ปริทรรศน์ขงจื๊อในการยกย่องมนุษย์ว่าเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
คำสำคัญ:
ทางสายกลาง, ขงจื๊อบทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาของ “ทางสายกลางของขงจื๊อ” พบว่า ทางสายกลาง คือ ความรู้สึกและอารมณ์ ซึ่งเป็นสภาวะของจิตที่ไม่เอนเอียงเมื่อถูกอารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจมากระทบ ขงจื๊อ เห็นว่า ปัญญา (จื๊อ) และความจริงใจ (ซิ่น) กล่าวคือ ปัญญาจะทำให้บุคคลมองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลสามารถมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงได้แล้ว จิตจะรับรู้สรรพสิ่งด้วยใจเป็นกลางไม่ยึดติด รับแล้วปล่อยวาง การดำเนินตามหลักทางสายกลาง จึงเปรียบเหมือนการกลับไปหาจิตเดิม ซึ่งปราศจากการปรุงแต่ง เพราะว่าทางสายกลางของขงจื๊อนี้ ไม่ใช่อะไรอื่น แท้จริงแล้ว ก็คือ สามัญสำนึก ดังนั้นขงจื๊อถือกำเนิดเป็นบุคคลสำคัญในฐานะเป็นครูสอนศาสนา และเป็นผู้สืบทอดและถ่ายทอดจารีตประเพณีและวัฒนธรรมโบราณ ถือกำเนิดมาในระดับสัจธรรมและระดับจริยธรรม เป็นการยกย่องมนุษย์ว่า เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา สอนให้มนุษย์เผชิญและแก้ปัญหาด้วยความเพียรและสติปัญญาของตนที่ขงจื๊อประกาศไว้ในคัมภีร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง (I - Ching) หลักสัมพันธภาพทั้ง 5 และหน้าที่ที่บุคคลพึงปฏิบัติตามหลักสัมพันธภาพทั้ง 5 คือ สามีกับภรรยา บิดามารดากับบุตรธิดา พี่กับน้อง เพื่อนกับเพื่อน ผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง