https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/issue/feed
วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
2024-12-19T11:16:02+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.องอาจ อินทนิเวศ
hm_aongart@crru.ac.th
Open Journal Systems
<p> วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม ชุมชนหรือท้องถิ่น โดยเนื้อหาในบทความแสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางวิชาการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงพื้นที่ สังคมหรือท้องถิ่น ในศาสตร์ดังต่อไปนี้</p> <p> - สาขาศิลปะและมนุษย์ทั่วไป (General Arts and Humanities)<br /> - สาขาธุรกิจทั่วไป การจัดการ และการบัญชี (General Business, Management and Accounting)<br /> - สาขาสังคมศาสตร์ทั่วไป (General Social Sciences)<br /> - สาขาการศึกษา (Education)<br /> - สาขาวัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies)</p> <p> ทั้งนี้ เนื้อหาในบทความแสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ทางวิชาการให้เกิด ประโยชน์ต่อการพัฒนาหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงพื้นที่ สังคมหรือท้องถิ่น<br /> โดยเปิดรับพิจารณาบทความตลอดทั้งปี ทั้งบทความภาษาไทย และบทความภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ </strong>วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้กำหนดการเผยแพร่วารสารปีละ 2 ฉบับ ได้แก่<br /> ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน)<br /> ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p style="text-align: left;"><strong>หมายเลขวารสาร ISSN (Online) : </strong>2697-5017</p>
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/272192
การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
2024-05-09T14:11:10+07:00
กิติกร ทิพนัด
kitigorn.t@nrru.ac.th
จิรศักดิ์ วิพัฒน์โสภากร
Jirasak.w@nrru.ac.th
ปิยนุช วงศ์กลาง
Piyanoot.w@nrru.ac.th
สุวรรณา บุเหลา
suwanna.b@nrru.ac.th
รัชชนันท์ พึ่งจันดุม
ratchanan.p@nrru.ac.th
รุ่งโรจน์ พงศ์กิจวิทูร
rungrote.p@nrru.ac.th
วันวิสาข์ โชรัมย์
wanvisa.c@nrru.ac.th
วรฤทธิ์ กอปรสิริพัฒน์
worarit.k@nrru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร ประกอบด้วย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 5 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 18 คน นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 68 คน บัณฑิต จำนวน 14 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 11 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̅=4.35, S.D.=0.63) สามารถจำแนกเป็นรายองค์ประกอบการประเมิน ดังนี้</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.การประเมินด้านบริบท ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̅=4.36, S.D.=0.65) </span><span style="font-size: 0.875rem;">โดยเป้าหมายของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง โครงสร้างหลักสูตรมีความเหมาะสม รายวิชาในหลักสูตรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตร และเนื้อหาสาระมีความน่าสนใจและทันสมัย</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̅ =4.26, S.D.=0.70) โดยอาจารย์มีคุณวุฒิ คุณสมบัติ และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชา และมีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม ตลอดจน</span><span style="font-size: 0.875rem;">มีระบบรองรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่เหมาะสม</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3.การประเมินด้านกระบวนการ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̅=4.31, S.D.=0.56) โดยการบริหารจัดการหลักสูตรมีความเหมาะสม มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของรายวิชา และใช้วิธีการที่หลากหลายในการวัดและประเมินผล</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4.การประเมินด้านผลผลิต ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̅=4.45, S.D.=0.59) </span><span style="font-size: 0.875rem;">โดยบัณฑิตของหลักสูตรมีความพร้อมในด้านวุฒิภาวะ สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี มีปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขปัญหา และมีความโดดเด่นด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี</span></p>
2024-12-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/273372
ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธนาคารออมสิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2024-07-16T15:37:40+07:00
สันติ ทองสงฆ์
bigboomthongsong@gmail.com
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
Tweesak.chi@stou.ac.th
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
duongdearn.suw@stou.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พลังงานความร้อนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธนาคารออมสิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 5 แผน (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติเรื่อง พลังงานความร้อน จำนวน 5 แผน (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และ (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for independent samples) ผลการวิจัย พบว่า (1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ( x̅ = 48.94 คะแนน) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ ( x̅ = 41.60 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พลังงานความร้อนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ( x̅ = 24.34 คะแนน) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ( x̅ = 14.23 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05</p>
2024-12-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/271919
แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยว จังหวัดแพร่
2024-06-26T09:43:57+07:00
อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง
amnuayporn0577@gmail.com
รัชวดี หมดมลทิน
amnuayporn0577@gmail.com
เกษราพร ทิราวงศ์
amnuayporn0577@gmail.com
นฤพนธ์ เลิศกาญจนาพร
amnuayporn0577@gmail.com
วัฒนา วณิชชานนท์
amnuayporn0577@gmail.com
พิรานันท์ จันทาพูน
amnuayporn0577@gmail.com
<p>การวิจัยเรื่อง แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะด้านประชากรศาสตร์และแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจปัจจัยผลัก (Push Factors) และปัจจัยดึง (Pull factor) เป็นกรอบการวิจัย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยหาความเที่ยงตรง (Validity) จากผู้เชี่ยวชาญและค่า IOC (Index of Item-objective Congruence) เท่ากับ 0.95 และความน่าเชื่อถือ (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (a-Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach) เท่ากับ 0.80 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานหาค่า (T-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way anova หรือ F-test) ตามวิธีการ LSD (Least Significant Difference) ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาด้านประชากรศาสตร์พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 57.25 % มีอายุ 21-37 ปี (Gen Y) 41.50 % ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี 57.25 % มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน 47.25 % อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว 23.50 % สถานภาพโสด 60 % ผลการวิเคราะห์ด้านแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวด้านปัจจัยผลักโดยภาพรวมมากที่สุด x̅ = 4.23 เป็นประเด็นการพักผ่อนมากที่สุด x̅ = 4.59 ส่วนแรงจูงใจด้านปัจจัยดึงโดยภาพรวมระดับมาก x̅ = 4.06 ซึ่งมีประเด็นสิ่งดึงดูดใจมากที่สุด x̅ = 4.24 ผลการทดสอบสมมติฐานลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีเพศต่างกัน มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน (t= -2.409, Sig.= 0.156) ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และสมมติฐานลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีอายุต่างกัน มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างกัน (F=9.816), (Sig.=0.000) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้นจึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้</p>
2024-12-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/273137
การศึกษาแนวทางการใช้แชทบอทเพื่อช่วยลดความเครียดในกลุ่มนักศึกษา
2024-07-02T14:21:39+07:00
ชนัญญา สร้อยทอง
worayasro@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ แชทบอทเพื่อลดความเครียดในนักศึกษามหาวิทยาลัย ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) โดยการศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้จากแนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้แชทบอทเพื่อลดความเครียดในนักศึกษามหาวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามักเผชิญกับความเครียดจากการเรียน การปรับตัว และความคาดหวังสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและการเรียน แชทบอท ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถโต้ตอบกับนักศึกษาด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติ และให้การสนับสนุนทางอารมณ์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และกลยุทธ์การจัดการความเครียดได้ทันที จากสังเคราะห์องค์ความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมแสดงให้เห็นว่าแชทบอทสามารถช่วยลดความเครียดและส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มวัยรุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้เสนอว่ามหาวิทยาลัยควรพัฒนาและนำแชทบอทมาใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือนักศึกษาในการจัดการความเครียด โดยร่วมมือกับคณาจารย์ นักศึกษา และนักจิตวิทยา เพื่อให้แน่ใจว่า แชทบอทตอบสนองความต้องการเฉพาะของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-12-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย