TY - JOUR AU - อัศวชัย, ปณต PY - 2022/06/27 Y2 - 2024/03/29 TI - อัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบยั่งยืนของ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง: - JF - วารสารลวะศรี JA - lawasrijo VL - 6 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/255131 SP - 19-35 AB - <p>งานวิจัยเรื่อง “อัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบยั่งยืนของอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง” เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอัตลักษณ์และความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ในด้านประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มี 3 อัตลักษณ์อันโดดเด่นที่เกิดจากประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่สามารถนำมาเป็นคุณค่าเชิงลึกของท้องถิ่นเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ 3 อัตลักษณ์อันโดดเด่นนี้ประกอบไปด้วย อัตลักษณ์ที่หนึ่ง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นพื้นที่ทางด้านประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการรบที่บ้านสระเกศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในคราวสงครามไทย-พม่าในปี พ.ศ. 2128  จึงปรากฏหลักฐานเป็นสถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของอำเภอที่เกี่ยวข้องกับสงครามในครั้งนั้น คือ วัดสระเกศและวัดมหานาม อัตลักษณ์ที่สอง เทศกาลงานวัดไชโยวรวิหาร เป็นอัตลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมที่มีความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์ควบคู่กับอำเภอไชโย เพราะด้วยความศรัทธาของคนในอำเภอที่มีต่อพระมหาพุทธพิมพ์ และรูปหล่อเหมือนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ของวัดไชโยวรวิหาร อัตลักษณ์ที่สาม ชาวอำเภอไชโยมีภูมิปัญญาการถนอมอาหารประเภทเนื้อและหมู รวมไปถึงพืชผักท้องถิ่น ถือได้ว่าเป็นมรดกทางด้านภูมิปัญญาของชุมชนที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและของฝากที่ขึ้นชื่อของอำเภอ คือ เนื้อและหมุทุบไชโย และผลมะกรูดเชื่อมฝีมือกลุ่มแม่บ้านดงพิกุล</p><p>ส่วนแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โดยใช้อัตลักษณ์ของอำเภอไชโย มีดังนี้1) กลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่ของอำเภอไชโย ด้วยการอนุรักษ์ฟื้นฟูตัวโบราณสถาน และสภาพแวดล้อมรอบๆ พื้นที่การจัดการภูมิทัศน์ในพื้นที่โบราณสถาน พัฒนารระบบการคมนาคม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชมโบราณสถานในอำเภอ เป็นต้น 2) กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาเรื่องราวที่บ่งบอกอัตลักษณ์ของอำเภอ ด้วยการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอคือ วัดไชโยวรวิหาร จัดตั้งหมู่บ้านและแหล่งเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น เป็นต้น  และ 3) กลยุทธ์สื่อสารเพื่อการตลาด ด้วยการสร้างตราสินค้าการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์อำเภอไชโยให้เป็นที่รู้จัก  และใช้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ผสมผสานสื่อต่าง ๆ เป็นต้น</p> ER -