วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir <p><strong> วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์</strong> เลขมาตรฐานสากล ISSN: 2773-9910 (Print)<strong> </strong>ISSN 2774-0846 (Online) เป็นวารสารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประกอบด้วย พระพุทธศาสนา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ การจัดการ และสหวิทยาการอื่นๆที่นำเสนอองค์ความรู้เชิงนวัตกรรม เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> th-TH <p>เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์&nbsp; ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ&nbsp; พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น</p> <p>&nbsp;</p> journal.idir@mcu.ac.th (พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร) journal.idir@mcu.ac.th (พระมหาสมชาย ขนฺติสรโณ) Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งผู้บริหาร และสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274485 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล 3. เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อยืนยันองค์ความรู้ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การเลือกตั้ง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตาม พบว่า ด้านการเลือกตั้งโดยเสมอภาค รองลงมาคือ การเลือกตั้งโดยลับ และการเลือกตั้งโดยเสรี ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งส่งผลต่อการเลือกตั้ง 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับดังนี้ ด้านบุคลิกภาพ ด้านสิ่งเร้าทางการเมือง และด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมือง ซึ่งแสดงว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งสามารถร่วมกันทำนายการเลือกตั้งได้ร้อยละ 40.4 2. หลักอปริหานิยธรรม ส่งผลต่อการเลือกตั้ง 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับสมการดังนี้คือ เคารพสักการะบูชาเจดีย์ ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้เดิม และดูแลสตรีให้อยู่ดีมิถูกข่มเหง ซึ่งแสดงว่า หลักอปริหานิยธรรมสามารถร่วมกันทำนายการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี ได้ร้อยละ 46.9 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี พบว่า ทำกิจกรรมร่วมกันสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบ แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน ให้เกียรติทุกคนอย่างเท่าเทียม</p> จิณณะ โสตะจินดา, วัชรินทร์ ชาญศิลป์, สุมาลี บุญเรือง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274485 Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 พุทธบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274572 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย โดยการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 62 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =3.72) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย พบว่า 1. ปัจจัยการบริหาร มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=3.69) 2. หลักอิทธิบาท 4 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =3.66) 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการบริหาร (X<sub>1</sub>) หลักอิทธิบาท 4 (X<sub>2</sub>) มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. รูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย พบว่า มีการประยุกต์ใช้กับหลักอิทธิบาท 4 ดังนี้ 1. ด้านวิริยะ บริหารงานด้วยความเพียรพยายาม 2. ด้านวิมังสา : บริหารงานด้วยการไตร่ตรอง 3. ด้านฉันทะ : บริหารงานด้วยความพอใจ 4. ด้านจิตตะ : บริหารงานด้วยความคิดจิตฝักใฝ่</p> พระครูสมุห์ธนาการ ธนกโร (สบหนอง), เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง, สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274572 Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 การส่งเสริมภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักทุติยปาปณิกธรรม สำหรับนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271735 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำสำหรับนักการเมืองท้องถิ่น 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นกับหลักทุติยปาปณิกธรรม และ 3. นำเสนอการส่งเสริมภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา ตามหลักทุติยปาปณิกธรรม การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งของเทศบาลตำบลเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 327 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดย โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำสำหรับนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.81 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ค่าเฉลี่ย 3.84 คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ค่าเฉลี่ย 3.83 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ค่าเฉลี่ย 3.73 2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นกับหลักทุติยปาปณิกธรรม มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง (r=.0.781**) มีระดับนัยสำคัญทางระดับสถิติที่ระดับ 0.01 3. การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักทุติยปาปณิกธรรม 1. ด้านจักขุมา ผู้นำควรเป็นผู้ที่มีความคิดที่ทันสมัย ทันสถานการณ์ และมองการณ์ไกล มีความรอบรู้ รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคมโลก 2. ด้านวิธูโร ผู้นำต้องเข้าถึงปัญหาต่าง ๆ ด้วยปัญญา เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ชุมชนนั้นเกิดการพัฒนาในทางที่ดี 3. ด้านนิสสยสัมปันโน ผู้นำต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี โดยใช้การสื่อสารกับประชาชนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานด้วยความมีจิตใจที่ซื่อสัตย์ สุจริต โดยไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน</p> พระสัภยา สุทฺธสีโล, เบญญาภา อัจฉฤกษ์, ไพวรรณ ปุริมาตร Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271735 Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/272674 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพัฒนาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยในภาพรวมและรายด้านระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง และ 2. เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กชายและเด็กหญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนเทศบาลเมืองสิงหนคร 1 (บ้านยางงาม) จำนวน 15 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. คู่มือและแผนการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง 2. แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้สถานการณ์ และ 3. แบบสังเกตพัฒนาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบเครื่องหมายของวิลคอกซัน</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองมีพัฒนาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวมและรายด้านสูงขึ้น ได้แก่ ด้านการสังเกตและรับรู้ ด้านการรวบรวมข้อมูล ด้านการพิจารณาไตร่ตรองข้อมูล ด้านการตัดสินใจและบอกเหตุผล และ 2. เด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองมีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> รมณียา ณ สงขลา, กันตวรรณ มีสมสาร, ปุริมปรัชญ์ คณิณพศุตย์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/272674 Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจในการออกเสียงเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นในจังหวัดตรัง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274211 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นในจังหวัดตรัง โดยประยุกต์หลักสาราณียธรรม 6 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความกระตือรือร้นและตื่นตัวในกิจกรรมทางการเมือง ยอมรับความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมือง มีความรู้ความเข้าใจการมีส่วนร่วมทางการเมือง วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองอย่างมีเหตุผลและแก้ไขความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 2. การกล่อมเกลาทางการเมืองและหลักสาราณียธรรมส่งผลต่อการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นในจังหวัดตรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การบูรณาการหลักสาราณียธรรม 6 เพื่อส่งเสริมการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้ง ประกอบด้วย ปฏิบัติดีและใช้วาจาที่ดีต่อกันบนพื้นฐานเหตุผล คิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ แบ่งปันผลประโยชน์เป็นธรรม รักษากฎระเบียบและให้ความสำคัญกับศีลธรรม ปฏิบัติตามมติของเสียงข้างมาก</p> ณรงค์กร ดำรงคดี, ธัชชนันท์ อิศรเดช, สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274211 Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่นในตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดตราด https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274147 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น และ 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ ประชาชนในตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดตราด จำนวน 7,663 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูปหรือคน ประกอบด้วย กลุ่มนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา กลุ่มนักวิชาการด้านด้านรัฐศาสตร์ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผู้นำท้องที่ และกลุ่มผู้นำชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่น มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักการเมืองท้องถิ่นควรมีความรับผิดชอบ และทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความไว้วางใจ สร้างผูกพันกับชุมชนสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือ มีการพัฒนาความรู้ มีการแบ่งงานและการมอบหมายอำนาจเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการท้องถิ่น</p> พระมหาธนรัตน์ ธนรตโน, สุรพล สุยะพรหม, สุมาลี บุญเรือง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274147 Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 การเสริมสร้างประสิทธิผลการสื่อสารองค์กรเชิงพุทธบูรณาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในวิทยาเขตภาคเหนือตอนบน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274413 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างประสิทธิผลการสื่อสารองค์กรเชิงพุทธบูรณาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในวิทยาเขตภาคเหนือตอนบน เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเสริมสร้างประสิทธิผลการสื่อสารองค์กรเชิงพุทธบูรณาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในวิทยาเขตภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย หลักการสอนของพระพุทธเจ้า 4 ประการ ได้แก่ สันทัสสนา สมาทปนา สมุตเตชนา และสัมปหังสนา และกระบวนการสื่อสาร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้ส่งสาร ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร และด้านผู้รับสาร</p> พระมหาอรรถพล นริสฺสโร (คงตัน), เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274413 Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามหลักสุจริต 3 ในตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274864 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของหลักสุจริต 3 กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง การวิจัยใช้ผสานวิธีระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชน 398 คน ตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที และค่าเอฟ และทดสอบสมมติฐานโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสุจริต 3 กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน วิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความคิดเห็น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.91 S.D. = 0.30) 2. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า หลักสุจริต 3 มีความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับปานกลาง จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตามหลักสุจริต 3 พบว่า โดยการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎกติกาการเลือกตั้ง การประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิที่พึงได้ตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยวาจาที่เป็นธรรม เป็นกลาง การเป็นผู้สื่อสารที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นและสังคมในชุมชน การอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีเจตนาดีต่อสังคมส่วนรวมต่อหลักการปกครอง ในการไปใช้สิทธิพิจารณานักการเมืองจากผลงาน อย่างเป็นกลาง มีเหตุผล ให้โอกาสในการทำงาน ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองและวิเคราะห์แยกแยะด้วยเหตุด้วยผล</p> ผดุงเกียรติ์ แจ่มแจ้ง, ธัชชนันท์ อิศรเดช, ประณต นันทิยะกูล Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274864 Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจของประชาชน ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274533 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ดังนี้ 1. ศึกษาการตัดสินใจของประชาชนในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับการตัดสินใจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และ 3. ศึกษาแนวการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจของประชาชนในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 373 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คำนวณค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเสนอเนื้อหาแบบเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การตัดสินใจของประชาชนในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. หลักสัปปุริสธรรม มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมการตัดสินใจของประชาชนในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับสูง 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจในการเลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี มีดังนี้ <strong>เลือกผู้ที่มีนโยบายตรงกับสิ่งที่ต้องการ เลือกเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ตัดสินใจตามบริบทของท้องถิ่น เลือกนักการเมืองที่มีคุณธรรม รู้วันเวลาและศึกษาข้อมูลก่อนการเลือกตั้ง ต้องการให้ท้องถิ่นพัฒนา และรู้จักนักการเมืองและนโยบายที่ชัดเจน</strong></p> มนตรี เอี่ยมพิทักษ์สกุล, อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า, เติมศักดิ์ ทองอินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274533 Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 พุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274393 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย และ 3. นำเสนอพุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 214 คน และสถิติการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพมีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน และสนทนากลุ่ม</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.16, S.D.=0.59) การสัมภาษณ์พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการบริหารจัดการเป็นระบบ กิจกรรมมีความเหมาะสม ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น การเรียนการสอนเป็นหลักสูตร 1 ปี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเป็นหลัก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ คือ กระบวนการบริหารจัดการ 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 คือ ด้านกลุ่ม ด้านกองทุน ด้านกิจกรรม หลักอิทธิบาทธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 คือ ด้านวิมังสา ด้านจิตตะ ด้านฉันทะ และ 3. พุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย พบว่า ประสิทธิภาพ 4 ด้าน เกิดจากการบูรณาการระหว่างกระบวนการบริหารจัดการ 5 ก และหลักอิทธิบาทธรรม ได้แก่ 1. ด้านคุณภาพของงาน ควรส่งเสริมเรื่องฉันทะ ความพอใจ ส่งเสริมกลุ่ม และและกรรมการ 2. ด้านปริมาณงาน ควรส่งเสริมวิริยะ ความเพียรพยายาม ส่งเสริมกิจกรรม กติกาและข้อตกลง และกองทุน 3. ด้านระยะเวลา ควรส่งเสริมจิตตะ เอาใจใส่ไม่ทอดทิ้ง รวมถึงการส่งเสริมและกติกาและข้อตกลง และ 4. ด้านค่าใช้จ่าย ควรส่งเสริมวิมังสา การวิเคราะห์ไตร่ตรอง ส่งเสริมกติกาและข้อตกลง</p> วีรพงศ์ เกียรติไพรยศ, เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง, สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274393 Fri, 01 Nov 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารจัดการวัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275477 <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการวัด 2. ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการวัด และ 3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการวัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร โดยระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณเชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับการบริหารจัดการวัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำนวน 9 รูปหรือคน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการวัด คือ จุดแข็ง วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จุดอ่อน วัดขาดแคลนทรัพยากร งบประมาณ บุคลากร และความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ โอกาส วัดทำงานร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขและใช้เทคโนโลยีส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และอุปสรรค ขาดบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทาง ดำเนินกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง 2. องค์ประกอบของการบริหารจัดการวัด ประกอบด้วยการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ เน้นการประเมินและติดตามผล พัฒนาทักษะบุคลากร และการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม การจัดองค์กรต้องมีโครงสร้างชัดเจน การประสานงานกับหน่วยงานภายนอก ควรมอบหมายหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญ ควบคุมเน้นกระบวนการประเมินและมาตรฐานชัดเจน ใช้เทคโนโลยีในการติดตามผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และการบริหารจัดการวัดเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักสัปปายะ 7 มุ่งเน้นการจัดพื้นที่และกิจกรรมที่เหมาะสม สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สงบ และเอื้อต่อการฟื้นฟูสุขภาพกายและจิตใจ 3. รูปแบบการบริหารจัดการวัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านสุขภาพกาย ร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขในการจัดบริการตรวจสุขภาพและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ด้านจิตใจ จัดกิจกรรมทางศาสนาที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลและเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม รูปแบบการจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในกิจกรรมวัด และด้านสิ่งแวดล้อม จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและความสะดวกสบายของผู้สูงอายุ โดยเน้นการสร้างพื้นที่สีเขียว</p> พระมหาสมชาย ขนฺติสรโณ (มะลิซ้อน), พระราชวัชรสารบัณฑิต (ประสาร จนฺทสาโร) Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275477 Sun, 03 Nov 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274167 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรา 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรา 3. นำเสนอประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทราโดยการประยุกต์หลักพละ 4 ด้วยการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 399 รูป สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานตามหลัก PDCA หลักพละ 4 และประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนามีระดับมากทุกด้าน การบริหารงานส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 คือ การปรับปรุง การตรวจสอบ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน ทำนายได้ร้อยละ 63.1 ด้านพละ 4 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ สังคหพละ อนวัชชพละ ปัญญาพละ วิริยพละ ทำนายได้ร้อยละ 48.3 และประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยการประยุกหลักพละ 4 ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านผลผลิต มีแผนงานเผยแผ่ในพื้นที่ที่ตรงกับความต้องการด้วยทรัพยากร 4M มีระบบฐานข้อมูลและกิจกรรมที่สนองต่อคณะสงฆ์และประชาชน ด้านประสิทธิภาพ คุ้มค่า ประหยัดเวลา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ด้านความพึงพอใจ ปฏิบัติงานได้รวดเร็วแก้ปัญหาของคณะสงฆ์ ด้านการปรับเปลี่ยน ปรับรูปแบบการทำงานเชิงรุกในพื้นที่ อบรมส่งเสริมงานเผยแผ่ให้ทั่วถึง และด้านการพัฒนา ส่งเสริมความรู้ร่วมกับหลักธรรมเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เหมาะสมทุกช่วงวัย ด้วยการประยุกต์หลักพละ 4 นำไปสู่ประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงาน และกระบวนการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน เป็นฐานในการส่งเสริมการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ</p> เยาวภา รุ่งเรือง, สมาน งามสนิท, เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274167 Mon, 04 Nov 2024 00:00:00 +0700 ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274797 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ 1. ศึกษาทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง 2. เปรียบเทียบทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาทัศนคติทางการเมืองตามหลักสัปปุริสธรรม โดยการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เพื่อเข้าใจทัศนคติที่มีต่อประชาธิปไตย เพื่อดูว่าปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ การศึกษา มีผลต่อทัศนคติทางการเมืองของประชาชนอย่างไร เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาทัศนคติของประชาชนให้เข้ากับหลักสัปปุริสธรรม การวิจัยใช้ผสานวิธีระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชน 360 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) วิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนคติทางการเมืองของประชาชนในตำบลพลงตาเอี่ยม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่ประชาชนให้คะแนนสูงที่สุดคือ ด้านเสรีภาพ และด้านที่ให้คะแนนต่ำที่สุดคือ ด้านหลักเสียงข้างมากเคารพเสียงข้างน้อย 2. การเปรียบเทียบทัศนคติ พบว่าประชาชนที่มีการศึกษาหรือรายได้ต่างกันมีทัศนคติทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกันมีทัศนคติทางการเมืองที่ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาทัศนคติทางการเมืองตามหลักสัปปุริสธรรม พบว่า รู้ประมาณ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยไม่กดดัน รู้จักบุคคล ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมตามความสามารถและความสนใจ รู้จักตน ผู้นำส่งเสริมความเข้าใจและแรงจูงใจในการมีส่วนร่วม รู้จักผล ทำให้ประชาชนเข้าใจบทบาทและตรวจสอบผลการทำงานของรัฐบาล รู้จักเหตุ ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ รู้จักชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและพัฒนาชุมชน รู้จักกาล ส่งเสริมการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมในเวลาที่เหมาะสม</p> วราภรณ์พัฒ พันธ์พญาวัชร, วัชรินทร์ ชาญศิลป์, อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274797 Tue, 05 Nov 2024 00:00:00 +0700 การยอมรับแอปพลิเคชันสตรีมมิ่งเพื่อการลงทุนออนไลน์ของผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271871 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับแอปพลิเคชันสตรีมมิ่งเพื่อการลงทุนออนไลน์ของผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยได้กำหนดประชากรเป็นนักลงทุนออนไลน์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวนไม่เกิน 2,299,494 ราย กลุ่มตัวอย่างทำคัดเลือกแบบสุ่มแบบเป็นระบบเพื่อกำหนดพื้นที่ในการวิจัยและดำเนินการสุ่มประชากรตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำนวน 311 ราย เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.924 การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติร้อยละ ค่าความถี่ และการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง <em> </em></p> <p>ผลการวิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยทัศนคติของผู้ลงทุน และการรับรู้ประสิทธิภาพสตรีมมิ่งมีอิทธิพลทางตรงต่อการยอมรับแอปพลิเคชันสตรีมมิ่งเพื่อการลงทุนออนไลน์ของผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยความพร้อมผู้ลงทุนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการยอมรับแอปพลิเคชันสตรีมมิ่งของผู้ลงทุนผ่านทัศนคติของผู้ลงทุน โดยปัจจัยทัศนคติของผู้ลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลรวมต่อการยอมรับแอปพลิเคชันสตรีมมิ่งของผู้ลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือ ความพร้อมผู้ลงทุน และการรับรู้ประสิทธิภาพสตรีมมิ่งตามลำดับ</p> อมรรัตน์ โกศัลวิตร, ศมานันทน์ รัตนศิริวิไล, วันเพ็ญ ควรสมาน Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271871 Tue, 05 Nov 2024 00:00:00 +0700 การจัดสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/270504 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลกับประชาชนในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 31 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนได้เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรู้จักรักหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน 2. ต้องมีการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด โดยเร่งกำจัดขยะมูลฝ่อยตกค้างสะสมในพื้นที่การป้องกันและลดความเสี่ยงจากอุบัติภัยสารเคมี 3. พัฒนาระบบประกันความเสี่ยงของโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ EEC ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชนน่าอยู่ ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง เพิ่มพื้นที่ดูดซับมลพิษทางอากาศ 4. สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในรูปแบบที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม เรื่องรายละเอียดของกฎหมายต่าง ๆ พื้นที่โซน EEC มีกฎหมายแยกออกมาจากกฎหมายปกติ จำเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะที่ออกมากำหนดรายละเอียดและหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความชัดเจน การวิเคราะห์ SWOT Analysis ด้านจุดแข็ง มีลักษณะที่ตั้งเหมาะสม รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม มีศักยภาพสูงในการเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม มีความพร้อมทางสาธารณูปโภค ประชาชนให้ความใส่ใจและตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม มีกลุ่มเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านจุดอ่อน คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่สามารถดำเนินการด้านการจัดการมลพิษจากการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบฐานข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติด้านโอกาส มีการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ ส่งเสริม ด้านข้อจำกัด มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</p> วรพจน์ ก้องเสนาะ; พิรจักษณ์ ฉันทวิริยสกุล; สุขสรร ทองที, ฉัตรชัย แนวพญา Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/270504 Sun, 10 Nov 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274685 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง และ 3. เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 366 คน ด้วยแบบสอบถาม และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างเพื่อพรรณนาความ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการกล่อมเกลาทางการเมือง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสถาบันครอบครัว ด้านสถาบันการศึกษา ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อน ด้านสถาบันทางศาสนาด้านสถาบันทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมและการกล่อมเกลาทางการเมือง พบว่าหลักสังคหวัตถุ 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกสูง กับการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับทุกด้าน 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในเยาวชนอยู่ในระดับมาก โดยหลักที่มีการประยุกต์สูงสุดคือหลักอัตถจริยา การสร้างจิตสำนึก และหลักทาน การให้ความรู้ ขณะเดียวกัน การส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในสถาบันทางการเมืองและครอบครัวควรเน้นการเปิดโอกาสให้เยาวชนแสดงความคิดเห็นและให้ความรู้เกี่ยวกับการเมืองอย่างต่อเนื่อง</p> วิภัช แสงงาม, อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า, อนุภูมิ โซวเกษม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274685 Sun, 10 Nov 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในจังหวัดอ่างทอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274994 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในจังหวัดอ่างทอง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณโดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างจำนวน 323 รูป ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.970 วิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในจังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาพพระสงฆ์ พบว่า ด้านการบริหารจัดการตามหลัก PDCA ส่งผลต่อการบริหารจัดการ สุขภาวะพระสงฆ์ 3 ด้าน กระบวนการบริหารจัดการตามหลัก PDCA สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการสุขภาพพระสงฆ์ ได้ร้อยละ 17.1 และปัจจัยตามหลักอิทธิบาทธรรม พบว่าหลักอิทธิบาทธรรม ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาพพระสงฆ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในจังหวัดอ่างทอง ทั้ง 4 ด้าน และพบว่าหลักอิทธิบาทธรรม สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการสุขภาพพระสงฆ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในจังหวัดอ่างทอง ได้ร้อยละ 25.4 3. รูปแบบการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ พบว่า การนำเอาหลักบริหารจัดการตามแบบ PDCA มาประยุกต์กับหลักอิทธิบาทธรรม สามารถนำมาพัฒนาการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ในจังหวัดอ่างทองประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1. เอาใจใส่ในการพัฒนาและจัดทำองค์ความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพ 2. พัฒนาระบบข้อมูลให้มีคุณภาพมีมาตรฐาน 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ 4. จัดระบบหลักประกันสุขภาพที่เท่าเทียมกัน 5. พัฒนาและปรับปรุงระบบสวัสดิการให้ครอบคลุม</p> วิสุทธินันท์ นิลพัฒน์, บุญทัน ดอกไทสง, สมาน งามสนิท Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274994 Sun, 10 Nov 2024 00:00:00 +0700 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/273842 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานในเทศบาลเมืองบางกรวย 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น และ3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานในเทศบาลเมืองบางกรวย ด้านคน ต้องมีการพัฒนาบุคลากรผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้บุคลากรมีความรู้และทักษะที่ทันสมัย ด้านเงิน ต้องมีการจัดทำรายงานทางการเงินและการเผยแพร่ข้อมูลทางการเงินให้ประชาชนทราบ ด้านวัสดุ จัดหาวัสดุและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพสามารถบริการประชาชน ด้านเครื่องจัก การจัดการขยะ การบำรุงรักษาถนน การจัดการน้ำและไฟฟ้า 2. การฝึกฝนให้เป็นคนเปิดเผย การมีความยุติธรรม พูดตรงตามความรู้สึกตนเอง บอกความจริง แสดงความคงเส้นคงวา รักษาคำมั่นสัญญา รักษาความเชื่อมั่น แสดงให้เห็นถึงความสามารถ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชน 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี พบว่า ทาน โอบอ้อมอารี ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน ปิยวาจา วจีไพเราะ พูดอย่างตรงไปตรงมา อัตถจริยา สงเคราะห์ประชาชน บำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อประชาชน สมานัตตา เสมอต้นเสมอปลาย การรับผิดชอบต่อสาธารณะและประชาชนในชุมชน</p> สุมาลี บุญเรือง, พระครูปริยัติวิสุทธิบัณฑิต (ประจักษ์ จกฺกธมฺโม), อภิวัฒน์ จ่าตา Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/273842 Mon, 11 Nov 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์หลักสุจริตธรรมเพื่อส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น ของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274535 <p>บทความวิจัยนี้ มุ่งศึกษา 1. ระดับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง 2. เปรียบเทียบการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง และ 3. ประยุกต์หลักสุจริตธรรมในส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน การวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คำนวณค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเสนอเนื้อหาแบบเชิงพรรณนา เป็นการวิจัยที่ประยุกต์หลักสุจริตเพื่อส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง อยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =3.17, S.D.=0.74) 2. ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีปัจจัยในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนเพศไม่มีผลแตกต่าง 3. หลักกายสุจริต ประชาชนควรเตรียมตัวและศึกษาข้อมูลก่อนใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อรักษากฎระเบียบและไม่ทำผิดกติกา ควรให้เกียรติสถานที่และศึกษาผลงานของผู้สมัครที่ผ่านมาหมายถึงการตรวจสอบความประพฤติของตัวแทนที่เลือก หลักวจีสุจริต ประชาชนควรตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพของตนเอง ขณะเดียวกันต้องเคารพสิทธิของผู้อื่นและปฏิบัติตามกฎหมายและระบอบประชาธิปไตย หลักมโนสุจริต ก่อนเลือกตั้ง ประชาชนควรคิดแยกแยะคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยเลือกผู้ที่มีความประพฤติดีและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม การวางแผนก่อนการลงคะแนนจะช่วยให้เลือกตัวแทนที่เหมาะสมมากขึ้น</p> อธิติยา อัชชาศัย, ธัชชนันท์ อิศรเดช, อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274535 Thu, 14 Nov 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271448 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 399 คน ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนประกอบด้วย 1. ด้านค่านิยมเล็งผลประโยชน์ ผู้บริหารเทศบาลวางแผนการทำประโยชน์ ศึกษาปัญหา รับฟังปัญหาของพื้นที่ 2. ด้านความนิยมสถานะทางสังคม ผู้บริหารเทศบาลมีสถานะทางการเงินที่ดี 3. ด้านการกล่อมเกลาทางการเมือง การสื่อสารกับประชาชน ผู้บริหารเทศบาลติดบอร์ดให้ความรู้ความเข้าใจ 4. ด้านลักษณะนิสัยของผู้บริหารเทศบาล เป็นผู้มีลักษณะชอบช่วยเหลือประชาชน ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา 5. ด้านความรู้ความสามารถพิเศษของผู้บริหารเทศบาล มีความสามารถในการบริหาร การปกครอง 6. ด้านมีประสบการณ์ทางการเมือง เคยเป็นผู้บริหารเทศบาล มีความรู้ มีประสบการณ์ทางการเมือง 7. ด้านความสัมพันธ์กับเครือข่าย เป็นผู้มีเครือข่ายกับชุมชน มีความสัมพันธ์กับผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อผู้บริหารเทศบาล หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ทิฏฐิสามัญญตา มีผลมากที่สุด รองลงมาได้แก่ สีลสามัญญตา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งมีระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านอุดมการณ์ของพรรค รองลงมา คือ ด้านกลไกการบริหารงานของพรรคการเมือง</p> พระครูวิมลสุวรรณกร (สมพงษ์ จนฺทวโร) Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271448 Thu, 14 Nov 2024 00:00:00 +0700 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในความเป็นพลเมืองดีของประชาชนจังหวัดนนทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271449 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ความเป็นพลเมืองดีของประชาชน จังหวัดนนทบุรี 2. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดีของประชาชนจังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนจังหวัดนนทบุรี มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ด้วยการวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยและ เฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นพลเมืองดีของประชาชนจังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ประชาชนเคารพความเสมอภาค มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีวินัย เคารพกฎหมาย กติกา และ ยอมรับความแตกต่าง 2. การบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักสาราณียธรรม 6 ประการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ประชาชนแสดงออกด้วยความสุภาพ แนะนำด้วยความหวังดี ปรารถนาดีต่อกัน รับผิดชอบต่อสังคม เคารพระเบียบ มีทัศนคติตรงกัน</p> พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส), จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์, สุรพล สุยะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271449 Thu, 14 Nov 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักธรรมาธิปไตยของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274472 <p>บทความนี้ มุ่งศึกษา 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสุจริต 3 กับการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง และ 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตามหลักสุจริต 3 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 390 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คำนวณค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสุจริต 3 กับการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเสนอเนื้อหาแบบเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสุจริต 3 กับการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง 3. แนวทางการพัฒนาการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตามหลักสุจริต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีแนวทางในการพัฒนา คือ 1. ด้านกายสุจริต ประชาชนยึดกฎหมายและประพฤติปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด 2. ด้านวจีสุจริตประชาชนมีการประชาสัมพันธ์ทางการเมือง โดยยึดหลักการสื่อสารทางการเมืองอย่างมีหลักการ 3. ด้านมโนสุจริต ประชาชนมีจิตสำนึกต่อหน้าที่ บทบาทความเป็นพลเมืองของประเทศ</p> เอกลักษณ์ สุนทราลักษณ์, อนุภูมิ โซวเกษม, ธัชชนันท์ อิศรเดช Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274472 Thu, 14 Nov 2024 00:00:00 +0700 ปัญหากฎหมายในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275711 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดและวิวัฒนาการเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อศึกษากฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และ 4. เพื่อเสนอแนะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องจากตำราวิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. อำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มีการพัฒนาตามบริบทสังคมและการเมือง โดยเฉพาะการแก้ไขปี พ.ศ. 2535 ที่ขยายขอบเขตการบริหารกิจการในวัดให้ครอบคลุมมากขึ้น นอกจากนี้ อำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสต้องสอดคล้องกับกฎหมายอื่น ๆ เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของวัด 2. กฎหมายของ ลาว กัมพูชา และญี่ปุ่น พบว่าไม่มีประเทศใดกำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา แต่ทุกประเทศให้เจ้าอาวาสมีบทบาทในการปกครองคณะสงฆ์ การศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และการสงเคราะห์ โดยมีหน้าที่ดูแลและจัดการกิจการวัดเพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความสงบเรียบร้อย 3. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา แต่ขาดความชัดเจนในมาตรา 37 และ 38 ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงมีความจำเป็นในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้น 4. ข้อเสนอแนะ คือควรปรับปรุงกฎหมายโดยเพิ่มความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของเจ้าอาวาส การกำหนดแนวทางในการบริหารทรัพย์สินของวัด การลดความซ้ำซ้อนในกฎหมาย และการอบรมทางกฎหมายให้เจ้าอาวาส รวมถึงการสนับสนุนและตรวจสอบทางกฎหมายที่ชัดเจน</p> พระครูวิมลสุวรรณกร (สมพงษ์ จนฺทวโร), วรพจน์ ถนอมกุล Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275711 Sat, 16 Nov 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275185 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยผสานวิธี ได้แก่ เชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง 43,810 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 397 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. หลักอิทธิบาท 4 กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับปานกลาง 3. การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับสูงทุกด้าน ได้แก่ จิตตะ ประชาชนตั้งใจศึกษานโยบายก่อนเลือกผู้แทน เน้นการแก้ปัญหาที่เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย วิริยะ ประชาชนเลือกผู้แทนที่มีความรู้ความสามารถโดยไม่ยึดติดตัวบุคคล วิมังสา มีการตรวจสอบและติดตามผลงานของนักการเมือง และฉันทะ ประชาชนเต็มใจมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ</p> วันชัย สังข์ประเสริฐ, วัชรินทร์ ชาญศิลป์, อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275185 Sat, 16 Nov 2024 00:00:00 +0700 พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275094 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการหลักทุติยปาปณิกธรรมในการส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา นําเสนอในลักษณะพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพทั่วไปภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช มี จุดเด่น คือ ความใกล้ชิดกับประชาชน มีจิตอาสาเข้าใจในระบบท้องถิ่นอย่างลึกซึ้งแต่ยังขาดการทำหน้าที่อย่างจริงจัง จุดด้อย ขาดการประเมินผลการติดตามงานอย่างมีประสิทธิภาพ โอกาส เมื่อได้ทำหน้าที่สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนและพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้นได้ อุปสรรค ส่วนใหญ่ขาดแคลนทรัพยากร และงบประมาณที่จำกัด 2. คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ด้านทักษะของการใช้อิทธิพล ผู้บริหารใช้อิทธิพลอย่างถูกต้องสร้างโอกาสให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ ด้านทักษะในการมอบหมายงาน ผู้บริหารกำหนดเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจนสามารถปรับแผนการดำเนินงานจนเกิดความมั่นใจ ด้านความยืดหยุ่น การมีความคิดเชิงบวก มอบหมายงานให้สอดคล้องกับความสามารถของบุคลากร ด้านทักษะในการจูงใจ การส่งเสริม สนับสนุนให้กำลังใจแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง 3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่า ในการส่งเสริมหลักทุติยปาปณิกธรรม จักขุมา มีมุมมองกว้างไกล เห็นอนาคต ทำเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นมากกว่าตน หลักวิธูโร การเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญทั้งในงานของตนเอง งานของส่วนรวม หลักนิสสยสัมปันโน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> พระปลัดธันวา วิชฺชากโร (พ่วงกุล), สุมาลี บุญเรือง, เติมศักดิ์ ทองอินทร์, สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275094 Sat, 16 Nov 2024 00:00:00 +0700 พุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการบริหารงาน ของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274431 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 รูปหรือคน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=3.79, S.D.=0.27) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า 1. การบริหารงานตามยุทธศาสตร์ 4 ด้านของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร้อยละ 80.8 (Adjusted R<sup>2</sup>=.808) 2. หลักพละ 4 สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร้อยละ 94.1 (Adjusted R<sup>2</sup>=.941) 3. พุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า สามารถนำหลักพละ 4 มาประยุกต์ได้ดังนี้ ด้านปัญญาพละ เป็นการบริหารงานด้วยปัญญา ด้านวิริยพละ เป็นการบริหารงานด้วยความเพียร ด้านอนวัชพละ เป็นการบริหารงานด้วยความสุจริต และ ด้านสังคหพละ เป็นการบริหารงานด้วยการสงเคราะห์</p> อภิมุข เสมสฤษดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274431 Sat, 16 Nov 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน ของวัดต้นแบบในจังหวัดตราด https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275666 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน 3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อความยั่งยืนของวัดต้นแบบในจังหวัดตราด ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูปหรือคน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มผู้สนับสนุน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มนักวิชาการทางด้านจัดการเชิงพุทธ และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 12 รูปหรือคน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน มีการดำเนินงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก ความโปร่งใสในการบริหารจัดการ และการสร้างจิตสำนึกร่วมผ่านกิจกรรมทางศาสนาและการพัฒนาชุมชน โดยมีการกำหนดนโยบายและกฎระเบียบที่ชัดเจน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของคณะกรรมการที่มีวิสัยทัศน์และความซื่อสัตย์ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม และระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง 3. รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อความยั่งยืนของวัดต้นแบบในจังหวัดตราด ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. การสร้างความเป็นเจ้าของผ่านการมีส่วนร่วมของสมาชิก 2. การส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้วยการสร้างวินัยทางการเงินและพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ 3. การพัฒนาคนโดยยึดหลักคุณธรรมและประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ 4. การควบคุมกันเองผ่านระบบตรวจสอบภายในและการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส ซึ่งรูปแบบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนากลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์อื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน</p> พระครูวิมลโสมนันท์ (โชคชัย อุคฺคเสโน) Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275666 Sun, 01 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการ พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์จังหวัดตราด https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275664 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป กระบวนการบริหารการปกครอง และนำเสนอรูปแบบการบริหารการปกครองคณะสงฆ์ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์จังหวัดตราด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดตราดมีทั้งจุดแข็ง ได้แก่ ผู้นำและบุคลากรที่มีความสามารถ ระบบการบริหารจัดการที่เป็นระบบ การทำงานเป็นทีม และการยึดหลักพระธรรมวินัย และจุดอ่อน ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและงบประมาณ โครงสร้างการบริหารที่เป็นลำดับชั้นสูง และการขาดการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. กระบวนการบริหารการปกครองเป็นระบบและครอบคลุม ตั้งแต่การวางแผน การจัดองค์กร การบริหารบุคคล การอำนวยการ และการกำกับดูแล โดยมีการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมและการบริหารจัดการสมัยใหม่ควบคู่กัน 3. รูปแบบการบริหารการปกครองตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปได้เสนอแนวทางการสร้างความมั่นคงทางพระพุทธศาสนา การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายใน การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธ และการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทสังคมปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการรักษาหลักพระธรรมวินัยและบทบาทของพระพุทธศาสนาในสังคมไทย</p> พระราชวชิรธรรมคณี (บังคม รกฺขิตธมฺโม) Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275664 Mon, 02 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274588 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน 2. เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจทางการเมืองตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากประชากร กลุ่มตัวอย่าง ในตำบลบ้านแล้ง จำนวน 380 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คำนวณค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนในตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.18) โดยด้านอำนาจอธิปไตยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ตามด้วยภราดรภาพ ความเสมอภาค และสิทธิและเสรีภาพ ตามลำดับ 2. ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประชาชนที่มีเพศและอายุต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองของประชาชนไม่ได้รับผลกระทบจากเพศหรืออายุของพวกเขา ดังนั้นจึงไม่สามารถยอมรับสมมติฐานที่ว่า เพศหรืออายุมีผลต่อความรู้ความเข้าใจทางการเมืองได้ 3. ปัญหาที่พบรวมถึงการขาดความสนใจในกิจกรรมทางการเมืองและการขาดความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ทางการเมือง แนวทางแก้ไขคือการส่งเสริมให้ประชาชนศึกษาหาความรู้และเข้าใจสิทธิเสรีภาพของตนเอง และมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองมากขึ้นตามหลักปัญญา 3</p> วิรัช สกุลพงษ์, อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า, จํานงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/274588 Mon, 02 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของวัดในจังหวัดตราด https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275640 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม 2. ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม และ 3. เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของวัดในจังหวัดตราด เป็นการวิจัยผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการ จำนวน 367 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 รูปหรือคน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพของการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม และ การบริหารจัดการตามหลักสัปปายะ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม มีจุดแข็งคือ สถานที่ตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการปฏิบัติธรรม และการสนับสนุนจากชุมชน จุดอ่อนคือ จำนวนไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาด้านการเดินทาง ขาดการประชาสัมพันธ์ โอกาส คือ การสนับสนุนจากมหาเถรสมาคมและหน่วยงานภาครัฐ เครือข่ายความร่วมมือ และอุปสรรค คือขาดแคลนทุนทรัพย์ เยาวชนขาดความสนใจ 2. องค์ประกอบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของวัดในจังหวัดตราด คือหลักสัปปายะ 7 ได้แก่ ด้านอาวาสสัปปายะ สภาพแวดล้อมที่สงบ ร่มรื่น อากาศดี ด้านโคจรสัปปายะ การเดินทางสะดวกสบาย ด้านภัสสสัปปายะ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ด้านปุคคลสัปปายะ พระวิปัสสนามีความรู้และประสบการณ์ ด้านโภชนสัปปายะ อาหารที่สะอาดถูกหลักโภชนาการ ด้านอุตุสัปปายะ อากาศดีไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป และด้านอิริยาปถสัปปายะ การจัดการอิริยาบถที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล 3. การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของวัดในจังหวัดตราด ใช้หลักบริหารจัดการ 3 ด้าน คือ ด้านสถานที่มีห้องปฏิบัติธรรมที่สะดวก สะอาด สงบปลอดภัย ด้านพระวิปัสสนาที่มีทักษะการถ่ายทอดที่ดี มีการประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอน การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างเครือข่ายและการประชาสัมพันธ์กิจกรรม</p> พระครูภาวนาปัจจันตเขต (เสรี ธมฺมานนฺโท) Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275640 Wed, 04 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275663 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี 3. นำเสนอการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการมีทั้งจุดแข็ง เช่น โครงสร้างการบริหารที่เป็นระบบ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน มีเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็ง และจุดอ่อน เช่น การจัดสรรงบประมาณยังไม่เป็นระบบ ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ขาดแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน 2. ปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ การมีทรัพยากรที่เพียงพอ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การพัฒนาทักษะความรู้ของพระสงฆ์ การสร้างความโปร่งใสน่าเชื่อถือ การประยุกต์ใช้ IT การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาระบบติดตามประเมินผล 3. แนวทางที่นำเสนอเน้นการสร้างความมั่นคงทางพระพุทธศาสนา ยกระดับการบริหารจัดการภายใน พัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธ และจัดการทรัพยากรให้เพียงพอ โดยมีกลยุทธ์สำคัญ เช่น จัดตั้งศูนย์อบรมพระธรรมทูต ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาและเผยแผ่ศาสนา พัฒนาระบบฐานข้อมูลดิจิทัล สร้างเครือข่ายความร่วมมือ พัฒนาศักยภาพบุคลากร และนำ IT มาใช้ในการบริหารจัดการ</p> วารีญา ม่วงเกลี้ยง, ประเสริฐ ธิลาว Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275663 Thu, 05 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการบริหารเครือข่ายกองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดจันทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275654 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารเครือข่ายกองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดจันทบุรี 2. ศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการบริหารเครือข่ายกองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดจันทบุรี และ 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารเครือข่ายกองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดจันทบุรี ผู้วิจัยกำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน 12 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. จุดแข็งที่สำคัญได้แก่ การมีเครือข่ายการบริหารที่มีประสิทธิภาพ คณะกรรมการที่มีความรู้ความสามารถและจิตอาสา ความสามารถในการระดมทุนอย่างต่อเนื่อง และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ ส่วนจุดอ่อนที่สำคัญ ได้แก่ การสื่อสารภายในเครือข่ายที่ขาดความชัดเจน ข้อจำกัดด้านงบประมาณและทรัพยากร และการขาดแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน 2. ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารเครือข่ายประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และการได้รับการสนับสนุนจากภายนอกอย่างครอบคลุม ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้การดำเนินงานของเครือข่ายมีความเข้มแข็งและยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของพระภิกษุอาพาธได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารเครือข่ายครอบคลุม 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านสมาชิก ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา โดยเน้นการจัดการงบประมาณอย่างเป็นระบบ การเพิ่มและพัฒนาสมาชิก การปรับปรุงกระบวนการทำงานภายใน และการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการตามแนวทางเหล่านี้จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารเครือข่าย และส่งผลให้การดูแลพระภิกษุอาพาธมีคุณภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น</p> พระสมุห์วีระ สุนฺทโร (โสธร) Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275654 Thu, 05 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการบริหารจัดการงานพระคิลานุปัฏฐาก ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275639 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการบริหารจัดการงานพระคิลานุปัฏฐากของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี 2. ศึกษาปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการงานพระคิลานุปัฏฐากของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี และ 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการงานพระคิลานุปัฏฐากของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน 12 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการงานพระคิลานุปัฏฐากของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี มีจุดแข็งคือ มีการวางแผนและจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นระบบ มีความเป็นเอกภาพในการทำงาน และมีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขได้ดี ส่วนจุดอ่อนคือ ขาดระบบการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และขาดการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ 2. ปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการงานพระคิลานุปัฏฐากประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากร การจัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ การมีวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอและทันสมัย และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการงานพระคิลานุปัฏฐากที่สำคัญ ได้แก่ การบูรณาการองค์ความรู้ด้านพระธรรมวินัยกับวิทยาการสมัยใหม่ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในฐานะผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชน และการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทั่วไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> พระปลัดเวชยันต์ ฐิตสทฺโธ (แววเพ็ชร์) Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275639 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 สำรวจความหลากหลายของการท่องเที่ยวยามค่ำคืน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271893 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายของการท่องเที่ยวยามค่ำคืน การนำเสนอการท่องเที่ยวยามค่ำคืนเป็นการมอบประสบการณ์อันน่าจดจำที่แตกต่างจากกิจกรรมในยามกลางวัน ศูนย์กลางในตัวเมืองกลายเป็นจุดศูนย์กลางของวิถีชีวิตในยามกลางคืนที่เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาสำรวจสถานที่ท่องเที่ยว ได้รับประทานอาหารในร้านอาหารหรือเพลิดเพลินกับดนตรีสดในบาร์และคลับร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว นอกจากนี้ การทัศนศึกษายามค่ำคืน รวมถึงการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมให้สามารถเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ เช่น วัดและมัสยิด โดยมีพิธีกรรมในโอกาศพิเศษ เช่น มโนราห์และการแสดงหนังตะลุง ในขณะที่ พิพิธภัณฑ์ โรงละครและแกลเลอรีเปิดให้ผู้ชื่นชอบได้สัมผัสกับมรดกทางวัฒนธรรมอันโดดเด่นของสถานที่นั้น ๆ มีถนนคนเดินตามวิถีชีวิตโดยนำเสนอประสบการณ์ที่หลากหลาย เช่น ได้ลิ้มรสอาหารท้องถิ่น ได้ช้อปปิ้งและเดินเล่นแบบสบาย ๆ ผู้ชื่นชอบธรรมชาติสามารถสำรวจสวนสาธารณะและเขตอนุรักษ์ในยามค่ำคืน ได้ดูดาวและสัมผัสกับเสียงอันเงียบสงบของธรรมชาติ นอกจากนี้ กิจกรรมการเล่นตอนกลางคืน เช่น โบว์ลิ่งหรือผ่อนคลายในร้านกาแฟกับเพื่อนและครอบครัวยังช่วยเพิ่มเสน่ห์ได้อีกด้วย แม้จะมีความตื่นเต้น แต่ควรให้ความสำคัญในการเลือกสถานที่มีชื่อเสียงและรอบคอบเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยและได้ประสบการณ์ที่สนุกสนานในระหว่างการผจญภัยยามค่ำคืน</p> เดโช แขน้ำแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/271893 Thu, 05 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้มานุษยวิทยาธุรกิจเพื่อทำความเข้าใจภาวะสูงวัยของประชากร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/272941 <p>หลายประเทศกำลังเผชิญกับปรากฎการณ์สังคมสูงวัย โดยประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้นและมีสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมหลายประการ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ศาสตร์มานุษยวิทยาธุรกิจกับการทำความเข้าใจผู้สูงวัยในมิติต่าง ๆ ของภาคธุรกิจ โดยชี้ให้เห็นว่ามานุษยวิทยาธุรกิจสามารถนำมาเป็นกรอบการวิเคราะห์องค์กรธุรกิจภายใต้บริบทสังคมสูงวัยได้ 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1. การบริหารทรัพยากรบุคคลที่เป็นผู้สูงวัย 2. การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่มีการจ้างผู้สูงวัย 3. การจัดการข้ามวัฒนธรรมกับกลุ่มผู้สูงวัย และ 4. การทำความเข้าใจผู้สูงวัยในฐานะพฤติกรรมผู้บริโภค บทความนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาแบบมานุษยวิทยาที่สามารถนำไปบูรณาการและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจสำหรับการพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะสังคมสูงวัยได้อย่างยั่งยืนต่อไป</p> ฐิตินันทน์ ผิวนิล Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/272941 Thu, 05 Dec 2024 00:00:00 +0700