วารสารไตรศาสตร์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jts <p>วารสารไตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัย วารสารมุ่งเน้นบทความทางด้านรัฐประศาสนศาสร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร</p> <p> </p> <p> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับ สัรัฐประศาสนศาสร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ และทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตามดุลพินิของบรรณาธิการวารสาร</p> <p> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</p> <p> 3) บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p> 4) วิจารณ์หนังสือ(Book Review)ลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายหนังสือ ที่มีเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร</p> <p> กำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ</p> <p> </p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม- ธันวาคม</p> <p>ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่</p> <p> วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจำนวน 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ สำหรับบทความภาษาอังกฤษ บทความละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) สำหรับบทความภาษาอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้น โดยผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้</p> <ol> <li>หากบทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 20%</li> <li>ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสาร</li> <li>บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ</li> <li>ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด (1 เดือน หลังการแจ้งของบรรณาธิการ)</li> </ol> <p>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</p> <p> วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายใน หรือนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสารที่มีความเชี่ยวชาญในสาขา และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์</p> สมาคมหลวงพ่อใหญ่ th-TH วารสารไตรศาสตร์ ความเชื่อมั่นในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชาของประชากร ในเขตกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jts/article/view/272959 <p>ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกัญชา-กัญชงเพิ่มมากขึ้น และพบว่ากัญชา กัญชงมีประโยชน์ในด้านต่างๆส่งผลให้มูลค่าตลาดกัญชาทั่วโลกจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 103.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2567 ปัจจุบันเริ่มมีบริษัทยักษ์ใหญ่กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มของโลก สนใจที่จะใช้สารสกัดจากกัญชาเป็นส่วนประกอบ คาดว่ามูลค่าตลาดกัญชาโลกจะเติบโตและกระจายไปในหลายธุรกิจมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา 2) ศึกษาความเชื่อมั่นของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา และ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชาของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้สารสนเทศสำคัญนำมาประกอบเป็นแนวทางการสร้างความเชื่อมั่นในการบริการอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้สถิติพรรณาในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการสรุป พบว่าปัจจัยส่วนประสมการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา โดยด้านผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลสูงสุด รองลงมา ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยผลทดสอบแสดงให้เห็นว่าปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา ร้อยละ 63.40 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> ภูมิดนัย ลาภธนบูรณ์ทวี Chalermporn Yenyuak Copyright (c) 2024 วารสารไตรศาสตร์ 2024-06-07 2024-06-07 10 1 9 17 การประเมินผลการดำเนินงาน ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jts/article/view/267572 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลในดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ในด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายใน ด้านประชาชนผู้รับบริการ และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ตามแนวคิด Balanced Scorecard เพื่อให้ได้สารสนเทศสำคัญนำมาประกอบเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะได้อย่างมีคุณค่า ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 384 ตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณาในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการสรุป และอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนด สรุปการประเมินผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง จังหวัดกาญจนบุรี ด้านการเงิน พบว่า ในระยะเวลา 3 ปี ย้อนหลัง มีรายรับมากกว่ารายจ่าย ผลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทองด้านกระบวนการภายในภาพรวมพบว่า อยู่ในเกณฑ์ดี คิดเป็นร้อยละ 89.52 ผลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทองด้านประชาชนผู้รับบริการ พบว่า มีระดับผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดี ผลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทองด้านการเรียนรู้และพัฒนา พบว่า มีระดับผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดี มีการวางแผนการพัฒนาบุคลากร และมีการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้บริหารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับกระบวนการดำเนินงานภายในที่มีประสิทธิภาพ และการจะมีกระบวนการดำเนินงานภายในที่ดีได้นั้น บุคลากรของหน่วยงานจะต้องได้รับการพัฒนาให้มีทักษะและความพร้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง</p> ปริยวิศว์ สุวรรณกุลชาติ เฉลิมพร เย็นเยือก Copyright (c) 2024 วารสารไตรศาสตร์ 2024-06-07 2024-06-07 10 1 1 8