https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/issue/feed KASEM BUNDIT JOURNAL 2023-12-28T10:05:21+07:00 Assoc.Prof. Nathabhol Khanthachai, Ph.D. [email protected] Open Journal Systems Kasem Bundit Journal https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/265763 ความสัมพันธ์ระหว่างระบบงานที่มีสมรรถนะสูงกับผลการปฏิบัติงาน ผ่านการแลกเปลี่ยนทางสังคม : กรณีศึกษาธนาคารออมสิน 2023-05-26T16:22:23+07:00 วงจันทร์ เจียรจินดา [email protected] อุทัย เลาหวิเชียร [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์ เ</strong>พื่อวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของระบบงานที่มีสมรรถนะสูงต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การ ผ่านการแลกเปลี่ยนทางสังคม<strong> วิธีการวิจัย</strong> การวิจัยเชิงสำรวจจากตัวอย่างโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรของธนาคารออมสินจำนวน 310 คน ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานใหญ่และสาขาธนาคารในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเชิงสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเชื่อถือได้ด้วยวิธีของครอนบาค การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง <strong>ผลการวิจัย</strong> ระบบงานที่มีสมรรถนะสูงมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การและการแลกเปลี่ยนทางสังคม การแลกเปลี่ยนทางสังคมมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การ ระบบงานที่มีสมรรถนะสูงมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการแลกเปลี่ยนทางสังคมต่อไปยังผลการปฏิบัติงานขององค์การ ซึ่งเป็นการส่งผ่านอิทธิพลแบบบางส่วนของความสัมพันธ์ <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย</strong> องค์การควรให้ความสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนทางสังคมในการเพิ่มผลการปฏิบัติงานขององค์การมากกว่าการให้ความสำคัญต่อระบบงานที่มีสมรรถนะสูงแต่เพียงด้านเดียวสำหรับการเติบโตขององค์การ</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 KASEM BUNDIT JOURNAL https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/261942 ความสอดคล้องระหว่างความคิดเห็นของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องต่อการก่อตัวของนโยบายการแก้ไข ปัญหาความยากจน ในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2022-11-15T11:00:18+07:00 อาริยา ป้องศิริ [email protected] จริยา อินทนิล [email protected] พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม [email protected] กตัญญู แก้วหานาม [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องต่อการก่อตัวนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดกาฬสินธุ์ <strong>วิธีการวิจัย </strong>การวิจัยเชิงสำรวจจากตัวอย่างจำนวน 408 คน และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คน <strong>ผลการวิจัย</strong> ตัวแสดงที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดกาฬสินธุ์ ในภาพรวม ร้อยละ 76.8 โดยกลุ่มที่อยู่ภายในรัฐบาลเห็นด้วย ร้อยละ 77.9 รองลงมาคือ กลุ่มหน่วยงานระดับพื้นที่ หรือระดับจังหวัด ร้อยละ 77.6 และกลุ่มที่อยู่ภายนอกรัฐบาล ร้อยละ 74.6 ตามลำดับ <strong>นัยทางด้านทฤษฎี/นโยบาย </strong>การกำหนดนโยบายการทุเลาปัญหาความยากจนมีความเหมาะสมในทัศนะตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 KASEM BUNDIT JOURNAL https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/268095 การสร้างการตระหนักรู้และเข้าใจร่วมกันในสิทธิเสรีภาพบนพื้นที่โซเชียลมีเดียของเยาวชนและผู้ปกครอง 2023-11-08T16:30:51+07:00 ณัฐพงค์ แย้มเจริญ [email protected] กรกช แสนจิตร [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพการใช้และการสื่อสารบนพื้นที่โซเชียลมีเดียระหว่างเยาวชนและผู้ปกครอง ทัศนคติเรื่องสิทธิเสรีภาพการใช้และการสื่อสารบนพื้นที่โซเชียลมีเดียของเยาวชนและผู้ปกครอง พฤติกรรมที่สะท้อนถึงการละเมิดสิทธิเสรีภาพการใช้และการสื่อสารบนพื้นที่โซเชียลมีเดียของเยาวชนและผู้ปกครอง และนำเสนอรูปแบบวิธีการใช้และการสื่อสารบนพื้นที่โซเชียลมีเดียของเยาวชนและผู้ปกครอง <strong>วิธีการวิจัย</strong> การวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลปริมาณกลุ่มตัวอย่างเยาวชนทั่วประเทศจำนวน 420 คน และพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวน 420 คน ร่วมกับการเก็บข้อมูลคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างเยาวชน 15 คน ผู้ปกครอง 15 คน และทำการสนทนากลุ่มเยาวชน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน นักวิชาการ วิชาชีพด้านสื่อ 10 คน <strong>ผลการวิจัย </strong>เยาวชนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ พฤติกรรมที่สะท้อนการละเมิดที่แตกต่างกันและมีรูปแบบ วิธีการใช้ การสื่อสารที่สามารถใช้พื้นที่บนโซเซียลมีเดียร่วมกันได้ <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย </strong>ความสัมพันธ์และความเข้มแข็งในครอบครัว การลดช่องว่างระหว่างวัย การรู้เท่าทันสื่อ และการสื่อสารอย่างเข้าอกเข้าใจจะทำให้สามารถใช้พื้นที่บนโซเซียลมีเดียร่วมกันอย่างมีประสิทธิผล</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 KASEM BUNDIT JOURNAL https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/269403 การกำหนดนโยบายสาธารณะการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในประเทศไทย 2023-12-12T16:34:46+07:00 วิชัย โถสุวรรณจินดา [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> ศึกษานโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในประเทศไทย นโยบายต่าง ๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น <strong>วิธีการวิจัย</strong> การศึกษาเอกสารรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง และการประชุมกลุ่มย่อย <strong>ผลการวิจัย</strong> แม้รัฐบาลจะกำหนดนโยบายสาธารณะในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ดังเห็นได้จากการกำหนดนโยบายไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 แผนพัฒนาการท่องเที่ยวและแผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ในทางปฏิบัติ การดำเนินการตามนโยบาย ดังกล่าวยังมีปัญหาการประสานงานระหว่างหน่วยงาน การขาดมาตรการส่งเสริมอย่างจริงจัง การขาดระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจน รวมทั้งการขาดกฎหมายที่จะใช้บังคับในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะการคุ้มครองพืชสมุนไพร การส่งเสริมการผลิตยาในประเทศ และการส่งเสริมการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย</strong> รัฐควรจัดให้มีกฎหมายให้การคุ้มครองและส่งเสริมการวิจัยเฉพาะชนิดพืชสมุนไพร ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ ออกมาตรการส่งเสริมและคุ้มครองการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาการผลิต ส่งเสริมการให้บริการรักษาสุขภาพโดยระบบเทเลเมดิซีน และจัดให้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 KASEM BUNDIT JOURNAL https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/268447 การศึกษาตำแหน่งพื้นที่ลานพักตู้คอนเทนเนอร์ที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อการขนส่งหลายรูปแบบ 2023-11-08T16:38:47+07:00 นพปฎล สุวรรณทรัพย์ [email protected] ปริญ วีระพงษ์ [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดที่ตั้งของลานพักตู้คอนเทนเนอร์ที่เหมาะสม และเพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งของลานพักตู้คอนเทนเนอร์ที่เหมาะสม ในเขตจังหวัดปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา <strong>วิธีการวิจัย </strong>ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการคัดเลือกทำเลที่ตั้งของลานพักตู้คอนเทนเนอร์ เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินสำหรับแนวคิดการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นกับผู้เชี่ยวชาญในด้านการขนส่งสินค้าทางราง และการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ จำนวน 30 ราย ทำการคัดเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง <strong>ผลการวิจัย</strong> เกณฑ์การตัดสินใจหลักที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญสูงสุดคือ ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตามด้วยความเหมาะสมทางด้านโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐาน การสนับสนุนจากภาครัฐ และปริมาณสินค้าที่ใช้ในการขนส่ง เกณฑ์ด้านดำเนินการโลจิสติกส์ เป็นปัจจัยที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญมากที่สุด และการพิจารณาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมในการพัฒนาลานพักตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อการรองรับการเชื่อมต่อการขนส่งหลายรูปแบบ พบว่า พื้นที่บริเวณสถานีเชียงรากน้อย มีความเหมาะสมมากที่สุด <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย </strong>ลานพักตู้คอนเทนเนอร์ที่เหมาะสมในเขตจังหวัดปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ได้แก่พื้นที่บริเวณสถานีเชียงรากน้อย โดยมีปัจจัยที่มีความสำคัญในการพิจารณามากที่สุดคือปัจจัยในด้านการดึงดูดเพื่อการดำเนินการโลจิสติกส์</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 KASEM BUNDIT JOURNAL https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/266836 กระบวนการขัดเกลาคุณธรรมและจริยธรรมในครอบครัวสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี 2023-07-18T16:37:24+07:00 ปาริชาต รัตนบรรณสกุล [email protected] จำเนียร ชุณหโสภาค [email protected] โยธิน แสวงดี [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาองค์ประกอบในกระบวนการขัดเกลาสำหรับเด็ก และการใช้หนังสือนิทานในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมกับเด็กวัย 3-6 ปี <strong>วิธีการวิจัย</strong> โดยการสำรวจด้วยตัวอย่าง นักเรียนวัย 3-6 ปี จำนวน 176 คน ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดชลบุรี และการสัมภาษณ์มารดาของนักเรียนที่เป็นตัวอย่าง จำนวน 20 ครอบครัว ซึ่งเป็นผู้เล่าเรื่องต่าง ๆ จากหนังสือให้เด็กฟัง <strong>ผลการวิจัย</strong> กระบวนการขัดเกลามีผลต่อการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยสำหรับเด็ก 3-6 ปี การใช้หนังสือนิทานพบว่า เป็นสื่อที่มีความสำคัญในการขัดเกลาคุณธรรมและจริยธรรมในด้านความกตัญญู ความซื่อสัตย์ และความมีวินัย <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย</strong> กระบวนการขัดเกลาทางคุณธรรมและจริยธรรมควรนำไปใช้ให้เกิดผลดีต่อสถาบันครอบครัวไทย อีกทั้งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางจัดทำเป็นคู่มือสำหรับสถาบันครอบครัวในการขัดเกลาคุณธรรมและจริยธรรมแก่เด็กโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 KASEM BUNDIT JOURNAL https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/269211 การยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการร้านค้าส่งและค้าปลีกผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน 2023-12-06T09:56:05+07:00 วีรพัฒน์ กฤตธนาทิพย์ [email protected] อิทธิกร ขำเดช [email protected] กรด สองเมือง [email protected] จุลชาติ ตันเจริญ [email protected] สุริยันตร์ ฉะอุ่ม [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อปรับปรุงและใช้เกณฑ์ประเมินคุณภาพในการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกทั้งระยะยาวและระยะสั้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น และมีการสร้างเครือข่ายธุรกิจ เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันให้มีความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ <strong>วิธีการวิจัย</strong> ทำการทบทวนเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจค้าส่งค้าปลีกในการกำหนดทิศทางและแผนกลยุทธ์ ใน 5 เกณฑ์ประเมินหลัก ตัวอย่างของการวิจัยประกอบด้วย 84 สถาบัน ทำการจัดกลุ่มธุรกิจค้าส่งค้าปลีกที่มีศักยภาพสูงโดยมีระดับคะแนนเพิ่มสูงขึ้นโดยใช้วิธี Ward’s cluster analysis <strong>ผลการวิจัย</strong> เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจค้าส่งค้าปลีกในการกำหนดทิศทางและแผนกลยุทธ์ฉบับปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน โดยพบว่ากิจการค้าปลีกค้าส่ง ที่มีความมุ่งมั่นดำเนินการปรับปรุงตามการให้คำปรึกษาของผู้เชี่ยวชาญมีระดับคะแนนเพิ่มสูงขึ้นอย่างเด่นชัด <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย</strong> การใช้เกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการของธุรกิจ ในการขับเคลื่อนองค์กร ช่วยให้ธุรกิจมีความยั่งยืนสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างมั่นคง</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 KASEM BUNDIT JOURNAL https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/269093 ผลกระทบของวิถีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ติดฉลากคาร์บอนของผู้บริโภคใน Gen Z 2023-11-23T17:35:49+07:00 ธันยมัย เจียรกุล [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยด้านรูปแบบการดำเนินชีวิตเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ติดฉลากคาร์บอนของผู้บริโภค Gen Z <strong>วิธีการวิจัย</strong> โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการใช้แบบสอบถาม จำนวน 270 ชุด ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ<strong> ผลการวิจัย</strong> ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อาศัยอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 80 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.7 อายุ 15-20 ปี ร้อยละ 65.2 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 85.9 รายได้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท ร้อยละ 77.00 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิตเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าติดฉลากคาร์บอน อย่างมีนัยสำคัญ<strong> นัยทางทฤษฎี/นโยบาย</strong> ผู้ประกอบการสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ติดฉลากคาร์บอน ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Gen Z ในยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 KASEM BUNDIT JOURNAL https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/269405 Ziglari, L. (2017). Interpreting multiple regression results: β weights and structure coefficients. General Linear Model Journal, 43(2), 13-22. 2023-12-12T16:55:03+07:00 ณัฐพล ขันธไชย [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่ออธิบายสัมประสิทธิการถดถอยและสัมประสิทธิโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการประยุกต์ในการนำสัมประสิทธิ์ทั้งสองประเภทไปประยุกต์และเพื่อการแปลความหมายผลการวิจัยให้ถูกต้องยิ่งขึ้น <strong>วิธีการ</strong> การวิจัยเอกสารและการวิจารณ์เชิงวิพากย์ <strong>ผลการวิจัย</strong> ในการวิเคราะห์การถดถอยทั้ง สัมประสิทธิ์ และสัมประสิทธิ์โครงสร้างควรนำมาประยุกต์อย่างรอบคอบในการแปลความหมายผลการวิจัย เพราะสัมประสิทธิ์ แสดงถึงสหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างตัวพยากรณ์แต่ละตัวกับตัวแปรผลลัพธ์ <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย</strong> บทความที่นำมาวิจารณ์มีคุณค่าควรอ่านเป็นความรู้ทางทฤษฎีและเทคนิคการวิเคราะห์มีประโยชน์ในการประยุกต์ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 KASEM BUNDIT JOURNAL