KASEM BUNDIT JOURNAL https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu Kasem Bundit Journal Kasem Bundit University en-US KASEM BUNDIT JOURNAL 3027-6713 <p>ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย</p> Ronkko, M. (2014). The effects of chance correlations on partial least squres path modeling. Organizational Research Methods, 17(2), 164-181. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/273016 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>: เพื่อนำเสนอผลการเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบเส้นทางโดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดกับวิธีการสร้างตัวแบบสมการโครงสร้างบนพื้นฐนของการแปรผันร่วม <strong>วิธีการ</strong> : การวิจารณ์เชิงวิภาค <strong>ผลการศึกษา</strong> : ความนิยมต่อการสร้างตัวแบบเส้นทางโดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Square path modeling) เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอย่าง (sample) ขนาดใหญ่ ซี่งจำเป็นในวิธีการสร้างตัวแบบสมการโครงสร้างบนพื้นฐานของการแปรผันร่วม (Covariance-Based SEM) เป็นความนิยมที่เกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อน (fallacy) เพราะเมื่อตัวอย่างมีขนาดเล็กจะทำให้ค่าประมาณ (estimates) ต่าง ๆ เช่น&nbsp; สปส. สหสัมพันธ์และ สปส. เส้นทาง (path coeffients) เป็นต้น ในตัวอย่าง (sample) ไม่น่าเชื่อถือเพราะมีโอกาสมีขนาดใหญ่กว่าค่าประชากร (parameters) เนื่องจากสหสัมพันธ์โดยโอกาส <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย</strong> : นักวิจัยควรใช้ตัวอย่างขนาดที่เหมาะสมในการวิจัย</p> ณัฐพล ขันธไชย Copyright (c) 2024 KASEM BUNDIT JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 25 1 104 108 ความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/270059 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร คุณภาพบริการ และภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัดภูเก็ต <strong>วิธีการวิจัย </strong>การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ <strong>ผลการวิจัย</strong> ตัวแปรภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว ประกอบด้วย ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านกิจกรรม ด้านการเข้าถึง และตัวแปรคุณภาพบริการ ประกอบด้วยด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว ด้านความเชื่อถือได้ ด้านการให้ความเชื่อมั่น มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย</strong> การจะเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตให้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวได้นั้นควรส่งเสริมภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวและคุณภาพบริการ</p> บีรชา แหวนจีน สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์ Copyright (c) 2024 KASEM BUNDIT JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 25 1 1 14 คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/270154 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อประเมินคุณภาพการให้บริการของรถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลืองในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ ความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง <strong>วิธีการวิจัย </strong>การวิจัยเชิงสำรวจด้วยตัวอย่าง เก็บข้อมูลจากผู้โดยสารรถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลืองในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน <strong>ผลการวิจัย</strong> การให้บริการด้านการตอบสนองต่อลูกค้า มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <strong>นัยทางทฤษฎี</strong><strong>/นโยบาย</strong> รถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลืองควรให้บริการด้วยคุณภาพตามความคาดหวังของผู้โดยสาร</p> รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์ วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ พงษ์ศักดิ์ สายธัญญา ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์ วรรณพล ศุภสกุลดำรงค์ Copyright (c) 2024 KASEM BUNDIT JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 25 1 15 30 The influence of organizational identity on employees' work competence: Mediating role of improvisational behavior https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/270201 <p><strong>PURPOSES: </strong>To explore the direct influence of organizational identity on employees' work competence and the mediating role of improvisational behavior among employees in the Chinese art education industry.<strong> METHODS: </strong>This study used qualitative research methods to interview eight leaders in the Chinese art education industry.<strong> RESULTS: </strong>Organizational identity had a positive influence on employees' work competence, and it had an indirect influence on it through improvisational behavior. <strong>THEORY/POLICY IMPLICATIONS: </strong>The leaders in the art education industry should provide training and development opportunities for employees, create a positive cultural climate to strengthen employees’ organizational identity, and improve work competence<strong>.</strong></p> Qinxi Zhang Krisada Chienwattanasook Copyright (c) 2024 KASEM BUNDIT JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 25 1 31 49 อิทธิพลของคุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กรต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการใน องค์กรธุรกิจฝึกอบรม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/271001 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กรของธุรกิจฝึกอบรมและอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล <strong>วิธีวิจัย :</strong> โดยทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มบุคคลที่เคยได้รับการฝึกอบรม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความน่าเชื่อถือมากกว่า 0.7 <strong>ผลการวิจัย :</strong> กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 35 ถึง 44 ปี มีสถานภาพสมรส มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 15<strong>,</strong>000 ถึง 25<strong>,</strong>000 บาท และมีอาชีพพนักงานเอกชน กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญของคุณภาพโดยรวมต่อผู้รับบริการ ภาพลักษณ์องค์กร และความพึงพอใจของผู้รับบริการ คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กรมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05)<strong> นัยทางทฤษฎี/นโยบาย </strong>: ความพึงพอใจของผู้รับบริการขึ้นอยู่กับคุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กร การทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจจึงควรปรับปรุงคุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กร</p> เอกลักษณ์ กอบสาริกรณ์ สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์ Copyright (c) 2024 KASEM BUNDIT JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 25 1 50 63 การสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโดยสื่อสังคมออนไลน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/270255 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: เ</strong>พื่อวิเคราะห์เว็บไซตและเฟซบุ๊คของมหาวิทยาลัย การรับรู้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโดยนักศึกษาและประชาชนและเสนอแนะแนวทางการสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโดยสื่อสังคมออนไลน์ <strong>วิธีการวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยผสมผสานโดยวิเคราะห์ รูปแบบ เนื้อหาสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นเว็บไซต์และเฟซบุ๊คของมหาวิทยาลัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ภาพลักษณ์ที่สำคัญได้แก่ อาจารย์มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ มีหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานได้ มีงานวิจัย/งานสร้างสรรค์/สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ มีสถานที่ อาคารเรียน อุปกรณ์ทันสมัยและหลักสูตรที่น่าสนใจเป็นต้น แนวทางการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ที่สำคัญได้แก่ ควรใช้สื่อหลากหลายแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงกันได้ เนื้อหาเป็นปัจจุบันอยู่ในกระแสที่ผู้รับสารสนใจ <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย</strong><strong>:</strong> มหาวิทยาลัยควรนำเสนอภาพลักษณ์ที่สะท้อนเอกลักษณ์ (Identity) และชื่อเสียง (Reputation) องค์กรที่ชัดเจน ออกแบบสื่อที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้สื่อ ผ่านจุดแข็งของสื่อแต่ละชนิด วางแผนและกำหนดกลยุทธ์การใช้สื่อ การนำเสนอเนื้อหาสารที่เน้นให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าทั้งต่อมหาวิทยาลัยและผู้เกี่ยวข้อง</p> นิภากร กำจรเมนุกูล เมธาพร มูสิกะปาละ พสุนาท สร้อยสุวรรณ ยศวัฒน์ เชือดกิ่ง Copyright (c) 2024 KASEM BUNDIT JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 25 1 64 76 รูปแบบการจัดการความรู้ภายใต้นโยบายคุณภาพของบุคลากรทางการแพทย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/270338 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้ นโยบายคุณภาพของบุคลากร ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายคุณภาพของบุคลากรกับการจัดการความรู้และแนวทางพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ ตามนโยบายคุณภาพของบุคลากรทางการแพทย์ กรมแพทย์ทหารอากาศ <strong>วิธีการวิจัย</strong> การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 170 คน ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็นเกี่ยวกับ แนวทางทางการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภายใต้นโยบายคุณภาพของบุคลากรทางการแพทย์ กรมแพทย์ทหารอากาศ ในหน่วยขึ้นตรงกรมแพทย์ทหารอากาศกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวนทั้งสิ้น 15 คน <strong>ผลการวิจัย</strong> สภาพการจัดการความรู้ ของบุคลากรทางการแพทย์ กรมแพทย์ทหารอากาศ ไม่มีรูปแบบมาตรฐาน ทำให้การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงานอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้เนื่องจากไม่มีมาตรฐานของรูปแบบข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูล นโยบายคุณภาพของบุคลากรด้านสมรรถนะหลักทหารอากาศ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการพัฒนาบุคลากร มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ-ผล กับการจัดการความรู้ของบุคลากรทางการแพทย์ กรมแพทย์ทหารอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ &lt; 0.05 <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย </strong>การจัดการความรู้ที่ดีของกรมแพทย์ทหารอากาศสามารถทำได้เมื่อมีนโยบายคุณภาพของบุคลากรที่เข้มแข็ง</p> ธนารัตน์ สุริยะพึ่งพระ นิตยา สินเธาว์ ขจรศักดิ์ เจ้ากรมทอง Copyright (c) 2024 KASEM BUNDIT JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 25 1 77 90 ประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/269559 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในช่วงการทำงานที่บ้าน <strong>วิธีการวิจัย </strong>การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสายสนับสนุนวิชาการ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม <strong>ผลการวิจัย</strong> พนักงานสายสนับสนุนวิชาการ สจล. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 5 ปี มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-30,000 บาท ประสิทธิผลการปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ สจล. ในช่วงการทำงานที่บ้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p ≤ 0.05 <strong>นัยทางทฤษฎี/นโยบาย</strong> องค์กรในลักษณะเดียวกันสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยไปแก้ไข ปรับปรุง ส่งเสริมให้การทำงานในองค์กรนั้นเกิดประสิทธิผลมากขึ้น โดยพิจารณาลักษณะส่วนบุคคลดังกล่าว</p> กัญญาพัชร สุคนธ์ภัทร สมคะเน ยอดพราหมณ์ Copyright (c) 2024 KASEM BUNDIT JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 25 1 91 103