https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/issue/feed Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 2023-12-31T00:00:00+07:00 Assoc. Prof. Dr. Wasan Panyagaew [email protected] Open Journal Systems <p>Social Sciences Academic Journal is the academic journal published by Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University since 1970. The journal’s editor and its editorial team members are those social science academics who are from both inside the Faculty of Social Sciences and from other leading social science faculties in Thailand universities. The aim of this journal is to publish a high-quality article and/or a research finding paper, particularly from scholarly works in Anthropology, Development Studies, Cultural Studies, Sociology, Geography and Gender Studies. Since 2018, the Social Sciences journal has begun to produce and publish in electronic format (Online). The journal’s ISSN is shown below.</p> <p>ISSN 0125-4138 (Print) </p> <p>ISSN 2672-9563 (Online) </p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/265827 Book Review: Syed Farid Alatas and Vineeta Sinha. 2017. Sociological Theory Beyond the Canon, London: Palgrave Macmillan. 2023-05-31T11:20:06+07:00 Soontree Siriinntawong [email protected] 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/260689 Phi Chao Nai Revisited: 2023-12-12T09:48:23+07:00 Tanabe Shigeharu [email protected] <p>This paper considers major points raised in Shaladchai Ramidhanond’s <em>Phi Chao Nai</em> (1984) in order to clarify the ways by which it is located in the ‘functionalist’ analysis dominant in anthropology during the twentieth century. Subsequently, I take an attention to new dimensions of study focused on such concepts as ‘enchantment เสน่ห์’ and ‘affective contact สัมผัสทางอารมณ์’ in order to shed light on the interactions within the body of the spirit medium and between the spirit medium and clients or followers in the spirit cult. In this way, the paper tries to follow the way in which the study of spirit mediumship in Northern Thailand has greatly transformed its theoretical focuses since Shalardchai’s pioneering work</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/263705 From Social Forestry to Community Rights in Thai Society 2023-12-06T10:22:09+07:00 Anan Ganjanapan [email protected] <p>Under the influences of mainstream forest conservation, various groups who are cultivating in the forest are frequently blamed as the forest destroyer through shifting cultivation discourses which misunderstand the actual practices of forest utilization. Based on academic view of forest as an ecosystem with outside socio-political relationships, several participatory research between academics, local people, and NGO workers are carried out in situ. Local people are found not simply use the forest but also have knowledge and regulations for forest management as well as protect forest from outside encroachment, especially in a form of community forestry. Existing largely in forms of customary, ritual practices and beliefs, they are not easily visible to most people who are trapped in the myths of fixed discourse. Research findings partly help disrupting those myths by providing some understanding in community rights. This concept inspires social movements in the struggles to transform local custom into community forest law, partly through negotiating space of forest conservation rituals. Although the passing of community forest law has not yet achieved, the social movement has opened new and alternative avenue for participatory management of conservation forest.</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/264951 From Social Forestry to Communal Land Title: Evolution and Challenges of Community Rights in Forest and Land Management Concept 2023-06-23T11:05:20+07:00 Bencharat Sae Chua [email protected] <p style="font-weight: 400;">The community rights in resource management concept has been advocated for more than three decades in Thailand, mainly through the struggles of forest-dwelling communities and those in land-related conflicts with the state. Although community rights have been enshrined in the constitution since 1997, there is limited progress in enforcing and entrenching the concept. This article traces the evolution of the idea of community rights from both an ideological and social movement strategic perspectives, from the concept of social forests and community forests to the concept of community rights and communal land title. The article reviews the challenges the concept of community rights faced over the past three decades. It argues that the advocacy of community rights concepts based on pre-existing cultural traditions in the management of resources of the community may not be able to respond to community dynamics and the diverse needs of different communities</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/259681 Community, the Sense of Community and Chao Lay Community Rights – Complexity and Conditionality 2023-07-19T14:03:26+07:00 Narumon Arunotai [email protected] <p>This paper was written in remembrance of Ajarn Chaladchai Ramitanond, especially on his concepts and conceptualization, his transforming the commonplace to the extraordinary under new perspectives, and his analysis of holistic view. These have inspired the author to reflect on the case of Chao Lay Indigenous peoples who used to be marine nomads in Thailand. Their ways of living were constrained by the rigid structure of beliefs, policies, laws, and implementation of these. At the same time, while looking at these "nomadic paths" which have gradually disappeared, it was found that not all of them were exactly the same. The authors analyzed and reviewed the data to understand the complexity and conditionality of Chao Lay nomadic communities and the meaning of the word “community”, then suggested the approach to promote community rights in the case of Chao Lay</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/264401 Politic of Knowledge: From Human Ecology to Thai Baan Research 2023-12-22T11:00:09+07:00 Chainarong Sretthachau [email protected] <p>This article aims to explain the foundation and development of Thai Baan research or Villager’s research which was developed for a decade and takes place under the context of community rights and the politics of knowledge. The foundation concept of Thai Baan research is human ecology and political ecology approach and involves a joint research process between villagers, social worker, and academics. While the core knowledge of Thai Baan research is traditional ecological knowledge which dispossessed by the scientific/laboratory sciences that state and capital use to legitimize development. At present, Thai Ban research can be applied for studying health impacts assessment. Therefore, this article proposes to amend the law to allow public participation according to international principles and public hearing must accept other form of knowledge. especially traditional ecological knowledge in order to achieve development justice.</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/261027 Repositioning of Resistance: Women, Community Forestry, and Practice of “Forest Reclaiming” 2023-06-23T11:17:23+07:00 Paiboon Hengsuwan [email protected] <p>Resistance is a field of study in the social sciences. The article aims to rethink resistance from local people's perspectives, especially ethnic women, to expand understanding beyond the static dichotomy of opposition of domination and resistance. The article reviewed relevant literatures and the research conducted to collect data in May 2016 through field surveys, participant/non-participant observations, and in-depth interviews. The main finding is that, from the case of the state action on forest conservation and the response of residents living in the mountainous forest community, the everyday life resistance of local people within the uneven power structure is still limited in terms of negotiation that people have a certain level of ability to solve only immediate problems. It cannot lead to a main structural change in forest management and conservation</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/263869 The Reflection of Thai Queer Studies Through Western Queer Controversy 2023-12-08T13:38:26+07:00 Narupon Duangwises [email protected] <p>Over the three decades, queer studies in the Western world had been controversial in term of the methodology and issues studied between the sexual subject queer focused on sexual desire and subjectless queer, which interested in critiques of power regimes that created discrimination and social inequality. The argument between the two approaches reflect that the queer knowledge is difficult to define. Consequently, many scholars continue to debate and seek to explain the complex and dynamic human experiences of gender and sexuality. Likewise, Thai queer studies are reviewing and questioning rights, equality, identities and the ever-changing definition of gender and sexual subject. This makes queer studies in Thailand both a political movement for sexual/gender diversity and challenging mainstream heteronormative sexual knowledge</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/269774 Editorial: Politics of Life in Cultural Spaces: A Festschrift to Shalardchai Ramidhanond 2023-12-28T17:28:26+07:00 Anan Ganjanapan [email protected] <p>แม้ว่าจะไม่ได้เป็นนักมานุษยวิทยาไทยรุ่นบุกเบิก หากเป็นเพียงรุ่นสองที่ตามมาจากรุ่นแรก แต่อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ก็สามารถเปิดพรมแดนความรู้ใหม่ ๆ ให้กับวงการมานุษยวิทยาไทยหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ซึ่งสะท้อนประสบการณ์มากมายในชีวิต ที่ล้วนบ่มเพาะความเช้าใจปฏิบัติการในชีวิตจริง มากกว่าการติดอยู่ในกับดักของอุดมการณ์หรือทฤษฎีหนึ่งทฤษฎีใดเป็นหลัก เมื่อศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงรอยต่อระหว่างปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษที่ 1970 อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ได้ซึมซับประสบการณ์ชีวิตและความเคลื่อนไหวของนักศึกษาที่นั่น ในการต่อต้านสงครามเวียดนาม และเมื่อกลับมาสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2516 ก็มีความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวของนักศึกษาไทย ในการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารในเดือนตุลาคม 2516 อีกครั้ง</p> <p>ประสบการณ์ชีวิตทั้งสองครั้งหนุนเสริมให้ อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ หันมาสนใจ “การเมืองของชีวิตในพื้นที่วัฒนธรรม” มากขึ้น แม้จะศึกษามาทางด้านมานุษยวิทยา ซึ่งให้ความสำคัญกับการศึกษาวัฒนธรรมเป็นหลัก แต่เมื่อผสมผสานประสบการณ์ชีวิตกับมุมมองทางมานุษยวิทยาเข้าด้วยกัน ได้ช่วยเปลี่ยนให้ อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ หันมามองการเมืองของชีวิตวัฒนธรรมที่เคลื่อนไหวของคนระดับล่างในสังคม แทนการยึดติดอยู่กับวัฒนธรรมหลวงอย่างตายตัวของคนชั้นสูง เพราะแฝงไว้ด้วยวัฒนธรรมอำนาจนิยม ด้วยการเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับการสร้างอำนาจจากเบื้องล่างมากกว่า</p> <p>อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ อาจจะถูกจัดให้เป็นนักมานุษยวิทยาชายขอบ ไม่ใช่เพราะอยู่ในฐานะที่สอนหนังสืออยู่ในมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค แต่เพราะ อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ไม่ได้เดินตามเส้นทางของนักวิชาการกระแสหลัก ด้วยการไม่ได้สนใจใยดีกับการแสวงหาตำแหน่งทางวิชาการ หากแต่มุ่งมั่นสอนหนังสือและศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง ด้วยมุมมองในเชิงการเมืองของชีวิตวัฒนธรรม ที่มีลักษณะของการเมืองไม่เป็นทางการหรือนอกระบบรัฐ ซึ่งนักวิชาการในปัจจุบันเรียกว่า “การเมืองในชีวิตประจำวัน” (ดู Kerkvliet 2009) อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ จึงสามารถมองลอดความรู้กระแสหลัก เพื่อเสริมสร้างให้มานุษยวิทยามีส่วนผลักดันการเปลี่ยนแปลงสังคม ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยจากเบื้องล่าง จนอาจกล่าวได้ว่า อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ถือเป็นครูของมานุษยวิทยาปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมคนสำคัญด้วยคนหนึ่ง</p> <p>จากความสนใจการเมืองของชีวิตวัฒนธรรมและการสร้างอำนาจจากเบื้องล่างนี้เอง อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ จึงเลือกสอนวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการเมืองตั้งแต่เริ่มแรกเข้ามาเป็นอาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การเมืองในแง่มุมอื่น ๆ นอกเหนือจากการเมืองของรัฐเท่านั้น พร้อมทั้งแปลหนังสือเพื่อใช้เป็นตำราประกอบการสอนด้วย เรื่อง “<strong>พัฒนาการศาสตร์มาร์กซิสม์ว่าด้วยสังคมวิทยา</strong>” (ฉลาดชาย รมิตานนท์ 2529) ซึ่งแปลมาจากบทที่ Tom Bottomore เขียนเกี่ยวกับสังคมวิทยา ในหนังสือรวมบทความเรื่อง “<strong>Marx : The first hundred years</strong>" (<a href="https://www.amazon.com/s/ref=dp_byline_sr_book_1?ie=UTF8&amp;field-author=David+Mclellan&amp;text=David+Mclellan&amp;sort=relevancerank&amp;search-alias=books">David McLellan</a> ed. 1983) ก่อนหน้านั้น อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ก็ได้ร่วมโครงการวิจัยการเมืองของชาวนายากจนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของเชียงใหม่เรื่อง “<strong>การมีส่วนร่วมของประชาชนในชนบทภาคเหนือของประเทศไทย</strong>” (ฉลาดชาย รมิตานนท์ วิระดา สมสวัสดิ์ และอานันท์ กาญจนพันธุ์ 2525) และพบว่า ชาวนายากจนในช่วงต้นทศวรรษที่ 2520 ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในชีวิตมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การผลิตแบบทุนนิยมอย่างเข้มข้น จนต้องลุกขึ้นเคลื่อนไหวต่อรองค่าแรงและความมั่นคงในชีวิต จากการต้องพึ่งพาการเช่านาของชาวบ้านและเจ้าของที่ดินที่มีฐานะดี</p> <p>ยิ่งไปกว่านั้น อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ยังมองลึกลงไปอีกว่า การเมืองของชีวิตวัฒนธรรมนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในพื้นที่ทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังซ้อนทับอยู่ในพื้นที่ของอุดมการณ์ด้วย ท่านจึงเริ่มหันมาสนใจศึกษาวิจัยอุดมการณ์ปฏิบัติการของชาวนา ที่แฝงอยู่ในพิธีกรรมและความเชื่อ โดยเฉพาะการนับถือผีและการเข้าทรง ดังปรากฏอยู่อย่างชัดเจนในหนังสือเล่มบุกเบิกเรื่อง “<strong>ผีเจ้านาย</strong>” (ฉลาดชาย รมิตานนท์ 2527) ซึ่งสวนทางกับกระแสนิยมทางวิชาการในขณะนั้น ที่ให้ความสนใจกับการนับถือพุทธศาสนาแบบชาวบ้านเป็นหลัก เพราะมองว่าคนในสังคมสมัยใหม่จะค่อย ๆ ลดความหลงไหลในความเชื่อต่าง ๆ ลงไป ดังจะเห็นได้ว่า ในบทความของทานาเบ้ (Tanabe Shigeharu ในวารสารฉบับนี้) สนับสนุนความเข้าใจของอาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ที่ว่า ชาวบ้านยังหลงไหลอยู่ในความเชื่อเกี่ยวกับการเข้าทรงผีเจ้านาย เพราะช่วยให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมสัมผัสใกล้ชิดกับการเผชิญหน้าปัญหาต่าง ๆ ที่ท้าทายพวกเขา จากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ เมื่อผู้คนเริ่มมีสำนึกแบบปัจเจกชน จนทำให้ไร้ที่พึ่งมากขึ้น</p> <p>ในความคิดของ อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ อุดมการณ์ปฏิบัติการของชาวนา จึงไม่ใช่เป็นเพียงการต่อต้านความคิดกระแสหลักเท่านั้น หากยังเกี่ยวข้องกับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่เพียงช่วยเชื่อมอารมณ์ความรู้สึกกับสังคมสมัยใหม่ แต่ยังเชื่อมโยงชีวิตของชาวบ้านกับป่าในฐานะทรัพยากรพื้นฐานของชีวิตด้วย เมื่อ อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ได้หันมาเขียนหนังสือเรื่อง “<strong>ป่าไม้สังคมกับการพัฒนาชนบท” </strong>(ฉลาดชาย รมิตานนท์ 2528) เพื่อโต้แย้งความเข้าใจกระแสหลัก ที่มักปรักปรำชาวบ้านในเขตป่าว่าเป็นผู้ทำลายป่า ทั้ง ๆ ที่ป่าเป็นพื้นที่ชีวิตและวัฒนธรรมของชาวบ้าน แต่การทำลายป่านั้นยังเกี่ยวข้องกับสังคมภายนอกที่บุกรุกเข้ามาแสวงหาประโยชน์ต่าง ๆ ในนามของการพัฒนา ซึ่งต่อมา อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ได้ขยายความผ่านการวิจัยในภาคเหนือตอนล่าง ในโครงการวิจัยขนาดใหญ่ ที่รวมพิมพ์อยู่ในหนังสือเรื่อง <strong>“วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่า</strong>” (เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง บก. 2534) โดยพบว่า การบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่านั้นยึดโยงอยู่กับนโยบายของภาครัฐอย่างชัดเจน มากกว่าที่จะกล่าวโทษชาวบ้านฝ่ายเดียว</p> <p>หลังจากนั้น อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ก็ได้เข้าร่วมกับโครงการวิจัยขนาดใหญ่อีกโครงการหนึ่ง เพื่อศึกษาการจัดการป่าชุมชนของชาวบ้าน ซึ่งรวมพิมพ์อยู่ในหนังสือเรื่อง “<strong>ป่าชุมชนในประเทศไทย: แนวทางการพัฒนา เล่ม 2 ป่าชุมชนภาคเหนือ” </strong>(เสน่ห์ จามริกและยศ สันตสมบัติ บก. 2536. กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา) และพบว่า ป่าชุมชนก็ถือว่าเป็นป่าไม้สังคมด้วย ในมิติที่ว่าชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดการป่าในฐานะที่เป็นพื้นที่สาธารณะ จนช่วยให้เกิดความเข้าใจแนวคิดเรื่อง สิทธิชุมชน ซึ่งหมายถึงสิทธิของชุมชนในการเข้าถึงทรัพยากรร่วมกัน จากข้อค้นพบในงานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งหลายชุมชนได้แสดงบทบาทดังกล่าวอยู่แล้ว จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางสังคม ในการรณรงค์ให้ออกกฎหมายป่าชุมชน เพื่อรับรองสิทธิของชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการป่าให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการจัดการป่า ซึ่งจะยิ่งเสริมความเข้มแข็งให้กับการจัดการป่าอนุรักษ์มากขึ้น บทความของอานันท์ กาญจนพันธุ์ (ในวารสารฉบับนี้) ได้ช่วยขยายความและฉายภาพเบื้องหลังการวิจัยและการเคลื่อนไหวดังกล่าวให้เด่นชัดยิ่งขึ้น</p> <p>บทความในวารสารเล่มนี้อีกชิ้นหนึ่งได้สานต่อความคิดของอาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ในประเด็นของสิทธิชุมชน ซึ่งภาคชุมชนและประชาสังคมพยายามนำมาปรับใช้เพื่อผลักดันการออกโฉนดชุมชน แทนการออกเฉพาะโฉนดแบบเดิมที่ตั้งอยู่บนแนวคิดสิทธิของปัจเจกบุคคลเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากบทความของ เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว การเปิดใจยอมรับสิทธิชุมชนและสิทธิทางวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในสังคม ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ความรู้ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสามารถเสริมซึ่งกันและกันในการดูแลทรัพยากรที่แตกต่างกัน</p> <p>บทความของ นฤมล อรุโณทัย ได้สานต่อและขยายความคิดดังกล่าวจากกรณีในภาคเหนือ ด้วยการหันไปถกเถียงกรณีของชุมชนชาวเลในภาคใต้ ที่มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ขณะที่บทความของ ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ได้หยิบยกประเด็นการเมืองของความรู้ขึ้นมายืนยันเพิ่มเติม ในกรณีของชุมชนตามลุ่มน้ำต่าง ๆ ในภาคอีสาน ที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากน้ำ ผ่านงานวิจัยไทบ้านเพื่อพิสูจน์ว่า พวกเขามีความรู้อีกชุดหนึ่งที่แตกต่างจากความรู้กระแสหลัก แต่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ร่วมกันของคนและระบบนิเวศ ซึ่งคล้ายคลึงกันระหว่างคนทั้งในลุ่มน้ำและชายฝั่งทะเล</p> <p>ในช่วงหลัง อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ได้หันมาสนใจประเด็นสตรีศึกษาและเพศภาวะเพิ่มเติม เริ่มต้นจากการร่วมวิจัยผู้หญิงชาวไท ซึ่งรวมพิมพ์อยู่ในหนังสือเรื่อง <strong>“ไท”</strong> (ฉลาดชาย รมิตานนท์ วิระดา สมสวัสดิ์ และเรณู วิชาศิลป์ บก. 2541) ต่อมาก็เขียนเอกสารประกอบการสอนสตรีศึกษาอีกหลายชิ้น บทความอีกชิ้นหนึ่งในวารสารเล่มนี้ของ ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ ได้พยายามเชื่อมโยงการศึกษาของ อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ เกี่ยวกับป่าชุมชนและสตรีศึกษา ด้วยการชี้ให้เห็นว่า การศึกษาการเคลื่อนไหวเพื่อการมีส่วนร่วมจัดการป่าชุมชนนั้นมักจะเน้นการต่อต้านวาทกรรมป่าของรัฐเป็นส่วนหลัก แต่ยังไม่ได้สนใจบทบาทของผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะเท่าที่ควร เพราะการยึดติดอยู่กับมายาคติที่ว่าผู้หญิงไม่สนใจการเมือง ทั้ง ๆ ที่ผู้หญิงก็มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน</p> <p>บทความต่าง ๆ ที่กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น เริ่มมาจากการนำเสนอในการสัมมนาเพื่อชี้ให้เห็นถึงคุณูปการของอาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ที่มีต่อวงวิชาการและการเคลื่อนไหวทางสังคมในด้านต่าง ๆ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 แต่ในวารสารฉบับนี้ยังมีอีกหนึ่งบทความ ที่นำมาเพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งน่าจะช่วยเชื่อมโยงความคิดของอาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ไปในอนาคตข้างหน้าได้เป็นอย่างดีอีกประเด็นหนึ่ง บทความแรกของนฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ได้ถกเถียงประเด็นเกี่ยวกับ “เควียร์ศึกษาในสังคมไทย มองผ่านข้อถกเถียงจากตะวันตก” ซึ่งน่าจะเป็นที่อยู่ในใจของอาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ เช่นเดียวกัน</p> <p>บทความต่าง ๆ ในวารสารฉบับนี้จึงช่วยยืนยันได้อย่างดี ถึงคุณูปการของ อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ทั้งในเชิงวิชาการและการร่วมเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งถือเป็นต้นแบบของมานุษยวิทยาปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพราะ อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ สามารถเชื่อมโยงความคิดและข้อค้นพบต่าง ๆ จากการวิจัยได้อย่างมีพลัง ต่อพลวัตของการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยมุมมอง “การเมืองของชีวิตในพื้นที่วัฒนธรรม” เริ่มจากการหันเหความสนใจจากมานุษยวิทยากระแสหลักมามองอำนาจจากเบื้องล่าง ที่แฝงอยู่ในพิธีกรรมและความเชื่อของชาวบ้าน จนมีส่วนช่วยเสริมศักยภาพให้กับการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิชุมชน ในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากร ซึ่งนักวิชาการรุ่นต่อ ๆ มาได้พยายามสานต่อความคิดดังกล่าว และพบว่าสามารถนำมาปรับใช้ได้กับชุมชนอย่างหลากหลาย แม้จะอยู่ในระบบนิเวศที่แตกต่างกัน ทั้งป่าในพื้นที่สูง พื้นที่ลุ่มน้ำ และพื้นที่ชายฝั่งทะเล ก็ตาม</p> <p>ในท้ายที่สุด อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ มักจะยืนยันถึงความสำคัญของมิติต่าง ๆ จากสตรีศึกษาและพยายามจะเตือนสติอยู่เสมอว่า การเคลื่อนไหวทั้งหลายข้างต้นนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่ของผู้ชายเท่านั้น หากจะต้องมีผู้หญิงร่วมอยู่ในทุกพื้นที่ด้วย ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันสังคมและชุมชนวิชาการต่าง ๆ มักติดอยู่ในกับดักของมุมมองที่ไร้มิติของผู้หญิงและเพศสภาวะอย่างเหนียวแน่น จนกลายเป็นช่องว่างของการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมประชาธิปไตย ที่ยังคงลุ่ม ๆ ดอน ๆ อยู่เช่นในขณะนี้</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University