Journal of Information and Learning [JIL] https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil <p><span style="font-weight: 400;"><em>Journal of Information and Learning</em> [JIL] </span><span style="font-weight: 400;">เป็นวารสารวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ การจัดการสารสนเทศและความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศ การบริหารจัดการห้องสมุดและศูนย์ข้อมูล การออกแบบระบบการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรการเรียนรู้ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง</span></p> th-TH <p>Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน</p> jil@psu.ac.th (Asst.Prof.Somporn Chuai-aree, Ph.D. (ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์)) khanitsorn.r@psu.ac.th (Khanitsorn Rakjitr (คณิศร รักจิตร)) Mon, 26 Aug 2024 14:17:03 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่ลดภาระทางปัญญาด้วยหลักการลดการแยกความสนใจ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271465 <p>การออกแบบสื่อการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาเพื่อนำไปสร้างเป็นความรู้ของตนเอง ซึ่งในขณะที่เรียนรู้อยู่นั้นผู้เรียนจะเกิดภาระทางปัญญาที่ขึ้นกับความยากง่ายของเนื้อหาและการออกแบบสื่อการเรียนรู้ และเมื่อสื่อการเรียนรู้ประกอบด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อความ ภาพ เสียง หรือ วิดีโอ การจัดวางที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกันของเนื้อหาอาจนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการแบ่งความสนใจ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนต้องแบ่งทรัพยากรทางความคิดเพื่อรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งที่แยกกัน ส่งผลให้เกิดภาระทางปัญญาที่ไม่จำเป็น และหากเกิดภาระทางปัญญาจนเกินขีดจำกัดหรือภาวะสมองตันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ ดังนั้น ในบทความนี้จึงอธิบายถึงหลักการประมวลสารสนเทศของมนุษย์และข้อจำกัดของความจำที่ทำให้เกิดภาระทางปัญญา จากนั้นนำเสนอการออกแบบสื่อที่ลดภาระทางปัญญาด้วยหลักการลดการแยกความสนใจ ตัวอย่างการออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่ใช้หลักการลดการแยกความสนใจ และผลกระทบของหลักการลดการแยกความสนใจต่อการออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบสื่อการเรียนรู้ต่อไป</p> ธวัช ธรรมบุตร, ปิยพร วงศ์อนุ Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271465 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 Virtual Studio Learning Environment Based on STEAM Education Concept Integrated With Socio-Scientific Issues to Enhance Learner’s Scientific Creativity https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271639 <p>The objective of this research was to develop learners’ scientific creativity by incorporating a virtual studio learning environment based on the STEAM education concept integrated with socio-scientific issues. The learning environment highlighted features such as a showcasing space where learners can gain feedback, which could be useful for any revisions to increase the efficiency of their projects. This created room for learners’ trial and error while engaging in the activities. Moreover, the STEAM education concept integrated with socio-scientific issues was utilized in the activities. Using purposive sampling the sample consisted of 75 secondary school students. During the 8-week experiment, these students were assessed before (week 1), during (week 4), and after studying (week 8). The evaluation tools included a student self-assessment form and a teacher project evaluation form. Statistical analysis was conducted using mean, standard deviation, and repeated measure ANOVA. The results from the self-assessment form revealed that students had a higher average score for divergent thinking after studying (<em>M</em> = 4.66, <em>SD</em> = 0.22) than during (<em>M</em> = 3.31, <em>SD</em> = 0.23) and before studying (<em>M</em> = 3.02, <em>SD</em> = 0.36). For convergent thinking, the average score after studying (<em>M</em> = 4.65, <em>SD</em> = 0.23) was found to be higher than during (<em>M</em> = 3.32, <em>SD</em> = 0.22) and before studying (<em>M</em> = 3.02, <em>SD</em> = 0.37) at the .05 statistical significance level. The results from the teachers’ project evaluation form showed that the learners’ scientific creativity average after learning (<em>M</em> = 21.97, <em>SD</em> = 0.15) was higher than during (<em>M</em> = 18.23, <em>SD</em> = 0.15) and before learning (<em>M</em> = 12.53, <em>SD</em> = 0.11) at the .05 statistical significance level.</p> Kulchaya Piboon, Jintavee Khlaisang, Prakob Koraneekij Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271639 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 การประเมินภาวะทางอารมณ์ของผู้เรียนในห้องด้วยแอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/272272 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างแอปพลิเคชันประเมินภาวะทางอารมณ์ของผู้เรียนในห้องด้วยปัญญาประดิษฐ์ และทดลองใช้แอปพลิเคชันกับกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้ใบหน้าจากอาสาสมัคร ในจังหวัดกาญจนบุรี 23 คน และนนทบุรี 17 คน เพื่อนำใบหน้ามาสร้างและทดสอบโมเดลร่วมกับภาพจากชุดข้อมูลโอเพนซอร์ส FER2013 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้น คือ จังหวัดนครนายก 13 คน พิจิตร 33 คน ขอนแก่น 30 คน และกรุงเทพมหานคร 20 คน มีวิธีการสร้างแอปพลิเคชันด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์วิทัศน์กับอัลกอริทึมการตรวจจับใบหน้าของ Haar และส่งให้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (CNN) ทำการทำนายอารมณ์และนับจำนวนความถี่สะสมของแต่ละอารมณ์ทั้ง 7 โดยอารมณ์เชิงบวก คือ กลุ่มอารมณ์ปกติ ความสุข และความประหลาดใจ ด้านอารมณ์เชิงลบ คือ ความเศร้า ความกลัว ความโกรธ และขยะแขยง นำโมเดลจากการฝึกมาเขียนโปรแกรมเพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์ใบหน้าจำนวน 7 อารมณ์ของผู้เรียนในห้อง ด้วยกล้องเว็บแคมที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ระหว่างการเรียนการสอนในห้อง เป็นเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยไม่มีการบันทึกวิดีโอและไม่ส่งข้อมูลออกไปเก็บที่เครื่องแม่ข่ายออนไลน์บนคลาวน์ เพื่อป้องกันข้อมูลความเป็นส่วนตัวของอาสาสมัคร ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างแอปพลิเคชันมีค่า Val accuracy อยู่ที่ 0.6288 และมีค่าความเที่ยง Interrater reliability ที่มีผลความแม่นยำเฉลี่ยของทุกภาวะอารมณ์อยู่ที่ 0.8 หรือร้อยละ 80 ซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับได้ 2) การทดลองแอปพลิเคชัน พบสภาพแวดล้อมของห้องที่มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ต่างกัน ส่งผลต่อความคลาดเคลื่อนของการวิเคราะห์ใบหน้าผ่านกล้อง สิทธิส่วนบุคคลของผู้เรียน ส่งผลต่อการบันทึกภาวะอารมณ์ทางใบหน้าขณะเรียนในห้องด้วยปัญญาประดิษฐ์ และการประเมินภาวะทางอารมณ์ของผู้เรียนมีภาวะอารมณ์ปกติสูงที่สุด และไม่พบนักศึกษาที่มีภาวะอารมณ์ที่ขยะแขยง เมื่อนำมาวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มอารมณ์เชิงบวกของ 4 วิทยาลัยอยู่ที่ 71.19% และกลุ่มอารมณ์เชิงลบ 28.81% ผลการวิจัยในครั้งนี้นำไปใช้เพื่อประโยชน์การเฝ้าระวังอาการภาวะซึมเศร้าของผู้เรียน และปรับปรุงหลักสูตรหรือวิธีการสอนของครูผู้สอนต่อไป</p> ภาณุภณ พสุชัยสกุล, ชัยวิชิต เชียรชนะ, ศจีมาจ ณ วิเชียร Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/272272 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะปกติถัดไป: กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/268485 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาที่นักเรียนประสบในภาวะปกติถัดไป 2) กระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะปกติถัดไป และ 3) ข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะปกติถัดไปของโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกต และแบบศึกษาเอกสาร เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์จากเนื้อหาและใช้การตรวจสอบข้อมูลสามเส้าเพื่อสนับสนุนความน่าเชื่อถือของงานวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่นักเรียนประสบในภาวะปกติถัดไป ได้แก่ ปัญหาปัจจัยพื้นฐานทางกายภาพ ความพร้อมด้านเทคโนโลยี การเรียนการสอน สุขภาพจิตนักเรียน และความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม การศึกษายังพบว่า กระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการสัมภาษณ์นักเรียนและผู้ปกครอง และเยี่ยมบ้านพร้อมบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ การคัดกรองนักเรียน ใช้แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ) โดยครูประจำหอนอน การป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยเพิ่มห้องสืบค้น ลงโทษทางบวก ตัดคะแนนความประพฤติ จัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหา อบรมคุณธรรมจริยธรรม การส่งเสริมพัฒนานักเรียน โดยเปิดเวทีให้นักเรียนแสดงความสามารถ การแข่งขันทักษะทางวิชาการ การฝึกทักษะอาชีพ และการส่งต่อ ได้แก่ การส่งต่อให้ครูสอนอิสลามศึกษาภายในโรงเรียน และการส่งต่อภายนอกไปยังโรงเรียนในสังกัดเดียวกันหรือโรงพยาบาลบำบัดยาเสพติด นอกจากนี้ข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะปกติถัดไป ได้แก่ การคัดกรองนักเรียนให้เข้มข้นขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดทำฐานข้อมูลนักเรียน และการผลักดันให้มีนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน</p> ตูแวเปาะนารมา ไซดอูเซ็ง, วรภาคย์ ไมตรีพันธ์ Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/268485 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาครู: การวิเคราะห์อภิมานสมการโครงสร้าง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271664 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าเมทริกซ์สหสัมพันธ์รวมของตัวแปรที่เกี่ยวข้องการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ และเพื่อนำเสนอโมเดลที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการวิเคราะห์อภิมานสมการโครงสร้าง โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้ เริ่มด้วยการสืบค้นข้อมูลบทความวิจัยจาก Google Scholar ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018-ค.ศ. 2022 โดยใช้กลยุทธ์การสืบค้นงานวิจัยและการคัดเลือกงานวิจัยตามหลักของ PICO ได้งานวิจัยจำนวน 1,650 เรื่อง หลังจากนั้นทำการคัดเลือกงานวิจัยจากการสืบค้นด้วย PRISMA 2020 ได้จำนวนงานวิจัยตามเกณฑ์ 11 เรื่อง และตรวจสอบความลำเอียงในการตีพิมพ์ พบว่าขนาดอิทธิพลของการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ไม่ขึ้นกับขนาดตัวอย่าง (<em>t</em>(25) = 1.018, <em>p</em> = .318) นอกจากนี้ มีตรวจสอบความเป็นเอกพันธ์ พบว่า ความแปรปรวนของเมทริกซ์สหสัมพันธ์แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>Q</em>(26) = 865.028, <em>p</em> &lt; .001) บ่งชี้ได้ว่า เมทริกซ์สหสัมพันธ์ของงานวิจัยทั้งหมดมีความแปรปรวนอยูในระดับมาก ข้อค้นพบสำคัญของการศึกษาครั้งนี้ พบว่า มี 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ผ่านการวิเคราะห์เมทริกซ์สหสัมพันธ์รวม ได้แก่ 1) การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ 2) ทักษะทางอินเทอร์เน็ต 3) การจัดการแพลตฟอร์มการเรียนรู้ทางดิจิทัล 4) เจตคติ 5) การสื่อสารทางสื่อสังคมออนไลน์ และ 6) การรู้คิดของตนเอง นอกจากนี้ ผลการเปรียบเทียบโมเดลเหมาะสมที่สุด พบว่า การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์มีปัจจัยทางอ้อมจากความสามารถการจัดการแพลตฟอร์มการเรียนรู้ทางดิจิทัล การสื่อสารทางสื่อสังคมออนไลน์ และการรู้คิดของตนเอง ผ่านปัจจัยทักษะทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งงานวิจัยนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกและกรอบที่เกี่ยวกับปัจจัยสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์</p> วรรณี สุจจิตร์จูล, ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ, วรรณี แกมเกตุ Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271664 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 การวินิจฉัยแบบองค์รวมและแบบแยกองค์ประกอบของทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และทักษะการเชื่อมโยงในชีวิตจริงของนักเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271810 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวินิจฉัยทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์แบบองค์รวมและแบบแยกองค์ประกอบสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อวินิจฉัยทักษะการเชื่อมโยงในชีวิตจริงแบบองค์รวมและแบบแยกองค์ประกอบสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย 1) ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 463 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์สำรวจข้อบกพร่อง เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน 2) แบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการเชื่อมโยงในชีวิตจริง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การวินิจฉัยทักษะการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 พบว่า ข้อบกพร่องของทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ คือ นักเรียนเข้าใจโจทย์แต่ตีความโจทย์ปัญหาผิด ขาดทักษะในการคิดคำนวณและไม่สรุปคำตอบ ผลการวินิจฉัยในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยองค์ประกอบการทำความเข้าใจปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหา และการสรุปคำตอบอยู่ในระดับดี และการดำเนินการแก้ปัญหาอยู่ในระดับพอใช้ 2) การวินิจฉัยทักษะการเชื่อมโยงในชีวิตจริงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 พบว่า ข้อบกพร่องของทักษะการเชื่อมโยงในชีวิตจริง คือ นักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาเศษส่วนจึงนำไปเชื่อมโยงปัญหาได้ ขาดความเข้าใจในสาระวิชาอื่น ผลการวินิจฉัยในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยองค์ประกอบการเชื่อมโยงเรื่องต่าง ๆ ของคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับดี และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับสาระวิชาอื่นอยู่ในระดับพอใช้</p> ซูลีฮา มะแซ, อาฟีฟี ลาเต๊ะ, อารียุทธ สมาแอ, ฮามีด๊ะ มูสอ Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271810 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ และแอปพลิเคชันมายด์มีสเตอร์ที่มีต่อความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/270865 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบและแอปพลิเคชันมายด์มีสเตอร์ และ 2) ศึกษาคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทางความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบและแอปพลิเคชันมายด์มีสเตอร์ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 42 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 แผน ใช้เวลา 8 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมติฐาน t-test dependents และการวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ (Development Score or Gain Score)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์หลังจากการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้เฉลี่ยอยู่ในระดับพัฒนาการระดับกลางและนักเรียนมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 35.47</p> เตมีย์ อวะภาค, นพรัฐ เสน่ห์, อภิชัย จันทร์เกษ Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/270865 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 ประสบการณ์การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้แบบโมไบล์เลิร์นนิงในยุคดิจิทัล กรณีศึกษา ครูพลังงานสะอาดเพื่อการเปลี่ยนแปลง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271859 <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาในรูปแบบโมไบล์เลิร์นนิงของครูระดับมัธยมศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งรวบรวมผลวิจัยมาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วยครูมัธยมศึกษาในโครงการครูพลังงานสะอาดเพื่อการเปลี่ยนแปลง จํานวน 10 ท่าน ดําเนินการวิจัยในระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประเด็นหลักเกี่ยวกับประสบการณ์ในการออกแบบ นวัตกรรมการเรียนรู้แบบโมไบล์เลิร์นนิง 2 ประเด็น คือ 1) ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนออกแบบสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ พบว่า ครูเลือกเนื้อหาที่ใช้ในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้จากปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน และเลือกรูปแบบในการพัฒนาเป็นแบบโมไบล์เลิร์นนิงเนื่องจากมีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตของนักเรียนในปัจจุบัน 2) ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาสื่อนวัตกรรม พบว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและบรรยากาศในการทำงานช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานของครู ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า การออกแบบสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้หลักการคิดเชิงออกแบบและการสร้างชุมชนทางวิชาชีพมีส่วนช่วยอย่างยิ่งให้การออกแบบสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูประสบความสำเร็จ</p> ชลิดา จูงพันธ์, ญาดา อรรถอนันต์ Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271859 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/272755 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย และ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย โดยมีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) ใช้การวิจัยเอกสารอย่างเป็นระบบ (Systematic review) 2) การวิจัยเชิงสำรวจดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 514 คน ด้วยแบบสอบถามปลายปิดแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยองค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis)</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทยมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีและทรัพยากร ด้านการเรียนรู้ ด้านสังคม ด้านโครงสร้าง และกระบวนการ โดยส่งผลให้เกิดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมฯ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างสรรค์ ด้านการบูรณาการศาสตร์เพื่อการสร้างสรรค์ ด้านการสร้างเครือข่ายทางสังคม 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและศึกษาอิทธิพลจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัย พบว่า (1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ปัจจัยทั้ง 4 ด้านมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัยส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมฯ พบว่า ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน สามารถอธิบายความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมฯ ได้ร้อยละ 61 (R<sup>2</sup>= 61) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.78 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> พริ้วฝน เทียนศรี, ใจทิพย์ ณ สงขลา Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/272755 Mon, 02 Sep 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัจจัยการยอมรับการใช้ Microsoft Teams ต่อการสอนแบบผสมผสานของอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/270654 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับการใช้ Microsoft Teams ต่อการสอนแบบผสมผสานของอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้ Microsoft Teams ต่อการสอนแบบผสมผสานของอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จำนวน 52 คน โดยใช้วิธีสุ่มตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การยอมรับการใช้ Microsoft Teams ต่อการสอนแบบผสมผสานของอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ผลการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.86 งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสร้างด้วย Microsoft Forms ส่งทางช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้ Microsoft Teams ต่อการสอนแบบผสมผสานของอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ใช้สัมประสิทธิ์สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์มีการยอมรับการใช้ Microsoft Teams ต่อการสอนแบบผสมผสานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 3.45) อาจารย์มีการยอมรับปัจจัยด้านการรับรู้ว่ามีประโยชน์อยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 3.57) อาจารย์ยอมรับปัจจัยด้านทัศนคติต่อการใช้ อยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 3.52) อาจารย์ยอมรับปัจจัยด้านความตั้งใจใช้อยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 3.50) อาจารย์มีการยอมรับปัจจัยด้านการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง (<em>M</em> = 3.23) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการยอมรับการใช้ Microsoft Teams ต่อการสอนแบบผสมผสานและปัจจัยการยอมรับการใช้ Microsoft Teams ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ธวัชชัย อดิเทพสถิต Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/270654 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 การประเมินคุณภาพโรงเรียนในความดูแลของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ตามกรอบแนวคิดยุคดิจิทัลที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271223 <p>งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพโรงเรียนในความดูแลของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ตามตัวชี้วัด (KPIs) และกรอบแนวคิดแบบ 360 องศาของโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ตามกรอบแนวคิดยุคดิจิทัลที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยคัดเลือกโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 10 โรงเรียน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง มีเกณฑ์ในการคัดเลือก คือ ต้องเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาจากพันธมิตรผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบรายการ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และสนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 220 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เรียน กลุ่มสมาชิกชุมชน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา กลุ่มผู้สอน และ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพโรงเรียนในความดูแลของมูลนิธิฯ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านผู้เรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น แต่ควรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ การพิมพ์ และการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย 2) ด้านการมีส่วนร่วม มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะในการส่งเสริมทักษะด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่ควรพัฒนาการสื่อสารเพื่อความร่วมมือ 3) ด้านผู้สอน สามารถใช้ทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเชิงปฏิบัติได้ดี แต่ควรมีบุคลากรสายสนับสนุนด้านไอซีที และจัดภาระงานให้เหมาะสม 4) ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร แต่ควรพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารในยุคดิจิทัล 5) ด้านหลักสูตรและการสอน มีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะแห่งอนาคต แต่ควรเน้นการบูรณาการไอซีทีในการจัดการเรียนการสอน 6) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โรงเรียนส่วนใหญ่มีทรัพยากรเพียงพอ แต่ควรพัฒนาทักษะด้านไอซีทีในการบริหารและการเรียนรู้</p> ประกอบ กรณีกิจ, สิริน ฉกามานนท์, รัตนลักษณ์ มณีรัตนโชติวงศ์, ปาริฉัตร สีแสง, ชณทัต บุญชูวงศ์, ปวริศร์ ปิงเมือง Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271223 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์พัฒนาการของการจัดการความรู้ส่วนบุคคลและการผสานรวมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์: การวิเคราะห์ทางบรรณมิติ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271656 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอโครงสร้างความรู้ ทิศทาง และแนวโน้มของการวิจัยด้านการจัดการความรู้ส่วนบุคคล (PKM) และการบูรณาการกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยการวิเคราะห์ทางบรรณมิติของบทความจากวารสาร รายงานการประชุมวิชาการ บทในหนังสือ และหนังสือที่เกี่ยวข้องในฐานข้อมูล Scopus ระหว่างปี ค.ศ. 1988 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์คำสำคัญและการวิเคราะห์การใช้คำสำคัญร่วมกันในการวินิจฉัยข้อมูล ผลการวิจัยพบแนวคิดหลัก 3 ด้าน คือ การจัดการความรู้ ปัญญาประดิษฐ์ และศาสตร์รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการ PKM และ AI โครงสร้างความรู้แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ การพัฒนาแรงงานความรู้ การแบ่งปันความรู้ AI ระบบจัดการความรู้ และการจัดการสารสนเทศ งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า AI เป็นแนวทางที่มีศักยภาพในการสนับสนุน PKM โดยเฉพาะในด้านการจัดหา แบ่งปัน และการถ่ายโอนความรู้</p> ชุติมา ไวยสุระสิงห์, ชาติชาย ไวยสุระสิงห์ Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271656 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบแชทบอทสำหรับสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271130 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบจำลองและการหาประสิทธิภาพแบบจำลองการจำแนกประเภทข้อคำถาม 2) พัฒนาระบบแชทบอทสำหรับสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบแชทบอทสำหรับสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ชั้นปีที่ 4 ที่ออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในปีการศึกษา 2/2565 จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดข้อมูลคำถามเกี่ยวกับงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน 2) ระบบแชทบอทสำหรับสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบแชทบอท ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างแบบจำลองและผลการหาประสิทธิภาพของแบบจำลองการจำแนกประเภทข้อคำถาม พบว่า แบบจำลองที่ได้ค่าความถูกต้อง (Accuracy) มากที่สุด คือ วิธีต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) กับ วิธีเพอร์เซปตรอนแบบหลายชั้น (Multilayer Perceptron) เท่ากับ 93.7% และวิธีเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด (K-Nearest Neighbors) เท่ากับ 78.4% 2) ผลการพัฒนาระบบแชทบอทสำหรับสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานบนแอปพลิเคชัน Line ร่วมกับแบบจำลองสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของระบบแชทบอทสำหรับสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ผลการประเมินโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ระบบแชทบอทที่พัฒนาขึ้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน</p> ภาสกร ธนศิระธรรม, นริศรา ไชยเสนา, วราพร ประสาวะภา, วรวิทย์ สังฆทิพย์ Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/271130 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์และจัดกลุ่มความรู้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/270369 <p>การวิจัยเรื่องการวิเคราะห์และจัดกลุ่มการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และจัดกลุ่มความรู้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวิเคราะห์การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาด้านการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา จำนวน 311 รายการ จากแหล่งสารสนเทศ จำนวน 17 แห่ง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การจัดกลุ่มความรู้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา สามารถจัดกลุ่มได้ จำนวน 17 หมวด จากนั้นนำมาพิจารณาความซ้ำซ้อนทางเนื้อหา สามารถจัดกลุ่มออก จํานวน 17 หมวด และเพื่อให้กลุ่มความรู้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนามีความถูกต้อง ครอบคลุม และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ได้ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหมวดหมู่ จำนวน 3 คนตรวจสอบอีกครั้ง จากผลการประเมินการจัดกลุ่มความรู้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา สามารถนำมาใช้เป็นกลุ่มความรู้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา จํานวน 17 หมวดใหญ่ ได้แก่ 1) การตั้งถิ่นฐาน 2) อาชีพ 3) ภาษา 4) การแต่งกาย 5) ที่อยู่อาศัย 6) ครอบครัว 7) ความเชื่อ 8) ศาสนา 9) ความเป็นอยู่และประเพณี 10) ศาสนพิธี 11) การรักษาโรค 12) อาหาร 13) การปกครอง 14) การศึกษา 15) ลักษณะนิสัย 16) ดนตรี และ 17) การละเล่น หมวดย่อยจำนวน 65 หมวดย่อย หมู่จำนวน 175 หมู่ หมู่ย่อยที่ 1 จำนวน 352 หมู่ย่อย และหมู่ย่อยที่ 2 จำนวน 59 หมู่ย่อย</p> สุพิฌา เนียมทรัพย์, วรรษพร อารยะพันธ์ Copyright (c) 2024 Journal of Information and Learning [JIL] https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/270369 Mon, 26 Aug 2024 00:00:00 +0700