วารสารลวะศรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo <p><strong>วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี <span style="background-color: #ffffff;">ISSN 2586-8705 (Print) , ISSN (online) 2730-3748</span></strong></p> <p>เป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไปและแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผลงานทางบริหารธุรกิจ ประกอบด้วย สาขาการบัญชี สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สาขาการตลาด และสาขาพฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยวารสารได้จัดตีพิมพ์ในรูปแบบออนไลน์</p> วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี th-TH วารสารลวะศรี 2586-8705 <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์<span style="display: inline !important; float: none; background-color: #ffffff; color: #000000; cursor: text; font-family: 'Noto Sans',Arial,Helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็น</span>ลิขสิทธิ์ของ<span style="display: inline !important; float: none; background-color: #ffffff; color: #000000; cursor: text; font-family: 'Noto Sans',Arial,Helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">วารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือ</span>ส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ&nbsp;</p> การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอพบพระ จังหวัดตาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/269173 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอ พบพระ จังหวัดตาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามถามนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 400 คน<strong> </strong>วิเคราะห์ข้อมูลในรูปค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-29 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท ผลการศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยภาพรวม พบว่า มีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว รองลงมา คือ ด้านการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวและด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการให้บริการในแหล่งท่องเที่ยวและด้านกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว</p> รัชนีวรรณ บุญอนนท์ ยุชิตา กันหามิ่ง กันต์กนิษฐ์ จูรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 1 1 13 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในบริบทของการตลาดดิจิทัล: กรณีศึกษานักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/269705 <p>งานวิจัยนี้ได้สำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในบริบทแบบการตลาดดิจิทัลซึ่งเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการในระบบนิเวศดิจิทัลที่แวดล้อมไปด้วยอุปกรณ์ดิจิทัลและวิธีการเข้าถึงที่หลากหลาย ดังนั้นการซื้อขายในการตลาดดิจิทัลจึงแตกต่างจากบริบทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิม งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ภายหลังการจัดเก็บแบบสอบถามจากนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 213 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ซื้อสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัจจัยจากข้อมูลที่เก็บได้ พบว่ามีปัจจัยทั้งหมด 3 ปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในการตลาดดิจิทัลได้ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในการตลาดดิจิทัลเมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการมอบประสบการณ์ใหม่ 2) ปัจจัยด้านการสร้างกระบวนการใหม่และการเชื่อมโยงพันธมิตร และ 3) ปัจจัยด้านการดูแลลูกค้า การวิจัยในอนาคตควรพิจารณาใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มประชากรผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและเสนอภาพรวมที่ครอบคลุมการอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในบริบทการตลาดดิจิทัลในระดับประเทศ รวมถึงควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในบริบทการตลาดดิจิทัลต่อไป</p> รัฐ ใจรักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 1 14 26 วัฒนธรรมและพฤติกรรมองค์กร ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทให้บริการโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง ในเขตนนทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/270943 <p> การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมและพฤติกรรมองค์กร ของพนักงานบริษัทให้บริการโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง ในเขตนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทให้บริการโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง ในเขตนนทบุรี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทให้บริการโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง ในเขตนนทบุรี 4) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมและพฤติกรรมองค์กร ที่ส่งต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทให้บริการโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง ในเขตนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัทให้บริการโทรคมนาคม แห่งหนึ่งในเขตนนทบุรี จำนวน 210 คน ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบ T-Test, สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างจะนำไปเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี LSD และสถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านเอกลักษณ์ เท่ากับ 4.243 2) ปัจจัยพฤติกรรมองค์กรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านพฤติกรรมระดับบุคคล เท่ากับ 4.368 3) ปัจจัยประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านคุณภาพงาน เท่ากับ 4.281 4) ปัจจัย ส่วนบุคคลของพนักงาน ด้านระดับการศึกษา และอายุงานในองค์กรนี้ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทให้บริการโทรคมนาคม แห่งหนึ่งในเขตนนทบุรี 5) ปัจจัยวัฒนธรรมและพฤติกรรมองค์กร ด้านพฤติกรรมระดับบุคคล ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทให้บริการโทรคมนาคม แห่งหนึ่งในเขตนนทบุรี มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านพฤติกรรมระดับกลุ่ม ด้านเอกลักษณ์ ด้านแบบของการสื่อสาร ด้านการสนับสนุนจัดการ และด้านการให้รางวัล ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทให้บริการโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในเขตนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ผกาทิพย์ ล้ำสันเทียะ ธัญปวีณ์ รัตน์พงศ์พร Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 1 27 44 การรับรู้ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์สัญชาติจีนของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/271387 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ความเชื่อ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อรถยนต์สัญชาติจีนของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ความเชื่อ และทัศนคติ ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์สัญชาติจีนของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมติฐานการวิจัย และวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ (Path analysis)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y มีการรับรู้ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดอยู่ในระดับมาก มีความเชื่ออยู่ในระดับมาก มีทัศนคติต่อคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ตราสินค้าสัญชาติจีนอยู่ในระดับมาก แต่มีความตั้งใจซื้อรถยนต์สัญชาติจีนในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์พบว่า ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้ารถยนต์สัญชาติจีน มีอิทธิพลทางตรงและมีอิทธิพลมากที่สุดต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์สัญชาติจีน ขณะที่ความเชื่อมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์สัญชาติจีน โดยผ่านทางอิทธิพลของทัศนคติ นอกจากนี้ ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์สัญชาติจีน โดยอิทธิพลของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดนั้นส่งผ่านไปยังความเชื่อและทัศนคติ</p> ประพันธ์ วงศ์บางโพ Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 1 45 58 การวิเคราะห์ต้นทุน กำหนดราคาขาย และผลตอบแทนผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ของวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/271460 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ของวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 2) กำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ของวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และ 3) วิเคราะห์ผลตอบแทนผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ของวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มีประชากรเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร จำนวน 10 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร จำนวน 4 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ เพี่อรวบรวมข้อมูลทั่วไปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ข้อมูลต้นทุนการผลิต การกำหนดราคาขาย และผลตอบแทน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ 1 ถัง มีต้นทุนการผลิตรวมเท่ากับ 634.80 บาท นำมาบรรจุขวดขนาด 1 ลิตร ได้จำนวน 12 ขวด โดยมีต้นทุนการผลิตต่อขวดเท่ากับ 52.90 บาท 2) ผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ กำหนดราคาขายเท่ากับ 97.87 บาทต่อขวด มาจากการนำต้นทุนการผลิตรวมจำนวน 52.90 บาท บวก กำไรที่ต้องการขั้นต่ำร้อยละ 85 ของต้นทุนการผลิตรวม เท่ากับ 44.97 บาท ทั้งนี้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความต้องการกำหนดราคาขายเท่ากับ 100 บาทต่อขวด เพื่อให้ได้กำไรตามที่ต้องการ 3) ผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์มีปริมาณความต้องการขายจำนวน 100 ขวดต่อเดือน ทำให้มีรายได้จากการขายเท่ากับ 100 บาทต่อขวด หรือ 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี และมีกำไรขั้นต้นเท่ากับ 47.10 บาทต่อขวด หรือ 4,710 บาทต่อเดือน หรือ 56,520 บาทต่อปี</p> นันทนา แจ้งสว่าง นิพพิชฌน์ กมลธีระวิทย์ กรพินธุ์ กลิ่นเกษร Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 1 59 68 อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ประกอบการและความสามารถเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/271617 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ความสามารถเชิงนวัตกรรม และความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถเชิงนวัตกรรม ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร จำนวนกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณ 166 กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก จำนวน 210 คน และได้คัดกรองเหลือ 200 คน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า 1) คุณลักษณะผู้ประกอบการ ความสามารถเชิงนวัตกรรม ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณลักษณะผู้ประกอบการ ด้านความเป็นตัวของตนเอง ด้านความกล้าเสี่ยง ด้านการบริหารจัดการ และด้านความใฝ่ใจในความสำเร็จ ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านความมีนวัตกรรม และด้านความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ไม่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร นอกจากนั้น ความสามารถเชิงนวัตกรรมด้านกระบวนการ ด้านพฤติกรรม และด้านกลยุทธ์ ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01</p> ธีระศักดิ์ ทรัพย์ประเสริฐ วสุธิดา นุริตมนต์ Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 1 69 82 พฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เยลลี่จากเปลือกเชอรี่กาแฟ จังหวัดเชียงใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/272406 <p> งานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เยลลี่จากเปลือกเชอรี่กาแฟ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารจากเปลือกเชอรี่กาแฟ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการบริโภค และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เยลลี่จากเปลือกเชอรี่กาแฟ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยบริโภคเยลลี่ ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเชิงอ้างอิง ได้แก่ ไคสแควร์ และการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มอิสระ </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 26-35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 40,000-50,000 บาท ส่วนใหญ่รับประทานผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากกาแฟ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง และรับประทานเยลลี่อาทิตย์ละ 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการซื้อเยลลี่ ต่อครั้งต่อคนเฉลี่ย 31-40 บาท ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อจากร้านค้าออนไลน์ และคุณสมบัติของ เยลลี่ที่ต้องการ คือ ลดน้ำตาล ซึ่งส่วนใหญ่มีงานอดิเรก คือ ฟังเพลง ดูซีรีย์ และแสวงหาอาหารสุขภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 48.25 เลือกรับประทานเยลลี่รสกาแฟเป็นอาหารทานเล่น ส่วนใหญ่ต้องการทดลองสินค้าใหม่ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความนิยมของรสชาติเยลลี่อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความถี่ในการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากกาแฟ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจรับประทานผลิตภัณฑ์เยลลี่จากเปลือกเชอรี่กาแฟ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ฐาณิญา อิสสระ สุทธิดา ปัญญาอินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 1 83 94 ความพึงพอใจต่อการพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร บนเฟสบุ๊คแฟนเพจ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/271942 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวน พันจิตร บนเฟสบุ๊คแฟนเพจ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ติดตามบนเฟสบุ๊คแฟนเพจต่อการพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้ติดตาม Facebook Fan Page เจ้าของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร จำนวน 373 ราย ประเด็นที่ศึกษาคือ “6Cs” องค์ประกอบแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นนำผลการศึกษาจากประเด็นที่ได้รับ มาพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร บนเฟสบุ๊คแฟนเพจ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจของผู้ติดตามบนเฟสบุ๊คแฟนเพจของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร ใช้การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร บนเฟสบุ๊คแฟนเพจคือ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ข้อมูล และสินค้าได้ตามความต้องการของร้านค้า สามารถแสดงข้อมูลได้อย่างชัดเจน ที่จะให้ผู้ที่ติดตามและสนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลร้านค้าและสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ความพึงพอใจของผู้ติดตามบนเฟสบุ๊คแฟนเพจของของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความพึงพอใจด้านเนื้อหา ด้านองค์ประกอบ และด้านการนำเสนออยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ สำหรับด้านภาพและเสียงอยู่ในระดับมาก</p> มาริดา ชำนาญงาม จิราพร เพชรมั่น อรวรรณ แท่งทอง พันธ์ศักดิ์ พึ่งงาม Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 1 95 107 ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ : บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/273210 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด ทำการศึกษาด้วยแบบสอบถามโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรผู้ปฏิบัติงานบริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 168 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 45 ปี มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีตำแหน่งงานระดับปฏิบัติงาน และมีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด โดยรวมอยู่ระดับมาก ระดับประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด โดยรวมอยู่ระดับมาก และผลการทดสอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด พบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสร้างแรงจูงใจ และด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และโดยมีค่า R<sup>2</sup> = 0.547 หรือร้อยละ 54.7</p> ณัฐิดา ตรีพัฒนา สินีนาถ เริ่มลาวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 1 108 119