำรงเอกราชของชาติ และส่งผลให้บทหุ่นกระบอกจักรพันธุ์เรื่องตะเลงพ่ายมีลักษณะเด่นในฐานะวรรณคดีการแสดง

Downloads

References

Banchongsilapa, O. & others. (2003). Thai Musical Arts. Bangkok: Institute of Thai Studies Chulalongkorn University. (in Thai)

Chakrabhand Posayakrit Foundation. (2008). Sound record of Rehearsal for Taleng Phai Chakrabhand puppet performance [DVD.]. Bangkok: Chakrabhand Posayakrit Foundation.

Chongstitvattana, S. (2015). Scent of Sandalwood and the Sound of Moonshaped Bell: Literary Language in Thai Literature. Bangkok: Dissemination of Research work project, Faculty of Arts Chulalongkorn University. (in Thai)

Dinprang, C. (2002). An Analysis of Puppet Perfromancing Song the Three Kingdomgs Episode The Battle of The Red Cliff of Chakrabhand Posayakrit. Master’s Thesis, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Pidokrat, N. (2014). Encyclopedia of Thai Songs. Nakornpathom. Mahidol University Press. (in Thai)

Poramanuchit, P. (2018). Lilit Taleng Phai. Bangkok. Office of the Education Council, Ministry of Education. (in Thai)

Posayakrit, C. (1986). Thai Puppets. Bangkok: Secretariat of the National Commission for UNESCO, Ministry of Education. (in Thai)

Posayakrit, C. (2009). Chakrabhand Puppet. Bangkok: Srisara. (in Thai).

Rimpanich, S. (2001). Record of Songs for Taleng Phai Chakrabhabd puppet performance. Unpublished manuscript.

Rimpanich, S. (2020, March 18). Personal Interview.

Sodprasert, V. (2020, March 10). Personal Interview.

Sodprasert, V. (2008). Taleng Phai: A Chakrabhand Puppet Play. Bangkok: Sri Sara. (in Thai)

Uejitmet, W. (1998). The analysis of puppet performing song. Master’s Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24

How to Cite

รัชตกรตระกูล ร. (2021). เพลงและบทร้องในบทหุ่นกระบอกจักรพันธุ์เรื่องตะเลงพ่าย: ความประสานกลมกลืนของภาษาวรรณศิลป์และดุริยางคศิลป์. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 43(2), 39–53. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jasu/article/view/256241