หน่วยสร้างที่มีคำ “ให้” จากมุมมองของภาษาเยอรมัน

ผู้แต่ง

  • กรกช อัตตวิริยะนุภาพ ศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาภาษาเยอรมัน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

หน่วยสร้าง, ให้, ภาษาไทย, ภาษาเยอรมัน, คำเทียบเคียง

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลของงานวิจัยที่ศึกษาเชิงเปรียบต่างระหว่างภาษาไทยกับภาษาเยอรมัน โดยมุ่งเน้นที่จะตอบคำถามวิจัยสำคัญสองประการ คือ 1) รูปแบบการปรากฏ ความหมายและหน้าที่ทางวากยสัมพันธ์ของหน่วยคำ “ให้” ในภาษาไทยนั้นมีอะไรบ้าง สามารถจัดประเภทได้อย่างไร และ 2) คำเทียบเคียงภาษาเยอรมันของหน่วยสร้างที่มีคำ “ให้” ในภาษาไทยมีอะไรบ้าง และหน่วยสร้างที่มีคำ “ให้” ในภาษาไทยนั้นมีลักษณะสอดคล้องกับภาษาเยอรมันอย่างไร ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ คลังข้อมูลสองภาษาสองทิศทาง ซึ่งรวบรวมขึ้นจากตัวบทที่เป็นเรื่องสั้นและบทความที่ไม่ใช่งานวรรณกรรมซึ่งเขียนขึ้นเป็นภาษาไทยและภาษาเยอรมัน รวมถึงบทแปลของตัวบททั้งหมดเป็นอีกภาษาหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า หน่วยสร้างที่มีคำว่า “ให้” ในภาษาไทยที่พบในคลังข้อมูลนั้นมีด้วยกัน 14 รูปแบบ ซึ่งสามารถแจกแจงตามความหมายหรือหน้าที่ได้เป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ การเป็นกริยาที่ไม่สื่อความหมาย การส่งมอบของจากผู้ให้ไปสู่ผู้รับ การให้ประโยชน์หรือก่อให้เกิดความเสียหาย การก่อให้เกิดผล การอนุญาต  การแสดงผลลัพธ์ การแสดงวัตถุประสงค์ การบอกลักษณะหรืออาการ การบอกความแย้งกัน และการบอกเวลา ส่วนคำเทียบเคียงภาษาเยอรมันของหน่วยสร้างที่มีคำ “ให้” ในภาษาไทยที่พบมากที่สุดมี 7 รูป คือ 1) คำกริยา lassen 2) คำกริยาวิเศษณ์ sollen 3) การกกรรมรอง 4) คำบุพบท zu  5) คำบุพบท für 6) คำสันธาน um...zu และ 7) zu ที่ใช้คู่กับกริยา Infinitiv ผลการศึกษาจึงชี้ให้เห็นชัดว่าคำ “ให้” ในภาษาไทยนั้นมีกระบวนกลายเป็นคำทางไวยากรณ์ที่ค่อนข้างครอบคลุมหลากหลายความหมาย และมีคำเทียบเคียงภาษาเยอรมันที่มีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านความหมายและโครงสร้าง

Downloads

References

Bouveret, M. (ed.). (2021). Give Constructions across Languages. Amsterdam/Philadelphia: John Benjamins.

Chamniyom, R. (2003). A Study of preposition converted from verbs in Thai. Master Thesis, Silpakorn University, Thailand. (In Thai)

Dejthamrong, O. (1970). Grammatical functions of the word haj in Thai language. Master Thesis, Chulalongkorn University, Thailand. (In Thai)

Higbie, J. & Thinsan, S. (2002). Thai Reference Grammar. The Structure of Spoken Thai. Bangkok: Orchid Press.

Intratat, C. (1996). Grammaticalization of verbs into prepositions in Thai. Ph.D. Disseratation, Chulalongkorn University, Thailand. (In Thai)

Iwasaki, S. & Ingkaphirom, P. (2005). A Reference Grammar of Thai. Cambridge: Cambridge University Press.

Jenny, M. (2010). Benefactive strategies in Thai. In Zuniga, Fernando/Kittilä, Seppo (eds.): Benefactives and Malefactives. Typological perspectives and case studies. Amsterdam/Philadelphia, John Benjamin: 377-392.

Johansson, S. (2003). Contrastive linguistics and corpora. In: Corpusbased Approaches to Contrastive Linguistics and Translation Studies, edited by Sylviane Granger et al., pp. 31–44. Amsterdam, New York: Rapodi.

Martin, M. H. (2020). Die Übersetzung des Thailändischen Verbs /hăi/ ins Deutsche. Masterarbeit. Ramkhamhaeng University.

Newman, J. (1996). Give. A Cognitive Linguistic Study. Berlin/New York: Mouton de Gruyter.

Piyamahapong, P. (2016). Syntactic and semantic properties of benefactive markers phuea and hai in Thai. Disseration, Chulalongkorn University, Thailand. (In Thai)

Smyth, D. (2002). Thai. An Essential Grammar. London/New York: Routledge.

Takahashi, K. (2012). On historical semantic changes of the Thai morpheme hâj. Journal of the Southeast Asian Linguistics Society (JSEALS), 5, 126-141.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24

How to Cite

อัตตวิริยะนุภาพ ก. (2021). หน่วยสร้างที่มีคำ “ให้” จากมุมมองของภาษาเยอรมัน. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 43(2), 155–174. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jasu/article/view/256291