@article{นีติธรรม_2020, place={Surat Thani, Thailand}, title={ปัญหาทางกฎหมายของความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน}, volume={4}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/240111}, abstractNote={<p>                บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่มีมาตรการริบทรัพย์สินทางแพ่ง โดยกระบวนการร้องขอให้ศาล   มีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งเริ่มต้นอาศัยเพียงเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน และมีมาตรการทางอาญาที่ใช้ลงโทษบุคคลที่ได้กระทำต่อตัวทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน โดยการกำหนดความผิดฐานฟอกเงิน ดังนั้น การจะกำหนด ให้ความผิดอาญาฐานใดเป็นความผิดมูลฐานจึงเป็นหลักการสำคัญของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน</p> <p>              เมื่อได้ศึกษาจึงพบว่า การกำหนดกรอบลักษณะของความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในปัจจุบันครอบคลุมถึงความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดบางลักษณะที่เป็นความผิดเล็กน้อย หรือไม่มีทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการตรากฎหมายที่ต้องการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรมตามความผิดมูลฐาน และอาจเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนเกินความจำเป็นในการตรากฎหมาย ไม่สอดคล้องกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด อีกทั้งยังส่งผลกระทบถึงความคุ้มค่า ด้านงบประมาณ และอัตรากำลังที่ใช้ในการบังคับใช้กฎหมายของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน</p> <p>              ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงสมควรที่จะเสนอให้ปรับปรุงกรอบความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินให้ครอบคลุมเฉพาะลักษณะของความผิดที่มีความสำคัญ เช่น การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่าย เป็นต้น</p>}, number={1}, journal={วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น}, author={นีติธรรม วิทยา}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={33–52} }