TY - JOUR AU - ไค่นุ่นนา, ภีรกาญจน์ PY - 2022/08/22 Y2 - 2024/03/29 TI - การเปรียบเทียบแนวคิดสื่อบริการสาธารณะในบริบทนานาชาติกับไทยและสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับไทยพีบีเอส JF - Journal of Information and Learning JA - j. inf. learn. VL - 33 IS - 2 SE - บทความวิชาการ DO - 10.14456/jil.2022.24 UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/255780 SP - 134-145 AB - <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายแนวคิดสื่อบริการสาธารณะ โดยเปรียบเทียบระหว่างบริบทนานาชาติกับไทย และ 2) ศึกษาสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับไทยพีบีเอส ผลการศึกษา พบว่า ในบริบทนานาชาตินั้นสื่อบริการสาธารณะเป็นหนึ่งในสามระบบของสื่อแพร่ภาพและกระจายเสียงที่แยกจากสื่อรัฐกับสื่อพาณิชย์ แต่บริบทไทยนั้น สื่อบริการสาธารณะตามแนวคิดดังกล่าวถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับสื่อของรัฐ องค์กรไม่แสวงหากำไร และมหาวิทยาลัย โดยเรียกทั้งหมดว่าเป็นประเภทสื่อบริการสาธารณะ ด้านแหล่งที่มาของงบประมาณสื่อบริการสาธารณะในหลายประเทศนั้นได้รับงบประมาณโดยตรงจากค่าธรรมเนียมการรับชม เงินอุดหนุนจากรัฐ ค่าสมาชิก รายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินทางปัญญา ขณะที่สื่อบริการสาธารณะของไทยอย่างไทยพีบีเอสได้รับงบประมาณจากภาษีสรรพสามิตเหล้าและบุหรี่ ส่วนสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับไทยพีบีเอสนั้นมีงานวิจัยตั้งแต่ช่วงปี 2553-2563 จำนวน 15 เรื่อง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มประเด็น ได้แก่ บทบาทสื่อสาธารณะ (53.3%) องค์กรและสถาบัน (20.0%) เนื้อหาและวาทกรรม (13.3%) และภาพลักษณ์และความพึงพอใจของผู้รับสาร (13.3%) ด้านการวิจัยในอนาคตนั้นควรให้ความสนใจต่อการดำรงอยู่ของไทยพีบีเอสภายใต้บริบทดิจิทัลเพราะเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสาร พฤติกรรมการดำรงชีวิตของผู้รับสาร และการแตกกระจายของสังคม ขณะที่แง่มุมด้านบทบาทต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ค่อนข้างมีพลวัตก็ยังเป็นช่องว่างทางความรู้อยู่</p> ER -