@article{ปลื้มปิติวิริยะเวช_2022, title={การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการออกแบบฐานข้อมูลระหว่างการเรียนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์}, volume={33}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/256789}, DOI={10.14456/jil.2022.17}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการเรียนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์ โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่เลือกเรียนวิชาการออกแบบฐานข้อมูล ในปีการศึกษาที่มีการเรียนแบบออนไซต์และแบบออนไลน์ วิธีการที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือการประมวลผลและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาดังกล่าวของผู้เรียน และการสอบถามความเห็นของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้วัดผลสำรวจความคิดเห็น ได้แก่ มาตรวัดของลิเคิร์ทและมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่เรียนแบบออนไซต์สูงกว่าแบบออนไลน์ 10.55, 8.54, 0.60, 10.86 และ 0.84 คะแนนตามลำดับ การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนจากออนไซต์มาเป็นแบบออนไลน์ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจำนวนมาก ในการเรียนแบบออนไลน์เมื่อเทียบการเรียนแบบออนไซต์ ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในระดับดีมากถึงดีเยี่ยมมีจำนวนลดลงร้อยละ 3.59 และผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในระดับปานกลางถึงดีมีจำนวนลดลงร้อยละ 36.14 ในขณะที่ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ถึงพอใช้มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.73 ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์ พบว่าผู้เรียนให้คะแนนความคิดเห็นโดยรวมต่อการเรียนการสอนทั้งสองแบบอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะคะแนนความคิดเห็นในด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนการสอนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์มีค่าไม่แตกต่างกันมาก และผู้เรียนเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการเรียนแบบออนไลน์มีสภาพแวดล้อมที่สามารถเข้าถึงเนื้อหาหลักสูตรได้ทุกที่ทุกเวลา ง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่าการเรียนแบบออนไซต์</p>}, number={2}, journal={Journal of Information and Learning}, author={ปลื้มปิติวิริยะเวช ชาญยศ}, year={2022}, month={ส.ค.}, pages={45–56} }