วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir <p><strong> วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์</strong> เลขมาตรฐานสากล ISSN: 2773-9910 (Print)<strong> </strong>ISSN 2774-0846 (Online) เป็นวารสารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประกอบด้วย พระพุทธศาสนา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ การจัดการ และสหวิทยาการอื่นๆที่นำเสนอองค์ความรู้เชิงนวัตกรรม เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย th-TH วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ 2773-9910 <p>เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์&nbsp; ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ&nbsp; พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น</p> <p>&nbsp;</p> การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในคลื่นความเปลี่ยนแปลงใหม่ตามหลักสัทธรรม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/267644 <p>บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในคลื่นความเปลี่ยนแปลงใหม่ตามหลักสัทธรรม โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในคลื่นความเปลี่ยนแปลงใหม่คือ การปรับระบบการศึกษา การสร้างคนให้ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงในคลื่นความรู้ใหม่ ไปเป็นการศึกษาสู่ฐานสมรรถนะใหม่ เพื่อหยุดความสูญเปล่าทางการศึกษาให้หมดไป นี่คือฐานคิดในการสร้างบ้านเปลี่ยนแปลงเมืองยุคใหม่ สภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การงาน และวิถีการดำรงชีวิตในโลกใบใหม่ที่เคลื่อนเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าใหม่ ที่เชื่อมการดำรงชีวิตกับการงานเข้าสู่นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่อย่างกลมกลืน ปรับโลกสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้การศึกษา การพัฒนาคน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องปรับฐานคิด ปรับทิศทางสร้างการเรียนรู้ใหม่ หากมองในทางพระพุทธศาสนาตามหลักสัทธรรม 3 ได้แก่ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ “ปริยัติ” ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนให้มีความรู้อย่างรอบด้าน และทันสมัย “ปฏิบัติ” ได้แก่ เมื่อศึกษาเล่าเรียนมาเป็นที่เข้าใจแล้ว นำออกไปประพฤติปฏิบัติตามที่ได้ศึกษามาเพื่อให้เกิดเป็นมรรคเป็นผลหรือมีประสิทธิภาพประสิทธิผลของงาน และ “ปฏิเวธ” คือความรู้แจ้งแทงตลอดไปเป็นลำดับ ๆ กระทั่งรู้แจ้งแทงตลอดโดยทั่วถึง ธรรมทั้งสามนี้เกี่ยวเนื่องกัน เหมือนเชือกสามเกลียวที่ฟั่นติดกันไว้ ซึ่งก็คือเกิดทักษะความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ได้เล่าเรียนมา</p> บุนะจินดา พนิดา Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 440 451 ระบบอุปถัมภ์กับปัญหาการบริหารงานภาครัฐ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268029 <p>บทความวิชาการนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงปัญหาของระบบอุปถัมภ์ในการบริหารงานภาครัฐ โดยกล่าวถึง ระบบอุปถัมภ์ ปัญหาการบริหารงานภาครัฐ ระบบอุปถัมภ์ที่เกิดขึ้นในระบบการบริหารงานภาครัฐ ข้อดี ข้อเสียของระบบอุปถัมภ์ วิธีการแก้ไขปัญหาของระบบอุปถัมภ์ในการบริหารงานภาครัฐ และการนำระบบคุณธรรมมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐเพื่อลดทอนอำนาจของระบบอุปถัมภ์ การนำหลักธรรมาภิบาลแต่ละตัวมาแก้ไขปัญหาของระบบอุปถัมภ์ หลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพผู้บริหารหน่วยงานควรให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลและยึดถือหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ เพื่อมุ่งเน้นให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด มีคุณธรรม มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เป็นกรอบแนวทางในบริหารงานภาครัฐ สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละหน่วยงานได้แตกต่างกันไป อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการทุจริตต่าง ๆ ที่จะเกิดจากระบบอุปถัมภ์ให้เบาบางลงได้บ้าง แม้ว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ต้องยอมรับว่าระบบอุปถัมภ์นั้น ส่งผลกับการบริหารภาครัฐเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน นอกเหนือจากหลักธรรมภิบาลแล้วผู้บริหารยังสามารถใช้วิธีการบริหารงานอื่น ๆ มาช่วยเสริมเพื่อลดทอนปัญหาของระบบอุปถัมภ์ในการบริหารงานภาครัฐได้เช่นเดียวกัน</p> กาญจนา นครคง ธนัสถา โรจนตระกูล Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 452 465 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดชุมพร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268207 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชุมพร โดยการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือ คน และสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. นักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชุมพร ฟังเสียงประชาชนให้การเคารพพระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ยึดถือมติคนส่วนใหญ่ รับฟังความคิดเห็นของผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีของสังคมไทย 2. ปัจจัยจริยธรรมพื้นฐาน ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.01 สามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 13 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และหลักสัปปุริสธรรม ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดชุมพร ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.01 สามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 5.80 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3.การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดชุมพร พบว่า การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น ให้เป็นผู้นำที่มีเหตุผล เป็นผู้รู้จักตน รู้ว่าท้องถิ่นของเป็นสภาพบริบท รู้จักประมาณ ในสิ่งที่ตนมีและจุดแข็งของท้องถิ่น รู้จักกาลเวลา รู้ลำดับการทำงานก่อนหลังตามความจำเป็นของประชาชน รู้จักชุมชน รู้จักท้องถิ่นสภาพบริบทของสังคม รู้จักบุคคล ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน</p> พระครูศรีธรรมวิเทศ (ประเสริฐ ปญฺโญภาโส) วัชรินทร์ ชาญศิลป์ สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 1 12 พุทธบูรณาการเพื่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268252 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบริหารงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงาน และนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 363 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเนื้อหาพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลของการบริหารงาน อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงาน พบว่า การบริหารจัดการภาครัฐส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้ร้อยละ 69.90 และหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้ร้อยละ 72.00 3. พุทธบูรณาการเพื่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า 1. ด้านฉันทะ มีใจรัก กำหนดเป้าหมายการพัฒนาตามความต้องการในท้องถิ่น 2. ด้านวิริยะ พากเพียรทำ เน้นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม 3. ด้านจิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างจิตใจ มุ่งเน้นคุณธรรมและจริยธรรม 4. ด้านวิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน วิเคราะห์และประเมินผล เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง</p> สุรกิจ สุวรรณแกม วัชรินทร์ ชาญศิลป์ เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 13 25 พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/267972 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงาน และนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 244 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้สำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเนื้อหาพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ พบว่า การบริหารงานตามหลัก 7s ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงาน ได้ร้อยละ 68.1 และหลักพละ 4 ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงาน ได้ร้อยละ 80.2 3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า สมรรถนะการบริหารงาน มีปัจจัยพื้นฐาน คือ การบริหารงานตามหลัก 7s นำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักพละ 4 ทำให้เกิดการบูรณาการ ได้แก่ การวางแผนที่เด่นชัด จัดองค์กรให้โดดเด่น เน้นภาวะผู้นำ และเลิศล้ำการควบคุม</p> อุสา วงศ์ศิริกุล เติมศักดิ์ ทองอินทร์ เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 26 37 การส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268228 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน และ 3. นำเสนอการพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน โดยประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.899 เก็บข้อมูลกับจากลุ่มตัวอย่างจำนวน 396 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง พบว่า ด้านสถาบันการศึกษา กลุ่มเพื่อน และสื่อมวลชน มีผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หลักสาราณียธรรม มีผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. การพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรม พบว่า ระดับการพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนโดยประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน</p> เชวงศักดิ์ เอี่ยมสำอาง ธัชชนันท์ อิศรเดช สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 38 51 องค์ประกอบในการพัฒนาภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสงคราม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268106 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการพัฒนาภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปกครองท้องที่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ้มผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการเลือกแบบเจาะจงตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เหมาะสม จำนวน 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบด้านการฝึกอบรม ได้แก่ เรื่องการบริหารจัดการทางการเมือง เรื่องการวางแผนและการบริหารจัดการโครงการ เรื่องการสร้างความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม เรื่องการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและความเข้าใจในการบริหารจัดการทางการเมือง 2. องค์ประกอบด้านการศึกษา ได้แก่ การศึกษาทางวิชาการ การพัฒนาทักษะการนำ การเรียนรู้แบบตลอดชีวิต การเรียนรู้ทางสังคม การสร้างทีมงานและการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน และ 3. องค์ประกอบด้านการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาทักษะที่จำเป็น การพัฒนาเครือข่ายการทำงานร่วมกัน การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การพัฒนาการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจ การพัฒนาเสถียรภาพทางการเมือง</p> พระครูสังฆรักษ์เอกลักษณ์ อชิโต เติมศักดิ์ ทองอินทร์ สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 52 64 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลของผู้นำทางการเมืองในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268206 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรค 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการส่งเสริมธรรมาภิบาล 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม คือ ผู้ปกครองท้องที่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน และผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการเลือกแบบเจาะจงตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เหมาะสม จำนวน 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. มีจุดแข็ง คือ มีการเผยแพร่ข้อมูลการใช้งบประมาณและผลการดำเนินงานในระดับท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและให้ความสำคัญในการดำเนินการที่เปิดเผยและโปร่งใส ร่วมมือกับกลุ่มสังคมอื่นๆ เพื่อร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น แต่มีจุดอ่อน คือ นักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงครามขาดความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ขาดความรู้ในการสร้างความพร้อมในการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ ขาดงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 2. องค์ประกอบในการส่งเสริมธรรมาภิบาลของผู้นำทางการเมืองในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม มี 6 ประการ คือ 1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักความโปร่งใส 4. หลักการมีส่วนร่วม 5. หลักความรับผิดชอบ 6. หลักความคุ้มค่า 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล ของผู้นำทางการเมืองในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ฉันทะ มีใจรัก ผู้นำทางการเมืองในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงครามเต็มใจให้บริการประชาชนที่มารับบริการ วิริยะ พากเพียรทำ ปฏิบัติตามแผนในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด จิตตะ ติดตามตรวจสอบ จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา วิมังสา รอบคอบแก้ไข</p> สมชาย ลำภู อนุภูมิ โซวเกษม สุมาลี บุญเรือง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 65 80 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน ในเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271004 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน และ <br />3. นำเสนอแนวการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 393 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ได้แก่ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา 3 รูป นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ 3 คน และนักการเมืองท้องถิ่น 3 คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน พบว่า ปัจจัยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านวัฒนธรรมทางการเมือง ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนในเทศบาลตำบลทับมา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3. แนวการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน ตามหลักสัปปุริสธรรม พบว่า 1. รู้จักเหตุ นักการเมืองท้องถิ่นต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหาท้องถิ่น 2. รู้จักผล นักการเมืองต้องรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน 3. รู้จักตน นักการเมืองและประชาชนต้องมีความรับผิดชอบต่อกัน 4. รู้จักประมาณ ไม่กระทำในสิ่งที่เกินกำลังของตนเอง 5. รู้จักกาลเวลา ช่วยเหลือประชาชนเมื่อมีทุกข์อย่างเต็มท่า 6. รู้จักชุมชน นักการเมืองต้องเข้าใจคนในแต่ละชุมชนถึงความเด่น ความด้อย จุดที่ต้องส่งเสริมเพื่อพัฒนาชุมชน 7. รู้จักบุคคล นักการเมืองท้องถิ่นต้องให้ความเคารพพระผู้ใหญ่</p> จุฑารัตน์ ยะคำ วัชรินทร์ ชาญศิลป์ จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 81 93 การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารวัด ในสังกัดแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/270199 <p>การวิจัยเรื่องนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1 .ภาวะผู้นำของผู้บริหารวัด ในสังกัดแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 2. การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารวัด ในสังกัดแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารวัดกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารวัด ในสังกัดแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างพระภิกษุสามเณรจำนวน 156 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารวัด สังกัดแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานครในภาพรวม มีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการกระตุ้นทางสติปัญญารองลงมา คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2. การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารวัด ในสังกัดแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานครในภาพรวม เห็นด้วยอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านยอมตาม รองลงมา คือ ด้านประนีประนอม และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านเอาชนะ 3. ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับปานกลาง และด้านการกระตุ้นทางสถิติปัญญา มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับน้อยที่สุด มีความสัมพันธ์กับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารวัด ในสังกัดแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> พระมหาณัฐพล แซกรัมย์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 94 109 อนาคตภาพรัฐไทยในอุดมคติตามแนวธรรมาธิปไตยในทศวรรษหน้า https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268205 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนออนาคตภาพรัฐไทยในอุดมคติตามแนวธรรมาธิปไตยในทศวรรษหน้า โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1. การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อกำหนดอนาคตภาพรัฐไทยในอุดมคติ โดยสังเคราะห์เนื้อหาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 21 รูปหรือคน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญ 2. การรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 21 รูปหรือคนด้วยเทคนิคเดลฟาย 2 รอบ เพื่อศึกษาอนาคตภาพที่มีความเป็นไปได้ มีภาพอนาคตที่พึงประสงค์ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน โดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ หาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยการคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปทำนายอนาคตภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชากรตามแนวธรรมาธิปไตย เป็นประชาชนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตสูง ซึ่งตรงกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาคือ อัตตสัมมาปณิธิ เป็นประชาชนที่มีความรู้ ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างดี ตรงกับหลักสัปปุริสูปัสสยะ เป็นประชาชนตระหนักรู้ และเคารพการตัดสินใจของผู้อื่น 2. ดินแดนตามแนวธรรมาธิปไตย เป็นดินแดนที่มีการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สร้างสรรค์ โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ การรักษาความสะอาดของเมือง เป็นดินแดนที่ถูกคุ้มครองด้วยระบบและกลไกในการรักษา และคุ้มครองพื้นที่ โดยไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่น รักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรต่าง ๆ 3. รัฐบาลตามแนวธรรมาธิปไตย เป็นรัฐบาลที่ปกครองโดยเคารพกฎหมายและรัฐธรรมนูญของประเทศ ผู้บริหารประเทศมีคุณธรรมและจริยธรรมสูง ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน 4. อำนาจอธิปไตยตามแนวธรรมาธิปไตย เน้นการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่ายบริหารใช้อำนาจทางการบริหารที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับบริบทของประเทศ ฝ่ายตุลาการตัดสินคดีอย่างตรงไปตรงมา และเป็นธรรมกับประชาชน</p> พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ วัชรินทร์ ชาญศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 110 122 การบูรณาการหลักพุทธจริยธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงาน ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268234 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของบุคลากร ปัจจัยที่ส่งผลและการบูรณาการหลักพุทธจริยธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 159 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ที่ความเชื่อมั่น 0.954 สถิติใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวนา 4 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. หลักภาวนา 4 และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 หลักภาวนา 4 สามารถทำนายความผันแปรได้ร้อยละ 71.8 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำนายได้ร้อยละ 71.8 3. การบูรณาการหลักพุทธจริยธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากร ใช้หลักภาวนา 4 พัฒนากาย ศีล จิต และปัญญาให้พร้อม ระยะสั้นใช้การฝึกอบรม ระยะกลางส่งเสริมการศึกษา และระยะยาวส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอด ผลลัพธ์คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผลของงานเพิ่มมาขึ้นทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม บุคลากรปฏิบัติตนตามระเบียบวินัยขององค์กร ด้านความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ด้านการบริการเป็นเลิศ ประชาชนได้รับการบริการที่ดี ด้านการทำงานเป็นทีม บุคลากรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ณิชาพัฒน์ คำดี Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 123 135 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268174 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 2. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ 391 คน ใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.995 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.03 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ มีดังนี้ การบูรณาการหลักพละ 5 หรือกำลัง 5 ประการ คือ ธรรมอันเป็นกำลังหรือธรรมอันเป็นพลังในการบริหารหรือการปฏิบัติงาน เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. ด้านสัทธาพละ กำลังของความเชื่อ ศรัทธาในภารกิจ 2. ด้านวิริยะพละ กำลังของความเพียร เพียรพิชิตทุกปัญหา 3. ด้านสติพละ กำลังของความระลึกได้ รอบคอบในความคิด 4. ด้านสมาธิพละ กำลังของความตั้งใจมั่น จิตตั้งมั่นในหน้าที่ และ 5. ด้านปัญญาพละ กำลังของความรู้ มีบูรณาการอย่างรอบรู้ เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ ดังนั้นแล้วส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมากยิ่งขึ้น</p> วรินทร จินดาวงศ์ บุญทัน ดอกไธสง พิเชฐ ทั่งโต Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 136 147 ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 พ.ศ. (2536) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/269583 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษา คุณลักษณะ กฎ ระเบียบวิธีการปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 เปรียบเทียบกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ 2. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ แนวคิดวิธีการปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 เปรียบเทียบกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณสมบัติผู้ที่ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ คุณสมบัติฝ่ายสุกกปักษ์ คือ ธรรมฝ่ายขาว หมายถึง คุณสมบัติของพระภิกษุผู้สามารถ เป็นพระอุปัชฌาย์ให้อุปสมบทได้สามารถเป็นอาจารย์ให้นิสสัยได้ และสามารถให้สามเณรอุปัฏฐากได้ ซึ่งจัดอยู่ในคุณสมบัติที่ดีคนที่มีลักษณะนี้ควรได้รับการแต่งตั้ง 2. มาตรา 23 การแต่งตั้ง ถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการดำรงตำแหน่ง พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตน และเฉพาะภายในเขต ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม</p> พระครูบวรศีลวัฒน์ (อำนวย สีลธโร) วรพจน์ ถนอมกุล ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 148 157 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำ ของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271393 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมสำหรับส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 13 รูปหรือคน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์หลักพุทธธรรมส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี 1. ด้านอำนาจ อิทธิพลของผู้นำ แสดงภาวะผู้นำทางการเมืองยอมรับความคิดเห็นที่แตกแตกต่างน้อมนำทศพิธราชธรรมมาใช้มีการจัดทำนโยบาย การแสดงความคิดเห็นในฐานะผู้แทนประชาชนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชน 2. ด้านพฤติกรรมของผู้นำ มุ่งสร้างผลงานทางการเมืองใช้กิจกรรมทางการเมืองสะท้อนความเป็นผู้นำทางการเมือง สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น มุ่งงานจัดทำแผนงาน นโยบายเพื่อให้ประชาชนส่วนมากได้รับผลประโยชน์ นำธรรมะผสมผสานกับการทำกิจกรรมทางการเมืองโดยเริ่มต้นจากการนำหลักทศพิธราชธรรมมาประยุกต์ใช้กับการทำกิจกรรมทางการเมือง 3. ด้านคุณลักษณะของผู้นำ ภาพลักษณ์นักการเมืองต้องมีความกล้าตัดสินใจ มีจุดยืนของตนเอง กล้าเผชิญกับความจริง กล้าเปิดเผยความจริงไม่เน้นประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองด้วยทุ่มเท 4. ด้านสถานการณ์ของผู้นำ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักคน รู้จักคิด รู้จักงาน และรู้จักพัฒนาวิสัยทัศน์ รู้จักพันธกิจที่ต้องรับผิดชอบแล้ว ยังต้องยอมรับความเห็นต่าง จะต้องรู้จักการประนีประนอม การตัดสินใจด้วยทักษะและความรอบคอบ มีความชำนาญในการบริหารท้องถิ่น</p> พระครูวิโรจน์กาญจนเขต (นัทกฤต ทีปังกโร) เติมศักดิ์ ทองอินทร์ สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 158 169 การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษาสถานศึกษาเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271722 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหาการพัฒนาสมรรถนะของครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 2. ศึกษาระดับสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนสถานศึกษาเอกชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหาการพัฒนาสมรรถนะของครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก 1. ด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ 2. ด้านระบบการสื่อสารและการเรียนการสอนออนไลน์ โดยรวมทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 2. ระดับสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย 1. ด้านความรู้ 2. ด้านทักษะ 3. ด้านคุณลักษณะ โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก 3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยเสนอแนวทาง ดังนี้ 1. ควรมีการฝึกอบรมและพัฒนาครูเกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือเทคโนโลยี การออกแบบการเรียนการสอน 2. มีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการจัดการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี 3. มีการพัฒนาสมรรถนะครูให้มีเจตคติที่ดี ในการคิดค้นสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21</p> จิรัชญา ต่างใจ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 170 183 การพัฒนาบทเรียนนาโนเลิร์นนิงร่วมกับห้องเรียนกลับด้านและกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271908 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนนาโนเลิร์นนิงร่วมกับห้องเรียนกลับด้านและกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง โครงสร้างประโยคซับซ้อน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้ใช้บททเรียนนาโนเลิร์นนิงร่วมกับห้องเรียนกลับด้านและกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ปีการศึกษา 2566 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. บทเรียนนาโนเลิร์นนิง เรื่อง โครงสร้างประโยคซับซ้อน 2. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างประโยคซับซ้อน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. แบบทดสอบวัดผล การเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า (T-Test) แบบ Dependence</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนนาโนเลิร์นนิงเป็นคลิปวิดีโอมีระยะเวลาไม่เกิน 3 นาที ง่ายต่อการศึกษาและทบทวนความรู้ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่าย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับห้องเรียนกลับด้านและกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน บทเรียนมีประสิทธิภาพ 83.75/82.92 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้ใช้บทเรียนนาโนเลิร์นนิงร่วมกับห้องเรียนกลับด้านและกิจกรรมแบบเน้นภาระงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44.</p> ปรีชา เสนานิมิตร กอบสุข คงมนัส Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 184 198 ความผิดตามกฎหมายอาญาที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยไม่ต้องการเจตนา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268365 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาที่ไม่ต้องการเจตนาในการกระทำในกฎหมายอาญา 2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาเกี่ยวกับเจตนาในความผิดทางอาญาที่ไม่ต้องการเจตนาในพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่มีโทษทางอาญา และ 3. เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางที่เป็นมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาที่ไม่ต้องการเจตนาเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาให้มีความชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น ศึกษาวิจัยแบบเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาจากตัวบทกฎหมายคำพิพากษาของศาลฎีกา ตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และรวบรวมแนวความคิด ข้อเสนอแนะของนักกฎหมายนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักการดังกล่าวที่ปรากฎอยู่ในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายรวมทั้งราชอาณาจักรไทย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความผิดตามกฎหมายอาญาที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยไม่ต้องการเจตนาซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ เกิดจากความจําเป็นในการนําเอามาตรการทางกฎหมายอาญามาใช้กับปัญหาของการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณชนโดยส่วนรวม โดยเริ่มแรกมีพื้นฐานมาจากความรับผิดเพื่อละเมิดในทางแพ่งเกี่ยวกับการระมัดระวังมิให้เกิดผลตามที่กฎหมายบัญญัติขึ้น ต่อมาหลักนี้ได้ขยายไปสู่ความผิดอื่นๆ ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยเหตุผลทางเทคนิคในการรักษาความสงบในสังคม และในระยะแรกเริ่ม มีการตีความหลักความรับผิดนี้อย่างเคร่งครัดและก่อให้เกิดความรับผิดอย่างเด็ดขาดแก่ผู้ฝ่าฝืน ทำให้เกิดการโต้แย้งทางความคิดเกี่ยวกับหลักความรับผิดนี้ และต่อมาหลักความรับผิดนี้ได้ผ่อนคลายลง และยอมรับถึงข้อต่อสู้ต่าง ๆ ในการแก้ตัวให้พ้นความรับผิดนี้ และมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการที่เกิดขึ้นกับบทบัญญัติที่กำหนดความรับผิดนี้ในประการที่ก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้น</p> พระครูสุจิตรัตนากร (สังวาลย์ วฑฺฒจิตฺโต) โกเมศ ขวัญเมือง ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 199 211 พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมือง ของเยาวชนในจังหวัดนนทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271408 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ปัจจัยที่เกิดขึ้นต่อการเมืองของเยาวชนในจังหวัดนนทบุรี และศึกษาพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในจังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน เครือมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การตื่นตัวทางการเมืองควรใช้หลักอิทธิบาท 4 เข้ามาบูรณาการร่วม โดย 1. ฉันทะ (ความพอใจ) ให้ความสำคัญต่อระบบประชาธิปไตย พึงพอใจในระบอบประชาธิปไตย และมีทัศนคติทางการเมืองที่ดี 2. วิริยะ (ความเพียร) พากเพียรในหน้าที่ของตนเอง ใส่ใจในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้อย่างจริงจัง และให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3. จิตตะ (ความเอาใจใส่) รู้จักหน้าที่ตนเอง ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เมื่ออยากรู้อะไรต้องค้นหาข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจด้วยความใส่ใจ รวมทั้งต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กติกาของสังคม และ 4. วิมังสา (ความรอบคอบ) หมั่นสอดส่องเอาใจใส่ในการทำงาน ใช้เหตุและผลวิเคราะห์แสวงหาความจริงที่ถูกต้อง มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด มองเป้าหมายเป็นสำคัญ โดยนำเข้าไปบูรณาการผ่านการกล่อมเกลาทางการเมืองในด้านต่าง ๆ ก็จะส่งผลให้เยาวชนมีการตื่นตัวทางการเมืองในเชิงสร้างสรรค์.</p> พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 212 221 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาการบริหารงานขององค์การบริหารงานส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271599 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาการบริหารงาน 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาการบริหารงาน และ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนา ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารงานส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 367 คน โดยวิธีการสุ่มแบชั้นภูมิ จากประชากรจำนวน 4,389 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาการบริหารงานของ องค์การบริหารงานส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า หลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (R=.774**) 2. การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อการพัฒนาการบริหารงานขององค์การบริหารงานส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า บุคลากรเอาใจใส่ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3. การพัฒนาการบริหารงานขององค์การ บริหารงานส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ด้านคุณภาพการให้บริการได้มาตรฐาน ด้านปริมาณงานได้จำนวนมากขึ้น ด้านเวลาในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนลดลง</p> พระปราโมทย์ พุทฺธธมฺโม (แซ่ลี้) พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ สุริยา รักษาเมือง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 222 236 การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดของพระภิกษุวิกลจริตที่กระทำความผิดตามพระธรรมวินัยและความรับผิดของบุคคลวิกลจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/270353 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากรณีพระภิกษุและคฤหัสถ์กระทำผิดอาญาขณะวิกลจริต 2. เพื่อศึกษาสภาพวิกลจริตของพระภิกษุและคฤหัสถ์ที่ทำให้พ้นจากความรับผิดทางวินัย และโทษทางอาญา 3. เพื่อศึกษากฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับความรับผิดของบุคคลวิกลจริตทางอาญาและกระบวนการทางกฎหมายบ้านเมือง การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. กรณีพระภิกษุและคฤหัสถ์กระทำผิดอาญาขณะวิกลจริต คนวิกลจริตไม่รู้สำนึกของการกระทำ แต่อาจเป็นอันตรายแก่บุคคลในสังคม สังคมไม่ปลอดภัย พบว่าผู้กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต จิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ สำหรับความผิดนั้น หรือได้รับการลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 2. สภาพวิกลจริตของพระภิกษุและคฤหัสถ์ที่ทำให้พ้นจากความรับผิดทางวินัยและโทษทางอาญา คนผิดปกติทางจิตที่มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจโดยไม่ชักช้าเพื่อนำไปสู่การบำบัดรักษา 3. กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับความรับผิดของบุคคลวิกลจริตทางอาญาและกฎหมาย กฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีลักษณะคล้ายกับประมวลกฎหมายอาญาของไทย ผู้กระทำผิดขณะวิกลจริตมีทั้งไม่ต้องรับโทษและได้รับการลดโทษ ศาลจะส่งตัวผู้วิกลจริตไปรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช</p> พระมหาสำราญ ฐานุตฺตโม สมบัติ อรรถพิมล Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 237 251 พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/267541 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการ และนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 303 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้สำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเนื้อหาพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม พบว่า การบริหารตามหลัก PDCA ส่งผลต่อการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม ได้ร้อยละ 60.2 และหลักสาราณียธรรม 6 ส่งผลต่อการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม ได้ร้อยละ 47.7 3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม พบว่า การบริหารจัดการของสมาคม มีปัจจัยพื้นฐาน คือ การบริหารตามหลัก PDCA นำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย มุ่งบำเพ็ญประโยชน์ ไม่เพ่งโทษสามัคคี วิชาการความรู้ดี เทคโนโลยีด้านวิจัย ร่วมมือหน่วยงานรัฐ ปฏิบัติตามพันธกิจ สุจริตมาตรฐาน สวัสดิการล้ำเลิศ</p> สุรวุฒ ณ ระนอง เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง สมาน งามสนิท Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 252 265 ประสิทธิผลการดำเนินงาน ศูนย์พึ่งได้ (OSCC) โรงพยาบาลปทุมธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268629 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการให้บริการ และผลลัพธ์การดำเนินงาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ และนำเสนอผลการวิจัยแบบการพรรณนาเชิงวิเคราะห์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. การประเมินบริบท (Context Evaluation) ต้องมีการจัดตั้งศูนย์พึ่งได้ เพื่อช่วยเหลือและลดการกระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัว และการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและเน้นการทำงานเชิงบูรณาการ 2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) สถานที่ในการจัดตั้งศูนย์ต้องมีความพร้อมและเหมาะสม บุคลากรมีวุฒิเฉพาะด้าน มีการสนับสนุนด้านงบประมาณและองค์ความรู้ และคณะกรรมการศูนย์พึ่งได้ มีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของปัญหา 3. การประเมินกระบวนการให้บริการ (Process Evaluation) เน้นการทำงานในรูปแบบสหวิชาชีพ จัดการประชุม Case Conference และประชุมคณะกรรมการภายในภายนอกสม่ำเสมอ มีกระบวนการค้นหาคัดกรองที่รวดเร็ว คำนึงถึงความปลอดภัย ป้องกันการถูกทำร้ายซ้ำ รักษาความลับ บทบาทของวิชาชีพชัดเจน ส่งต่อข้อมูลตามแบบมาตรฐาน มีการประสานงานอย่างเข้มแข็ง และมีการดำเนินงานเชิงรุก 4. การประเมินผลลัพธ์การดำเนินงาน (Product Evaluation) มีการทำงานอย่างเป็นระบบ สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน มุ่งแก้ปัญหาและอุปสรรคด้วยการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานภายนอกที่หลากหลาย</p> วรภัทร แสงแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 266 281 แนวทางการพัฒนาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์บริการ แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อก้าวสู่ความเป็นสากล https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/267444 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ เปรียบเทียบความพึงพอใจจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ประชากร คือ ผู้ใช้บริการ จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และค่าเอฟ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก <br />2. ผู้ใช้บริการที่มีเพศ อายุ และสถานภาพต่างกัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3. แนวทางการพัฒนา 1. เจ้าหน้าที่ควรให้บริการด้วยความถูกต้องรวดเร็ว 2. เจ้าหน้าที่ควรให้บริการด้วยความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ มีความสามารถในการตอบคำถาม ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ตรงประเด็น แต่งกายสุภาพเรียบร้อย วางตัวเหมาะสม 3. เพิ่มสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น เอกสาร แผ่นพับ และมีจุดบริการสืบค้นข้อมูล และ 4. เพิ่มตู้รับฟังความคิดเห็นหรือช่องทางแสดงความคิดเห็นอื่น ๆ เพื่อสะดวกต่อผู้ใช้บริการ</p> คณกร สว่างเจริญ อัครนันท์ อัศวรัชต์โภคิน พงษ์พันธ์ นารีน้อย Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 282 294 การประยุกต์หลักพุทธธรรม และการสื่อสารทางการเมืองเพื่อสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ในจังหวัดนครศรีธรรมราช https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268042 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น 2. ศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น และ 3. ศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม 7 กับการสื่อสารทางการเมือง เพื่อสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมือง การสื่อสารทางการเมืองส่งผลต่อการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับ คือ ด้านผู้ส่งสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร ด้านสาร และด้านผู้รับสาร ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ส่งผลต่อการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 โดยเรียงลำดับ คือ ด้านมัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ด้านกาลัญญุตา รู้จักกาลเวลา ด้านอัตตัญญุตา รู้จักตน ด้านปริสัญญุตา รู้จักชุมชน สังคม และด้านธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ สามารถพยากรณ์การสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นได้ 3. การนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองเพื่อสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ การรับรู้ความสำคัญ เหตุผลของการที่ต้องมีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น การรู้บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ประเมินผลและการดำเนินการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นได้</p> ธีรยุทธ ชะนิล อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 295 308 กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมืองในกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268064 <p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง 2. เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง และ 3. เพื่อเพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจาก กลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมืองในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และหลักอปริหานิยธรรม 7 ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง กรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน และ 3. การประยุกต์หลักธรรมเพื่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง ด้วยการนำอปริหานิยธรรมมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตั้งแต่ระดับประชาชนทั่วไปจนถึงผู้นำหรือผู้บริหารประเทศ</p> ศุภมา จิตต์เที่ยง ธัชชนันท์ อิศรเดช อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 309 322 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจประกันชีวิตในกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268158 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ และเพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจประกันชีวิตในกรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากบุคลากรของบริษัทประกันชีวิตในกรุงเทพมหานคร จำนวน 379 ตัวอย่างใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Regression Analysis) ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.24) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ ได้แก่ หลักปาปณิกธรรมส่งผลต่อการบริหารจัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการบริหารจัดการ 5 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรม ประกอบด้วย ด้านการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อลูกค้า ด้านกระบวนการก่อนการขาย ด้านการให้บริการตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยนำหลักปาปณิกธรรมซึ่งส่งเสริมการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ ประกอบด้วย จักขุมา มีวิสัยทัศน์ วิธูโร จัดการดี และ นิสสยสัมปันโน มีมนุษยสัมพันธ์ รวมทั้งนำส่วนประสมทางการตลาด ทั้ง 7 ด้านเป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคคล ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการ</p> ประภาวรินทร์ พิทักษ์ชัยภักดี บุญทัน ดอกไธสง สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 323 335 แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268115 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพปัญหาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 2. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 56 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน และวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิภาพในการการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.12 และ S.D. = .63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านปริมาณงาน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.15 และ S.D. = .58) รองลงมา คือ ด้านคุณภาพงาน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.14 และ S.D. = .63) ค่าความรวดเร็ว ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.11 และ S.D. = .61) และค่าความประหยัดและความคุ้มค่า ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.11 และ S.D. = .71) ตามลำดับ 2. ประสิทธิภาพในการการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานควรจัดลำดับความสำคัญของงาน พัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานทดแทนกันได้ ส่งเสริมและพัฒนาให้บุคลากรทำงานเป็นทีม มุ่งมั่นไปให้ทิศทางเดียวกัน อบรมให้ความรู้การใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน ประมวลผล ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น</p> ปริณดา บรรดาศักดิ์ ภัทรนันท สุรชาตรี Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 336 347 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268110 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชน และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ประชาชนให้ความสำคัญกับคุณลักษณะของผู้สมัคร คือ มีคุณสมบัติของความซื่อสัตย์สุจริต ด้านนโยบาย คือ มีนโยบายจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ด้านพรรคการเมืองที่สังกัด มีนโยบายเพื่อประชาชน และด้านความสามารถในการสื่อสาร คือ เป็นผู้รู้ มีวาทศิลป์ สื่อสารได้ตรงประเด็น เข้าใจง่าย มีความสร้างสรรค์ ไม่สร้างความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจให้ประชาชนได้ 2. ปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี มี 3 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01 โดยเรียงลำดับ คือ ด้านผู้รับสาร ด้านเนื้อหาข่าวสาร และด้านช่องทางการสื่อสาร ตามลำดับ ปัจจัยภายในหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี มี 4 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 โดยเรียงลำดับ คือ ด้านมัตตัญญุตา การรู้ประมาณ ด้านปริสัญญุตา การรู้จักชุมชน ด้านกาลัญญุตา: การรู้จักกาล และด้านอัตถัญญุตา การรู้จักผล ตามลำดับ 3. รูปแบบการนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี มีการประยุกต์ คือ การรู้ความต้องการของประชาชน รู้ผลกระทบจากนโยบาย รู้จักหน้าที่ รู้จักประมาณการทำงานและเวลา รู้พื้นฐานของชุมชน และรู้จักสิทธิอันพึงได้จากนโยบายการเมือง</p> โปรดปราน เสริญวงศ์สัตย์ อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า วัชรินทร์ ชาญศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 348 362 การขับเคลื่อนระบบและกลไกการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยอง ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/267423 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบของระบบและกลไกการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของจังหวัดระยอง 2. ศึกษาการขับเคลื่อนระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยอง และ 3. สังเคราะห์แนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของจังหวัดระยอง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกมาแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้แทนคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยอง และหน่วยงานภาคีเครือข่ายสนับสนุนการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยอง เครื่องมือการวิจัยคือแนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แก่นสาระ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของจังหวัดระยองประกอบด้วย สภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ โดยมีคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยองเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนระบบด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 2. การขับเคลื่อนระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยองมีความครอบคลุมทุกหน้าที่ และ 3. แนวทางพัฒนาการขับเคลื่อนระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของจังหวัดระยองด้านปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย การจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานประจำปี การเลือกใช้สื่อและช่องทางการประชาสัมพันธ์ การขอรับการสนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์และงบประมาณจากภาษียาสูบ ด้านกระบวนการประกอบด้วย การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ การกำหนดนโยบายการบำบัดรักษาผู้เสพติดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์กฎหมายและการแก้ปัญหาสุขภาพจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ การฝึกอบรมความรู้ด้านกฎหมาย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และการสุ่มตรวจและลงโทษการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย</p> วรีรัตน์ ศรีสถิตย์วัฒนา พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ พงษ์สุวรรณ ศรีสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 363 378 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268125 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพความไว้วางใจของประชาชนต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี และ 3. เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน ด้วยแบบสัมภาษณ์ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจ ร่วมกันทำนายการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 86.0 มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และหลักสัปปุริสธรรม 7 ร่วมกันทำนายการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรีในจังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 82.4 มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. การประยุกต์หลักธรรมเพื่อความไว้วางใจไปการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรีในจังหวัดชลบุรี จากการสัมภาษณ์พบว่า การรู้จักเหตุ นายกเทศมนตรีมีความสามารถรู้ปัญหาในพื้นที่ มีเหตุผลในการกำหนดนโยบายเพื่อท้องถิ่น การรู้จักผล รู้เป้าหมายในการกำหนดนโยบายและปัญหาที่เกิดขึ้นในเทศบาล การรู้จักตน รู้บทบาทหน้าที่ มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อประชาชน การรู้จักประมาณ สามารถบริหารงบประมาณท้องถิ่นเป็นที่โปร่งใสและเกิดประโยชน์สูงสุด การรู้จักกาล นายกเทศมนตรีเข้าไปช่วยเหลือประชาชนเมื่อมีปัญหาสามารถแก้ไขได้ทันเวลา การรู้จักชุมชน สังคม รู้จักท้องถิ่นที่เข้าไปพบปะประชาชนสม่ำเสมอ ส่งเสริมจุดเด่นกำจัดจุดด้อยของแต่ละชุมชน การรู้จักบุคคล รู้จักประชาชนคนในพื้นที่ดี ทั้งผู้นำกลุ่ม ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน และเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่</p> อภิชัย พิทยานุรักษกุล สุมาลี บุญเรือง สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 379 390 รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อ การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268113 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1 เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี สิ่งที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ สิทธิและหน้าที่ตามหลักรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งอย่างสุจริต ยุติธรรม ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการเลือกตั้ง 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี พบว่า 1. การสื่อสารทางการเมืองทั้ง 2 ด้านมีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี เรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ คือ ด้านการกล่อมเกลาทางการเมือง และด้านการรับรู้ข่าวสาร มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี 2. หลักอปริหานิยธรรม 5 ด้าน มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี 3. รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม คือ การมีความสามัคคี มีความรับผิดชอบร่วมกัน การปฏิบัติตามกฎหมาย การเคารพผู้ที่ควรเคารพ ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพ การให้ความสำคัญกับประชาชน และการสนับสนุนคนดีมีคุณธรรม</p> ธวัชชัย ผลสะอาด อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า วัชรินทร์ ชาญศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 391 406 ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268321 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสังคหวัตถุและหลักการการให้บริการสาธารณะกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 354 คน สุ่มด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมและการให้บริการสาธารณะกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก การให้บริการสาธารณะกับความพึงพอใจของประชาชนด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (R=.954**) 3. ปัญหาและอุปสรรค พบว่า ขาดการประชาสัมพันธ์เรื่องแผนการพัฒนาชุมชน ขาดการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพแก่ประชาชน ระบบส่งน้ำเพื่อการเกษตรยังไม่เพียงพอและทั่วถึงแก่ประชาชน ข้อเสนอแนะคือ ควรส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลมากขึ้น ควรมีการส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับประชาชน</p> คณัสนันท์ พลเคน รัฐพล เย็นใจมา อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 407 417 การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุ กรณีตติยปาราชิกตามหลักพุทธศาสนาเถรวาทและ ความรับผิดอาญา ของบุคคลในความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268367 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระทำโดยเจตนาตามพระวินัยปิฎกและการกระทำโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา 2. ศึกษาโครงสร้างความผิดต่อชีวิตตามตติยปาราชิกในพระวินัยปิฎกและประมวลกฎหมายอาญา 3. เสนอข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะปรับปรุงกฎหมายอาญาให้สอดคล้องกับพระวินัย ศึกษาวิจัยเอกสาร เก็บข้อมูลจากเอกสารผลงานทางวิชาการ เช่น หนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และงานวิชาการในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. เจตนา (คดีอาญา) แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ เจตนาประสงค์ต่อผล หมายถึง รู้สำนึกและมุ่งหมายจะให้เกิดผลขึ้น เจตนาเล็งเห็นผล หมายถึง ไม่ได้ประสงค์ต่อผล 2.การกระทำทุกฐานความผิด ผู้กระทำจะรับผิดหรือรับโทษก็ต่อเมื่อได้มีการกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนด การกระทำทุกฐานความผิด ผู้กระทำจะรับผิดหรือรับโทษก็ต่อเมื่อได้มีการกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนด 3.การเปรียบเทียบทั้ง 5 ด้าน มีส่วนที่เหมือนกันอยู่ 1 ด้าน คือ ด้านที่ 3 องค์ประกอบภายใน คือ พระบัญญัติใช้คำว่า “จงใจ” ส่วนคำว่า “เจตนา” มีความหมายเหมือนกัน คือ มีความตั้งใจที่จะแสวงหาศัสตราอันจะพรากกายมนุษย์ ส่วนที่ต่างกันมี 1 ด้าน คือ โทษที่จะได้รับ สำหรับอนุบัญญัติ โทษที่จะได้รับ คือ “ปาราชิก” ส่วนบทบัญญัติ โทษที่จะได้รับ คือ “จำคุก ปรับ” เป็นโทษปานกลาง</p> พระครูอุทุมพรกิตติคุณ (เลื่อน ภมโร) โกเมศ ขวัญเมือง พระสิทธินิติธาดา (ชลัช โชติทตฺโต) Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 418 426 การประกอบสร้างความจริงเรื่อง กลุ่มเยาวชนต่อต้านรัฐบาล : ศึกษาเปรียบเทียบสำนักข่าวผู้จัดการกับสำนักข่าวมติชน ในช่วงปี พ.ศ. 2563-2565 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/268399 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางการเมืองที่ส่งผลต่อการประกอบสร้างความจริงกรณีกลุ่มเยาวชนต่อต้านรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ของสำนักข่าวผู้จัดการกับสำนักข่าวมติชนและศึกษาถึงการประกอบสร้างความจริงกรณีกลุ่มเยาวชนต่อต้านรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านสำนักข่าวผู้จัดการกับสำนักข่าวมติชนโดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องการประกอบสร้างความจริง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ สำนักข่าว 4 คน นักวิชาการด้านสื่อสารการเมือง 2 คน เยาวชนต่อต้านรัฐบาล 3 คน ผู้รับสารของสำนักข่าวผู้จัดการ 2 คน และผู้รับสารของสำนักข่าวมติชน 2 คน แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ชั้นตอน ได้แก่ การลดทอนข้อมูล การแสดงข้อมูล การสร้างข้อสรุป</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การประท้วงต่อต้านรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาโดยกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และประชาชนแรกเริ่มเกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ และเริ่มประท้วงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันโดยการชุมนุมมีลักษณะเป็นแฟลชม็อบเริ่มต้นในช่วงบ่ายแล้วยุติลงในคืนวันนั้น สำหรับการประกอบสร้างความจริงของสำนักข่าวผู้จัดการต่อต้านรัฐบาลพบว่าสำนักข่าวผู้จัดการ มีการประกอบสร้างความจริงในการนำเสนอข่าวของกลุ่มเยาวชนต่อต้านรัฐบาลในทางลบ โดยมีการนำนักวิชาการ ผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลหรือฝ่ายอนุรักษ์นิยมมาให้ความคิดเห็นในเนื้อข่าวในประเด็นของการชุมชน โดยไม่มีลักษณะเปรียบเทียบให้เห็นแต่มุ่งโจมตีกลุ่มเยาวชนต่อต้านรัฐบาลว่ามีการหนุนหลังจากนักการเมืองบางกลุ่ม หรือได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ส่วนการประกอบสร้างความจริงของสำนักข่าวมติชนกรณีกลุ่มเยาวชนต่อต้านรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาพบว่าสำนักข่าวมติชนมีการประกอบสร้างความจริงในการนำเสนอข่าวของกลุ่มเยาวชนต่อต้านรัฐบาลในลักษณะของการวิเคราะห์ข่าวนำเสนอแง่มุมทั้งสองด้าน ทั้งของกลุ่มเยาวชนและฝ่ายรัฐบาลโดยพยายามให้มีความคิดเห็นส่วนตัวน้อยที่สุด</p> <p> </p> วิสูตร วิสุทธิไกรสีห์ นันทนา นันทวโรภาส Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 7 4 427 439