วารสารลวะศรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo <p><strong>วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี <span style="background-color: #ffffff;">ISSN 2586-8705 (Print) , ISSN (online) 2730-3748</span></strong></p> <p>เป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไปและแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผลงานทางบริหารธุรกิจ ประกอบด้วย สาขาการบัญชี สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สาขาการตลาด และสาขาพฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยวารสารได้จัดตีพิมพ์ในรูปแบบออนไลน์</p> th-TH <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์<span style="display: inline !important; float: none; background-color: #ffffff; color: #000000; cursor: text; font-family: 'Noto Sans',Arial,Helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็น</span>ลิขสิทธิ์ของ<span style="display: inline !important; float: none; background-color: #ffffff; color: #000000; cursor: text; font-family: 'Noto Sans',Arial,Helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">วารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือ</span>ส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ&nbsp;</p> [email protected] (ผศ.ดร.พรพจน์ จุลสวัสดิ์) [email protected] (นพดล มีคุณ) Sun, 31 Dec 2023 18:35:40 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 พฤติกรรมของผู้บริโภคและกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ประเภทร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/262857 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อ ศึกษากลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น และศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมต่อการตอบสนองโดยตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในกลุ่มธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อในจังหวัดขอนแก่น ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อในร้านสะดวกซื้อ จำนวนครั้งที่เข้าใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ผลการศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ด้านการสื่อสารกับผู้บริโภค ด้านความสะดวกในการซื้อ และด้านความต้องการของผู้บริโภค ตามลำดับ ควรให้ความสำคัญต่อการอำนวยความสะดวกเพราะมีผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการในร้านสะดวกซื้อมากที่สุด และวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้บริโภคจะสามารถโน้มน้าวการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้มากขึ้น ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมต่อการตอบสนองได้ตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในกลุ่มธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อในจังหวัดขอนแก่น พบว่า กลยุทธ์การตลาดทั้ง 4 ด้านตอบสนองได้ตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น คือ ด้านความสะดวกในการซื้อตอบสนองพฤติกรรมที่มุ่งเน้นความสะดวกสบาย ด้านความต้องการของผู้บริโภคตอบสนองพฤติกรรมที่เน้นได้รับการตอบสนองตรงความต้องการ ด้านต้นทุนของผู้บริโภคตอบสนองพฤติกรรมที่มีค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับระดับค่าครองชีพ และด้านการสื่อสารกับผู้บริโภคตอบสนองพฤติกรรมตัดสินใจซื้อเมื่อถูก โน้มน้าวผ่านการสื่อสารที่เข้าถึงตัวผู้บริโภค</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>พฤติกรรมของผู้บริโภค, กลยุทธ์การตลาด, ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อ</p> อร่าม เขตคาม, ฑัตษภร ศรีสุข, นภสินธุ์ พรมวิเศษ Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/262857 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยห่วงโซ่คุณค่าของงานบริการด้านการบินที่ส่งผลต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ในระยะฟื้นตัวหลังวิกฤติโรคโควิด-19 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/262860 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยกิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่าของงานบริการด้านการบิน ศึกษาระดับความคาดหวังของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย และศึกษาปัจจัยกิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่าของงานบริการด้านการบินที่ส่งผลต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ในระยะฟื้นตัวหลังวิกฤติโรคโควิด-19 ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ที่ได้จากวิธีสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสถิติวิเคราะห์ถดถอย ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-30 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นนักศึกษา รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท มีวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อท่องเที่ยว ความคิดเห็นต่อปัจจัยกิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่างานบริการด้านการบินของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย โดยรวมมีค่าระดับมาก ด้านที่มีค่าจากมากไปน้อย ได้แก่ บริการที่ตอบสนองลูกค้า ส่งมอบคุณค่างานบริการ การตลาดและการขาย ความพร้อมปฏิบัติการ และปัจจัยนำเข้าในงานบริการ ตามลำดับ ความคิดเห็นต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการ โดยรวมมีค่าระดับมากที่สุด ลำดับค่าจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านความสะดวก ด้านประสิทธิภาพของระบบเทคโนโลยี และด้านความรวดเร็ว ผลทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยกิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่างานบริการด้านการบินทุกด้านส่งต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ร้อยละ 79 ส่งผลมากสุดคือ บริการที่ตอบสนองลูกค้า รองลงมาคือ การตลาดและการขาย ความพร้อมปฏิบัติการ ปัจจัยนำเข้าในงานบริการทางการบิน และส่งมอบคุณค่างานบริการ ตามลำดับ คาดหวังมากที่สุดคือ ด้านความปลอดภัย รองลงมาคือ ด้านความสะดวก ด้านความรวดเร็ว และด้านประสิทธิภาพของระบบเทคโนโลยี ตามลำดับ</p> นิวัฒน์ ธานินทราวัฒน์, ฑัตษภร ศรีสุข Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/262860 Mon, 01 Jan 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างพหุปัจจัยและความตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางบัญชี: หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักบัญชีในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/264507 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทดสอบผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างพหุปัจจัยและความตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางบัญชี:หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักบัญชีในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ Google form ผ่านระบบออนไลน์จากนักบัญชีในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พหุปัจจัยด้านสมรรถนะของตนเอง ด้านความพึงพอใจต่องานที่ทำ ด้านการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อความตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสถานการณ์โควิด 19 มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างพหุปัจจัยโดยรวมและความตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางการบัญชี และรายด้าน ได้แก่ ด้านสมรรถะของตนเองร่วม ด้านความพึงพอใจต่องานที่ทำ และด้านคุณภาพของข้อมูลที่ได้รับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น นักบัญชีควรเร่งพัฒนาตนเองในประเด็นดังกล่าวเพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีคุณภาพ</p> ทิพยาภรณ์ ปัตถา, สนธิญา สุวรรณราช, สรัชนุช บุญวุฒิ, กาญจนา คุมา, สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/264507 Mon, 01 Jan 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหาร จังหวัดลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/265112 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของคุณภาพการให้บริการ และการตัดสินใจ ใช้บริการ และ (2) เพื่อทดสอบผลกระทบของคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหาร จังหวัดลำปาง โดยทำการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการร้านอาหารในจังหวัดลำปาง จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าร้อยละ การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของคุณภาพการให้บริการ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.84 และระดับความคิดเห็นของการตัดสินใจใช้บริการ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.33 และ 2) ผลการทดสอบผลกระทบ พบว่า ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ประกอบด้วย ความไว้ใจ ความมั่นใจ สิ่งที่สามารถจับต้องได้ ความใส่ใจ และการตอบสนองของลูกค้าร่วมกัน มีผลกระทบเชิงบวกกับการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหาร จังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ</p> กนกพร ศรีวิชัย Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/265112 Mon, 01 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพยากรณ์ยอดขายสินค้าใหม่จากสมุนไพรที่เหมาะสม ด้วยวิธีวิวัฒนาการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/266238 <p>การศึกษาวิจัยเรื่องการการพยากรณ์ยอดขายสินค้าใหม่จากสมุนไพรที่เหมาะสม ด้วยวิธีวิวัฒนาการ ทำการศึกษาการพยากรณ์ยอดขายสินค้าใหม่ของวิสาหกิจชุมชนไพรพฤกษาสมุนไพร เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการผลิตสินค้าใหม่เพื่อจำหน่าย ผลการวิจัยพบว่า ความพยายามในการขายปัจจุบันอยู่ที่ 250 ครั้งต่อปี รายได้ประมาณไว้เป็นดัชนีเปรียบเทียบ คือร้อยละ 100 แทนรายได้ปัจจุบัน หากลดความพยายามทางการขายลงครึ่งหนึ่งคาดการณ์รายได้สินค้าใหม่จะเป็นร้อยละ 77.6252 หากเพิ่มความพยายามทางการขายขึ้นไปร้อยละ 50 รายได้จะอยู่ที่ ร้อยละ 119.2988 และเมื่อสินค้าอยู่ในตลาดจนถึงจุดอิ่มตัวต้องใช้ความพยายามทางการขายถึง 3,000 ครั้ง รายได้จึงจะเป็น ร้อยละ 149.7873 ปริมาณความพยายามทางการขายจะเพิ่มขึ้น ดังวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ ผลการพยากรณ์ยอดขายสินค้าใหม่โดยใช้ข้อมูลยอดขายสินค้าเดิมมาเป็นข้อมูลประกอบในการพยากรณ์คาดการณ์การผลิต สินค้าสมุนไพรใหม่เข้าสู่ตลาดทำให้เห็นแนวโน้มการขายที่เพิ่มขึ้นในปีที่ 1 เพิ่มจาก 4.78 เป็น 4.84 ปีที่ 2 เพิ่มขึ้น จาก 5.54 เป็น 5.71 และปีที่ 3 เพิ่มขึ้นจาก 6.48 เป็น 6.56 ซึ่งวิสาหกิจชุมชน ไพรพฤกษาสมุนไพรจะนำผลการพยากรณ์คาดการณ์นี้ไปใช้ในการผลิตสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด</p> ฐานันดร์ โต๊ะถม, กาญจนา รัตนธีรวิเชียร, จารุวรรณ ลิมป์ไพบูลย์ Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/266238 Mon, 01 Jan 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยด้านอุปสงค์ของผู้บริโภคที่มีต่อการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจฟู้ดทรัค (Food Truck) กรณีศึกษา : เขตห้วยขวาง จตุจักร และลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/268138 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสงค์ของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารฟู้ดทรัคและเพื่อศึกษาแนวทางในการลงทุนในธุรกิจอาหารฟู้ดทรัค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในเขตห้วยขวาง จตุจักร และลาดพร้าว กรุงเทพมหานครที่เคยใช้บริการฟู้ดทรัค (Food Truck) กรุงเทพมหานคร ในเขตดังกล่าว อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, F-test และ Chi-Square โดยนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้ง 101-500 บาท ความถี่ที่ใช้บริการ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยผลการศึกษาปัจจัยด้านอุปสงค์ของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารฟู้ดทรัค พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า มากที่สุดเป็นปัจจัยด้านราคา (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.36) รองลงมาเป็นปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.35) และน้อยที่สุดเป็นปัจจัยด้านราคาสินค้าแทนกัน และด้านแฟชั่น/ความนิยม (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.32) ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการฟู้ดทรัค (Food Truck) ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการฟู้ดทรัคในด้านค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง และด้านความถี่ในการใช้บริการฟู้ดทรัค อีกทั้งอาชีพส่งผลต่อพฤติกรรม ด้านแหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟู๊ดทรัค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> เขม อภิภัทรวโรดม, ณิชกานต์ กลับดี, ปรัชญา แพมงคล Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/268138 Mon, 01 Jan 2024 00:00:00 +0700 ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวของเกษตรกรจังหวัดลพบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/268198 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกข้าวของเกษตรกรจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดลพบุรี 380 ครัวเรือน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากอำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง อำเภอบ้านหมี่และอำเภอท่าวุ้ง อำเภอละ 95 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา หลังจากนั้นจึงนำต้นทุนมาวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการย่อส่วนแนวดิ่ง วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนต่อยอดขาย และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนการปลูกข้าวต่อไร่ของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5,720.66 บาท ในกรณีที่เกษตรเช่าพื้นที่ทำนา และ 4,689.29 บาท ในกรณีที่ดินเป็นของตนเอง เมื่อพิจารณาองค์ประกอบต้นทุนพบว่า กลุ่มวัสดุมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 2,203.46 บาท หรือร้อยละ 38.52 รองลงมา คือ กลุ่มค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,065.53 บาท หรือร้อยละ 36.10 สุดท้ายเป็นกลุ่มค่าแรงงานมีค่าเฉลี่ย คือ 1,451.67 บาท หรือร้อยละ 25.38 เมื่อพิจารณาผลตอบแทนในการปลูกข้าว พบว่า ผลผลิตข้าวเปลือกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.83 เกวียนต่อไร่ ราคาขายเฉลี่ย 8,182.28 บาทต่อเกวียน ซึ่งคิดเป็นเงิน 6,770.96 บาทต่อไร่ คำนวณกำไรสุทธิเฉลี่ย 1,050.30 บาทต่อไร่ และพบว่าอัตราผลตอบแทนต่อยอดขายเฉลี่ย เท่ากับ ร้อยละ 15.51 และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนเฉลี่ย เท่ากับ ร้อยละ 18.36</p> อัมราภรณ์ เพชรวาลี, ธนิดา ภู่แดง, ชมนาด มั่นสัมฤทธิ์, วรรณวิไล โกษะโยธิน Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/268198 Mon, 01 Jan 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตน้ำพริกจากจิ้งหรีด ในเขตพื้นที่ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/268668 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจิ้งหรีดในพื้นที่ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 2. ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตน้ำพริกจากจิ้งหรีด และ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากการผลิตน้ำพริกจากจิ้งหรีด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจิ้งหรีดในพื้นที่ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2566 ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจำแนก เปรียบเทียบ และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ขณะที่ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การคำนวณทางการบัญชี ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดทั้งเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม โดยผลิตได้ประมาณ 1 ตันต่อเดือน รูปแบบการขายมีทั้งแบบสดและแช่แข็งเพื่อจำหน่ายหน้าฟาร์ม และตลาดค้าส่งในจังหวัดสมุทรสาครและปทุมธานี แต่เนื่องจากตลาดมีการชะลอตัวทำให้กลุ่มเกษตรกรตัดสินใจแปรรูปจิ้งหรีดเป็นน้ำพริกนรก และน้ำพริกเผาจิ้งหรีด พบว่า การผลิต 1 ครั้งจะได้น้ำพริกนรกจำนวน 15กระปุก มีต้นทุนรวมเท่ากับ 162.45 บาท ขายได้ราคากระปุกละ 30 บาท หากขายได้ทั้งหมดจะมีกำไรจากการขาย 287.55 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.90 จากราคาขาย ขณะที่การผลิต 1 ครั้งจะได้น้ำพริกเผาจำนวน 16 กระปุก มีต้นทุนรวมเท่ากับ 217.45 บาท ขายได้ราคากระปุกละ 30 บาท หากขายได้ทั้งหมดจะมีกำไรจากการขาย 102.55 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 32.05 จากราคาขาย ทั้งนี้ปัญหาและอุปสรรคที่พบได้แก่ ราคาต้นทุนวัตถุดิบในการผลิต รูปแบบการบันทึกบัญชี และวิเคราะห์ต้นทุน ความเชี่ยวชาญ งบประมาณและอุปกรณ์การผลิตที่อาจไม่เพียงพอต่อการขยายกำลังการผลิต รวมถึงความเข้าใจด้านการตลาดที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการแข่งขันในอนาคต</p> ประภัสสร วิเศษประภา, รัชนิดา รอดอิ้ว Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/268668 Mon, 01 Jan 2024 00:00:00 +0700 การยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/269174 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์และคัดเลือกมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร และ 3) เพื่อสร้างกลไกการยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสังเคราะห์และคัดเลือกมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่น โดยใช้แบบสอบถามถามประชาชนท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 400 คน และจัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 12 คน การยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 12 คน ใช้แบบสอบถามถามนักท่องเที่ยว จำนวน 398 คน และใช้ข้อมูลทุติยภูมิประกอบในการเขียนรายงาน ส่วนการสร้างกลไกการยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ในรูปค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบดังนี้ 1) การสังเคราะห์และคัดเลือกมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่น พบว่า มีมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่นของเมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 6 แห่ง ดังนี้ (1) อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร (2) วัดพระบรมธาตุนครชุม (3) งานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง (4) วัดวังพระธาตุ (5) งานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่ และ (6) ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร 2) การยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ควรเล่าเรื่องผ่านสื่อที่สามารถนำมาเป็นกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วม ดังนั้น ควรมีการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร ผ่านสินค้าของที่ระลึกใน 10 รูปแบบ และ 3) การสร้างกลไกการยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรม ผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า มี 5 แนวทาง ดังนี้ (1) การผลิต (2) การจำหน่าย (3) การประชาสัมพันธ์ (4) การใช้เป็นของที่ระลึก และ (5) การใช้เทคโนโลยี QR Code</p> รัชนีวรรณ บุญอนนท์, ยุชิตา กันหามิ่ง, ประภัสสร กลีบประทุม Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/269174 Mon, 01 Jan 2024 00:00:00 +0700