https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/issue/feed วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2020-11-25T08:51:36+07:00 Wanlop Rathachatranon kupsrj@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>ข้อมูลพื้นฐาน</strong><strong>:</strong> วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Political Science Review) เจ้าของคือ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยินดีต้อนรับคณาจารย์ นักวิชาการ/นักวิจัย และนิสิต/นักศึกษา รวมถึงผู้สนใจทั่วไป ส่งบทความวิชาการ บทความวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ หรือ บทวิจารณ์บทความ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งมีรูปแบบการกลั่นกรองบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิก่อนลงตีพิมพ์ แบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-Blind Peer Review) มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ห้วงระหว่าง เดือนมกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 ห้วงระหว่าง เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม)</p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247360 Presenteeism และ Absenteeism กับภาครัฐไทย 2020-11-24T10:15:10+07:00 ยุทธศักดิ์ คนบุญ dr.wanlop@hotmail.com <p>ปัจจุบันองค์การภาครัฐและเอกชนล้วนมุ่งให้ผู้ปฏิบัติทำงานได้อย่างเต็มสมรรถนะ และเต็มชั่วโมงการทำงาน เพื่อประสิทธิภาพกับความคุ้มค่าต่อต้นทุน แต่กลับขาดความตระหนักในข้อเท็จจริงว่า หากผู้ปฏิบัติมีสุขภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ หรือเจ็บไข้ได้ป่วยขณะทำงานแล้ว ย่อมจะไม่สามารถทำงานได้สุดกำลังตามที่องค์การคาดหวังไว้ได้ ดังนั้น จึงก่อให้เกิดการถกเถียงกันในประเด็นว่า ระหว่างการปล่อยให้ผู้ปฏิบัติมาทำงานขณะที่ป่วย หรือที่เรียกว่า presenteeism กับการยินยอมให้ผู้ปฏิบัติลาหยุดเป็นเวลานานๆ หรือที่เรียกว่า absenteeism เพื่อให้สุขภาพหายดีนั้น สิ่งใดจะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้างมากกว่ากัน?</p> <p>การศึกษาในเรื่องดังกล่าวหลายรายการ ตลอดจนความคิดเห็นของนักวิชาการต่างๆ ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า presenteeism ทำให้องค์การสูญเสียผลผลิตสูงกว่า absenteeism หลายเท่าตัว อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ภาครัฐของไทยยังเน้นควบคุมจำนวนวันลาป่วยของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นหลัก มากกว่าให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการทำงานด้วยสุขภาพดี ที่ผ่านมาเคยมีเพียงการรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐออกกำลังเท่านั้น ซึ่งไม่เห็นผลใดๆ</p> 2020-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247385 ซินเธีย เอ็นโล กับแนวคิดสตรีนิยม ในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 2020-11-25T08:46:23+07:00 ปรีชญา ยศสมศักดิ์ dr.wanlop@hotmail.com <p>บทความชิ้นนี้กล่าวถึงแนวคิดของซินเธีย เอ็นโลในฐานะผู้แผ้วทางให้แนวคิดสตรีนิยมก้าวเข้าสู่พื้นที่ของวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายใต้ข้อโต้แย้งที่ว่าองค์ความรู้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือองค์ความรู้ที่ถูกผลิตจากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตของผู้ชายโดยเฉพาะชายผิวขาว เอ็นโลพยายามท้าทายองค์ความรู้กระแสหลักในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งในเชิงภาววิทยา ญาณวิทยา และระเบียบวิธีวิจัย โดยการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ ความสัมพันธ์ และบทบาทของผู้หญิงในการเมืองระหว่างประเทศ&nbsp; เพื่อที่จะเผยให้เห็นมุมมองการศึกษาที่ขาดหายไปจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลัก</p> 2020-11-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247386 Modern Public Management in Thailand : A Comparative Analysis of Competing Perspectives 2020-11-25T08:51:36+07:00 ไชยนันท์ ปัญญาศิริ dr.wanlop@hotmail.com <p>The main purpose of this article is to conduct a primary research regarding the competing concepts and perspectives in modern Public Management literatures including: New Public Management (NPM), New Public Governance (NPG) and New Public Service (NPS) and to compare the viability of these concepts toward public management in Thailand. &nbsp;The method of study reliesmostly on documentary research on influential academic writings from Public Administration literatures. The article explores these modern Public Management concepts in terms of rationale, assumptions, discursive aspects, evolution and development, strengths and limitations and applicability and so on.&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>The result of the study shows dimensional comparison between various contemporary public management perspectives, including NPM, NPG and NPSin their theoretical backgrounds, perspectives and solutions for public sector development in Thailand.Based on the finding of the study, Thailand should pursue a “hybrid” style of public management consisting of all elements three modern PA perspectives namely, NPM, NPG and NPS as well as maintaining Thai national value of moral and professionalism. The path to growth and sustainability of Thailand involves retaining its traditional value supportive of participatory and responsive form of governance and to keep pace with the postmodernist characteristics ofthe 21<sup>st</sup> century.</p> 2020-11-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247361 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเล่นการพนันไก่ชนของประชาชน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2020-11-24T10:19:50+07:00 สหพล คำนาค dr.wanlop@hotmail.com วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ dr.wanlop@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านกฎหมายกับพฤติกรรมการเล่นการพนันไก่ชน 2) ศึกษาถึงระดับพฤติกรรมของผู้เล่นการพนันต่อการเล่นการพนันไก่ชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่เข้าไปเล่นการพนันไก่ชนในสนามแข่งขันไก่ชนเรืองชัยอยุธยา จำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่เล่นการพนันไก่ชน มีปัจจัยด้านแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านกฎหมายอยู่ในระดับน้อย สำหรับด้านพฤติกรรมการเล่นการพนันไก่ชนของประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเล่นการพนันไก่ชนอยู่ในระดับปานกลาง โดยพฤติกรรมการเล่นการพนันไก่ชน เมื่อเสียเงินจากการเล่นการพนันไก่ชนจะกลับมาเล่นทุกครั้ง เมื่อมีโอกาสมากที่สุด แต่พฤติกรรมของนักพนันไก่ชนจะขโมยเงินของคนในครอบครัวเพื่อที่จะนำไปเล่นการพนันไก่ชนน้อยที่สุด สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมการเล่นการพนันไก่ชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านกฎหมายมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเล่นการพนันไก่ชนของประชาชนกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2020-11-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247362 ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ของประชาชนในเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 2020-11-24T10:23:57+07:00 รวิช เมฆหมอก dr.wanlop@hotmail.com วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ dr.wanlop@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกล่อมเกลาทางการเมืองกับทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี</p> <p>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 324 คน โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในระดับสูง จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีผลต่อทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรด้าน เพศ และอายุ ไม่มีผลต่อทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้การกล่อมเกลาทางการเมือง&nbsp; มีความสัมพันธ์กับทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในทิศทางตามกันค่อนข้างต่ำ <br>ที่ระดับ 0.05</p> 2020-11-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247363 ความรู้ความเข้าใจ ต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ 2020-11-24T10:28:21+07:00 กมลชนก วงศ์สวัสดิ์ dr.wanlop@hotmail.com วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ dr.wanlop@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ ตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่องทางรับข่าวสารกับความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่</p> <p>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ พนักงานที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ปฏิบัติงาน ณ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ จำนวน 280 คนโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในระดับปานกลาง การทดสอบสมมติฐานพบว่าตัวแปรทางด้านอายุ เงินเดือน ระดับตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมีผลต่อความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรทางด้านเพศ ระดับการศึกษา และช่องทางรับข่าวสาร ไม่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2020-11-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247364 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของทีม ในกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2020-11-24T10:32:26+07:00 ณัฏฐนันท์ เฉลิมทิพย์ dr.wanlop@hotmail.com นิตยา เงินประเสริฐศรี dr.wanlop@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของทีมในกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านการบริหารทีมงาน ปัจจัยด้านการสื่อสารภายในองค์กร และปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรกับประสิทธิผลของทีมในกรมโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชกรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 239 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ระดับประสิทธิผลของทีมในกรมโรงงานอุตสาหกรรม อยู่ในระดับมาก</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยทั้ง 3 ด้านมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของทีมในกรมโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยด้านบริหารทีมงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของทีมในระดับปานกลาง สามารถร่วมพยากรณ์ได้ร้อยละ 32 ปัจจัยด้านการสื่อสารภายในองค์กรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของทีมในระดับปานกลาง สามารถร่วมพยากรณ์ได้ร้อยละ 39 และ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของทีมสูง สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 57</p> 2020-11-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247365 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 2020-11-24T10:36:16+07:00 อำนาจ อ่อนฤทธิ์ dr.wanlop@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 ซึ่งครอบคลุมใน 5 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านค่าตอบแทน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ด้านนโยบาย และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับรายด้านอยู่ในระดับสูง คือ ด้านความสำเร็จของงาน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ส่วนรายด้านอยู่ในระดับปาน คือ ด้านค่าตอบแทน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ และด้านนโยบาย</p> 2020-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247366 การตัดสินใจในการเข้าเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจ รุ่น 11 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 2020-11-24T10:39:51+07:00 นงนุช พุทธคุณรักษา dr.wanlop@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการตัดสินใจในการเข้าเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่น 11 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 ซึ่งครอบคลุมใน 4 ด้าน คือ ด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน และด้านค่านิยมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนนายสิบตำรวจรุ่น 11 จำนวน 197 คน โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจในการเข้าเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่น 11 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง สำหรับรายด้านอยู่ในระดับสูง คือ ด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน ด้านการเรียนการสอน และด้านค่านิยมของนักเรียน ส่วนอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านหลักสูตร</p> 2020-11-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247367 ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของ นักเรียนนายสิบตำรวจรุ่น 11 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 2020-11-24T10:43:13+07:00 ธนาทิพย์ สิงห์ปาน dr.wanlop@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่น 11 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนนายสิบตำรวจรุ่น 11 จำนวน 197 คน โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่น 11 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 อยู่ในระดับสูง</p> 2020-11-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247368 ความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ กลุ่มบริการและสนับสนุนการบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2020-11-24T10:47:19+07:00 อรนันท์ กลันทะปุระ dr.wanlop@hotmail.com วัชรพงษ์ หิรัณยะวสิต dr.wanlop@hotmail.com <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ระดับความผูกพันต่อองค์การ ศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจและระดับความผูกพันต่อองค์การกับปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ กลุ่มบริการและสนับสนุนการบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับความผูกพันต่อองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ กลุ่มบริการและสนับสนุนการบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 207&nbsp; คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One Way ANOVA และการทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วย (Pearson’s Product Moment Correlation: r)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า 1) ในภาพรวมบุคลากรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง โดย ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านลักษณะงาน ด้านความมั่นคงในงาน และด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง พบว่า 2) ในภาพรวมบุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง เรียงลำดับตามรายด้านได้ ดังนี้ ด้านความเต็มใจและทุ่มเทในการทำงานเพื่อองค์การ ด้านความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ และด้านความต้องการที่จะดำรงความเป็นสมาชิกภาพขององค์การ และยังพบว่า 3) ความพึงพอใจของบุคลากรมีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> 2020-11-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247369 ความพึงพอใจในการทำงาน ของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฝ่ายโรงงานและอะไหล่ 2020-11-24T10:51:49+07:00 สุธารัฐ พฤฒิวงศ์ dr.wanlop@hotmail.com กิ่งกนก ชวลิตธำรง pok9kk@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฝ่ายโรงงานและอะไหล่ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฝ่ายโรงงานและอะไหล่จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฝ่ายโรงงานและอะไหล่ จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายโรงงานและอะไหล่ มีความพึงพอใจในการทำงานในระดับมาก พิจารณาออกมาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านลักษณะงานมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านทักษะในการทำงาน ด้านเวลาในการทำงาน และด้านความห่างไกลบ้านน้อยที่สุด สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ในด้านภาพรวมกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ที่ต่างกันมีความพึงพอใจในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> 2020-11-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247370 ความผูกพันต่อองค์กรของ พนักงานธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ 2020-11-24T10:57:45+07:00 วาสนา ทีวะเวช dr.wanlop@hotmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน 2. เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน 3. เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล&nbsp; และ&nbsp; 4.&nbsp; เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน&nbsp; กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ&nbsp; พนักงานธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่&nbsp; จำนวน 320 คน&nbsp; เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ&nbsp; สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่&nbsp; ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบความต่างด้วยวิธีของเชฟเฟ่ และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน&nbsp; โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ&nbsp; 0.05&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า พนักงานธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่&nbsp; มีความพึงพอใจในการทำงานอยู่ในระดับมาก และมีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก&nbsp; ผลการทดสอบสมมติฐาน&nbsp; พบว่า&nbsp; เพศต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน&nbsp; ในขณะที่ความพึงพอใจในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กร ในระดับค่อนข้างสูง&nbsp; อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2020-11-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247383 ความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจบริการ ต่อการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 2020-11-25T08:38:00+07:00 วิริยะ ปลื้มจิตต์ dr.wanlop@hotmail.com จุฑาทิพ คล้ายทับทิม dr.wanlop@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจบริการต่อการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจบริการต่อการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำแนกตาม ปัจจัยด้านผู้ประกอบการ ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการรับบริการจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการธุรกิจบริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจบริการที่มาใช้บริการด้านการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการธุรกิจบริการ จำนวน 151 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ T-Test และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว ผู้วิจัยหาความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffé โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.05&nbsp; ผลงานวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจบริการมีความเห็นต่อการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้ประกอบการธุรกิจบริการที่มีปัจจัย ด้านผู้ประกอบการต่างกัน ได้แก่ ทุนการจดทะเบียน รายได้ต่อเดือน ขนาดของธุรกิจ (ด้านจำนวนแรงงาน , ด้านจำนวนทรัพย์สินถาวร) มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศไม่ต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านประเภทของธุรกิจแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัย ด้านประสบการณ์ในการรับบริการจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่แตกต่างความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจบริการต่อการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศพบว่าไม่แตกต่างกัน</p> 2020-11-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/247384 ความคิดเห็นของประชาชนต่อกิจกรรม ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงไฟฟ้าราชบุรี ตำบลบ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2020-11-25T08:42:11+07:00 ขจรศักดิ์ เอี้ยวสุวรรณ dr.wanlop@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงไฟฟ้าราชบุรี ตำบลบ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ตำบลบ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงไฟฟ้าราชบุรี ได้แก่&nbsp; 1. ด้านสิ่งแวดล้อม 2.&nbsp; ด้านสังคมและชุมชน 3. ด้านการศึกษา 4. ด้านสิทธิมนุษยชน 5. ด้านสาธารณสุข และ 6. ด้านศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงไฟฟ้าราชบุรี ในภาพรวมพบว่า อยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.05) สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงานไฟฟ้าราชบุรี ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับที่ประชาชนมีส่วนร่วมบางครั้ง (ค่าเฉลี่ย 3.17) ในขณะที่ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เพศ สัญชาติ อายุ อาชีพ สถานภาพสมรส ระยะเวลาอยู่อาศัย ระดับการศึกษา และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของประชาชนต่อกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงไฟฟ้าราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2020-11-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0