Journal of Social Sciences, Chiang Mai University https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss <p>Journal of Social Sciences, Chiang Mai University is the academic journal published by Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University since 1970. The journal’s editor and its editorial team members are those social science academics who are from both inside the Faculty of Social Sciences and from other leading social science faculties in Thailand universities. The aim of this journal is to publish a high-quality article and/or a research finding paper, particularly from scholarly works in Anthropology, Development Studies, Cultural Studies, Sociology, Geography and Gender Studies. Since 2018, the Social Sciences journal has begun to produce and publish in electronic format (Online). The journal’s ISSN is shown below.</p> <p>ISSN 0125-4138 (Print) </p> <p>ISSN 2672-9563 (Online) </p> คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ en-US Journal of Social Sciences, Chiang Mai University 0125-4138 <p><span style="font-weight: 400;">All written articles published on Journal of Social Sciences is its author’s opinion which is not belonged to Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University or is not in a responsibility of the journal’s editorial committee’s members.</span></p> Editorial https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/277011 <p>สังคมศาสตร์ วารสารวิชาการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 ฉบับนี้มีชื่อว่า “6 ทศวรรษ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ในฉบับนี้จะอยู่ในบรรยากาศของการหวนทบทบทวนการเดินทางของภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เริ่มดำเนินการเรียนการสอนและกิจกรรมทางวิชาการมาตั้งแต่พ.ศ.2507 <br>วารสารฉบับนี้ “6 ทศวรรษ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” จะพาผู้อ่านไปพบกับบทความ 3 บทความ ที่เก็บเนื้อหาสาระสำคัญจากคณาจารย์ของภาควิชา ในงานสัมมนาวิชาการ 60 ปี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “On All (อ่องออ): สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา ครบรส” โดย ณัฐินี สัสดี เป็นผู้ถอดความ จากนั้นวารสารฉบับนี้จะชวนผู้อ่านให้พินิจบทความอีก 3 บทความ ที่เกี่ยวโยงกับประเด็นเรื่อง “ความหวังและความเชื่อ”<br>วารสารฉบับนี้เริ่มต้นด้วยบทความที่เน้นทบทวนภารกิจทางวิชาการของภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากปาฐกถา “สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา เชียงใหม่: ถึงไหน หรือ ไม่ถึงไหน?” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ และศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยศ สันตสมบัติ อาจารย์ทั้งสองผู้อยู่กับภาควิชามาตั้งแต่ราวปลายพุทธทศวรรษ 2510<br>จากนั้นจะเป็นบทความ ที่เก็บเนื้อหาสาระจากวงสนทนาเพื่อทบทวนบทบาทของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในหัวข้อ “สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา เชียงใหม่: ภารกิจแรกแห่งการขับเคลื่อน” โดยเป็นบันทึกจากทัศนะของอาจารย์ผู้เป็นวิทยากรเสวนา ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.จามะรี เชียงทอง, รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล และบทความ “สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา เชียงใหม่ ในบททบทวน: สู่ภารกิจใหม่ในวันพรุ่ง” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว, รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์ และอาจารย์รังสรรค์ ประทุมวรรณ์<br>จากนั้นวารสารฉบับนี้จะพาผู้อ่านไปพินิจบทความในประเด็น “ความหวังและความเชื่อ” บทความในประเด็นนี้ทั้ง 3 บทความ จะไปสำรวจงานที่ศึกษาแง่มุมของความหวังของผู้คนในโลกที่ผู้คนต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อโอกาสในชีวิตที่ดีกว่าเดิม ผู้อ่านจะได้พบพานกับการต่อสู้ดิ้นรนและเสาะแสวงหาโอกาส ในบริบทสังคมทุนนิยมไทย และสังคมใหม่ของผู้เคลื่อนย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัย โดยพื้นที่แห่งการดิ้นรนและพื้นที่แห่งความหวังในวารสารฉบับนี้มีทั้งบริบทสังคมไทย บริบทในสังคมเพื่อนบ้านอย่างทั้งในลาว เวียดนาม และกัมพูชา รวมถึงสังคมแคนาดา <br>ในบทความ “ระบบทุนนิยมของลัทธิพิธีความเชื่อ: กรณีศึกษาเทวาลัยจักรพรรดิ” โดย นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ศึกษาการกระทำร่วม ตลอดจนสายสัมพันธ์ทางใจและอารมณ์ที่ก่อร่างสร้างตัวตนของเจ้าลัทธิพิธีและบรรดาศิษย์ ในบริบทที่ทุนนิยมไทยแยกไม่ขาดจากมิติความเชื่อทางศาสนา ในบทนี้ จะพาให้ผู้อ่านเห็นว่า ความเชื่อในบริบททุนนิยมไทยได้นำไปสู่ความหวังและกำลังใจที่จะต่อสู้ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร<br>บทความ “ผู้ลี้ภัยจากอินโดจีนในประเทศแคนาดา: บทสำรวจเบื้องต้น” โดย จักรพันธุ์ ขัดชุ่มแสง ได้พาผู้อ่านไปสำรวจความรู้เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยจากเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ไปยังประเทศแคนาดา ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงทศวรรษ 1980 อันช่วงเวลาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสงคราม ในบทนี้ผู้เขียนจะพาผู้อ่านไปสำรวจในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะภูมิหลังการลี้ภัย การตั้งถิ่นฐาน การปรับตัว การบูรณาการ และการธำรงอัตลักษณ์เดิมในสังคมใหม่ และในบทความสุดท้ายของฉบับ “ปรากฏการณ์ความสิ้นหวังของนักเรียนยากจน อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา” จุฑามาศ มาณะศิลป์ และศานิตย์ ศรีคุณ ศึกษาภาวะความสิ้นหวังจากการเรียนรู้ของนักเรียนยากจน ตลอดจนนำเสนอหนทางที่จะเปลี่ยนความสิ้นหวังไปสู่ความหวัง</p> Charn Panarut Copyright (c) 2024 Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 36 2 B The Capitalist System of Religious Cult: Case Study of Chakkapat House of Worship https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/274111 <p>This article needs to explain that religious cults in the capitalist system in Thai society exist under the mental and emotional relationship of the cult leader and his group of disciples. The rituals that took place at the Chakkapat house of worship created by Achan A Chakkapat, a businessman who changed his status to being the leader of the religious cults to consecrate sacred objects are studied. I argue that explaining capitalism in relation to religious beliefs cannot be based on straightforward theories of economics and consumer behavior, but rather on the emotional relationships humans have with each other. Conceptual framework suggested by Frances Morphy and Howard Morphy's (2017) “relative autonomy” and “intersubjectivity” are used to explain and reveal the interactions between ritual leaders and disciples. These two parts are strung together to create reverence, devotion and faith expressed in rituals and worship of sacred objects that bring good fortune. This is considered an important mechanism that allows capitalism of religious cults and ritual ceremonies to expand in Thai society.</p> Narupon Duangwises Copyright (c) 2024 Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 36 2 47 82 The Indochinese Refugees in Canada: A Preliminary Survey https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/273867 <p>This article is a preliminary survey of Indochinese refugees in Canada. The content presented in this article covers three main issues: the background of the refugees and resettlements of these refugees, their adaptation and integration into Canadian society, and their constructions of translocal communities and ethnicity. The sociopolitical changes and upheavals arising from the victory of communism in Vietnam, Laos, and Cambodia had resulted in an exodus of their citizen, who consequently became refugees in many countries. Canada was among the countries that accepted many refugees from the former Indochina during the mid-1970s to the 1980s. These waves of refugees have resettled in different areas of Canada, particularly main cities in provinces across the country. In the early period of their resettlements, which the government and private sectors actively supported, the Indochinese had to adapt themselves to new environments and ways of life. After integrating into Canadian society, they started to build communities based on the culture brought from their motherland and the culture in the host country. Interestingly, various forms of socio-cultural dynamics recently taking place in Canadian society, including emerging ethnocultural diversity and complexity within the Indochinese communities, have led to clashes, negotiations, and the construction of identities in different dimensions.</p> Jaggapan Cadchumsang Copyright (c) 2024 Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 36 2 84 122 A Phenomenological Study of Destitute Students’ Learned Helplessness Amphoe Ban Fang, Khon Kaen Province https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/272317 <p>This research employed qualitative research based on phenomenology. The overarching aim of the study was to study the characteristics of learned helplessness among impoverished students through the lens of phenomenology. In this study, the key informants, who provided firsthand experiences and comprehensive data on the studied phenomenon, consisted of a total of four students. The data were collected through in-depth interviews and observations of phenomena in the research area. The instruments used in the research included: personal interview data recording form, in-depth interview question, field notes, and audio recorders. Data analysis followed Seligman’s theory of depression components. The research results reveal that the characteristics of hopelessness among impoverished students are as follows: 1) cognitive deficits, including a diminished sense of ability, 2) motivational deficits, consisting of: 2.1 periods of regression, 2.2 repetitive behavior, 2.3 social bullying, and 3) emotional deficits, consisting of: 3.1 feelings of inferiority, 3.2 emotional outbursts. Additionally, socio-economic status emerged as a critical factor contributing to the development of learning helplessness in impoverished students. Furthermore, the research identified key experiences associated with student hopelessness: 1) experiences of parental divorce, 2) experiences with guardians involved in gambling or substance abuse, 3) the loss of a family leader or primary provider, and 4) experiences of coercion. These findings suggested that students felt demotivated in their studies due to a lack of family support, financial resources, emotional warmth, and parental engagement in their education. These conditions negatively impacted students' self-perception, leading to feelings of incompetence and hopelessness about life, and diminishing the value they place on education. This study highlighted the need for educators and stakeholders to deeply understand each individual student, providing opportunities and support for students to showcase their abilities. Teachers, as vital intermediaries, should help create a nurturing environment that fosters warmth and inspiration, instilling positive attitudes and an optimistic worldview in students. This will ultimately lead to the development of students as potential individuals who can contribute positively to society.</p> Sanit Srikoon Jutamas Manasin Copyright (c) 2024 Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 36 2 124 163 สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา เชียงใหม่: ถึงไหน หรือ ไม่ถึงไหน? (ปาฐกถา) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/277005 <div><strong>ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์</strong></div> <div>การพูดคุยวันนี้เหมือนเป็นการประเมินความเป็นมาเป็นไปของภาควิชาอย่างสั้นๆ ผมอยู่ที่นี่มาเกือบกึ่งศตวรรษ ถือได้ว่าเป็นคนรุ่นที่ 2 เพราะว่าภาควิชาเปิดเมื่อปีพ.ศ.2507 ผมเป็นอาจารย์เมื่อปี พ.ศ.2519 ตอนผมมาเริ่มทำงานที่ภาควิชาฯ อาจารย์ยศ สันตสมบัติ ยังเป็นนักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ผมเลยได้มีโอกาสสอนอาจารย์ ไม่แน่ใจว่าวิชาเดียวหรือสองวิชา ผมมาสอนตอนปีพ.ศ.2519 ผมไม่ทราบว่าสิบปีแรกของภาควิชาเราเป็นมาอย่างไร แต่ที่ได้ฟังจากอาจารย์หลายๆ ท่านที่เรียนมาตั้งแต่รุ่นแรกไม่ว่าจะเป็นอาจารย์อุไรวรรณ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ ตันกิมยง) อาจารย์นฤจร (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤจร อิทธิจีระจรัส) และอาจารย์ขวัญใจ (อาจารย์ขวัญใจ ไทยทอง) ตอนนั้นบังเอิญผมมานั่งโต๊ะของอาจารย์ท่านหนึ่งไม่ทราบว่าเป็นใคร แล้วเห็นเปเปอร์ของอาจารย์วัฒนา (รองศาสตราจาร์ ดร. วัฒนา สุกัณศีล) ที่ทำส่งอาจารย์ตอนปริญญาตรี ผมก็รู้สึกทึ่งอยู่เหมือนกัน เพราะว่า อาจารย์วัฒนาเขียนเรื่องเกี่ยวกับทฤษฏีของแม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ดูร์ไคม์ (Emile Durkheim) อะไรทำนองนั้น ผมเห็นแล้วก็รู้สึกว่าที่เมืองไทยเราก็ไปไกลพอสมควร หมายความว่าเข้าใจเรื่องพวกนี้แล้ว ผมก็ได้เก็บเปเปอร์นั้นไว้และได้คืนอาจารย์วัฒนาไปแล้ว ตอนนี้ไม่ทราบว่าอาจารย์ยังเก็บของตัวเองไว้หรือเปล่า&nbsp;</div> <div>ตอนแรกนั้นที่ผมเรียนจบมา ผมเรียนปริญญาตรีรัฐศาสตร์ ปริญญาโทประวัติศาสตร์ แต่ตอนผมเปลี่ยนไปเรียนประวัติศาสตร์ที่ต่างประเทศ ผมไปถามอาจารย์ของผมว่า ผมอยากจะเอาดีทางประวัติศาสตร์ ผมควรจะไปฟังอะไรดี อาจารย์ก็บอกให้ไปฟังมานุษยวิทยาดูสิ ตอนนั้นผมก็ไม่รู้จักว่ามานุษยวิทยาคืออะไร ผมก็ไปลองนั่งฟังๆ ดู แล้วรู้สึกว่าเออ มันดีนี่นา ผมก็เลยเตลิดเปิดเปิงไปกับวิชามานุษยวิทยา ตอนนั้นมานุษยวิทยาในอเมริกากำลังบ้าเลวี-สเตารส์ (Claude Levi-Strauss) ผมทั้งอ่านและฝันถึง จนอาจารย์นิธิ (ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์) ตอนนั้นไปเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่คอร์แนล (Cornell University) แกก็บอกว่าอานันท์นี่บ้าเลวี-สเตราส์ มากเลย แกเห็นผมเรียนประวัติศาสตร์ แกเลยมากินข้าวกับผมที่บ้านเป็นประจำ เลยได้คุยกัน ตอนผมกลับมาผมก็จะไปเป็นอาจารย์ประวัติศาสตร์ แต่เขาบอกว่ายังไม่รับอาจารย์ประวัติศาสตร์สายที่ผมเรียน ก็คือประวัติศาสตร์ล้านนาโดยตรง เขาบอกว่าเขาต้องการประวัติศาสตร์อื่น อาจารย์สุเทพ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช) เห็นว่าผมเรียนประวัติศาสตร์ แต่ประวัติศาสตร์นี่ผมเรียนแค่ 4 วิชา แต่เรียนมานุษยวิทยา 12 วิชา อาจารย์สุเทพเลยบอกว่า อานันท์มาสอบเข้าเป็นอาจารย์ที่นี่ดีกว่า เพราะคุณเรียนมานุษยวิทยาเยอะเหลือเกิน ก็เลยได้มาเป็นอาจารย์ที่ภาควิชานี้&nbsp;</div> <div>ตอนผมมาถึงก็จะมีอาจารย์เกษม (ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม บุรกสิกร) อาจารย์สุเทพ และอาจารย์ประเสริฐ (อาจารย์ประเสริฐ พันธชาติ) อาจารย์ต่างๆ ที่เป็นอาจารย์รุ่นแรกๆ แต่รุ่นแรกจริงๆ นี่เป็นชาวต่างชาติ รวมทั้งอาจารย์คายส์ (Charles F. Keyes) ด้วย ก็มาสอนในปี 70 (ค.ศ.1970) ประมาณนี้ ปี 70 เป็นปีแรกที่ผมไปเรียนต่างประเทศ เพราะฉะนั้นสิบปีแรกผมไม่รู้ แต่สิบปีที่สองที่ผมมาเห็นคือตอนนั้นอาจารย์สุเทพ เป็นหัวหน้าภาคฯ ถ้าผมประเมินดูตอนนั้นของเรายังห่างจากที่ผมเรียนมานุษยวิทยาที่อเมริกาอยู่มาก ผมกลับมาเป็นอาจารย์ตอนปี 19 (พ.ศ.2519) นั่นน่ะ รู้สึกของเรายังอยู่ในแนว ค่อนข้างจะประมาณ 60 (ค.ศ.1960) หรือ 50 (ค.ศ.1950) ที่อเมริกา มันห่างกันประมาณ 20 ปี เลยนะสิ่งที่เราเรียนกันที่นี่ หมายความว่า ตอนนั้นเราสนใจเรื่องเฉพาะสถาบันต่างๆ สถาบันครอบครัว แล้วก็ปัญหาสังคม ปัญหาสังคมก็ไม่ใช่เป็นปัญหาของสังคมจริงๆ เป็นปัญหาที่คนชั้นสูงมองว่าเป็นปัญหาสังคมที่จะต้องควรไปสงเคราะห์ ปัญหาโสเภณี ปัญหาเด็กวัยรุ่น ปัญหาที่เกิดจากรัฐสร้าง ปัญหาจากสังคมสร้างทั้งนั้น ไม่ใช่ปัญหาของเขา เขาไม่ได้มีปัญหาอะไร มีแต่เราไปสร้างให้เขามีปัญหา แล้วเราก็พยายามจะแก้ปัญหา แล้วตอนนั้นก็กำลังบ้าประชากรศาสตร์ ก็วิจัยประชากรกัน มีอาจารย์หลายท่านก็สนใจเรื่องพวกนี้&nbsp;</div> <div>แต่สิ่งที่ดีที่สุดก็คือว่ามีการ “วิจัย” อันนี้ผมรู้สึกพอใจมากที่ว่าเขาเริ่มมีการวิจัยแล้ว แต่เป็นวิจัยพื้นฐานนะ ส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ คือไปเก็บข้อมูลพื้นฐาน แต่จะมีอาจารย์สมหมาย (รองศาสตรจารย์ สมหมาย เปรมจิตต์) ที่อ่านเอกสารล้านนาโบราณ อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ผมรู้สึกประทับใจ หมายความว่าผมเก็บเอาไว้ในใจว่าเรื่องพวกนี้มันสำคัญ เพราะถ้าเราจะก้าวหน้าต่อไปเราต้องมีการวิจัย แล้วภาควิชาเราเป็นภาควิชาแรกในคณะสังคมศาสตร์ที่เป็นผู้สร้างหน่วยวิจัย ต่อมาก็ยกระดับขึ้นมาเป็นสถาบันวิจัยสังคม แต่ตอนนั้นเราเรียกว่า ฝ่ายวิจัยหรืออะไรสักอย่าง ตั้งอยู่ชั้น 3 ที่เป็นภาควิชาปัจจุบันนี้ ก็ถือเป็นการวิจัยเบื้องต้น&nbsp;</div> <div>แล้วพอผมมาเป็นอาจารย์ได้ 1-2 ปี ผมก็ได้มีโอกาสไปทำวิจัยครั้งแรก ตอนนั้นมูลนิธิฟอร์ด (Ford Foundation) ให้ไปวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชาวเขา ผมเรียนมานุษยวิทยามาทั้งหมดนี่ไม่เคยมีเรื่องเศรษฐกิจ เรียนมาเป็นมานุษยวิทยาวัฒนธรรมว่างั้นเถอะ ที่เรียนจากเมืองนอกนะ พอกลับมาเมืองไทย อ้าว เขาวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชาวเขา ผมก็งง แต่ก็ได้ไปร่วมทีมวิจัย ตอนนั้นก็ไม่มีใคร ไม่มีนักคิดอะไรที่เด่น ก็เลยไปได้ไชยานอฟ (Alexander Chayanov) จากรัสเซียมาเป็นแนว ตอนนั้นหนังสือเพิ่งออกใหม่ๆ หนังสือเรื่องอะไรจำไม่ได้ เกี่ยวกับเศรษฐกิจของชาวนา ผมก็เอาไปใช้ในการวิจัย พอมีโอกาสวิจัยเรื่องนี้ เลยทำให้ผมคิดว่าจะต้องไปเรียนมานุษยวิทยาเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพราะตอนนั้นไม่มีใครรู้จักว่ามานุษยวิทยาสนใจเศรษฐกิจด้วยหรือ เศรษฐกิจเกี่ยวอะไรกับวัฒนธรรม ทุกคนคิดว่าเศรษฐกิจก็คือเรื่องเศรษฐกิจ demand (อุปสงค์) supply (อุปทาน) อะไรแบบนี้&nbsp;</div> <div>แต่ผมก็คิดว่าเดี๋ยวนี้วิชาการต่างๆ ก็ยึดโยงหรือแฝงฝังอยู่กับสถาบันและสังคมไปหมด แล้วเราก็มีวิชาปัญหาสังคม ประวัติความคิดทางทฤษฏี ผมเลยคิดว่าไม่ได้การแล้ว แม้จะมีเรียนประวัติความคิด แต่ความคิดอะไรใหม่ๆ ไม่เรียน ตรงนี้เลยทำให้ผมกับอาจารย์สุเทพขอเปิดวิชาใหม่ แต่ยังเปิดไม่ได้ เราเลยเปิดเป็นวิชาสัมมนา แล้วตั้งชื่อใหม่ว่าเป็นทฤษฎีสมัยใหม่ ซึ่งวิชานี้เป็นวิชาที่อาจารย์ยศเรียนกับผม ผมไม่ได้สอนคนเดียว อาจารย์สุเทพก็สอนด้วย ผมก็เอาสิ่งที่ผมเรียนใหม่ๆ มาสอน คือผมคิดว่าสาขาของเรามันคือสังคมศาสตร์ ถ้ามันไม่มี concept (แนวคิด/มโนทัศน์) ไม่มีแนวคิดเนี่ยมันไปไม่ได้ไกล คือมันก็จะบรรยายพรรณนาเก็บข้อมูลแล้วก็เป็นปรากฏการณ์ต่างๆ แต่ผมคิดอยู่อย่างเดียวในใจเท่าที่ทำงานมาก็คือ อยากจะยกระดับวิชาขึ้นมา คือเหมือนกับเราขึ้นเครื่องบินน่ะ ให้มันยกขึ้นมาหน่อย เพื่อที่จะเห็นอะไรที่มันกว้างกว่าที่เป็นปรากฏการณ์ แต่ผมก็ไม่สามารถที่จะทำได้เต็มที่ขนาดนั้น ผมคิดว่าถ้าจะทำได้มันต้องเปิดหลักสูตรที่นอกเหนือจากปริญญาตรี เพราะตอนนั้นมันมีแต่ปริญญาตรี ผมก็คิดว่าอยากเปิดที่เป็นบัณฑิตศึกษา พอดีตอนนั้นผมต้องกลับไปเรียนปริญญาเอกก็เลยไม่มีโอกาส หายไป 5 ปี กลับมาประมาณปีพ.ศ. 2526 ก่อนหน้านั้นอาจารย์สุเทพก็พยายามผลักดันให้เปิดอยู่หลายปี แต่ก็ยังไม่สำเร็จ&nbsp;</div> <div>พอผมกลับมาปีพ.ศ.2526 ผมเลยมาช่วยอาจารย์สุเทพ แล้วก็ผลักดันจนเสร็จประมาณก่อนพ.ศ.2530 ก็เปิดเป็นปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม เพราะผมคิดว่าวิชาการจะพัฒนาได้ก็ต่อเมื่อมีบัณฑิตศึกษา เพราะเวลามีบัณฑิตจะไม่ใช่แค่อาจารย์วิจัย แต่ทุกคนต้องวิจัย ถ้าไม่มีวิจัยมันก็เป็นวิชาที่เป็นสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไม่ได้ เพราะไม่อย่างนั้นเราก็ต้องไปอ่านตำราฝรั่ง คือไปเอาของคนอื่นแล้วมาเล่าให้นักศึกษาฟัง แน่นอนว่าวิชาของเราเป็นวิชาจากต่างประเทศก็จริง แต่เราไม่ควรปล่อยให้มันเป็นเรื่องของความคิดตะวันตกอย่างเดียว ใจผมคิดว่าทำอย่างไรเราถึงจะทำให้วิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นอะไรที่สัมผัสกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นสังคมไทยหรือสังคมที่เราศึกษา เพราะเราไม่ได้ศึกษาเฉพาะในขอบเขตของประเทศไทย&nbsp;</div> <div>ดังนั้นตอนหลังมา เมื่อเรามีศูนย์ RCSD (The Regional Center for Social Science and Sustainable Development) เราก็ได้ขยายขอบเขตการศึกษาไปทั่ว ผมเรียนใน The Southeast Asia Program (SEAP) ของ Cornell University ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นอันดับหนึ่ง ใครๆ ที่อยากรู้จัก Southeast Asia อาณาบริเวณศึกษา ก็ต้องไปเรียนที่ Cornell University แต่ผมรู้สึกอึดอัดมากเลยพอกลับมา เพราะผมรู้สึกว่าวิชาการบ้านเราชาตินิยมจ๋าเลย อะไรๆ ก็ศึกษาแต่เมืองไทย ผมก็คิดว่าถ้ามัวแต่ศึกษาอยู่แบบนี้เราก็ไปไหนไม่รอดหรอก พอดีมูลนิธิฟอร์ด (Ford Foundation) บอกว่าให้ตั้ง RCSD ขึ้นมา แล้วให้เราไปร่วมมือกับนานาชาติที่อยู่รอบๆ ประเทศเรา ผมดีใจมากเลย ตอนช่วงตั้งแต่เกือบๆ 20 ปีก่อนหน้านี้ ผมได้เดินทางไปในประเทศที่อยู่ใน Mainland Southeast Asia บ่อยมาก อย่างไปลาวนี่ไปสอนเกือบทุกอาทิตย์ สอนที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มหาวิทยาลัยแห่งชาติกัมพูชา ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยยูนนาน มหาวิทยาลัยในเวียดนาม ไปพม่า ไปอินโดนีเซียบ้าง ไปมาเลเซีย คือได้เดินทาง ก็ทำให้เป็นแรงผลักดันที่ทำให้ผมมองว่าวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา แม้จะเป็นวิชาจากสังคมตะวันตก แต่น่าจะมีเรื่องราวหรือว่ามีความคิดอะไรที่มันจะเกิดขึ้นจากที่เราเรียกว่า grounded theory (ทฤษฎีรากฐาน/ทฤษฎีที่สร้างจากข้อมูล) เพราะผมไม่คิดว่าทฤษฎีตะวันตกอย่างเดียวจะทำให้ผมช่วยคนรุ่นต่อไปให้มองอะไรที่สัมผัสได้ เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราจริงๆ นอกเหนือจากการที่เราจะต้องพยายามพัฒนา มันจึงเกิดทฤษฎีที่ทุกคนก็รู้จัก ที่เรียกว่า “ทฤษฎีไข่มดแดง” ขึ้นมา ซึ่งจริงๆ แล้วทฤษฎีมันก็อยู่ที่บ้านของเรานี่แหละ เพียงแต่เราไม่เรียกมันว่า ทฤษฎี บางคนก็เรียกว่า ความรู้พื้นบ้าน บางคนก็เรียกว่า คติท้องถิ่น&nbsp;</div> <div>เมื่อสองสามวันมานี่ผมได้ไปบรรยายให้นักศึกษาคติชนวิทยาระดับปริญญาเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฟัง ก็ปราฏว่าพวกคติชนวิทยาที่เค้าเรียนปริญญาเอกนี่ เขาเรียนเหมือนเราเป๊ะเลย คือเรื่องคติชนเนี่ย เขาก็พยายามไปหาว่าความคิดของชาวบ้านต่างๆ เหล่านี้มันมีอะไรที่จะเป็นแนวทางแนวคิดที่จะทำให้เราเข้าใจทั้งคนที่จะศึกษา ตัวเราเอง และเอาไปเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น เพราะว่าโลกเดี๋ยวนี้มันเชื่อมโยงกันหมด ไม่สามารถที่จะบอกว่าอันนี้เป็นเรื่องของไทย อันนี้เป็นเรื่องตะวันตก แต่ว่ามันมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เมื่อเปิดหลักสูตรปริญญาเอกผมเลยพยายามผลักดันให้นักศึกษาได้ขยายออกไป พูดไปแล้วก็คือว่า ของเรานี่พัฒนาขึ้นค่อนข้างมากไม่ใช่เพราะผม แต่ทุกคนได้ช่วยๆ กัน หลักสูตรปริญญาโทปริญญาเอกถือเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนให้วิชาการไม่ใช่จำกัดอยู่เฉพาะตะวันตก 100% แน่นอนว่าเรายืมเขามา แต่เรามาทำให้มันมีลักษณะที่เรียกว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของคนในละแวกที่เรามีชีวิตอยู่สัมพันธ์กันมากขึ้น ซึ่งอันนี้ก็เป็นคุณูปการอย่างสำคัญเลย</div> <div>ในฐานะที่เรามาพูดในวาระที่ครบรอบ 60 ปี ก็อยากชี้ให้เห็นศักยภาพคุณูปการของเราว่าเราได้ทำอะไรมา ทำให้เกิดอะไรขึ้น ผมคิดว่าเวลานี้ที่สำคัญที่สุดคือก็สิ่งที่เราได้วิจัย ได้พูดได้เขียนกันในคณะ ภาควิชาเล็กๆ ของเรา ซึ่งมันไม่ใช่เล็กๆ อีกต่อไปแล้ว เพราะเวลานี้ศัพท์ทุกศัพท์ concept เกือบจะทุก concept ผมดูทีวี ทุกคนก็พูดคำเดียวกับเรา เมื่อสองสามปีก่อนมีศูนย์วิจัยวนเกษตรชุมชนระดับภูมิภาคจัดสัมมนา เขาถามผมว่า อาจารย์เสียใจไหมที่ผลักดันเรื่องป่าชุมชนมา 30 ปีแล้วกฎหมายไม่ผ่านสักที ถึงผ่านออกมาก็รูปร่างหน้าตาพิกลพิการ ที่จริงเขาถามอาจารย์สมศักดิ์ก่อน (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์) ซึ่งท่านเป็นเจ้าพ่อด้านป่าชุมชน เป็นหัวหน้าศูนย์นี้ด้วย อาจารย์สมศักดิ์ตอบว่าผมแทบร้องไห้เลย ผลักดันมา 30 ปีแล้วมันทำกับผมอย่างนี้ พอเขาหันมาถามผมว่าแล้วอาจารย์ว่ายังไง ผมหัวเราะเลย เขาก็ถามทำไมหัวเราะ ผมบอกว่าจะไม่ให้ผมหัวเราะได้ยังไง เพราะว่ากฎหมายเมืองไทยมันบ่มิไก๊ (ไม่ได้เรื่อง) มันออกกฎหมายมากำกับควบคุมคนทั้งนั้น เราจะไปออกกฎหมายมากำกับควบคุมเพิ่มเติม มันไม่มีประโยชน์อะไร เพราะเวลานี้คำว่า “ป่าชุมชน” ทุกคนพูดถึง ทุกคนทำหมดแล้ว แล้วเรื่องอะไรเราต้องไปออกกฎหมายมากำกับควบคุมเขาอีก ในเมื่อมันเป็นปฎิบัติการจริงไปแล้ว มันกลายเป็นความเป็นจริงไปแล้ว เพราะฉะนั้นคำต่างๆ คำศัพท์ต่างๆ ทั้งหมดที่เราเรียนกันในเวลานี้ เราอย่านึกว่าเราเป็นคนผูกขาดนะ มันได้กลายเป็นคำทั่วไปในสังคมแล้ว&nbsp;</div> <div>ตรงนี้แหละที่ผมคิดว่าเป็นคุณูปการยิ่งใหญ่ของสังคมศาสตร์วิชาการทั่วไป ถ้าเมื่อไหร่เราเปลี่ยนความคิดของคนในสังคมให้ใช้คำพูดจากแนวคิดทางวิชาการได้ ก็ใครจะนึกว่าเวลานี้ คำพูดว่า “การมีส่วนร่วม” ที่ชาวบ้านลุกขึ้นมาบอกว่า ผมก็อยากมีส่วนร่วม คำว่า มีส่วนร่วมเนี่ย อาจารย์สมัยก่อนเขาคิดว่ามันเป็นคำพูดในวงวิชาการ เพราะอันนี้มันเป็นศัพท์ที่อาจารย์อับฮอฟฟ์ Norman Uphoff ที่ Cornell University เขาเป็นที่ปรึกษาของ UN (United Nations) เขาได้ใช้คำว่า Participation (การมีส่วนร่วม) เป็นคนแรกๆ เลย ประมาณปีค.ศ.1970 แล้วต่อมาประมาณปีคริสต์ทศวรรษ 1980 กว่าๆ ปีกฝ่ายซ้ายของ UN&nbsp; ชื่อองค์กร UNRISD (United Nation Research Institute for Social Development) เขาพยายามมอง Participation ในแง่ที่มันเชิงรุกมากกว่า participation เชิงรับ Participation ในตอนแรกๆ มันกลายเป็นการ co-opt (ดึงให้มาเป็นส่วนหนึ่งของผู้มีหลักปักฐานที่ทรงอำนาจ) ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านมา participate (มีส่วนร่วม) ในโครงการของรัฐ เช่น โครงการรั้วกินได้อะไรต่างๆ คือถ้าใครมาร่วมมือกับรัฐ รัฐก็จะให้ทุนให้งบประมาณทำนองนี้ แต่ว่า&nbsp; UNRISD ได้พยายามผลักดัน และผมก็ได้มีส่วนร่วมมี อาจารย์เทอร์ตัน&nbsp; (Andrew Turton) เป็นหัวหน้าโครงการ ได้เงินทุนวิจัยมา ก็มาร่วมมือกันในการทำวิจัยการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในลักษณะที่ชาวบ้าน active (ที่กระตือรือร้น) ไม่ใช่ชาวบ้านถูก co-opted หมายถึงการลุกขึ้นเคลื่อนไหวของชาวบ้านในการผลักดันการแก้ไขปัญหาจากการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐ&nbsp;</div> <div>คำศัพท์หรือ concept ในทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาหรือในทางสังคมศาสตร์จะมีสองด้านเสมอ ด้านหนึ่งคือ ด้านที่ถูก co-opted ด้านที่ถูกครอบงำ หรือด้านที่เป็นวาทกรรม กับอีกด้านหนึ่งเป็นด้านที่ต่อต้านวาทกรรม เพราะฉะนั้นสองด้านนี้เราต้องเผชิญกับการช่วงชิงความหมายอยู่ตลอดเวลา เราอย่าไปยอมรับ concept โดยไม่ได้วิพากษ์ เราต้องมองอะไรอย่างวิพากษ์ตลอดเวลา ซึ่งอันนี้ถือเป็นมรดกที่เราได้รับตกทอดมาจาก Enlightenment (ยุครู้แจ้ง) แต่ฟูโก (Michel Foucault) เก็บเฉพาะ critical thinking (ความคิดเชิงวิพากษ์) ไว้ตัวเดียว ความคิดอื่น ๆ โยนทิ้งหมดไม่เอา แต่ผมชอบที่ฟูโก บอกแบบนี้ ผมก็ติดอันนี้มา เพราะฉะนั้นพูดง่ายๆ ว่า เมื่อความคิด concept ต่างๆ ในวงวิชาการของเรา แค่ความคิดเล็กๆ เนี่ยมันได้กลายเป็นศัพท์แสงที่ผู้คนทั้งสังคมได้นำไปใช้แล้ว ผมคิดว่าถึงตรงนี้โลกได้เปลี่ยนแล้ว มุมมองคนเปลี่ยนไปแล้ว ดังนั้นผมคิดว่าเป็นคุณูปการสำคัญจากการที่เรามีงานวิจัย มีหลักสูตรบัณฑิตศึกษา เพราะว่าอาจารย์ทำไม่ไหวถ้านักศึกษาไม่ได้ผลิตวิทยานิพนธ์ต่างๆ ออกมา พอมีวิทยานิพนธ์มันก็คล้ายๆ กับเป็นการกระจายความคิดออกไป ออกไปสอน และออกไปพูดในสื่อต่าง ๆ&nbsp;&nbsp;</div> <div>ผมเองทำงานอยู่ก็พยายามบอกตัวเองว่าจะไม่อยู่ในหอคอยงาช้าง ตั้งแต่เริ่มต้นผมก็ไปเป็นผู้อำนวยการ NGO (Non-Governmental Organization หรือองค์กรนอกภาครัฐ) เลย คือ NGO ก็ต้องการหัว ต้องการความชอบธรรม เขาไม่รู้จะเอาใคร เขาก็มาดึงผมไปเป็น ผอ.NGO นอกจาก ผอ.NGO แล้วผมยังไปเป็นประธานของ สสส. สาขาภาคเหนือ (สมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน) ไปช่วยผลักดันเกี่ยวกับสิทธิของคน คำว่า สิทธิ นี่เมื่อก่อนเป็นคำใหม่ แต่เดี๋ยวนี้คงไม่ต้องพูดแล้ว บางคนเขาก็พูดถึงว่า คนจนมีสิทธิไหมครับ เพราะฉะนั้นผมไม่ต้องพูดแล้ว คนจนเขาพูดไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นตรงนี้ผมคิดว่าเป็นคุณูปการสำคัญของวิชาของเรา</div> <div>&nbsp;</div> <div><strong>ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยศ&nbsp; สันตสมบัติ</strong></div> <div>ผมอยากจะพูดแค่ 2 ประเด็น ประเด็นแรกต้องไหว้ครู เป็นมวยไทยเริ่มต้นต้องไหว้ครู ในฐานะที่เป็นทั้งศิษย์เก่าเรียนกับอาจารย์ในภาคฯ มาตั้งแต่ต้น สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือว่า สังคมวิทยามานุษวิทยา ในช่วงอายุผมก็แล้วกัน สี่สิบกว่าปีที่ผ่านมาที่ผมสอนวิชานี้มาเห็นการเปลี่ยนแปลงเยอะ ไม่นับตอนเรียน ผมสอนมา 42 ปี รู้สึกว่าตัวเองแก่มาก แต่ว่ามองไปข้างๆ ก็รู้สึกเรายังหนุ่มอยู่ เพราะมีคนที่แก่กว่า มีครูเราอยู่ ก็เลยอุ่นใจขึ้นมานิดหนึ่ง ประเด็นที่อยากจะบอกก็คือว่าสี่สิบกว่าปีที่ผ่านมาเห็นการเปลี่ยนแปลงเยอะ ในสิ่งที่เราเรียกว่าสังคมวิทยาและมานุษยวิทยารวมทั้งสังคมศาสตร์ทั่วไปด้วย เดี๋ยวนี้เรามองประวัติศาสตร์ก็เป็นพันธมิตร เป็นเครือข่ายทางวิชาการ ภูมิศาสตร์ก็เป็นเครือข่ายพันธมิตรของเรา พูดง่ายๆ คือทำเรื่องเดียวกัน ก็หยิบยืมกันไปยืมกันมา เดี๋ยวนี้ประเด็นที่ครอบคลุมมีเยอะมาก สมัยก่อนเราเรียนมานุษยวิทยา คำแรกที่อาจารย์สอนก็คือ study of man (การศึกษามนุษย์) เดี๋ยวนี้มันมา non-human (อมนุษย์), more than human (มากไปกว่ามนุษย์), Anthropocene (ยุคที่กิจกรรมของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของโลก) ซึ่งในความหมายจริงๆ แล้วลงไปลึกๆ คืออันเดียวกัน เพียงแต่ว่าเปลี่ยนชื่อแล้วก็ทำให้เนื้อหาครอบคลุมมากขึ้น หลายๆ อย่างที่เราเห็น ถ้าอ่านงานคลาสสิคเยอะๆ จะพบว่าสิ่งที่เขียนสมัยนี้ เขาเขียนกันมาเมื่อ 50 ปี 60 ปีที่แล้ว แต่มาเปลี่ยนคำเท่านั้นเอง ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีพัฒนาการ ประเด็นที่ผมอยากจะบอกก็คือว่ามันมีความหลากหลายของประเด็นมากขึ้น มีความหลากหลายของมุมมองมากขึ้น แต่ท่ามกลางความหลากหลายนี้สิ่งที่เป็นแก่นแกนของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามีอยู่เรื่องเดียว นั่นคือเราศึกษา ความสัมพันธ์ทางสังคม อันนี้ผมเรียนมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2519 จากอาจารย์อานันท์ ทุกอย่างที่เป็นสังคมศาสตร์เนี่ย boiled down to (เป็นส่วนสำคัญของ) ความสัมพันธ์ทางสังคม ความสัมพันธ์ทางสังคมทุกอย่างคือ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เพราะฉะนั้นอำนาจคือหัวใจของการศึกษาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จะเข้าใจสังคมได้ต้องเข้าใจความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ด้วยเหตุนี้เองพันธกิจของสิ่งที่เราเรียกว่าสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคือ การไขแสดง เปิดโปงมิติที่ซ่อนเร้นของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ จะทำเรื่องอะไรก็แล้วแต่ แก่นแกนของงานคือสิ่งนี้ การเปิดโปงมิติที่ซ่อนเร้นของความสัมพันธ์เชิงอำนาจเพื่ออะไร?&nbsp; เพื่อรื้อสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทางเศรษฐกิจ และการครอบงำทางวัฒนธรรม ประโยคเดียวนี้ผมคิดว่ามันครอบคลุมเนื้อหาสาระของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาทั้งหมด ในมุมของตัวเองนะ จะเถียงก็ได้ จะถกก็ได้ แต่ผมคิดว่า มองจากภาพรวมมันคือสิ่งนี้&nbsp;</div> <div>ทีนี้เมื่อพูดอย่างนี้แล้ว ในแง่หนึ่งเราทำอะไรไปบ้าง หัวข้อที่เขาตั้งไว้คือ ถึงไหน? ไม่ถึงไหน? เหมือนรถเมล์ รถไฟน่ะ ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง แต่พอผมเห็นหัวข้อนี้ การเป็นนักวิจัยต้องสร้าง indicator (ตัวชี้วัด) จะถึงไหนหรือไม่ถึงไหนมันมี indicator บอกไหมว่าเราไปยังไง เราไปถึงไหนแล้ว ผมก็เลยจะเสนอว่ามันมี indicator 5 ตัวในงานที่เราทำ ในมุมมองของตัวเองอีกเหมือนกัน คิดต่างได้ แต่ว่าเรียนสังคมวิทยาเนี่ยพื้นฐานที่สุด ระดับแรกที่สุดจากการทำวิจัย มันคือสิ่งที่เรียกว่า reflexivity หรือการสะท้อนย้อนคิด อย่างน้อยๆ เรียนสังคมวิทยาต้องได้สิ่งนี้ ต้องคิดแบบสะท้อนย้อนคิดเป็น หมายถึงการคิดอย่างมีบริบท การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวเราเองกับสังคมภายนอก คิดเป็น เชื่อมโยงเป็น ไม่ใช้สามัญสำนึก คิดโดยผ่าน concept (แนวคิด/มโนทัศน์) เป็นวิสามัญสำนึกให้ได้ เพราะฉะนั้นระดับแรกสุดเลยของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาก็คือต้องได้ reflexivity เวลาผมสอนนักศึกษา ผมเน้นมากที่สุดเลยปริญญาตรีขอให้มี reflexivity ก็พอใจแล้ว ขอให้คิดเป็น ให้เชื่อมโยงเป็น</div> <div>พอมาอีกระดับหนึ่ง งานของนักศึกษาระดับปริญญาโททำกันเยอะมาก การทำลายมายาคติ นี่เป็นระดับที่สอง ทำลายมายาคติคืออะไร คือการไป counter discourse (ต่อต้านวาทกรรม) รัฐสร้างวาทกรรมมาเยอะ ชาวบ้านชาวเขาทำลายป่า ชาวบ้านโง่ จน เจ็บ การสร้างความรู้การทำวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คือการไปทำลายมายาคติเหล่านี้ เพื่อให้คนเห็นว่าไม่ใช่ความจริงนะ ชาวบ้านเขามีวิธีคิดของเขา เขาฉลาด เขามีภูมิปัญญาท้องถิ่น งานวิทยานิพนธ์พัฒนาสังคม 100 กว่าเล่ม เกินครึ่งที่เป็นงานที่จัดอยู่ในประเภททำลายมายาคติ มีบางเล่มที่ขึ้นไปถึงอีกระดับหนึ่งซึ่งผมเรียกว่า การเปิดพื้นที่ทางสังคม คือนอกจากจะทำลายมายาคติแล้ว ก็จะเปิดพื้นที่ให้คนตัวเล็กตัวน้อย คนที่ไม่มีที่ยืนในสังคม คนชายขอบ คนด้อยสิทธิ์ ได้มีที่ยืนในสังคม เป็นการ empowerment (การเสริมสร้างอำนาจ) ผู้คน วิทยาพิพนธ์ทั้งหมดผมคิดว่ามันอยู่ในสามระดับนี้ แต่งานสังคมวิทยามันก็ยังมีระดับที่ 4 ซึ่งผมเรียกว่า การสร้างนโยบายทางเลือก</div> <div>เมื่อเราเข้าใจความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เรามีการสะท้อนย้อนคิด เรามีการทำลายมายาคติ เรามีการเปิดพื้นที่แล้ว อีกขั้นหนึ่งคือการนำเสนอนโยบายทางเลือกใหม่ๆ ซึ่งภาคฯ เราก็ทำ ตอนที่ลำพูนทะเลาะกันเรื่องที่ดิน อาจารย์อานันท์พูดเรื่อง inclusion (การให้สิทธิ ผนวกรวม), exclusion (การกีดกันสิทธิ ออกไป) กรรมสิทธิ์ร่วม เอา concept พวกนี้มาใช้หมด แล้วก็ฟันธงเลย คุณต้องใช้โฉนดร่วม ก็เจอ concept โฉนดชุมชนขึ้นมา อันนี้ผมคิดว่าเป็นตัวอย่างคลาสสิคเลยของนโยบายทางเลือกที่ผมพูดถึง คือการนำเสนอคอนเซ็ปใหม่ๆ ให้สังคมเอามาใช้เป็นนโยบายนั่นเอง</div> <div>ระดับที่ 5 อันนี้เป็นระดับสูงสุดเลย อีกหน่อยอาจจะมีระดับที่ 6 ก็ได้ แต่ว่าตอนนี้ผมคิดได้แค่ 5 ระดับ ถ้าสอนไปอีก 4-5 ปีอาจจะมีระดับที่ 6 ก็ได้ ระดับที่ 5 คือ การนำเสนอหลักการใหม่ให้กับสังคม ซึ่งสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มช. ก็ทำอีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าไปถึงไหนแล้ว คำตอบของผมคือไปมาหมดแล้ว ถึงหมดแล้ว การนำเสนอหลักการใหม่ของสังคมมันไม่ใช่ตะวันตกด้วย มันคือสิ่งที่ผมเรียกว่า“มานุษยวิทยาไทย” ด้วยซ้ำ โลกมี American anthropology (มานุษยวิทยาอเมริกัน) มี French anthropology (มานุษยวิทยาฝรั่งเศส), British anthropology (มานุษยวิทยาบริติช) เราเรียนประวัติทฤษฎี ถึงเวลาที่เราต้องสร้าง Thai sociology (สังคมวิทยาไทย) และ Thai anthropology ด้วย แล้วขั้นที่ 5 มันแสดงให้เห็นถึง Maturity (วุฒิภาวะ)</div> <div>สิทธิชุมชน เป็นตัวอย่างของการนำเสนอหลักการใหม่ให้กับสังคม มันเป็นสิ่งที่ชาวบ้านเขาปฏิบัติอยู่ ซึ่งเราก็ได้มาจากป่าชุมชนนั่นแหละ ชาวบ้านเขาก็มีกฎเกณฑ์ มีระเบียบ มีวิธีคิด มีมรดกทางวัฒนธรรมที่มากำกับจารีตประเพณีในการที่เขาทำ เรามายกระดับนามธรรมขึ้นมา แล้วนำเสนอเป็นหลักการใหม่ให้กับสังคม และสิ่งที่น่าสนใจ คนที่เรียนสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาพึงสังวรณ์ว่า สิ่งที่เราทำไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร แต่เมื่อเกิดสิ่งที่เรียกว่า “historical moment” (จังหวะเวลาทางประวัติศาสตร์) คำนี้ผมคิดว่าสำคัญมากสำหรับคนที่เรียนสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สิ่งที่เราทำ ข้อค้นพบที่เราทำ การนำเสนอต้องมีจังหวะเวลา เมื่อหน้าต่างทางประวัติศาสตร์เปิดออก จะเป็นช่วงเวลาที่เราเอาความรู้ทางวิชาการมาสร้างให้เป็นพลัง สิทธิชุมชน ป่าชุมชน เราพูดตั้งแต่ต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 ประชุมที่สภาไม่รู้กี่ยก ทะเลาะกับทหารทุกเดือน เขาจะเอาคนอีสานออกจากโครงการ คจก. (โครงการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม) ผมอยู่กรุงเทพฯ ผมเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน ไปประชุมกับทหาร กอ.รมน. (กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร) ทุกอาทิตย์เลย เพื่อจะบอกว่าคุณย้ายชาวบ้านออกไม่ได้ เขามีสิทธิ เขาอยู่มาก่อนคุณ เขาก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง แต่พอปีพ.ศ.2540 มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ historical moment เกิดขึ้น เราก็เอาสิทธิชุมชนไปใส่ในรัฐธรรมนูญ แปลง concept ให้กลายมาเป็นมาตราต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ แล้วจนเดี๋ยวนี้ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) อยากจะเอาออกใจจะขาด แต่เอาออกไม่ได้ เพราะชาวบ้านเขารับไปแล้ว คนเอาไปใช้ แน่นอนว่าในช่วงแรกคนเอาไปใช้ในแง่ของการจัดการทรัพยากร คนก็ใช้ในแง่ของทรัพยากรนั่นแหละ แต่สิทธิชุมชนมันมีมากกว่านั้น มันมีปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการรุกรานจากภายนอก มันมีมิติอื่นๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้คนก็ไม่ค่อยได้ทำกัน ผมยังนึกครึ้มว่าก่อนเกษียณจะกลับไปทำสิทธิชุมชนใหม่อีกสักยกหนึ่ง เพื่อดูว่าเดี๋ยวนี้คนตีความไปถึงไหน&nbsp;</div> <div>แต่ประเด็นที่ผมอยากจะบอกก็คือว่า งานของเราไม่ใช่งานที่ทำอย่าง routine (กิจวัตรประจำวัน) เราจะต้องคิดอย่างมีความสัมพันธ์กับบริบทของการเปลี่ยนแปลงของโลกและของประเทศ เพราะว่าเราต้องรอว่า งานของเราจะมีผลก็ต่อเมื่อมันมีช่วงจังหวะการก้าวเดินทางประวัติศาสตร์ที่เปิดช่องว่างให้เกิดขบวนการทางสังคมเพื่อการเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ยุคของการปฏิวัติอีกต่อไปแล้ว ที่คิดจะลุกขึ้นมาประท้วงอะไรแบบนั้น ไม่มีประโยชน์ คือก็มีประโยชน์ในระดับหนึ่ง แต่ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยความรู้หรือพลังทางวิชาการ และพลังทางวิชาการจะแสดงอานุภาพมากที่สุดเมื่อ historical moment เปิดโอกาสให้มันทำหน้าที่นั้น สิ่งที่เราทำก็คือต้องรอช่วงจังหวะ อย่างตอนนี้โลกกำลังจะเปลี่ยนจาก bipolarity (สองขั้ว) ไปเป็น muti-polarity (หลายขั้ว) มันจะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา อันนี้ก็เป็นคำถามที่หลายคนต้องช่วยกันคิดว่าเราจะปรับตัวไปอย่างไร แต่ประเด็นที่อยากจะบอกก็คือว่าคนรุ่นอาจารย์อานันท์ไปถึงแล้ว นักมานุษยวิทยารุ่นเก่าไปถึงแล้ว รุ่นหลังไปถึงไหนแล้ว นี่คือถามกลับว่าทำอะไรกันอยู่นะครับ</div> Prof. Dr. Anan Ganjanapan Prof. Dr. Yos Santasombat Copyright (c) 2024 Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 36 2 1 11 “สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา เชียงใหม่: ภารกิจแรกแห่งการขับเคลื่อน” (วงสนทนา) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/277008 <div>ประเด็นการพูดเพื่อให้ตามกันทัน กรอบเวลา พ.ศ. 2523 – 2533 ถ้าคิดเป็นฝรั่งก็คือคริสต์ทศวรรษ 1980 นั่นเอง นอกจากกรอบเวลา ก็จะพูดในประเด็นของกรอบคิดทฤษฎีหลักที่เขาใช้กันในช่วงนั้นและอีกอันคือวิธีวิทยา ทฤษฎีก็มีกระแสหลักกระแสต้านอย่างที่ทราบกัน วิธีวิทยาที่ดิฉันเรียนในช่วงนั้นแล้วคนอื่นๆ หลายคนก็ใช้กันอยู่ในช่วงนั้น (ดิฉันมาทางสังคมวิทยาปริญญาตรี ต่างกับสองท่านที่พูดก่อนดิฉัน ที่ไม่ได้มาทางสายสังคมวิทยา) ใช้สถิติเยอะมากเลย ตอนสมัยที่ดิฉันเรียนปริญญาตรีเขาก็ให้ไปทำวิจัยแล้วก็ต้องไปเก็บข้อมูลเชิงสถิติอะไรต่างๆ ประมาณนั้น แต่ว่าก็ใช้ participant observation (การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม) สมัยเรียนเขาเคยให้ไปทำทดสอบ (experimental) เรื่องเกี่ยวกับ sexism (การแบ่งแยกและกีดกันทางเพศ) คือดิฉันเป็นผู้หญิงแล้วก็ไม่ใช่ผิวขาว (พอดีดิฉันเรียนที่มีฝรั่งอยู่เยอะ)&nbsp; เพราะฉะนั้นพอดิฉันไปยืนอยู่ตรงประตูศูนย์การค้าเนี่ยแล้วอีกอันหนึ่งเป็นฝรั่งผู้ชาย แล้วคนมันจะเดินไปทางไหน เราพบว่าฝรั่งผู้ชายก็เดินไปทางฝรั่งผู้ชาย ส่วนผู้หญิงผิวสีก็เดินมาทางดิฉันเป็นส่วนใหญ่ เราก็ tally สถิติ นับจำนวนอะไรอย่างนี้ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมก็ใช้นะคะที่เราไปยืน เราก็สังเกตการณ์ไปด้วย</div> <div>ทีนี้พอกลับมาเมืองไทยมาสอนที่ภาควิชาฯ อาจารย์เกษม บุรกสิกร เป็นหัวหน้าภาคตอนนั้นท่านก็โยนหนังสือมาให้เล่มหนึ่ง บอกคุณไปสอนวิชา 101 หนังสือที่โยนมาให้ก็คือ Horton and Hunt (1972)&nbsp; อันนั้นเป็น third edition แล้วก็มี Broom and Selznick (1978)&nbsp; อีกเล่มหนึ่ง มันเป็นช่วงเวลาที่ภาควิชานี้อเมริกันมาสอนเยอะก่อนหน้านี้ อย่างที่อาจารย์อานันท์ก็พูดไปแล้ว แล้ว legacy (มรดกตกทอด) อันนี้มันก็ยังอยู่ เพราะฉะนั้นในหนังสือ Horton and Hunt เนี่ยดิฉันก็ไม่แปลกใจ อาจารย์เกษม คงได้มาจากฝรั่งที่หอบมาด้วยจาก NIU (Northern Illinois University) แต่ว่ามันก็ไม่เลวร้ายนะคะ น่าสนุก ดิฉันก็จะสอนเกี่ยวกับอย่างเช่น status กับ class สอนบทบาท สถานภาพ (role and status) เช่น เรามีบทบาทอะไร เป็นพ่อแม่ สมมติถ้าเราเป็นตำรวจแล้วลูกเราเป็นผู้ร้ายอะไรอย่างนี้ แล้วเราจะสวมบทบาทพ่อ หรือว่าเราจะสวมบทบาทตำรวจอะไรอย่างนี้ มันเป็นตัวอย่างฝรั่ง แต่ว่าเราก็เอามาใส่เป็นตัวอย่างของไทย นอกจากนั้นเราก็จะเรียนเรื่องเกี่ยวกับอย่างเช่น collective behavior (พฤติกรรมร่วม) หรือ population (ประชากร) ประมาณนั้น&nbsp;</div> <div>สำหรับวิชา social and cultural change (ความเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรม) ดิฉันโดนโยนให้โดยอาจารย์ฐิติพร วินิจฉัยกุล แต่ก่อนแกชื่ออาจารย์นภา โยนหนังสือเล่มนี้มาให้คือ Appelbaum (1970) Theories of Social Change&nbsp; ซึ่งเป็นโชคดีมากเพราะว่าดิฉันจะดูสังคมวิทยาจากมุมมองของ Change แล้วดิฉันก็จะเรียนทฤษฎีที่เกี่ยวกับ Change ต่างๆ แล้วก็ทำให้เราค้นพบว่า เราไม่ใช่ Change Agent (ผู้กระทำที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลง) คนเดียว จักรวาลไม่ได้มีศูนย์กลางอยู่ที่เรา แต่การเปลี่ยนแปลงมันมาจากหลายๆ แห่ง เพราะฉะนั้นโชคดีของดิฉัน ดิฉันไม่ค่อยมีพันธกิจนะคะ เพราะว่าดิฉันไม่จำเป็นต้องเป็น Change Agent&nbsp;</div> <div>ทำไมดิฉันถึงตั้งชื่อยุค พ.ศ. 2523-2533 นี้ว่าเป็นช่วงเวลาของการขยายตัวของแนวคิดเสรีนิยม Expansion of “liberal” ideas อันที่จริงคำว่า liberal สามารถทำความเข้าใจได้หลายอย่าง สามารถที่จะถกกันได้ แต่เราคงไม่มีเวลา เขาให้ดิฉันแค่ 15 นาที ดิฉันใช้ในความหมายระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (opened economy) การเมืองแบบเสรีนิยม (political liberalization) ยุคนั้นนะคะ ในทางการเมือง มีพลเอกเปรมเป็นนายกฯ คนมักจะบอกว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่จริงๆ แล้วมีการเลือกตั้ง แล้วคนก็วิจารณ์ และ หนังสือพิมพ์ก็วิจารณ์พลเอกเปรมทุกวัน การวิจารณ์ทุกวันมันนำมาสู่ความคิดที่ว่ามันต้องเป็นนายกเต็มใบ เหมือนที่อาจารย์อานันท์พูดก่อนหน้านี้เรื่องป่าชุมชน ว่าแม้กฎหมายไม่ออกสักที แต่ในที่สุดคนเข้าใจคำว่าป่าชุมชน ดิฉันมองในแง่นั้น (อันนี้ coincident นะคะ ไม่ได้เตี๊ยมกันมาก่อน) (คือมองว่าคนในยุคนั้นก็มี “เสรี” ในการวิจารณ์และเรียกร้องให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง) สำหรับที่ดิฉันมองว่ามันเป็นยุคของ expansion of liberal ideas ทางเศรษฐกิจก็คือ เศรษฐกิจเปิดกว้าง จนกระทั่งมาถึงยุคคุณชาติชาย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า เพราะฉะนั้น idea มันเป็นฝรั่ง มันเป็น internationalization (กระบวนการสู่ความเป็นนานาชาติ) modernization (กระบวนการสู่ความทันสมัย) ต้องการทำให้เป็นตะวันตก ถ้าดูหนังสืออย่างพวกนี้นะคะ ดิฉันไม่ลงรายละเอียดก็แล้วกัน Wilbert E. Moore (1963) Social Change ; David McLelland (1961) The Achieving Society&nbsp; ก็คือ Americanization (หรือการเปลี่ยนโลกที่สามให้เป็นอเมริกัน) เราถึงมีอเมริกันมาสอนในช่วงแรก</div> <div>สำหรับวิธีวิทยา อันนี้ผ่านไปเร็วเลย เราใช้ Empiricism (ประจักษ์นิยม) ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์และเชิงสถิติ ดิฉัน interdisciplinary (สหวิทยาการ) โดยไม่ได้ตั้งใจ ดิฉันมีเพื่อนเป็นนักเศรษฐศาสตร์เยอะ เพื่อนรุ่นพี่ เขาก็ชวนไปทำวิจัย ดิฉันก็ไปกับเขา ไม่รู้เรื่องหรอก ไปที่บ้านสองแคว จอมทอง ไม่รู้เรื่องอะไรเลยถ้าถาม แต่ว่าจำได้ว่านั่นคืองานวิจัยชิ้นแรก อายุประมาณสัก 22-23 ปี ไม่เกินนั้น แต่ก็นำมาสู่ความสนใจชนบทศึกษา</div> <div>งานที่มีอิทธิพลกับดิฉันมากงานหนึ่งก็คือ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา กับ สุธี ประศาสน์เศรษฐ์ (2524) “ระบบเศรษฐกิจไทย ค.ศ. 1851-1910”&nbsp; เป็นแนวประวัติศาสตร์เศรษฐกิจหรือ economic history ก็คือดูการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่สมัยสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง (Bowring Treaty) จนกระทั่งมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 อาจารย์ก็น่าจะได้อิทธิพลมาจาก James C. Ingram (1971) Economic Change in Thailand 1850-1970&nbsp; ซึ่งศึกษาเรื่องการเปิดประเทศไทยว่าเรากลายเป็นประเทศเกษตรที่ขายข้าวตั้งแต่เมื่อไหร่ คือข้าว (รวมทั้งไม้สักและยางพารา) เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีรายได้เข้าประเทศเป็นกอบเป็นกำ</div> <div>งานศึกษาชนบทที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งในช่วงนี้คือ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ David Bruce Johnston (1975) Rural Society and the Rice Economy in Thailand (1880-1930)&nbsp; ซึ่งศึกษาหมู่บ้านปลูกข้าวในภาคกลาง จะพูดถึงโจร ผู้ร้าย ที่อยู่ในชนบทที่ปล้นชาวนาที่ขายข้าวได้ ก็คือว่าชนบทไม่ได้ผาสุข ชนบทไม่ใช่สุขสงบ คุณต้องคอยหลบผู้ร้ายถ้าคุณเกี่ยวข้าวได้และมีเงิน บางทีก็มีบางคนมาขนข้าวคุณไป คือไม่ใช่หมายความว่าคุณเกี่ยวข้าวแล้วคุณไม่ต้องเฝ้านะ คุณต้องมีห้างนาไว้เฝ้าพืชผลของคุณ อ่านเรื่องนี้แล้วดิฉันก็ไม่โรแมนติกในแง่ชนบท&nbsp; ในช่วงเวลานี้ ดิฉันได้รับในหลายๆ ไอเดีย</div> <div>ดิฉันมาสอนก่อนแล้วถึงไปเรียนปริญญาโท (ไม่มีใครอ่านน่ะค่ะ) ดิฉันมาทำเป็นย่อภาษาไทย (จามะรี พิทักษ์วงศ์ (2527) “ระบบทุนนิยมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมชาวนาไทย” วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 3 เล่มที่ 4 เม.ย.-มิ.ย. 2527)&nbsp; ใช้ทฤษฎีมาร์กซิสม์ เพราะว่าตอนนั้นอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาเป็นมาร์กซิสม์แต่ว่าเป็นมาร์กซิสม์ที่ไม่ orthodox (ดั้งเดิม) (Hamza Alavi เป็นที่ปรึกษา / Teodore Shanin สอนมาร์กซิสม์) คือเป็นมาร์กซิสม์ที่ critical (วิพากษ์) กับมาร์กซิสม์มากๆ เลย อาจารย์ชานินสอนมาร์กซิสม์ไปก็ด่ารัสเซียว่าเป็นระบบเผด็จการ Shanin นี่มาจากรัสเซีย แต่แกเป็นยิว เข้าใจว่าเคยอยู่โปแลนด์ และไปอยู่ที่อิสราเอลอยู่พักหนึ่งก่อนที่จะเข้ามาอยู่ที่อังกฤษ ส่วน Hamza Alavi เป็นปากีสถาน ใช้ทฤษฎี เรื่องทุนนิยมรอบนอกหรือชายขอบ (peripheral capitalism) ดิฉันขอยืมมาใช้ในวิทยานิพนธ์ว่าไทยเป็นทุนนิยมรอบนอกหรือชายขอบตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เพราะเราเห็นว่าคุณขายข้าว ข้าวเป็นสินค้าส่งออก คุณปลูกเพื่อขาย คุณได้ข้าวมาแล้วคุณก็ขาย&nbsp;</div> <div>ดิฉันจบปริญญาโทปีค.ศ.1983 ไล่เลี่ยกับที่อาจารย์อานันท์กำลังจะกลับมา รู้สึกว่าจะกลับมาจากปริญญาเอกประมาณปี พ.ศ.2527 หรือ ค.ศ.1984 วิทยานิพนธ์อาจารย์อานันท์ชื่อ The partial commercialization of rice production&nbsp; ทำที่สันป่าตอง (ส่วนใหญ่ช่วงทศวรรษ 2520 วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์จะเป็นแนวชนบทศึกษา เพราะชนบทยังถูกมองว่าเป็นพื้นที่ยากจน) อาจารย์ที่ภาคอีกท่านเช่น อุไรวรรณ ตันกิมยง (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ ตันกิมยง) ทำเรื่องเหมืองฝาย อาจารย์วันเพ็ญ สุรฤกษ์ (ศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ สุรฤกษ์) ภาคภูมิศาสตร์ ก็ทำเหมืองฝาย (อาจจะก่อนอาจารย์อุไรวรรณนิดหน่อย) อาจารย์ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี) ทำ class mobility (การเลื่อนสถานะทางชนชั้น) ใช้สถิติ ดู mobility ว่าคนออกจากหมู่บ้านไปประกอบอาชีพนอกเกษตรมากขนาดไหน อาจารย์อัญชลี สิงหเนตร (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี สิงหเนตร) พูดถึง migration อยู่ภูมิศาสตร์ Jennifer Gray นักศึกษาปริญญาเอกจากออสเตรเลียทำเรื่อง dormitory village (หมู่บ้านหอพัก ที่ผู้คนพักอาศัยและเดินทางไปทำงานในเมืองใหญ่) ดิฉันก็อ่านพวกนี้นะคะ อาจารย์นฤจร อิทธิจีระจรัส (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤจร อิทธิจีระจรัส) ทำที่ฝาง อาจารย์เคยเป็นผู้ช่วยวิจัย Jack Potter (1976) Thai Peasant Social Structure&nbsp; ทำที่สารภี ถ้าอ่าน Potter ก็จะเข้าใจว่าทำไมอาจารย์นฤจรไปทำที่ฝาง เพราะเป็นอำเภอที่คนจนจากสารภีอพยพไปบุกเบิกที่ทำมาหากิน ดิฉันก็เริ่มอ่าน Anthropology มากขึ้นๆ คือดิฉัน self-taught (เรียนรู้ด้วยตนเอง) เรื่อง anthropology นะคะ&nbsp;</div> <div>สำหรับ Development Marxism (ทฤษฎีการพัฒนาของมาร์กซิสม์) ถือว่าเป็นกระแสต้านของการพัฒนาจากแนว social change&nbsp; ตอนไปเรียนปริญญาโทก็ได้อ่านพวกทฤษฎี เช่น Andre G. Frank (1971) Sociology of development and underdevelopment of Sociology&nbsp; เขาวิพากษ์วิชาสังคมวิทยาว่า มันไม่ให้ทฤษฎีที่จะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในโลกที่สามได้ จะเข้าใจโลกได้ ต้องเข้าใจว่ามันเกี่ยวพันกับโลกที่สามที่เคยเป็นอาณานิคมที่ถูกตักตวงทรัพยากรไป ซึ่งก็พัฒนาเป็นสาระของ dependency theories (ทฤษฎีพึ่งพิง) นอกจากนั้นก็มีทฤษฎีเกี่ยวกับ modes of production (วิถีการผลิต) ซึ่งมีการถกเถียงกันเยอะในกลุ่มนักวิชาการที่ศึกษาอินเดีย (และอาฟริกา)</div> <div>หนังสือที่พวกนักเรียนวิชาการพัฒนาอ่านกันมากอีกเล่มก็คือ Wallerstein (1976) The Modern World System&nbsp; ถือได้ว่า มันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ในยุคต่อมาเราจะพูดถึง globalization (โลกาภิวัตน์) และความเกี่ยวพันกันภายในระบบโลก (Wallerstein เน้นการเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ไปทั่วโลก)</div> <div>หลังจากยุคเฟื่องฟูของมาร์กซิสม์ในวิชาการพัฒนา ในปี พ.ศ.2528 David Booth (1985) ก็เขียนบทความ “Marxism and Development Sociology: Interpreting the Impasse”&nbsp; อันนี้ก็วิพากษ์ Marxism ในสังคมวิทยาการพัฒนานะคะ บอกว่ามันถึงทางตัน ใช้ไม่ได้แล้ว เดี๋ยวนี้ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศเค้าเป็น NICs (Newly Industrialized Countries หรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่) กันไปแล้ว คือเป็นอุตสาหกรรมใหม่กันไปแล้ว ทฤษฎีการพัฒนาก็เริ่มเปลี่ยนแนวมาในแนว Environmentalism (สิ่งแวดล้อมนิยม) / indigenous knowledge (ภูมิปัญญาพื้นเมือง) / ชนกลุ่มน้อย / ผู้หญิงในกระบวนการการพัฒนา อะไรต่างๆ&nbsp;</div> <div>สำหรับที่ภาควิชาฯ ในปีพ.ศ.2533 พอที่เริ่มมีหลักสูตรปริญญาโท ก็จะมาในแนวสิ่งแวดล้อมนิยมที่นักเรียนชอบเรียกกันว่า ดิน น้ำ ป่า ชื่อเป็นทางการเรียกว่า “พัฒนาสังคม” ถึงแม้อาจารย์อานันท์จะบอกว่าแกไม่ใช่ตัวตั้งตัวตี แต่ดิฉันก็คิดว่าแกเป็นนะคะ แต่แน่นอนก็มีคนอื่นๆ อีกหลายคนที่ทำกันอยู่ตรงนี้ (แน่นอนว่ากรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวและด้วยคนคนเดียว) การสร้างหลักสูตรบัณฑิตศึกษาในตอนนั้นเป็นกระแสระดับประเทศ ตอนนั้นประเทศไทยอยากจะสร้างปริญญาโทปริญญาเอกเอง ทางสังคมศาสตร์ก็บอกว่าไม่ต้องใช้ทฤษฏีฝรั่ง เรามีข้อมูลอยู่แล้วทำไมต้องให้ฝรั่งมาบอกเราว่าประเทศไทยเป็นยังไง บรรยากาศแบบนั้นมันมาอยู่ในช่วงนั้นด้วย (แต่เราก็ยังต้องอ่านทฤษฎีฝรั่งอยู่ดี) (และตอนหลัง เราจะอ่านประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น)</div> <div>กล่าวโดยสรุป ในวาระ 60 ปี ภาควิชาฯ ในครั้งนี้ ดิฉันคิดว่าการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ภาควิชาเป็นอะไรที่สำคัญ เป็นฐานของการที่จะทำความเข้าใจสิ่งที่เราทำในวันนี้ ในอีกสิบปีข้างหน้า อีกครบ 70 ปี 80 ปี ภาควิชาฯ ที่พวกคุณจะมาพูดกันในโอกาสครบรอบ 70 หรือ 80 ปี ก็สามารถมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ งานศึกษาสังคมที่เราทำวันนี้ ก็จะกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคม</div> <div>งานศึกษาทางสังคม จะต้องคำนึงถึงบริบททางสังคมเสมอ ทั้งในระดับ Global (โลก) และ national (ชาติ) แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมี micro-study (การศึกษาระดับจุลภาค) ซึ่งเป็นอะไรที่ทำให้เราติดดิน เพราะมันเป็น specificity of time and place (ความจำเพาะของเวลาและสถานที่) ของเวลาที่เราอยู่และของที่ที่เราอยู่ คือคุณมี general theory (ทฤษฏีโดยทั่วไป) แต่คุณมีอะไรที่มัน specific&nbsp;</div> <div>มีอีกอันหนึ่งคือประเด็นเรื่อง structure–agency หรือกรอบคิดเรื่องโครงสร้างและผู้กระทำการ จะเห็นว่าที่ดิฉันพูดวันนี้ถึงแม้จะเป็นเรื่องของดิฉันแต่ก็ไม่ใช่เรื่องของดิฉันซะทีเดียวนะคะ มันเป็นการตีกรอบโครงสร้างช่วงเวลา ที่ทฤษฎีมันเป็นอย่างนั้น แล้วเราก็ไปรับมันเข้ามา เราเชื่อมันบ้างไม่เชื่อมันบ้าง เพราะฉะนั้นดิฉันก็ไม่เชื่อทั้งหมด เช่นดิฉันไม่เชื่อว่าช่วงเวลานั้นสังคมไทยเป็นฟิวดัล แต่มองว่ามันเป็น peripheral capitalism (ทุนนิยมบริวาร หรือทุนนิยมรอบนอก) ตั้งแต่สมัยที่เราส่งออกข้าว แต่มันเป็นทุนนิยมเฉพาะในอีกรูปแบบหนึ่ง</div> <div>นอกจาก interaction (ปฏิสัมพันธ์) กับ agency กับโครงสร้างแล้ว agency ยังต้องมี interaction กับ “others”&nbsp; ที่ไม่ใช่คนอื่นที่แปลกแยก แต่เป็นคนอื่นที่บางคนอยู่ใกล้เรา บางคนก็อยู่ไกล บางคนก็มาจาก disciplinary อื่น เพราะฉะนั้นก็ต้องเปิดใจในการที่จะมีความแตกต่าง เพราะฉะนั้นในกรอบคิด structure-agency เราไม่ใช่แค่ผู้ศึกษาที่ยืนออกมาจากข้างนอกแล้วมองเข้าไป แล้วพยายามที่จะไปทำทุกอย่าง “ข้างใน” ทั้งหมด เราก็เป็นหมากตัวหนึ่งที่อยู่ในกระดานที่เราไม่ได้เป็นคนกำหนดเองส่วนหนึ่งด้วย อันนี้ก็เป็นการ reflexive (การสะท้อนย้อนคิด) กับตนเองและโครงสร้างในช่วงเวลาดังกล่าว</div> <div>สุดท้ายก็ขอขอบคุณที่ภาควิชาฯ เชิญดิฉันมา ดิฉันจะไม่ถึงกับบอกว่าภาควิชาฯ เต็มไปด้วย conflict (มีสองท่านพูดถึงในตอนเช้า) แต่ดิฉันมองในแง่ดีว่าภาควิชาฯ เป็นภาควิชาที่อย่างน้อยก็ยอมรับความแตกต่าง ดิฉันก็อยากจะคิดว่าเราไม่เหมือนใคร และดิฉันก็ liberal ในแง่ที่ว่าดิฉันไม่ต้องบอกว่าใครจะต้องมาทำตามดิฉัน ดิฉัน liberal ในแง่ที่ไม่ใช่แค่ economic กับ political แต่ดิฉันเลือกที่จะเชื่อและสามารถที่จะเลือกได้ว่าดิฉันจะเชื่ออะไร โดยไม่ต้องไปกับคนหมู่มาก คนหมู่มากก็ใจดีมากก็ยอมให้ดิฉันอยู่ด้วย ก็ขอบคุณค่ะ&nbsp;</div> <div>&nbsp;</div> <div>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล</div> <div>ขอบคุณภาควิชาฯ ที่ให้โอกาสมาร่วมงานวันนี้ รู้สึกเหมือนมางานคืนสู่เหย้านะคะ อาจารย์ปิ่นแก้วให้โจทย์มาว่า พูดให้แตกต่าง ให้มีลักษณะความเป็นผู้หญิงหน่อย งั้นจะลองจัดให้นะคะ</div> <div>&nbsp; ปีนี้ครบ 30 ปีที่ดิฉันมาอยู่เชียงใหม่พอดี ดิฉันเริ่มทำงานที่ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ.2537 ปีนี้พ.ศ.2567 ถ้านับว่าภาควิชาฯ ก่อตั้งมา 60 ปีแล้ว ก็ถือว่าดิฉันได้เข้ามาตอนครึ่งทางของชีวิตภาควิชาฯพอดี&nbsp; ขอบคุณอาจารย์จามะรีที่ได้พูดถึงในช่วงแรกๆ ไปแล้วนะคะ ส่วนวงสนทนาช่วงแรกก่อนนี้ก็ได้เน้นเรื่อง ปริญญาโท ปริญญาเอก ดังนั้นดิฉันจึงขอพูดถึงปริญญาตรีสักนิด ภาคเรามีการบริการวิชาการที่สำคัญหลายอย่าง ตอนดิฉันเข้ามาก็ถูกมอบหมายให้สอนปริญญาตรี วิชาพื้นฐานคือ 159101 ซึ่งเป็น Introduction to Sociology ที่เราบริการให้คณะอื่นๆหลายคณะด้วย&nbsp; วันก่อนเพิ่งเจออาจารย์รุ่นใหม่ท่านหนึ่งซึ่งตอนเรียนปริญญาตรี เขาเรียนปรัชญาศาสนา คณะมนุษย์ แล้วต้องมาเรียนวิชาบังคับ 101 ของเรา&nbsp; เขาเล่าว่าหนูมาเรียน 101 กับ “อาจารย์วสันต์ แก้วปัญญา” (รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว) ยังดีค่ะ ยังจำได้ครบคำ แล้วก็เรียน free elective (วิชาเลือกเสรี) 3 ตัว มีตัวหนึ่งเรียนกับ “อาจารย์จามะรี เชียงของ” (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.จามะรี เชียงทอง) สรุปว่า เขาเรียน free elective 3 ตัว วิชา 101 หนึ่งตัว ต่อมาเขาได้ไปเรียนปริญญาเอกที่ Lancaster University, UK แล้วทำวิทยานิพนธ์เรื่อง เพศสภาวะกับศาสนา เขาบอกว่า มันช่วยได้เยอะมากที่เรียนพิ้นฐานกับภาคเรา ทำให้เขารู้ว่า แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) เป็นใคร สอนอะไรบ้าง คือช่วยให้เขาปรับตัวได้เร็ว ดิฉันได้อ่านวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขาด้วย เรื่องผู้หญิงที่เป็นนักบวชในศาสนาฮินดู มีความละเอียดอ่อนของมุมมองแบบมานุษยวิทยาสูง เชื่อว่าเขาจะไปได้ไกลกว่านี้อีกมากในทางวิชาการ รู้สึกภูมิใจที่ภาควิชาเราได้มีส่วนปลูกฝังให้เขาหันมาชอบ anthropology เพราะฉะนั้นเวลาดิฉันสอนวิชาตัวเลือกของปริญญาตรี จะดีใจมากเวลาเห็นนักศึกษาที่มาจากภาควิชาอื่นสนุกกับวิชาของเรา&nbsp;</div> <div>อีกตัวอย่างหนึ่ง ตอนที่สอนวิชา พิธีกรรมและนิทานปรัมปรา เป็นวิชาเลือกปริญญาตรี ปีสาม&nbsp; ก็มักจะมีพวกนักศึกษาจากภาควิชาปรัชญาและศาสนา แทรกมา มีอยู่ปีหนึ่ง มีอาจารย์หนุ่มน้อยมาจากคณะวิจิตรศิลป์ ตั้งใจมาเรียนด้วยเพื่อเอาแนวคิดทางทฤษฎีไปทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ซึ่งพอทำวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ดิฉันได้เป็นกรรมการสอบด้วย เขาใช้แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจและสัญลักษณ์ ไปวิเคราะห์พฤติกรรมการบูชาพระธาตุปีเกิดของล้านนา แล้วในที่สุดวิทยานิพนธ์เรื่องนั้นของเขาได้รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปีของมหาวิทยาลัย&nbsp; เพราะฉะนั้นเราจะรู้สึกว่าเราไม่ได้รับใช้เฉพาะนักศึกษาในภาควิชาของเราเท่านั้น คนที่มาจากต่างภาคหลากหลาย เวลาเขาเข้ามา เขามาเรียนด้วยความสนุก สนุกจริงๆ อาจารย์ปิ่นแก้ว (ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี) ตอนนี้รับมรดกจากดิฉันไปตัวหนึ่ง&nbsp; เป็นวิชาสัญวิทยากับภาพยนตร์ นักศึกษาชอบกันมาก และมีพวกต่างถิ่นข้ามฟากมาแจมเรียนกัน อันนี้ก็ทำให้เห็นถึงความหลากหลายนะคะ&nbsp;</div> <div>ภาควิชาของเราก็ยังมีความหลากหลายในมุมอื่นอีก อย่างเช่นเรามี อาจารย์สุภาพร นาคบัลลังก์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร นาคบัลลังก์) ท่านเสียไปแล้วนะคะ ทำ physical anthropology (มานุษยวิทยากายภาพ) ท่านทำงานวิจัยหลายชิ้นที่ถ้ำในแม่ฮ่องสอนที่พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ทางด้านสังคมสงเคราะห์ เรามีอาจารย์จิราลักษณ์ จงสถิตย์มั่น ดิฉันคิดว่า อาจารย์บางท่านในภาควิชาอาจจะไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า อาจารย์จิราลักษณ์ เคยเขียนเปเปอร์เกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์กับ postmodern (สภาวะหลังสมัยใหม่) ถ้านึกย้อนดู งานชิ้นนั้นผลิตออกมาเกือบ 20 ปีที่แล้ว ยุคนั้นสังคมสงเคราะห์กับ postmodern นี่แทบไม่มีใครพูดถึงหรอกค่ะ ต้องถือว่าอาจารย์ก็เป็นผู้บุกเบิกที่ศึกษาประเด็นนี้ นอกจากนั้น วิชาฝึกงานสนามปริญญาตรีนี่ พวกเราทำงานเป็นทีม มีอาจารย์หลายท่านผลัดเปลี่ยนร่วมสอน ตะลุมบอนกับเด็กสนุกสนานมาก&nbsp; มีเปเปอร์ดีๆ ออกมาหลายชิ้น มีพักหนึ่งที่มีความพยายามจะส่งเสริมให้ภาควิชาฯ เก็บเปเปอร์เหล่านั้นไว้ แม้ว่าแทบจะไม่มีใครอ่าน แต่ก็คิดว่าสักวันหนึ่ง เปเปอร์ดีๆ บางอันมันจะเป็นแรงบันดาลใจกับเด็กปริญญาตรีที่ต้องฝึกงานภาคสนามในยุคหลังนี้&nbsp; จากประสบการณ์เล็กๆ ที่ผ่านมา เรามีความสุขที่สอนระดับปริญญาตรี เวลามองไปในตาเด็กแล้วมีประกายตอบรับออกมา&nbsp;</div> <div>สำหรับระดับปริญญาโท-เอก ตอนดิฉันเข้ามาในภาค แน่นอนตอนนั้น สายดิน น้ำ ป่า ครองพื้นที่อยู่ เราก็พยายามทำให้มันเป็น culture studies มากขึ้น อาจารย์หลายๆท่านร่วมกันทำให้วิทยานิพนธ์ดิน น้ำ ป่า เน้นมิติที่เป็นการต่อสู้ต่อรองทางวัฒนธรรม เมื่อสักครู่อาจารย์ยศ (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยศ สันตสมบัติ) ก็ได้พูดแล้ว อำนาจเป็นหัวใจของ cultural studies การเรียนการสอนของพวกเรามันเข้มข้นมากๆ เวลานั้น ใครๆ วิพากษ์พวกเราว่าหลักสูตรปริญญาโท ปริญญาเอก ของเรา เรียนอะไรกันนักหนานะ เรียนตั้ง 5 ปี 6 ปี ขยายเวลาแล้วขยายอีก ภาคเราโชคดี นักศึกษาที่รับมาตอนนั้น ใจถึงกันสุดๆ คือมาถึงตอนแรก เขาอ่านภาษาอังกฤษได้น้อยมาก ก็บอกเขาว่า มา มาอ่าน ฉันจะช่วยเธอ ก็ช่วยเขาอ่าน คุณเชื่อไหม พอกลับบ้าน เขานอนตี 1 ตื่นตี 5 ตอนปี 1 เขาอ่านแทบต้องเปิดพจนานุกรม เกือบทุกบรรทัด จบปี 5 หรือปี 6 อ่าน Bangkok Post แทบไม่ต้องเปิด dictionary คุณภาพวิทยานิพนธ์ของภาคเรา จัดได้ว่ามีมาตรฐานค่อนข้างสูง นี่แหละ เราได้เด็กแบบนี้มา เรามีความสุขมากนะคะ แน่นอนเราผลิตเด็กออกไปเป็นผู้นำหลายคน บางคนเป็นNGO (Non-Governmental Organization&nbsp; อยู่ก่อนแล้วค่อยมาเรียน หรือบางคนเรียนเสร็จแล้วก็ไปเป็น NGO&nbsp;</div> <div>ก่อนหน้านี้ อาจารย์อานันท์ (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์) กับอาจารย์ยศ พูดไปแล้วถึงความสำคัญของ concept (แนวคิด/มโนทัศน์)ในการทำวิจัย&nbsp; ดิฉันจะขอเสริมต่อว่า ก่อนที่จะฝึกให้มี reflexivity (การสะท้อนย้อนคิด) ได้นั้น มานุษยวิทยาได้ให้สิ่งหนึ่งก่อน มันฝึกสวมแว่นอันหนึ่งแก่เรา นั่นก็คือ&nbsp; sensitivity (ความเฉียบไวละเอียดอ่อนในการรู้สึก) อันนี้ขอพูดจากมุมสาวอักษรนะคะ เพราะอักษรก็ลับเหลาสิ่งนี้แก่เรามาเช่นกัน เพียงแต่ผ่านตัวกลางคนละแบบ เวลาเราไปลงพื้นที่ เราบอกว่า “ใช้หูดู ใช้ตาฟัง” ในพื้นที่สนาม ชาวบ้านประชุมกัน มักบอกลูกศิษย์ว่า คนที่พูดปาวๆตรงกลางวง ไม่ต้องสนใจให้มากนัก ให้ไปใส่ใจดูคนที่เขาไม่พูดหรือแทบไม่พูดเลย&nbsp; เคยมีลูกศิษย์ไปทำวิทยานิพนธ์กับแม่ชี กลับมาบอกว่า อาจารย์ หนูสัมภาษณ์ แม่ชีเขาให้หนูหุบปาก ทำยังไงดีคะ เราก็ว่า ก็หุบปากสิ ดี ไปเข้ากรรมฐานเลย จะได้เข้าใจว่า ความเงียบแปลว่าอะไรสำหรับคนเหล่านั้น&nbsp; ปรากฏว่าในความเงียบ เราจะได้ยินเสียงอื้ออึง&nbsp; เป็นเสียงที่เราไม่ได้ใส่ใจมาก่อน เพราะฉะนั้น ดิฉันคิดว่า sensitivity ไม่ได้จำเป็นเฉพาะกับนักมานุษยวิทยา แต่จำเป็นสำหรับความเป็นมนุษย์ ซึ่งสิ่งนี้แทบหายไปแล้วในโลกที่ความเป็นมนุษย์มันมีน้อยลงทุกที แต่ทางสังคมศาสตร์ ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และมนุษยศาสตร์นั้น sensitivity เป็นอันดับหนึ่งเลยที่จะช่วยให้คุณมี reflexivity ถ้าคุณไม่มี sensitivity ที่ละเอียด คุณจะ reflexive ได้ไม่ลึกพอ และคุณสมบัตินี้ ศาสตร์เหล่านี้หยิบยื่นให้แก่เรา&nbsp;</div> <div>ตอนที่สอนทฤษฎีสังคมวิทยา เพิ่งเข้ามาในภาคนี้ ปริญญาโท โดนให้สอนคนเดียวทั้งคอร์สที่เป็นวิชาทฤษฎี ดิฉันบอกนักศึกษาว่า คุณไม่ต้องจำชื่อคนเลย ส่วนรายละเอียดของเนื้อหาความคิดเขา จะยังไม่มาแจกแจงนะ แต่สิ่งที่จะเน้น คือจะชี้ให้เห็นว่าว่า นักคิดแต่ละคนประกอบสร้างวิธีคิดของเขามาได้อย่างไร มีอะไรเป็นตรรกะและปรัชญาอยู่เบื้องหลัง อีกอย่างหนึ่ง อย่าสับสนนะ ว่านักคิด ก. กับ ข. เขาคิดและมีข้อสรุปที่ต่างกันเป็นคนละขั้วเลย แล้วใครถูกใครผิดล่ะ ช่างมันก่อนในตอนนี้ สิ่งสำคัญคือ การที่นักคิดแต่ละคนเขาสร้างวิธีคิดขึ้นมาได้ เขามี sensitivity บางอย่าง และมีนิยามพื้นฐานทางปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติคนและสังคมบางอย่าง พวกเขาจึงมักมองเห็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น เวลาจะมองสิ่งต่างๆให้ลึกกว่าภาพปรากฏได้นั้น คุณต้องมี sensitivity ที่แหลมคมก่อน อันนี้คือ attitude หรือท่าทีต่อสรรพสิ่งที่เป็นมรดกที่ภาควิชาเราให้กับเด็ก และเราดีใจมากที่มีนักศึกษาจำนวนมากได้สิ่งนี้ไป&nbsp;</div> <div>มีลูกศิษย์อยู่คนหนึ่ง ไม่ได้เจอกันพักใหญ่ ลูกศิษย์คนนี้ไปเป็นผู้นำ NGO ไปเจอลูกชายเขา อายุ 10 ขวบ ทั้งพ่อทั้งแม่เป็น NGO ลูกอาจจะมีพรสวรรค์แต่เกิดนะคะ เขาวาดรูปได้โดยที่ไม่ต้องเรียนเป็นเรื่องเป็นราว&nbsp; พอเห็นรูปที่เขาวาด รู้สึกช็อก เขาชอบวาดด้วยดินสอดำ ชอบวาด portrait (ภาพเหมือน) รูปหมา รูปคน คุณรู้ไหม ภาพหมาหรือภาพคนที่เขาวาดนั้น มันมีมิติทางอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกลงไปกว่าภาพที่ปรากฏ เขาสามารถดึงเอาบุคลิกลักษณะลึกๆ ของคนที่เขาจะวาดออกมาในลายเส้นไม่กี่เส้น เห็นแล้วน้ำตาจะไหล แน่นอนเด็กอาจจะมีพรสวรรค์ แต่เราคิดว่าการเลี้ยงดู การถ่ายทอดก็มีส่วน เพราะฉะนั้นเห็น sensitivity ที่มันถ่ายทอดข้ามรุ่นได้แบบนี้คือตายตาหลับละ&nbsp; แล้วในที่สุดเขาก็อุตส่าห์วาดภาพเหมือนให้เรา เป็นครั้งแรกที่มีรูปวาดจากหลาน พอเห็นภาพที่เขาวาด ก็ออกจะตกใจ เพราะเจอเขาแค่ไม่กี่ครั้ง เขาสามารถดึงอะไรลึกๆที่ซ่อนอยู่ในตัวเราที่ไม่ได้แสดงออกมา เขามีเรดาร์ที่จับได้และดึงออกมาอยู่ในภาพวาดได้ โคตรเก่งเลย นั่นคือ sensitivity แล้วดิฉันดีใจมากที่เห็นความสามารถอันนี้ในลูกศิษย์หลายๆ คน สิ่งนี้มันเป็นมรดกที่สำคัญมากไม่แพ้ concept ต่างๆ ที่ได้พูดกันไป&nbsp;</div> <div>สิ่งสุดท้ายที่จะเล่า ตอนนี้ขอเปลี่ยนจากโหมดโรแมนติคเป็นโหมดสัจนิยมบ้าง อยากพูดถึงบทบาทการสู้รบตบมือของภาควิชา ภาคเราริเริ่มทำอะไรอย่างหนึ่งในแง่เป็นการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่พวกเราทำแล้วภูมิใจ แม้ว่าเราจะแพ้ก็ตาม ในช่วงต้นพุทธทศวรรษ 2550 ตอนนั้นคือกระแสเร่งรัดให้มี privatization (กระบวนการแปรรูปองค์กรรัฐให้กลายเป็นเอกชน) ภาควิชาสังคมวิทยาเป็นหัวหอกในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ลุกขึ้นไปปลุกกระแส เกลี้ยกล่อม แล้วพยายามจะดึงเอาพันธมิตรจากภาคต่างๆทางมนุษยศาสตร์ จากทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีอาจารย์ปิ่นแก้ว มีดิฉัน มีอาจารย์อรัญญา (รองศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ศิริผล) หลายๆ ท่าน เราไปสู้ เราไปคุย มีอาจารย์อานันท์ อาจารย์ยศ ทุกคนช่วยกันหมด ไปช่วยคุยกับผู้นำของมหาวิทยาลัย ไปเชิญ ไปคุยกับ เบอร์ 1 เบอร์ 2 สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) มานั่งคุยกัน โต้เถียงกัน ถกกัน พวกเราบอกว่าตัวชี้วัดแบบนี้มันไม่เป็นธรรมกับทางสายอย่างพวกเรา เขาก็บอกว่าคุณก็ไปทำตัวชี้วัดของคุณมาสิ เราก็ไปนั่งคิดกันแทบตาย ใช้เวลาเป็นเดือน ไปทำออกมา เสนอขึ้นไป ก็เงียบหายในสายลม...ในที่สุดเราก็รู้ มันคือการเมือง เราส่งไปให้เขา เขาก็ไม่เอา ที่เขาเปิดพื้นที่ให้เราเคลื่อนไหว ก็เพื่อสยบเราในท้ายสุด&nbsp; เพราะฉะนั้นมาถึงตอนนี้ ก็เกือบสองทศวรรษ ทุกคนรู้ดีแก่ใจ privatization มันเอาความแย่ที่สุดของระบบทุนนิยม มาบวกกับความแย่ที่สุดของระบบศักดินา มันน่ากลัวกว่าระบบราชการเก่าๆ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เสียอีก น่ากลัวกว่ามากนัก</div> <div>ดิฉันจึงอยากฝากโจทย์ทิ้งไว้ว่า ขบวนการเคลื่อนไหวที่เราพยายามทำแล้วไม่สำเร็จนั้น อยากจะส่งไม้ต่อไปให้ถกกันในตอนบ่าย แล้วก็ส่งสปิริตไปให้อาจารย์รุ่นน้อง และรุ่นลูกศิษย์ที่จะตามมาว่า เราจะทำอย่างไร ถึงจะสู้กับพวกเสรีนิยมใหม่ในระบบการศึกษาของโลก ที่มันลดทอนทุกอย่างลงมาให้ฉาบฉวย หยาบกระด้าง ทำอย่างไร เราถึงจะใช้พลังที่เรามีอยู่ไปจุดประกายความเคลื่อนไหว ไม่ใช่แค่วิพากษ์เป็นตัวหนังสือย่างเดียวนะ แต่ต้องผลักให้เป็น social movement ให้ได้ ไม่จำเป็นต้องสู้ตรงๆ ใช้ซิกแซกเอาก็ได้ third space (พื้นที่ที่สาม) เราก็เรียนรู้มาเยอะแยะแล้ว จะหาทางอย่างไรไปพลิกใช้&nbsp; สู้ตรงๆกับทั้งระบบอาจเป็นไปไม่ได้ แต่สามารถหาช่องทางเล็กๆภายในระบบพลิกสู้ หรือเอาอำนาจของตัวระบบนั่นแหละ หยิบฉวยมาใช้เพื่อช่วยเหลือคนด้อยโอกาส หากมีโอกาส เราก็เอาทรัพยากรอำนาจนั้นไปใช้ ทำยังไงก็ได้ที่จะปกป้องไม่ให้ลัทธิเสรีนิยมใหม่มากลืนกินจิตวิญญาณเรา</div> <div>&nbsp;</div> <div>รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง&nbsp;</div> <div>สวัสดีทุกท่านนะคะ และขอบคุณภาควิชาที่ให้มาพูดในเรื่องของภารกิจแรก แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้มาทำงานที่ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาตอนช่วงแรกของการก่อตั้งนะคะ มาภายหลังช่วงที่อาจารย์อภิญญา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล) เริ่มทำงานกับภาควิชาฯ ในปีพ.ศ.2537 นั้น ดิฉันเริ่มทำงานกับสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วก็ย้ายมาที่ภาควิชาฯ เมื่อปีพ.ศ.2550 ซึ่งทำงานได้ 10 ปี ก็ครบกำหนดปลดเกษียณ แต่ทางมหาวิทยาลัยและภาควิชาฯ ก็ให้ช่วยสอนต่อ เลยยังมีเวลายาวมาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ถ้าจะให้ดิฉันแนะนำตัวเอง ก็คือ เริ่มทำงานพ.ศ. 2537 ที่สถาบันวิจัยสังคม มช. ซึ่งน่าเสียดายว่าเดี๋ยวนี้ยุบไปแล้ว ไปรวมกับสถาบันพหุศาสตร์ สถาบันวิจัยสังคมในช่วงที่ดิฉันไปทำงาน นอกจากเน้นการวิจัยเรื่องล้านนาแล้วก็เน้นเรื่องชาติพันธุ์ ซึ่งตรงกับความเชี่ยวชาญของเราที่ทำวิทยานิพนธ์ทั้งปริญญาโทและเอก ในประเด็นศาสนากับชาติพันธุ์ในกลุ่มกะเหรี่ยง&nbsp; &nbsp;เพราะฉะนั้น ทำงานกับสถาบันวิจัยสังคม ก็ทำวิจัยเรื่องชาติพันธุ์มาตลอด เมื่อมาอยู่กับภาควิชาฯ&nbsp; ภาควิชาที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของชาติพันธุ์ เพราะว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของภาคเหนือและของ มช. เพราะฉะนั้น วิชาชาติพันธุ์สัมพันธ์และพหุวัฒนธรรม จึงเป็นวิชาบังคับในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3-4 มาตลอด แต่ตอนนี้เราปรับเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ก็คือเน้นพหุวัฒนธรรม แต่ก็มีเรื่องของชาติพันธุ์เข้าไปอยู่ด้วย ดิฉันรับผิดชอบวิชานี้เป็นวิชาบังคับมาตลอด ในเกือบ 10 ปีที่สอนมาไม่รู้ว่านักศึกษาเรียนจบแล้ว ยังจำเรื่องที่สอนได้อยู่รึเปล่า&nbsp;</div> <div>ในส่วนของงานวิจัยที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์สัมพันธ์หรือ ethnicity&nbsp; ถ้าย้อนไปนิดหนึ่ง งานวิจัยเรื่องชาติพันธุ์ทางภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนบนพื้นที่สูง ช่วงแรก มช. ก็ไม่มีใครทำเรื่องนี้ จึงมีการตั้งสถาบันวิจัยชาวเขาใน มช. โดยกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากเห็นความสำคัญของชาวเขา กระทรวงมหาดไทยก็ถาม มช. ว่า มช. จะรับทำวิจัยเรื่องนี้ไหม มช. บอกว่าเรายังไม่มีคน เราเพิ่งก่อตั้งมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ.2507 - 2508 เพราะฉะนั้นจึงให้กระทรวงมหาดไทยตั้งไป ก็เลยมีศูนย์วิจัยชาวเขา ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันวิจัยชาวเขา อยู่ในบริเวณพื้นที่ของ มช. ช่วงแรกๆ มช. ไม่มีงานวิจัยในเรื่องนี้ ศูนย์วิจัยชาวเขาก็ทำไปจนกระทั่งถูกยุบไปเมื่อปีพ.ศ. 2545 ช่วงที่เขาทำจะเป็นลักษณะของการทำวิจัยเรื่องชาติพันธุ์ในแบบที่เรียกว่า สารัตถนิยม (essentialism) คือมีผู้วิจัย ผู้เชี่ยวชาญแต่ละเผ่าแยกกัน มีผู้เชี่ยวชาญกะเหรี่ยง มีผู้เชี่ยวชาญม้ง เป็นต้น และมุ่งเน้นการทำวิจัยเพื่อพัฒนาและสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำวิจัยแบบพื้นฐานที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กับรัฐ และโลกาภิวัฒน์ เพราะฉะนั้น พอดิฉันมาทำงานที่สถาบันวิจัยสังคมแล้วเริ่มย้ายมาอยู่ที่ภาควิชาฯ ลักษณะของแนวคิดทฤษฎีก็เริ่มปรับเปลี่ยนไป เป็นการเน้นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆ ในหลายระดับ ความจริงการศึกษาชาติพันธุ์ในแนวทางนี้ เริ่มก่อนที่ดิฉันจะเข้ามาทำงานในภาค ตั้งแต่ท่านอาจารย์สุเทพ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช) ก็มีงานหนังสือออกมาหลายเล่มที่เกี่ยวกับเรื่องชาติพันธุ์โดยใช้คำว่า ชาติพันธุ์สัมพันธ์&nbsp; ที่ชี้ให้เห็นว่าอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ถูกสร้างขึ้นท่ามกลางความสัมพันธ์ ไม่ได้มองแบบสารัตถนิยมที่เน้นดูว่ามีวัฒนธรรมอะไร แล้วก็เหมารวมว่าวัฒนธรรมที่เด่นๆ นั่นคืออัตลักษณ์&nbsp;</div> <div>เพราะฉะนั้น เรื่องของชาติพันธุ์สัมพันธ์ ที่จริงแล้วเป็นเรื่องของการเมือง เป็นเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เป็นเรื่องความไม่เท่าเทียมกัน เป็นเรื่องของการเกิดรัฐชาติสมัยใหม่ที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างรัฐชาติกับชาติพันธุ์มันแหลมคมขึ้น รวมไปถึงพัฒนาการต่อมาที่เราดูจากปัญหาชาติพันธุ์ในพม่าก็คือเรื่องของ ชาติพันธุ์ชาตินิยม ที่มีการต่อสู้โดยกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่ม ซึ่งสร้างชาตินิยมของชาติพันธุ์ ซึ่งก็เป็นปัญหาที่เห็นได้ชัดในประเทศพม่าต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีการสู้รบกันอย่างยืดเยื้อเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งรัฐชาติที่ปกครองตนเองของแต่ละชาติพันธุ์ เพราะฉะนั้น ก็หมายความว่าตั้งแต่มาสอน ก็เน้นประเด็นชาติพันธุ์สัมพันธ์ในแนวทางนี้ ที่ทำให้เข้าใจปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐชาติกับชาติพันธุ์&nbsp; และความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ&nbsp;</div> <div>ตอนหลังก็ขยายงานวิจัยจากเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ภายในประเทศ เป็นการทำวิจัยบริเวณชายแดน&nbsp; &nbsp;ทำให้ขยายขอบเขตการวิจัยนอกจากเรื่องชาติพันธุ์กับการพัฒนาแล้ว ก็ไปดูเรื่องการอพยพโยกย้าย ผู้ลี้ภัย ซึ่งส่งผลพอสมควรว่าเราไปรู้จักหลายองค์กรที่แม่สอด ซึ่งก็เป็นผลดีต่อการสอนวิชาอื่น ๆ เช่น วิชาที่รับผิดชอบในช่วงก่อนปลดเกษียณก็เป็นวิชาฝึกงาน เขาเรียกวิชาภาคสนาม (159481) อันนี้ที่ประทับใจคือว่า ยุคก่อนที่จะปลดเกษียณก็ส่งเด็กไปรุ่นสองรุ่น ซึ่งพอดีเด็กมาเรียนเยอะ ยี่สิบกว่าคน ก็ไปฝึกงานตามองค์กรต่าง ๆ ที่ชายแดน สิบองค์กรประมาณนั้น ซึ่งก็ได้ประสบการณ์ที่น่าสนใจ เพราะว่า ก่อนปีพ.ศ.2560 ที่เอาเด็กไปฝึกงานบริเวณชายแดนไทย-พม่านั้น พ่อแม่ของเด็กที่ไปฝึกงานเขากลัวมากเลยที่จะเอาลูกไปอยู่ชายแดน หมายถึงว่า เมื่อสิบปีก่อนคนไม่ค่อยรู้เรื่องชายแดน ปัจจุบันอาจจะรู้มากขึ้น เพราะฉะนั้นวันที่ไปส่งนักศึกษา เอารถไปส่ง พ่อแม่ขอตามไปด้วย เพื่อจะไปดูว่าลูกจะไปอยู่อย่างไร ตอนนั้นฝึกงานแค่เดือนเดียว เขาก็จะยังกลัวว่าลูกจะไม่ปลอดภัย พ่อแม่ตามไปส่งลูกที่ชายแดนอำเภอแม่สอดด้วย ก็บอกกับเราว่า น่ากลัวจังเลย มีแต่คนพม่า ทำไมไม่มีคนไทย ความประทับใจอีกอย่างก็คือ ใน 1 เดือนที่ไปฝึกงานนั่นน่ะ เด็กนักศึกษาปี 4 ทำได้ดีมาก องค์กรก็ชมเชยมาว่ามีบางคนเขาอดทนมาก ไปอยู่ในองค์กรที่ค่อนข้างจะยากลำบาก สรุปว่า การส่งเด็กไปฝึกงาน อย่างน้อยเราคิดว่าแม้เขาจะฝึกแค่เดือนเดียว แต่เขาก็ได้รับรู้เรื่องราวความทุกข์ยากลำบากของคนชายขอบ ผู้ลี้ภัย ผู้อพยพ นอกจากนี้ ก็ทำให้เขามีความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เราทราบว่าเขาก็จะประทับใจกับเจ้าหน้าที่ในองค์กร แล้วก็มีการเขียนจดหมาย หรือว่ามีการติดต่อสนับสนุนกันอย่างต่อเนื่อง อันนี้เป็นเรื่องของการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี</div> <div>ทีนี้มาต่อที่ ปริญญาโท ปริญญาเอก เนื่องจากเราเชี่ยวชาญทางเรื่องชาติพันธุ์เพราะฉะนั้นก็ได้ช่วยสอนและเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ป.โท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาของเราเอง เพราะดิฉันมาท้าย ๆ ของหลักสูตรพัฒนาสังคม แต่ก็ได้ช่วยดูแลบ้าง ยุคนั้นทำเรื่องชาติพันธุ์เยอะถ้าเทียบกับยุคนี้ที่เป็นประเด็นใหม่ๆ ยุคนั้นก็เป็นชาติพันธุ์กับทรัพยากรบ้าง ชาติพันธุ์กับศาสนาบ้าง แล้วก็ได้ไปช่วยดูแลนักศึกษาของ RCSD (The Regional Center for Social Science and Sustainable Development) กับ ปริญญาเอก สังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ซึ่งเป็นเด็กนานาชาติ ซึ่งเลือกเราเป็นที่ปรึกษาเพราะสนใจในประเด็นที่ตรงกับความเชี่ยวชาญของเรา มีทั้งที่เป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงทั้งจากไทยและพม่า&nbsp; ชาติพันธุ์อื่นจากพม่า เช่น คะฉิ่น อาข่าจากจีน และที่มาจากอีกหลายประเทศเช่น เนปาล ญี่ปุ่น ฯลฯ&nbsp;&nbsp;</div> <div>ดิฉันทำวิจัยทุกปีก็จะเป็นวิจัยเรื่องชาติพันธุ์ ศาสนา ชายแดน ซึ่งในช่วงนั้นผู้ให้การสนับสนุนหลักได้แก่ สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย)&nbsp; ส่วนใหญ่ก็จะเข้าร่วมในชุดโครงการใหญ่ เช่น เรื่อง ทายาทรุ่นที่สองของผู้อพยพจากพม่า ที่มีอาจารย์โกสุมภ์ สายจันทร์เป็นหัวหน้าชุดโครงการ เรื่องอัตลักษณ์ชาติพันธุ์บริเวณชายแดน ที่อาจารย์ยศ (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยศ สันตสมบัติ) เป็นหัวหน้าชุดโครงการ และสุดท้ายได้ทำโครงการวิจัยเรื่องศาสนาในอาเซียน เป็นต้น&nbsp; งานวิจัยกับงานสอนก็ไปด้วยกันได้ดี เพราะว่า พอเราทำวิจัยเรื่องนี้ เด็กที่จะมาเรียนในระดับบัณฑิตศึกษาก็จะศึกษาดูก่อนว่าเราทำอะไรบ้าง แล้วก็ขอให้เราเป็นที่ปรึกษา&nbsp; &nbsp;นักศึกษาปริญญาเอกหลายคน ที่ดิฉันเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาใช้เวลาเรียนถึง 8 ปี เพราะตอนเรียนปริญญาตรี ปริญญา โท จบมาจากสาขาทางสาขาวิชาอื่น เช่น&nbsp; ด้านการเกษตร, พุทธศาสตร์ ฯลฯ กว่าจะเข้าใจทฤษฎีและแนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และการนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ ก็ใช้เวลานาน แต่ท่ามกลางเวลาที่ยาวนานนั้น เขาก็ได้เพิ่มพูนความรู้และ&nbsp; เราก็ได้เรียนรู้จากเขา ทั้งในเรื่องสถานการณ์และข้อมูลในประเด็นต่างๆ การทบทวนแนวคิดทฤษฎีว่ามีการถกเถียงกันอย่างไร อันไหนที่มีประโยชน์ในการนำมาใช้อธิบาย รวมทั้งการตามไปดูพื้นที่ที่เราไม่รู้จักและคุ้นเคย เช่น มีนักศึกษาหญิงที่เป็นกะเหรี่ยงในพม่า ทำเรื่องความทุกข์ทนของแม่หม้ายในเขตสัมปทานเหมืองแร่ ที่สามีตายในวัยเยาว์เนื่องจากสารพิษและการสู้รบ ซึ่งเราก็ได้เดินทางไปดูพื้นที่รัฐคะยาห์ทางเหนือของพม่าซึ่งอยู่ในเขตการสู้รบ ที่ลำบาก อันตรายและอยู่ห่างไกล งานนี้&nbsp; อาจารย์อานันท์ อาจารย์ปิ่นแก้ว (ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี) ก็ช่วยเป็นที่ปรึกษาร่วม ทำให้เราก็ได้เรียนรู้จากที่ปรึกษาร่วมด้วยในช่วงของการพิจารณาข้อเสนอโครงร่าง และการสอบในแต่ละขั้นตอน&nbsp; &nbsp;</div> <div>เอาเข้าจริงๆ แล้ว ตอนหลังดิฉันรู้สึกประทับใจว่า เด็กปริญญาตรีนี่มุ่งมั่นมากขึ้น หมายถึงว่ามีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นก่อนจะมาเรียนว่าเรียนสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา นี่จะเจออะไร มีความตั้งใจในการเรียน แม้ไม่ใช่ทุกคน แต่เราพบว่าน่าประทับใจหลายส่วน รวมทั้งเวลาเราสอบ จะเป็นการเขียนบรรยาย เด็กสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาหลายคนเขียนเก่ง บางทีก็ลายมือสวย น่าประทับใจมาก เนื่องจากผ่านการฝึกฝนมาตลอด คือ สอบทีไร ก็ต้องเขียนบรรยาย&nbsp; &nbsp;&nbsp;</div> <div>สุดท้ายแล้วเพราะด้วยความชำนาญ ทั้งเรื่องของการสอนและการทำวิจัยในประเด็นชาติพันธุ์ ดิฉันก็จะถูกเชิญให้เข้าไปร่วมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวชาติพันธุ์พอสมควร ทั้งในเรื่องของการร่วมประชุมระดมสมอง และเป็นกรรมการชุดต่างๆ เช่น&nbsp; เป็นอนุกรรมการ ตามมติ ครม. (คณะรัฐมนตรี) เรื่องการฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยง ชาวเล ในปีพ.ศ.2553 แต่การเข้าร่วมตอนหลังรู้สึกว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงไป สมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์มีการศึกษาสูง มีประสบการณ์การเคลื่อนไหวมานาน มีความสามารถในการนำเสนอตัวตน การต่อรองต่อสู้ในประเด็นต่างๆ ทำให้ดิฉันจึงเริ่มถอยห่างออกมาทบทวนบทบาทหน้าที่ตัวเองว่า สมควรที่จะไป empower (เสริมสร้างอำนาจ) เขาอยู่หรือไม่&nbsp; ตาม ที่อาจารย์ยศเสนอว่ามันน่าจะเป็นหน้าที่หนึ่งที่สำคัญของนักวิชาการสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทั้งนี้&nbsp; ปัจจุบัน มันมีองค์กรที่หลากหลายมาก และในตัวขององค์กรเหล่านั้นเอง เขาก็มีปัญญาชนของเขาที่มีความรู้ความชำนาญ และอาจรู้ดีกว่าเราด้วย&nbsp;</div> <div>ปัจจุบัน ดิฉันรู้สึกว่างานทาง วิชาการกับยุทธศาสตร์และกระบวนการการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ก็ดูจะไม่ได้ไปด้วยกันทั้งหมด เช่นเราบอกว่า การเน้นการสร้างและเชิดชูอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ของแต่ละกลุ่ม เน้นความแตกต่างระหว่างกลุ่มจะทำให้พรมแดนของแต่ละชาติพันธุ์แข็งตัว ไม่เชื่อมโยงกัน จะทำให้กระบวนการต่อสู้ในระดับโครงสร้างที่ต้องการการเชื่อมโยงและผู้คนเข้าร่วมจำนวนมากไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร&nbsp; &nbsp;คือกะเหรี่ยงก็เคลื่อนไหวของกะเหรี่ยง ลีซู ม้ง ก็เคลื่อนไหวของตัวเอง เพราะฉะนั้น การแยกกันไปแก้ปัญหา ก็จะทำให้พลังที่จะเชื่อมประสานไม่เข้มแข็งพอ หมายถึงว่า เมื่อกลุ่มกะเหรี่ยงพูดเรื่องไร่หมุนเวียน แล้วกลุ่มอื่นเขาพูดเรื่องไร่หมุนเวียนรึเปล่า แต่ไร่หมุนเวียนกลายเป็นธงของการเคลื่อนไหวเป็นเรื่องของอัตลักษณ์ เรื่องของวัฒนธรรมของกลุ่มกะเหรี่ยง ที่ไม่ได้เป็นจุดร่วมที่จะนำเอามาใช้ในการต่อสู้ ประเด็นเรื่อง cultural politics (การเมืองวัฒนธรรม), identity politics (การเมืองอัตลักษณ์) มันก็ดูจะมีข้อจำกัด มันก็จะกลายเป็นอยู่คนละภูเขา อยู่กันคนละยอดดอย ต่างคนต่างสู้ไป อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราคิดอยู่ แต่ว่าจะสื่อสารเรื่องนี้อย่างไรให้ชัดเจนได้อย่างไร ไม่ให้เหมือนกับไปขัดขวางการเคลื่อนไหวที่เชิดชูอัตลักษณ์ สรุปว่าแนวทางแบบ&nbsp; identity politics&nbsp; ที่ทำให้ผู้คนในแต่ละกลุ่มภาคภูมิใจในตัวเองและผู้คนอื่นให้การยอมรับ จะนำไปสู่การเชื่อมโยงกับกลุ่มอื่น ๆ ให้มากขึ้น โดยไม่กลายเป็นการต่อสู้แยกกันแต่ละกลุ่ม และมีพลังในการต่อสู้ในเชิงโครงสร้างได้อย่างไร&nbsp;&nbsp;</div> <div>&nbsp; จึงน่ากลับมาทบทวนว่างานวิชาการกับขบวนการเคลื่อนไหวนี่จะไปด้วยกันได้อย่างไร&nbsp; หรืออาจจะต้องคิดใหม่ว่าวิชาการแบบใดที่จะหนุนช่วยขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและปัญหาที่ประชาชนเผชิญ บทบาทของนักวิชาการที่จะไปสร้างอำนาจให้กับคนที่ยากไร้นั้นจะทำได้อย่างไร ในขณะที่สังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น มีประเด็น intersectionality (อำนาจทับซ้อน) ทั้งเรื่องชาติพันธุ์ ชนชั้น เพศสภาพ ศาสนา วัฒนธรรม ที่เปลี่ยนไปเร็วมากในยุคสองสามทศวรรษหลังมานี้&nbsp; &nbsp; &nbsp;ในเชิงวิชาการก็อาจจะทำวิจัยหรือเผยแพร่ไม่มากพอ ทำให้คนมอง ชาติพันธุ์ในลักษณะเดิมเป็นกลุ่มที่ปิด ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่มันซ้อนทับกันหลายเรื่อง ชาติพันธุ์กับชนชั้น ชาติพันธุ์กับเพศสภาพและเพศวิถี ซึ่งปัจจุบันมันก็มีปัญหาอยู่ เช่น เรื่องของการเคลื่อนไหวของผู้หญิงม้งเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ อะไรต่ออะไร เพราะฉะนั้น ในเชิงวิชาการยังต้องการการทำวิจัยในเรื่องพวกนี้ เพื่อแสดงให้เห็นชัดว่ามันจะนำไปสู่การวางแนวทางการเคลื่อนไหวอย่างไร&nbsp;&nbsp;</div> <div>ข้อที่สองคือเรื่องของการเมืองเชิงวัฒนธรรมหรืออัตลักษณ์กับข้อจำกัดในการต่อสู้เชิงโครงสร้าง เพราะอันนี้เองคนทำงาน NGOs (Non-Governmental Organizations หรือองค์กรนอกภาครัฐ) ก็พูดเอง โดยเฉพาะกะเหรี่ยง ว่าอธิบายให้เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ฟังไม่รู้กี่ครั้งแล้วในเรื่องของไร่หมุนเวียน ความดีของไร่หมุนเวียน เขาก็บอก เขาเข้าใจ เขาเข้าใจว่า มันมีความดี แต่ว่าเขาก็ต้องทำตามกฎหมาย เพราะฉะนั้น การต่อสู้เรื่องของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม หรือว่า cultural politics นี่มันก็อาจจะมีข้อจำกัดของมัน ซึ่งก็คล้ายกับข้อที่หนึ่งที่พูดไปแล้ว&nbsp;&nbsp;</div> <div>ข้อที่สามสุดท้ายคือว่า ดิฉันคิดว่า NGOs ชาติพันธุ์กำลังเข้าสู่การเมืองโลกว่าด้วยชนพื้นเมือง ซึ่งประกาศทศวรรษชนพื้นเมือง มาประมาณ 10-20 ปีแล้ว อันนี้การเมืองระดับโลกแล้ว ที่ UN (The United Nations หรือองค์การสหประชาชาติ), FAO (Food and Agriculture Organization หรือองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ) เคลื่อนไหวเยอะเรื่องชนพื้นเมือง ซึ่งมาพร้อมกับการสนับสนุนในเชิงนโยบายและทุน แต่การเคลื่อนไหวเรื่องชนพื้นเมืองในระดับโลกจะมาเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวระดับประเทศอย่างไร จะปรับใช้ในเรื่องภาษาและความหมายอย่างไร เพราะว่า ปัจจุบันรัฐบาลไม่ยอมรับคำว่าชนพื้นเมือง ซึ่งก็เป็นประเด็นที่นักวิชาการ หรือ NGOs ต้องคุยกัน คือ NGOs คิดว่าถ้าไปอิงกับวาทกรรมชนพื้นเมืองมันจะได้สิทธิต่างๆ แต่อันนี้ก็อยู่ในขั้นการต่อสู้กันที่จะลบช่องว่าง ระหว่างระดับโลก ระดับประเทศและระดับท้องถิ่นอย่างไร ดังจะเห็นได้ว่าปฏิญานสากลเกี่ยวกับสิทธิของแต่ละกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่รัฐไทยไปลงนาม ก็ไม่ได้เกิดผลอย่างอัตโนมัติในการผลักดันสิทธิและยกระดับกลุ่มคนเหล่านั้น</div> Jamaree Chiangthong Apinya Fuengfusakul Kwanchewan Buadaeng Copyright (c) 2024 Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 36 2 12 31 สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา เชียงใหม่ ในบททบทวน สู่ภารกิจใหม่ในวันพรุ่ง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/277012 <div>รศ.ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว</div> <div>ผมคิดว่าผมน่าจะเป็นอาจารย์รุ่นที่ 4 – รุ่นที่ 5 ประมาณนี้ ช่วงที่ผมเรียนน่าจะเป็นช่วงของ historical moment (จังหวะเวลาทางประวัติศาสตร์) ของภาควิชา คือเป็นช่วงที่อาจารย์กำลังตกผลึกอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งต่อมาที่ผมไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ตอนนั้นผมไปเรียนปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ ผมรู้สึกว่าทำไมผมคิดไม่เหมือนคนอื่น ผมรู้สึกว่าแนวคิดมาร์กซ์มันเป็นเรื่องธรรมดา แต่พอเราไปพูดแนวคิดมาร์กซ์กับเพื่อนที่กรุงเทพฯ ผมกลายเป็นพวกประหลาด แต่ถ้าย้อนกลับไปผมคิดว่าผมรับแนวคิดมาร์กซ์ หรือมาร์กซิสม์มาจากอาจารย์หลายท่าน อาจารย์อานันท์ (ศาสตราจารย์ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์) ทำให้ผมรู้จักมาลินอฟสกี้ (Bronislaw Malinowski) เป็นคนแรกเพราะอาจารย์สอนเรื่องคูล่า (Kula ring) ในวิชามานุษยวิทยาเศรษฐกิจ แต่ว่า อาจารย์ฉลาดชาย (อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์) ก็สอนเรื่องลัทธิมาร์กซ์ อาจารย์แปลหนังสือลัทธิมาร์กซ์กับสังคมนิยมหรือสังคมวิทยามาร์กซิสต์และเขียนตำราอื่นๆ อีกเยอะมาก ช่วงนั้นตอนที่ผมเรียนปีสุดท้ายศูนย์สตรีศึกษาเพิ่งก่อตั้งมาได้สองปี ผมก็ต้องไปเรียนกับอาจารย์ที่ศูนย์สตรีศึกษา ซึ่งน่าจะเป็นรุ่นแรกๆ อาจารย์ฉลาดชายโด่งดังมากกับงานเขียนเรื่อง “ผีเจ้านาย” ซึ่งผีเจ้านายก็เป็นเนื้อหาที่สอนอยู่ในวิชามานุษยวิทยาการเมือง ถ้าใครได้อ่านจะเห็นว่าถึงแม้อาจารย์ฉลาดชายจะใช้มาลินอฟสกี้ ในการอธิบายเรื่องผีเจ้านาย แต่ในนั้นข้อโต้แย้งของอาจารย์ก็คือ แม้แต่ผีก็มีชนชั้น และเต็มไปด้วยประเพณี พิธีกรรมเรื่องการนับถือผี เรียกกว้างๆ อย่างนี้แล้วกัน เพราะฉะนั้นสมมติฐานแรกที่อาจารย์เสนอคือ ผี พุทธ พราหมณ์ ไม่เคยแยกออกจากกัน และพิสูจน์ให้เห็นผ่านเรื่องผีเจ้านาย ถ้าใครอ่านดูมันจะเป็นงาน ethnography (การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา) ที่น่าสนใจมาก อาจารย์เขียนเล่าได้น่าสนใจมาก&nbsp;</div> <div>จากผีเจ้านายในช่วงเวลาเดียวกันก็มีเรื่องป่าไม้สังคม ซึ่งอาจารย์อานันท์ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง หากใครสนใจไปอ่านดูได้ ประเด็นคือ ป่าไม้สังคมก็คือป่าชุมชน ตอนนั้นอาจารย์สนใจเรื่องชาวนา 14 ตุลา พ.ศ.2516-2519 ไล่เรียงมา อาจารย์ฉลาดชายก็เอามาสอนในห้องเรียนในวิชามานุษยวิทยาการเมืองซึ่งเป็นวิชาบังคับ ในยุคนั้นเป็นยุคที่กำลังเป็นประเด็น ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่สืบต่อมาจากขบวนการเคลื่อนไหวของสหพันธ์ชาวไร่ชาวนา เรื่องนักวิชาการ โดยเฉพาะในเชียงใหม่ เข้าไปร่วมเคลื่อนไหว เป็น historical moment อีกโมเม้นท์หนึ่ง พอผมเรียนจบแล้วกำลังจะไปเรียนต่อปริญญาเอก อาจารย์ฉลาดชายก็ออกหนังสือเรื่อง “น้ำพริกล้านนา” จาก “ผีเจ้านาย” “ป่าไม้สังคม” จนมาถึง “น้ำพริกล้านนา” มันกลายมาเป็นอย่างนี้ได้ยังไง จริงๆ แล้วคือตอนนั้นอาจารย์ฉลาดชายเริ่มสนใจเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม เรื่อง biodiversity (ความหลากหลายทางชีวภาพ) และเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่อาจารย์ฉลาดชายช่วยก่อตั้งศูนย์สตรีศึกษาขึ้นมา หนังสือเล่มนี้ขายดีมาก ในเล่มนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องการทำอาหาร anthropology of food (มานุษยวิทยาอาหาร) ซึ่งอาจารย์เก่งมากเรื่องทำกับข้าว มากกว่านั้นอาจารย์คงพยายามทำให้เห็นความสำคัญของผู้หญิงและความหลากหลายอะไรทำนองนี้ และเล่มสุดท้าย “มานุษยวิทยาการเมือง” เป็นตำราที่อาจารย์สอนและเขียนให้พวกเราอ่านตอนที่ผมเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ผมและอาจารย์ไพบูลย์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ) อยากจะทำเล่มนี้ออกมาเผยแพร่ฟรีให้ดาวน์โหลดไปอ่านกัน และเพื่อรำลึกถึงอาจารย์ฉลาดชายที่ได้จากพวกเราไปเมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 ขณะที่ท่านอายุได้ 76 ปี เป็นตำราที่อาจารย์เขียนไว้และยังอยู่ในระหว่าง edit (แก้ไขเรียบเรียง) เป็นเล่มที่ผมคิดว่าผมยังทำภารกิจไม่เสร็จ&nbsp;</div> <div>หากจะพูดทิ้งท้ายนิดหนึ่ง ผมคิดว่าผมได้รับอิทธิพลมาจากอาจารย์อานันท์ อาจารย์ฉลาดชาย เยอะมากโดยไม่รู้ตัว คือผมอ่านมาร์กซ์เป็นเรื่องธรรมดาจนไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องแปลกอะไร แล้วพอผมไปเรียนผมก็สนใจพวกนี้มากจนกลายมาเป็น สจ๊วร์ต ฮอลล์ (Stuart Hall) ที่ผมตามอ่านอยู่ประมาณสิบปี ใครเห็นหน้าผมก็คิดถึงแต่ สจ๊วร์ต ฮอลล์ ซึ่งตอนนี้ สจ๊วร์ต ฮอลล์ ก็กลายมาเป็นวิชาบังคับของภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไปแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าจะบอกว่าทบทวนแล้วมีอะไรที่สืบต่อมาจากอาจารย์ฉลาดชายได้บ้าง ผมคิดว่าการที่เอาวัฒนธรรมศึกษามาเป็นวิชาบังคับในภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาระดับปริญญาตรีก็ถือว่าได้รับอิทธิพลมาจาก อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ไม่มากก็น้อย</div> <div>&nbsp;</div> <div>อาจารย์รังสรรค์ ประทุมวรรณ์</div> <div>ผมอาจจะเป็น niche market (ตลาดเฉพาะกลุ่ม) นิดหนึ่งเพราะว่าสิ่งที่ผมสนใจก็คือเรื่องของสังคมวิทยาศาสนา และ digital behavior (พฤติกรรมดิจิทัล) และ virtual society (สังคมเสมือน) ซึ่งการทำงานเรื่องนี้เป็นระยะเวลาหลายปีและเมื่อต้องมาคุยเรื่องนี้ผมเลยนึกย้อนไปว่าในช่วงเวลาที่ทำงานอยู่ที่นี่ อาจารย์วสันต์ (รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว) พูดถึง อาจารย์อานันท์ อาจารย์ฉลาดชาย นักศึกษาสมัยนั้นจะเรียก อาจารย์ฉลาดชายว่าไอน์สไตน์ เพราะอาจารย์หน้าเหมือนไอน์สไตน์มาก แต่ผมเองจะคุ้นชินกับท่านอาจารย์ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี (ผศ.ดร.ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี) ซึ่งท่านเป็นอาจารย์ที่มีความชำนาญเรื่องระเบียบวิธีวิจัยและสถิติซึ่งผมเองก็มีความสนใจในสิ่งเดียวกัน จากจุดนี้ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นความท้าทายของสังคมวิทยา โดยเฉพาะหลังจากทบทวนสิ่งที่อาจารย์วสันต์พูดไป ถูกเลย สังคมวิทยา มช. มีธีมมาตลอดระยะเวลา 60 ปี ทำให้ผมสนใจว่าในอนาคตมีความท้าทายอะไรใหม่ๆ ที่เราจะต้องเผชิญและตอบคำถาม ซึ่ง ณ วินาทีนี้อาจจะเป็นสิ่งที่เราตอบได้ไม่เต็มปากว่าเราจะรับมือมันยังไงในสิ่งใหม่ๆที่กำลังจะมาถึง&nbsp;</div> <div>อย่างแรกคือเรื่องธรรมชาติของข้อมูล หรือ Data ที่มันเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ธรรมชาติของข้อมูลมันไม่เหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว ที่มันมาเป็นก้อน มี patterns (รูปแบบ) มี factors (ปัจจัย) ที่ชัดเจนแน่นอนจากกลุ่มประชากรที่มีลักษณะทางสังคมคล้ายคลึงกัน ธรรมชาติของข้อมูลในยุคปัจจุบันเป็นข้อมูลที่มีทั้งความเร็ว (Velocity) ความเร่ง (Acceleration) และความหลากหลาย (Variation) ที่เราทำความเข้าใจได้ยาก และ patterns of behavior ที่อยู่บนพื้นฐานของ diversity (ความแตกต่างหลากหลาย) ที่สูงมากของกลุ่มคนที่หลากหลาย ซึ่งธรรมชาติของข้อมูลแบบนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายเราในอนาคตมากว่าเราจะอธิบายข้อมูลแบบนี้ได้อย่างไร สิ่งหนึ่งที่ตามมาก็คือระเบียบวิธีหรือเทคนิคที่เราใช้ในการสังเกตการณ์และเก็บข้อมูล ยกตัวอย่างงานที่ผมทำในเรื่องของ digital behavior&nbsp; การที่คนยอมหยอดเหรียญเพื่อให้หุ่นยนต์ AI อันหนึ่งไปบูชาเทพเจ้าฮินดูแทนเราผ่านเว็บไซต์ มีคำถามว่าสุดท้ายแล้วใครเป็นคนที่บูชาเทพเจ้ากันแน่ หุ่นยนต์ตัวนั้น? หรือว่าเรา? เพราะว่าหุ่นยนต์ทำหมดเลย คนไม่ได้มี interact อะไรกับเทพเจ้าฮินดูเลยแม้แต่นิดเดียว อย่างนี้เป็นต้น ธรรมชาติของข้อมูลใหม่ๆ แบบนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ว่าเราจะสังเกตการณ์ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์มันอย่างไร</div> <div>และอีกอย่างที่ผมคิดว่าทำให้ธรรมชาติของข้อมูลเปลี่ยนไปและเป็นสิ่งที่เราต้องมองก็คือ ธรรมชาติของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป สิ่งหนึ่งที่เราพบก็คือ เมื่อก่อนเราเคยเชื่อว่า social network platform (ช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์) เป็นเพียงแค่ channel (ช่องทาง) รูปแบบหนึ่งที่คนใช้ในการ express (แสดงออก) ตัวตนหรือการ interact (ปฏิสัมพันธ์) กับคนอื่น แต่ทุกวันนี้เรากลับพบว่า social network platform เหล่านี้มันกลายเป็นเบ้าหลอมชนิดใหม่ มันกลายเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อตัวตน พฤติกรรม และกลุ่มทางสังคมอย่างแท้จริง กลายเป็นพฤติกรรมอีกแบบหนึ่งที่ผมคิดว่าเราอาจจะต้องมานั่งทบทวนว่าเราจะสามารถ approach (เข้าถึง) หรือ address (อธิบาย) มันด้วย conceptual หรือ theoretical framework (กรอบแนวคิดหรือทฤษฎี) แบบเดิม ๆได้อยู่แค่ไหน ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่นคำว่า social group (กลุ่มทางสังคม) เมื่อก่อนบอกว่า primary group (กลุ่มปฐมภูมิ) ต้องมีคุณลักษณะของ face-to-face interaction (การปฏิสัมพันธ์แบบเจอหน้ากัน) แต่ปัจจุบันเมื่ออยู่บน social network platform มันไม่ใช่ direct face-to-face อีกต่อไป แต่ว่าในขณะเดียวกันมันกลับมีบทบาทอย่างสูงในการ shape (ก่อรูป) ในเรื่องของ identity (อัตลักษณ์) ในเรื่องของ pattern of behavior (รูปแบบพฤติกรรม) อย่างทรงพลังมาก ผมคิดว่าเราต้องมานั่งทบทวนว่าเราจะ approach สิ่งที่มันเปลี่ยนไปอย่างไร&nbsp;</div> <div>สิ่งที่ผมมักจะพูดคุยกับนักศึกษาเสมอก่อนสอนหนังสือก็คือ วันนี้มีอะไรที่น่าสนใจ ทุกคนก็จะควักโทรศัพท์ขึ้นมา ซึ่งผมจำได้เด็ก มช. สมัยก่อนก็จะบอกว่า อาจารย์วันนี้ผมไม่ได้อ่านข่าวครับ เพราะเมื่อก่อนใต้หอ มช. จะมีที่วางหนังสือพิมพ์ รับหนังสือพิมพ์หลายๆ ยี่ห้อ แล้วไปนั่งเปิด ไปนั่งต่อคิว นั่งแย่งกัน แต่ทุกวันนี้ลืมตามายังไม่ทันเปิดตา อย่างแรกก็คือคว้าหาโทรศัพท์ก่อน แล้วก็ตะกุยหาเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับเราว่ามันเกิดอะไรขึ้นในช่วงระยะเวลา 8 ชั่วโมงที่เราหลับไป ผมคิดว่าธรรมชาติของพฤติกรรมที่มันเปลี่ยนไปอย่างมหาศาลแบบนี้ แล้วเบ้าหลอมทางสังคมอันใหม่ที่เราเรียกกันว่า social network platform น่าจะเป็นสิ่งท้าทายใหม่ที่เราจะต้อง engage (ปฎิสัมพันธ์) กับมันในที่สุด&nbsp;</div> <div>Methodology (ระเบียบวิธีวิจัย) อย่างหนึ่งที่ผมสนใจและกำลังทำวิจัยอยู่ก็คือเรื่องของ Big data analytics (การวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไม่ค่อยคุ้นหูสักเท่าไร เพราะข้อมูลมันมีจำนวนมหาศาล มีความเร่งที่นับเป็นมิลลิวินาทีของพฤติกรรมคนที่อยู่ในนั้นทั้งหมด เราจะสามารถประยุกต์เอาเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลหรือการวิเคราะห์แบบใหม่ๆ เข้ามาในศาสตร์หรือสาขาของเราได้แค่ไหน เพราะว่าอีกหน่อยทุกอย่างมันจะผ่าน social network platform เกือบทั้งหมด ซึ่งผมคิดว่าเป็นความท้าทาย แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องมาทบทวนว่า social network platform ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต มันเป็นสองส่วนที่มันต่อท่อหายใจถึงกันและผมคิดว่ามันเป็นความซับซ้อนอันหนึ่งที่ผมเองเวลาที่สอนวิจัยก็ต้องมานั่งนึกว่าเราจะสอนอะไรเด็กนักศึกษาแบบไหนดี หรือเราจะทำงานวิจัยแบบไหนดีกับธรรมชาติของข้อมูลรูปแบบใหม่นี้</div> <div>ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่นักสังคมวิทยาร่วมสมัยที่สนใจเรื่องระเบียบวิธีวิจัยพูดถึงกันมากที่สุดก็คือเรื่อง mixed method (ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม) ผมเคยถามพวกคนที่คร่ำหวอดในการใช้ mixed method ทั้งหลายว่าพวกคุณคิดอย่างไร เขาบอกว่า ปรากฎการณ์ทางสังคมยุคปัจจุบันมี layers (ชั้นของข้อมูล) เยอะมากซ้อนๆ กัน ดังนั้น คุณใช้ methodology อันหนึ่งในการศึกษาหรือ approach layer (เข้าถึงชั้นของข้อมูล) อันหนึ่ง แล้วคุณใช้ methodology อีกอันหนึ่งในการ approach&nbsp; layer อีกอันหนึ่ง แต่ทั้งหมดนี้ทำให้เราต้องมานั่งทบทวนเรื่องของ methodology และ digital behavior กันใหม่อีกทีหนึ่งว่าเราจะ analyze (วิเคราะห์) มันยังไง และเราจะสามารถใช้ finding (ข้อค้นพบ) อันนี้ในแง่มุมของ social sciences (สังคมศาสตร์) อย่างไร ผมคิดว่านี่เป็นความท้าทายที่อาจจะไม่มีคนพูดถึงมากเท่าไร แต่ผมว่าในยุคถัดไป 20-30 ปี เราจะเจอสิ่งเหล่านี้มากขึ้น&nbsp;</div> <div>ล่าสุดเทคโนโลยีที่เราเรียกว่า quantum computer (ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานด้วยศาสตร์ที่เกี่ยวกับทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์) ซึ่งมีราคาแพงและเป็นสิ่งที่ประหลาดอัศจรรย์มาก พูดง่ายๆ คือ ถ้าโลกทั้งใบเป็นโลกของ computer และคณิตศาสตร์ ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ที่เราใช้ อยู่ในระบบที่เรียกว่า bit computer (คอมพิวเตอร์หน่วยเล็ก) มันเข้าใจแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่อยู่ในโลกนี้ แต่อีก 70 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือคือ quantum computer คือเราไม่รู้เลย แต่มีคนทดลองใช้ quantum computer เอาข้อมูลของประชากรที่เรียกว่า census (สำมะโนประชากร) ไปใส่ แล้วปรากฏว่ามัน predict (ทำนาย) หลายๆ อย่างแล้วมันตรง ผมคิดว่าอันนี้เป็นความท้าทายอีกแบบหนึ่งว่าเราจะ embrace (บูรณาการ) เทคโนโลยีที่มันเกี่ยวข้องกับ AI เข้ามาได้อย่างไร สุดท้ายสิ่งหนึ่งที่ผมคุยกับคนที่ทำ AI ที่เราเรียกกันว่า ChatGPT เขาบอกว่าผู้ที่ควบคุม network platform (ช่องทางเครือข่าย) ทั้งหมดไม่ใช่คนอีกต่อไป แต่มันคือ AI ดังนั้นหมายความว่า จริงๆ แล้วทุกวันนี้ AI เป็นผู้ตัดสินว่าจะให้เราเห็นอะไร ทุกอย่างที่ปรากฏออกมาใน Instagram ที่ออกมาใน YouTube ใน TikTok&nbsp; AI เป็นผู้กำหนดทั้งหมด ดังนั้น AI ต่างหากที่เป็นตัวที่เข้ามามีส่วนในการหล่อหลอมพฤติกรรมของคน วิธีคิด อุดมการณ์ ค่านิยม ซึ่งเห็นชัดมากในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่ผ่านมา หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ในเรื่องกาซ่า (Gaza) ก็ตาม AI ที่อยู่ใน social network platform มีส่วนในการหล่อหลอมวิธีที่คน perceive (รับรู้), interpret (ตีความ), หรือ react (ตอบสนอง) ต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ผมคิดว่านี่เป็นข้อท้าทายใหม่ที่เราอาจจะต้องทบทวนกันว่าเครื่องมือ แนวคิดและทฤษฎีที่เรามีทุกวันนี้เพียงพอแค่ไหน หรือจริงๆ แล้วสิ่งที่เรามีอยู่ก็เพียงพออยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเนื่องจากธรรมชาติของพฤติกรรมมันเปลี่ยนไป ทำให้เราอาจจะต้องลองปรับซ้ายปรับขวาดู สิ่งทั้งหมดเหล่านี้คือความท้าทายต่อสังคมวิทยาที่อยู่ในความคิดของผม</div> <div>&nbsp;</div> <div>ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี</div> <div>สิ่งที่แต่ละท่านพูดมาจากประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่มีของแต่ละคนนำมาปะติดปะต่อกันมันอาจจะช่วยทำให้เห็นประวัติศาสตร์ของภาควิชาฯ จากตำแหน่งที่แต่ละคนยืนอยู่ คำถามใหญ่วันนี้อาจจะพูดแค่เรื่องเดียวก็คือ พลังอะไรที่เป็นตัว shape (ก่อรูปก่อร่าง) สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาของ มช. คำถามนี้เป็นคำถามที่ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 ตอนนั้นดิฉันเป็นหัวหน้าภาควิชาฯ และจัดงานสะท้อนย้อนคิดงานประชุมขึ้น ก็มีโจทย์นี้อยู่ในใจและได้สัมภาษณ์อาจารย์หลายท่านซึ่งเป็นอาจารย์เก่าแก่ของภาควิชาฯ อาจารย์หลายท่านเสียชีวิตไปแล้ว มีอาจารย์สุเทพ สุนทรเภสัช อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ อาจารย์ขวัญใจ ไทยทอง อาจารย์นฤจร อิทธิจีระจรัส ซึ่งแต่ละท่านก็ให้แง่มุมที่น่าสนใจมาก โดยส่วนตัวคิดว่าพลังสำคัญที่ shape ภาควิชาฯ ไม่ใช่แค่เรื่องทฤษฎีที่อาจารย์หลายท่านได้ไปเรียนมา แต่การที่สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นสาขาวิชาที่ engage (เข้าไปพัวพัน) กับสังคมการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมมากที่สุดสาขาหนึ่ง พลังภายนอกมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการ shape ประวัติศาสตร์ในแต่ละช่วงของภาควิชาฯ ดิฉันมองพลังนี้ใน 4 ระลอก หรือ 4 กระแส ที่อาจจะไม่ได้ไปในทางเดียวกัน อาจจะต่อสู้ฟาดฟันซึ่งกันและกัน&nbsp;</div> <div>พลังอันแรกเป็นพลังของสิ่งที่เรียกว่า 1) การเมืองในยุคสงครามเย็น สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาตั้งขึ้นมาในฐานะที่เป็นผลผลิตของการเมืองในช่วงสงครามเย็น สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่แรกคือที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นที่ที่ก่อตั้งเป็นลำดับที่สอง คือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เองอยู่ภายใต้บริบททางการเมืองประเภทนี้ คณะสังคมศาสตร์เป็น 1 ใน 4 คณะซึ่งถูกก่อตั้งมาในช่วงแรก อาจารย์ที่มีบทบาทและมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการวางหลักสูตรของภาควิชาของเราคือ อาจารย์เกษม อุทยานิน (ศาสตราจารย์เกษม อุทยานิน) ซึ่งเป็นนักรัฐศาสตร์และนักสังคมวิทยาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ เป็นคณบดีคนแรก ซึ่งเป็นเพียงปีเดียว มีอาจารย์ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ (ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์) มีอาจารย์อานนท์ อาภาภิรมย์ (ศาสตราจารย์อานนท์ อาภาภิรมย์) ซึ่งเป็นนักรัฐศาสตร์และสังคมวิทยาจากจุฬาฯ เป็นหัวหน้าภาคฯ คนแรก อาจารย์สุเทพ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช) ก็จบมาจากสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาฯ ภาควิชาของเราในตอนแรกก่อตั้งเป็นภาควิชาสังคมวิทยา มานุษยวิทยานี่มาทีหลังด้วยซ้ำไป เราอยู่ในกระแสหรือเรียกว่าเป็นผลผลิตของความต้องการของรัฐไทยที่ต้องการที่จะให้มีศาสตร์สาขาวิชาในแขนงต่างๆ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามีความสำคัญเพราะว่าเป็นศาสตร์สาขาวิชาซึ่งเข้าถึงกลุ่มชน เข้าถึงประชาชนในพื้นที่และในท้องถิ่นอันเป็นความรู้สำคัญซึ่งรัฐไทยต้องการจะเข้าถึง ภายใต้สงครามเย็นนั้น สหรัฐอเมริกามีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานของสิ่งซึ่งควรจะถูกเรียนถูกสอนในภาควิชานี้ ไม่เป็นเรื่องบังเอิญที่สหรัฐอเมริกาส่งอาจารย์มาสอนวิชาสำคัญๆ ในภาควิชาติดต่อกันถึง 14 ปี ผ่านโครงการ Fulbright ซึ่งไม่แน่ใจว่าอเมริกาทำสัญญาทำนองเดียวกันนี้ในมหาวิทยาลัยอื่นด้วยหรือไม่ อาจารย์คายส์ (Charles F. Keyes) เป็นหนึ่งในอาจารย์ที่เข้ามาสอนที่นี่ สหรัฐอเมริกาเองไม่เพียงแต่ให้คนมาสอน แต่ยังมีบทบาทในการให้ทุนในการทำวิจัยต่อเนื่องมาจนถึงยุคปลายของสงครามเย็น เราอาจจะได้ยินชื่อของ ARPA (Advanced Research Project Agency—หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่พัฒนาเทคโนโลยีทางการทหารและความมั่นคงแห่งชาติ) ร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller) และแน่นอน ฟอร์ด ฟาวเดชัน (Ford Foundation) เป็นแหล่งทุนสำคัญซึ่งสร้างการเติบโตให้กับคลัสเตอร์งานวิจัยด้านประชากรของภาควิชาฯ ซึ่งถือว่าเป็นคลัสเตอร์งานวิจัยที่สำคัญที่สุดและไม่ได้เป็นงานวิจัยที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นงานวิจัยซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากรัฐภายใต้สหรัฐอเมริกามี agenda (ประเด็นวาระ) ต้องการที่จะคุมกำเนิดประชากรในประเทศโลกที่สาม อันเป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้าน “ภัยคอมมิวนิสต์” ความรู้ด้านประชากรจึงเป็นความรู้ที่สำคัญ จริงๆ ไม่ใช่แค่ มช. คลัสเตอร์นี้เป็นคลัสเตอร์ที่ใหญ่มากในจุฬาฯ และในมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยเช่นกัน Ford Foundation มีความสำคัญในการสนับสนุนทุนวิจัยด้านเกษตรและทรัพยากรบนที่สูง ภายใต้ agenda ของการต้องการเปลี่ยนพื้นที่บนที่สูงให้หันมาปลูกพืชที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจ เช่นเดียวกันกับมูลนิธิเอเชียซึ่งสนับสนุนการทำงานด้านการศึกษาและตีพิมพ์งานศึกษาเกี่ยวกับภาคเหนือของไทย เพราะฉะนั้นเหล่านี้จึงเป็นไม่ใช่แค่งานวิชาการแต่เป็นทุนด้วยที่ shape การเรียนการสอนในภาควิชาของเรา&nbsp;</div> <div>&nbsp;</div> <div>ในรูปขวาสุดคือ อ.คายส์ (Charles F. Keyes) ตรงกลางคือ อ.สุเทพ (ผศ.ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช)&nbsp; ซ้ายสุดคือ หม่อมหลวงจันทร์ (หม่อมหลวงจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี) ช่วงนั้นท่านไปทำงานวิจัยด้วยกัน สนิทสนมกัน จุดเปลี่ยนสำคัญของภาควิชาของเราในยุคปลายของสงครามเย็นเกิดขึ้นประมาณพุทธทศวรรษที่ 2510 คือประมาณ พ.ศ. 2516 เมื่อกลุ่มอาจารย์จาก Cornell University เข้ามาในภาควิชาฯ ดิฉันได้สัมภาษณ์อาจารย์หลายท่าน อ.ขวัญใจ (อาจารย์ขวัญใจ ไทยทอง) เคยให้สัมภาษณ์ว่า “จนถึงยุคตุลา 16 บรรยากาศกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการคิดและตื่นตัว คิดแตกต่างไปจากเดิม นักศึกษาสนใจอ่านมากขึ้น [...] มีผลต่อการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน” (ขวัญใจ ไทยทอง, การสื่อสารส่วนบุคคล, 11 กันยายน 2555) ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมา ดิฉันคิดว่าพลังที่สองที่สำคัญมากก็คือ “พลังนักศึกษา” อีกท่าน อ.ฉลาดชาย (อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์) เคยให้สัมภาษณ์ว่า “นักศึกษามีความสำคัญมากในการตั้งคำถามซึ่งเป็นคำถามที่สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาใน มช. ในตอนนั้นไม่ตอบ หรือหลีกเลี่ยงที่จะตอบ หรือไม่สามารถที่จะตอบ เช่น ปัญหาเรื่องการปราบปรามผู้คนในชนบท มีการเอาระเบิดไปทิ้งในหมู่บ้านม้งที่เพชรบูรณ์ [...] ขณะเดียวกันวิชาที่สอนกันในช่วงนั้นก็ไม่มีวิชาที่เกี่ยวกับการเมืองเลย [...]” (ฉลาดชาย รมิตานนท์, การสื่อสารส่วนบุคคล, 21 สิงหาคม 2555) อ.ฉลาดชาย น่าจะเป็นคนแรกๆ ที่เอาวิชาทางด้านมาร์กซิสม์ (Marxism) มาสอนในภาควิชาฯ&nbsp;</div> <div>โดยสรุป ขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาและประชาชนในการเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของอาจารย์ในภาควิชาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเริ่มมองสังคมไทยในมิติที่มีความขัดแย้งและในมิติที่มีการเปลี่ยนแปลง ดิฉันอยากจะพูดอย่างนี้ว่า อาจารย์ไม่ใช่เป็นผู้ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่นักศึกษาอย่างเดียว พลวัตของการเมืองในแต่ละยุคสมัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษา ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในบริบทของสังคมและการเมืองในแต่ละช่วง มีบทบาทสำคัญในการทำให้หลักสูตรหรือการเรียนการสอนหรือกระทั่งความคิดของอาจารย์ในภาควิชานั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วย ในยุคนั้นมีสัมมนาที่คลาสสิคอันหนึ่งคือ นักศึกษาจัดสัมมนาที่ค่ายลูกเสือ แล้วเชิญบรรดาอาจารย์ทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในยุคนั้น&nbsp; คืออาจารย์บุญสนอง&nbsp; บุณโยทยาน (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน) และอาจารย์ภาควิชาฯ เข้าร่วมด้วย เพื่อพูดถึงสิ่งที่เรียกว่าสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในอนาคต ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระแสทางด้านการเมืองอย่างยิ่งในยุคนั้น และทำให้สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาของ มช. อยู่ใน position (ตำแหน่งแห่งที่) ที่จะให้คำตอบทางการเมืองอะไรหลายๆ อย่างเหล่านี้ก็เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ซึ่งภาควิชาฯ น่าจะมีเก็บไว้ โดยส่วนตัวคิดว่า ถ้าเราเขียนประวัติภาควิชาฯ ควรจะเป็นการประมวลเอาบริบทหรือเหตุการณ์ทางการเมืองซึ่งมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อ vibe (บรรยากาศของสถานการณ์) ของภาควิชาฯ และการเรียนการสอนของภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามาพูดถึงด้วย&nbsp;</div> <div>พลังอันที่สาม เริ่มต้นในพุทธทศวรรษที่ 2530 เป็นต้นมา เป็นพลังที่มาจากชาวบ้าน คือถ้าอันแรกเป็นบริบททางด้านการเมืองของสงครามเย็นที่สหรัฐและรัฐไทยพยายามที่จะทำให้วิชาการที่ไม่ใช่แค่สังคมศาสตร์อย่างเดียว ทุกศาสตร์สาขา สังคมศาสตร์อาจจะมีบทบาทในตำแหน่งแห่งที่หนึ่งๆ เป็นตัว shape การเรียนการสอน พลังนักศึกษาเป็นตัวทำให้การเรียนการสอนนั้นมีมิติทางการเมือง คือเป็นการ politicize (ทำให้เป็นการเมือง) สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา พลังที่สามจึงมาจากชาวบ้าน ก็คือความขัดแย้ง คุณจะอยู่อย่างไรในเมื่อประชาชนในพื้นที่ที่คุณสอนหนังสืออยู่เต็มไปด้วยความขัดแย้งกับรัฐ มีการเดินขบวนเคลื่อนไหวเรื่องสัมปทานป่าไม้เต็มไปหมด มีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้อง ตอนนั้นอาจจะไม่ได้เรียกว่า “สิทธิชุมชน” หรอก มันไม่มีคำที่ articulate (เรียบเรียง/ประกอบรวม/แสดงความคิดได้ชัดเจน) แบบนั้น แต่ความขัดแย้งที่แหลมคมระหว่างประชาชนกับรัฐประเด็นเรื่องสิทธิ ทำให้ทิศทางงานศึกษาของภาควิชาปรับเปลี่ยนไปเพื่อพยายามทำความเข้าใจพื้นที่และความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนซึ่งมีพื้นที่สมรภูมิเป็นพื้นที่ป่าเป็นสำคัญ จึงทำให้ภาควิชาการต้องตอบสนองต่อโจทย์ของสังคม ในยุคนี้อาจจะเรียกว่าเป็นยุคของการต่อรองต่อต้าน แต่ดิฉันคิดว่าถ้ามองในแง่ของศาสตร์แล้วนี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาของ มช. เข้าสู่สภาวการณ์ที่เรียกว่า socially engaged scholarship คือการที่สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา engage กับสังคมเพื่อที่จะแสวงหาคำตอบ ทางเลือก ทางออก ให้กับประชาชนในเขตชายขอบ อาจจะพูดได้ว่าเราเป็นยุคที่ฉีกออกจากกรอบคิดแบบ state centric (ยึดรัฐเป็นศูนย์กลาง) ถ้าเดิมคือ เรารับ agenda ของรัฐมาเพื่อที่จะมาหาว่าประชากรกลุ่มไหนมีบุตรเยอะ ประชากรกลุ่มไหนมีคนมากมาย ฯลฯ เพื่อที่จะเป็นข้อมูลให้รัฐในการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการในนามของสวัสดิการสังคมหรืออะไรก็แล้วแต่ ยุคนี้เป็นยุคที่เราพูดถึงเรื่องสิทธิ สิทธิของชาวบ้านในป่า สิทธิของแรงงานอุตสาหกรรม ผู้หญิง สุขภาพ ศาสนา และจะเห็นงานซึ่งมันเคลื่อนย้ายออกจากลักษณะของ state centric มากขึ้นเรื่อยๆ&nbsp;</div> <div>ประเด็นสุดท้ายที่อยากจะพูดถึงก็คือ พลังอันที่สี่ ซึ่งตอนนี้มัน shape สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาอยู่ รู้สึกหรือไม่ก็แล้วแต่คือสิ่งที่อาจารย์อภิญญา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล) ได้พูดไปในตอนท้ายว่ากระบวนการ privatization (กระบวนการแปรรูปองค์กรรัฐให้กลายเป็นเอกชน) หรือกระบวนการ neo-liberalization (กระบวนการเสรีนิยมใหม่) ซึ่งผลักดันให้วัฒนธรรมการที่เราถูกลดทอนลงเป็นแค่กลจักรหนึ่งๆ หรือกลไกตัวเล็กๆ หนึ่งๆ ที่สอนหนังสือไปเพื่อที่จะเอาแต้มหรือเพื่อที่จะทำแต้มให้มันมากขึ้น เป็นพลังซึ่งมันมีอำนาจและมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการ shape สิ่งที่เรียกว่าศาสตร์ ซึ่งพยายามที่จะ engage กับสังคม เราจะออกจากสภาวะหรือพลังอันนี้ได้อย่างไร ดิฉันคิดว่าสิ่งนี้มันไม่ได้กระทบแค่เฉพาะอาจารย์ แต่มันกระทบนักศึกษาด้วย มันกระทบหลายๆ อย่าง เรากำลังจะกลายเป็น entrepreneurial university (มหาวิทยาลัยแบบผู้ประกอบการ) หรือเป็นแล้วก็ไม่ทราบ มันแทรกเข้ามาในวิชาที่เราสอน พยายามที่จะเปลี่ยนวิธีคิดที่มันควรที่จะ accountable (ที่รับผิดชอบ) กับสังคมหรือกับประชาชนให้เป็นคนที่เป็น entrepreneurial ซึ่งมันเป็นแนวคิดที่ดิฉันมองว่ามันจะไปสู่ทางตันได้ในอนาคต&nbsp;</div> <div>&nbsp;</div> <div>รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์</div> <div>สำหรับผมจะพูดฉีกออกไปอีกแนวหนึ่ง เนื่องจากทุกท่านก็เชี่ยวชาญ ช่ำชองอยู่ในแวดวงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามากันมากมายแล้ว ออกไปกินอาหารรสชาติอื่นบ้าง เพราะฉะนั้นเมนูที่ผมจะเสิร์ฟก็คงไม่ใช่สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ผมมีความรู้สึกว่าภาควิชาเรามีจุดเด่นที่มากอยู่ แต่ในอนาคตหรือจากวันนี้ไปเราก็ต้องผลิตนักศึกษา ผลิตบัณฑิตขึ้นมาใหม่ พวกเขาจะต้องอยู่กับโลกกับสังคมที่เมื่อสักครู่อาจารย์รังสรรค์พูดว่าเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยการทำงานโดยใช้ AI เร่งรัด รวดเร็ว และหลากหลายอะไรทำนองนั้น จุดที่ผมมอง ผมมีความรู้สึกว่าถ้าเราจะต้องสร้างบุคลากรหรือสร้างคนที่อยู่กับสังคมในวันพรุ่งนี้ได้ ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่ค่อยจะเป็นคนเท่าไหร่ จุดสำคัญที่สุดคือผมอยากจะเชิญชวนให้ทุกคนกลับมาสู่ความเป็นคน เรามีวิชามานุษยวิทยาเราเชื่อมั่นว่าพวกเราเข้าใจความเป็นคนเป็นอย่างดีกว่าคนอื่นๆ หมายถึงภาควิชาอื่นหรือคณะอื่น เราสังคมวิทยาเรารู้จักสังคมเป็นอย่างดี เป็นที่หนึ่ง แต่ผมค่อนข้างมั่นใจว่าจริงๆ ลึกๆ แล้วเราไม่ค่อยรู้จักตัวเราหรือคน เพราะฉะนั้นเราจะก้าวเข้าไปสู่ยุค nonhuman หรือ posthuman อะไรก็ตามแต่ ผมมองว่าพื้นฐานเราเป็นคน เราต้องเป็นคนให้จริงๆ เสียก่อน เราจึงจะเข้าไปสู่สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ หรือ อมนุษย์ ได้ ดังนั้น ผมอยากจะเริ่มจากคำว่า “คน” เพราะผมรู้สึกว่าคำนี้เป็นคำสำคัญ เป็นคำที่อาจจะดูไม่มีอะไรแค่ ค. ควาย น. หนู แต่ว่ามันก็คนไปคนมาจนงง ในที่สุดแล้วตกลงเราเป็นใครกันแน่ เรากำลังสับสน มันจึงเกิด concept identity (แนวคิดอัตลักษณ์) แล้วทำให้ยิ่งคิดก็ยิ่งต่อยอด ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีทำให้เกิดความงอกงามทางวิชาการ แต่จุดสำคัญที่ผมรู้สึกว่าพวกเรามักจะมองข้ามก็คือ “ตัวเรา” เพราะฉะนั้นผมอยากจะเชิญชวนให้มองว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ท่ามกลางชีวิตที่เต็มไปด้วยความสับสน ความผันผวน เราอาจจะบอกว่าสังคมทุกวันนี้เป็นสังคมที่แปลก เป็นสังคมที่เข้าใจยาก เป็นสังคมที่สับสน เป็นสังคมที่อยู่แบบตัวใครตัวมัน แต่ผมมองว่าในความเป็นจริงแล้วสังคมมันก็เป็นสังคมของมันอย่างนั้นนั่นแหละ หรือเราจะเรียกมันว่า สังคมเสรีนิยมใหม่ บริโภคนิยมเข้มข้นอะไรต่างๆ จริงๆ มันก็เป็นแค่ความเป็นไปของสังคม มันไม่ได้สับสน สำหรับผมผมมองว่ามันเป็นปกติด้วยซ้ำไป เพราะสังคมต้องมีพลวัต มีความเป็นไปของมันตามยุคสมัย ตามเหตุปัจจัยของมันในแต่ละยุคแต่ละสมัยหรือเทคโนโลยีแต่ละยุคสมัย ถ้าบอกว่าสังคมไม่สับสน ไม่ได้ผันผวน ไม่ได้ผกผัน แล้วอะไรสับสน ผมคิดว่าตัวเรานั่นแหละสับสน แล้วอะไรในตัวเราที่สับสน ก็ความคิดคนไงที่สับสน ความรู้สึกคนไงที่สับสน ความรู้ของคนไงสับสน ตรงนี้ต่างหาก เราก็ไปขนานนามหรือเนมมิ่ง (naming) สังคมในรูปนั้นรูปนี้ที่แตกยอดออกไปเป็นทฤษฎีต่างๆ ซึ่งมันก็ไม่ได้ผิดเพราะมันเป็นความงอกงามทางวิชาการทางปัญญาแบบโลกๆ แต่ผมกลับรู้สึกว่าจุดหนึ่งที่เรามองข้ามและไม่ค่อยให้ความสำคัญกับมันเท่าที่ควรก็คือตัวเราเอง เพราะฉะนั้นจุดนี้เป็นจุดที่ผมมองว่ามีความสำคัญที่ผมอยากจะนำเสนอไว้ในที่นี้ ผมมีความรู้สึกว่าการที่ถ้าเราจะต้องเตรียมคนเพื่อก้าวไปสู่วันพรุ่งนี้ที่เต็มไปด้วยสภาวะที่ไม่แน่นอน ไม่มีใครรู้หรอกว่าจริงๆ มันเป็นยังไง แม้แต่ผมก็ไม่รู้ เพราะอนาคตยังไม่เกิดแต่จุดหนึ่งที่เราจะเตรียมได้คือเตรียมตัวเราเอง ต่อให้สังคมจะเปลี่ยนรูปจนเสียระเบียบ เสียโครงสร้างไปหมด หรือถ้ามันรุนแรงถึงขนาดนั้นแล้ว คนก็ไม่เป็นคนกันอีกต่อไปแล้ว แต่จุดหนึ่งที่ผมคิดว่าจะเป็นตัวต้านทานหรือตัวที่ถ่วงดุลอำนาจของความปรวนแปรนี้ได้ก็คือเราต้องกลับมาสู่ความเป็นคนของเรา คือเราควรสอนให้นักศึกษากลายเป็นคนที่มี “สำนึก” อันนี้เป็นจุดสำคัญ&nbsp;</div> <div>คำว่าสำนึกทุกคนก็รู้จัก มันเป็นคำทั่วๆ ไปที่มีในชีวิตประจำวัน แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่มียาก สำนึกเป็นสิ่งที่ควรต้องปลูกฝังและเมื่อมีสำนึกแล้ว สำนึกคือคิดขึ้นมาได้เอง รู้ขึ้นมาได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องไปพร่ำบ่นพร่ำสอน คิดขึ้นมาได้เองว่าอะไรควรไม่ควร เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นจุดสำคัญที่ผมคิดว่ามันควรจะเป็นคุณลักษณะที่พึงมีของมนุษย์ในอนาคตหรือในปัจจุบันที่จะก้าวไปสู่อนาคต เราจะต้องเป็นคนที่มีสำนึก อย่างที่อาจารย์รังสรรค์พูดไปเมื่อสักครู่ว่า สังคมมันเต็มไปด้วย big data (ชุดข้อมูลขนาดใหญ่) เต็มไปด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้ข้อมูลมากมาย ผมกำลังมองว่าสังคมทุกวันนี้โดยภาพรวมมันคือสังคมความรู้หรือสังคมที่เต็มไปด้วยความรู้หรือพูดอีกแบบหนึ่งคือสังคมที่เต็มไปด้วยผู้รู้ ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าไม่ค่อยโอเค ความรู้เป็นสิ่งที่ดีแต่ความรู้ที่มากไปไม่มีประโยชน์ ทำไมถึงพูดอย่างนั้น ผมปรารถนาที่จะเห็นว่านอกจากสังคมที่เต็มไปด้วยผู้รู้และความรู้แล้ว ผมอยากเห็นสังคมในอนาคตเป็นสังคมของผู้ลงมือทำ หรือผู้กระทำ คือไม่ใช่แค่รู้แล้วมาถกเถียงกันแล้วแยกย้ายกลับบ้านนอน แต่เอาความรู้นั้นไปทำให้เกิดเป็นประโยชน์ทั้งลบทั้งบวกก็ได้ แต่ต้องลงมือทำก่อนอย่าสักแต่ว่ารู้ และจากสังคมผู้รู้หรือสังคมความรู้ ควรจะเปลี่ยนมาเป็นสังคมผู้กระทำหรือผู้ลงมือทำ อย่างนี้ผมว่าจะมีประโยชน์ต่อตัวสังคมจริงๆ มากกว่า เราไม่สามารถขับเคลื่อนสังคมได้แค่ด้วยความรู้ แต่เราขับเคลื่อนสังคมได้ด้วยการลงมือทำจริงๆ และการลงมือทำจริงๆ เราต้องลงมือทำที่ตัวเราเองเป็นคนแรก&nbsp;</div> <div>เพราะฉะนั้นจากสำนึก ขั้นตอนที่หนึ่งคือ เราควรจะสร้างคนให้เป็นคนมีสำนึก อันที่สองคือ ลงมือทำที่ตัวเอง แล้วพวกเขาสามารถเรียกร้องจากโลก จากสังคมได้ไหม เรียกร้องได้ มีสิทธิ แต่ว่าคนแรกที่เขาต้องเรียกร้องไม่ใช่ชาวบ้าน ไม่ใช่คนอื่น เป็นตัวเขาเองที่เขาต้องเรียกร้อง ถ้าเขาอยากได้เรื่องอะไรหรือประเด็นอะไรเขาต้องเรียกร้องที่ตัวเขาเองก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะไปเรียกร้องอันนั้นอันนี้กับคนนั้นคนนี้ เราต้องเริ่มจากตัวเองก่อน ถ้าเป็นอย่างนี้ได้จริงผมว่าการขับเคลื่อนสังคมจะมีพลังมากกว่าแค่ในระดับวาทกรรม คือมันจะเกิดขึ้นจริงได้ มันมีคำๆ หนึ่งที่ผมฟังทีไรแล้วผมรู้สึกไม่ชอบ คือหน่วยงานราชการชอบพูดคำสวยๆ ว่า “ความรู้ต้องคู่กับคุณธรรม” แต่อันที่จริงความรู้ไม่จำเป็นต้องคู่กับคุณธรรม สำหรับผมผมคิดว่าความรู้ต้องคู่กับการลงมือทำมากกว่า เพราะถ้าความรู้ไปจับคู่กับคุณธรรมมันก็จบแค่ระดับวาทกรรม มันไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง มันไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นความรู้ต้องคู่กับการกระทำ&nbsp;</div> <div>และประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากจะบอกก็คือในความเป็นจริงแล้ว ผมบอกว่าเราต้องเริ่มเข้าใจตัวของเราก่อน เพราะผมเชื่อว่ามนุษย์โดยส่วนใหญ่ไม่ได้รู้จักตัวเองจริงๆ เราจึงตกหลุมพรางของกับดักทางความคิดความรู้ต่างๆ ได้ง่ายมาก เมื่อสักครู่อาจารย์ยาย (ผศ.ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล) พูดจบได้น่าสนใจว่าทำยังไงเราถึงจะไม่ตกเป็นเหยื่อของ neoliberalism (ลัทธิเสรีนิยมใหม่) ผมคิดว่าวิธีหนึ่งที่เราจำเป็นจะต้องทำก็คือหันกลับมาใส่ใจตัวเราจริงๆ เมื่อเช้าอาจารย์ยศ สันตสมบัติ พูดถึง 5 ขั้นตอน ซึ่งค่อนข้างน่าสนใจก็คือ ขั้นตอนแรกอาจารย์บอกว่าเราจะต้องสอนนักศึกษาให้รู้จักสะท้อนย้อนคิด ขั้นที่สองเราต้อง demystify หรือขจัดมายาคติหรือรู้เท่าทันมายาคติ จนนำไปสู่ขั้นที่สามคือเปิดพื้นที่ แต่พื้นที่ตรงนี้ผมคิดว่าเรายังไม่จำเป็นต้องเปิดให้คนอื่น เราเปิดให้ตัวเราเองก่อน และเมื่อเราเปิดพื้นที่ให้ตัวเราเองได้แล้วเราถึงจะมีกำลังหรือมีความเป็นไปได้ที่เราจะไปขับเคลื่อนคนอื่น&nbsp;</div> <div>เพราะฉะนั้นโดยภาพรวมผมอยากจะนำเสนอในเชิงสรุปว่าโดยส่วนตัว ผมคิดว่าในวันพรุ่งนี้หรือในอนาคต ถ้าเราจะใช้ชีวิตอยู่กับมันได้อย่างค่อนข้างจะเป็นไปได้หรือไม่เดือดร้อนมากนัก ข้อที่หนึ่งที่จำเป็นต้องมีคือ เราต้องเป็นคนที่มีความรู้ ความรู้ก็สำคัญเพียงแต่เราอย่าไปหลงใหลกับมันจนเกินไป เราต้องมีความรู้ ขั้วหนึ่งคือความรู้ อีกขั้วหนึ่งเป็นเรื่องของการกระทำหรือการลงมือทำ แล้วตรงกลางคืออะไร ตรงกลางก็คือที่ผมพูดไปตั้งแต่ตอนต้นคือต้องมีสำนึก เราต้องเป็นคนที่มีสำนึก สำนึกตัวนี้จริงๆ แล้วมันมีอยู่แค่สองข้อที่จะเอาไปใช้ได้จริงในชีวิตจริง ข้อที่หนึ่งคือเราต้องดูความควรไม่ควรในสิ่งที่เรากำลังทำ ข้อที่สองสมมติถ้าเราจะเรียกมันว่าคุณธรรม&nbsp; มันก็คือการต้องจริงจังกับการถามตัวเองว่า สิ่งที่เราทำกันอยู่ตรงนี้หรือตัวเราทำตอนนี้เป็นสิ่งที่เราทำแล้วเราเดือดร้อนไหม คนอื่นเดือดร้อนไหม ถ้าเราทำแล้วตัวเราไม่เดือดร้อน คนอื่นก็ไม่เดือดร้อนเราก็ทำไปเถอะมันไม่ได้เป็นอะไร นี่คือสิ่งที่ผมเรียกมันว่า คุณธรรม คุณธรรมสำหรับผมในชีวิตจริงก็คือแค่นี้ เราต้องตรงต่อตัวเอง จริงจังกับตัวเอง ว่าสิ่งที่เราทำอยู่มันทำแล้วตัวเราเดือดร้อนหรือเปล่า คนอื่นเดือดร้อนไหม ถ้าตัวเราไม่เดือดร้อน คนอื่นไม่เดือดร้อน ใครจะมองว่ามันถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี ก็ไม่เป็นไร ทำไปเถอะ จริงๆ ชีวิตมันก็มีแค่นี้ แล้วถ้าเราสามารถชัดเจน จริงจังกับตรงนี้ได้ผมว่ามันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของความเป็นคนที่ไม่ว่าในอนาคตจะยุคไหน รูปแบบไหนเราก็จะอยู่ได้&nbsp;</div> Wasan Panyagaew Rangsan Prathumwan Pinkaew Laungaramsri Pirote Kongthaweesak Copyright (c) 2024 Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 36 2 32 46