การนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ปราณี แก้วทอง นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ดร.รัฏฐาธิป จันทร์ครุธ ทรัพย์รวงทอง อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก โครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ผศ.ดร.ปัญญา อนันตธนาชัย อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก โครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา 2) เปรียบเทียบผลการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนสายบริหารธุรกิจและสายช่างอุตสาหกรรม  ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา จำนวน 323 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีระดับค่าความเชื่อมั่น 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที สำหรับตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว สำหรับตัวแปรที่มี 3 กลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีการทดสอบฟิชเชอร์

ผลการวิจัยพบว่า 

  1. ความคิดเห็นต่อการนำนโยบายเรียนฟรี15ปี อย่างมีคุณภาพไปปฏิบัติ : กรณี ศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านคุณภาพการศึกษา ด้านการนำนโยบายปฏิบัติ ด้านคุณภาพชีวิตของครอบครัว และด้านงบประมาณอุดหนุนรายหัวตามลำดับ
  2. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อ การนำนโยบายเรียนฟรี 15ปี อย่างมีคุณภาพไปปฏิบัติ :กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ สาขาวิชา รายได้ครอบครัวต่อเดือน และสถานะภาพของบิดา/มารดาไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามชั้นที่กำลังศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-23