TY - JOUR AU - แซ่กวั่ง, อมรรัตน์ PY - 2022/08/22 Y2 - 2024/03/29 TI - การจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดสุราษฎร์ธานี JF - Journal of Information and Learning JA - j. inf. learn. VL - 33 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - 10.14456/jil.2022.22 UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/255925 SP - 108-125 AB - <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพ และช่องทางการรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพ จากกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน และแนวทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ งานวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามและแบบประเมินในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจากผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านร้อยละ 10 ของแต่ละอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 19 อำเภอ 477 คน ส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้ข้อมูลจากการวิจัยร่วมกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 19 อำเภอ 40 คน และใช้ดุลยพินิจของสาธารณสุขอำเภอเลือกกลุ่มตัวอย่างในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 19 อำเภอ 19 คน</p><p>ผลการวิจัยพบว่า ด้านพฤติกรรมการรับรู้ของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เพศหญิง อายุ 60-69 ปี มีโรคประจำตัว การศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท/เดือน ไม่ได้ประกอบอาชีพมีสถานภาพสมรส สืบค้นและรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพกระทำเดือนละ 1-2 ครั้ง เกี่ยวกับสิทธิการรักษา ใช้ช่วงเวลา 06.01-12.00 น. ปัจจัยทัศนคติสนับสนุนพฤติกรรม คือ มีห้องครัวที่ถูกสุขลักษณะ ครอบครัวให้การสนับสนุน ช่วยลดขั้นตอนในการพบแพทย์ และดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการรับรู้ภาวะสุขภาพตนเองพบว่า ครอบครัวมีความอบอุ่น สุขภาพจิตดี และพึงพอใจในชีวิตดี ด้านช่องทางการรับรู้ พบว่า ใช้สื่อโสตทัศน์ประเภทโทรทัศน์ สื่อบุคคลประเภทเจ้าหน้าที่/อาสาสมัครสาธารณสุข สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทแผ่นพับ และสื่อบนอินเทอร์เน็ตประเภทไลน์ และด้านแนวทางการจัดการสารสนเทศ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เพศหญิง การศึกษาระดับปริญญาตรี สายงานนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติงาน 16 ปีขึ้นไป พบว่า แนวทางการดำเนินการตามภารกิจใช้การส่งเสริมสุขภาพป้องกันการเจ็บป่วยและดูแลตนเอง ส่วนการสนับสนุนสื่อสารสนเทศพบว่า ใช้สื่อบนอินเทอร์เน็ตประเภทไลน์ สื่อโสตทัศน์ประเภทสมาร์ทโฟน สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทโปสเตอร์ และสื่อบุคคลประเภทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ความเหมาะสมของแนวทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพและการสนับสนุนสื่อสารสนเทศด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> ER -