การบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • สยุมพร กุลสุ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ผศ.ร.อ.ดร.จอมชัย เลิศอมรรัฐ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก โครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ดร. อริษา ลิ้มกิติศุภสิน อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก โครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนประเภทผู้รับบริการ ข้าราชการ ลูกจ้าง ประชาชนผู้รับบริการ โดยการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยการทดสอบเอฟ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบของฟิชเชอร์

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประชาชนที่มาใช้บริการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนโดยรวม ทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ด้านการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ ด้านการปรับปรุงภารกิจ
    ให้ทันต่อสถานการณ์ ด้านการมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า ด้านการเกิดประโยชน์สุขของประชาชน ด้านการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ด้านการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และด้านการอำนวยความสะดวกและ
    การตอบสนองความต้องการของประชาชน
  2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของประชาขนต่อการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อจำแนกตามอายุมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพไม่มีความแตกต่างกัน 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-23