@article{สุขสังข์_สระมาลีย์_2020, place={Surat Thani, Thailand}, title={กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภา }, volume={4}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/242927}, abstractNote={<p>             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดของระบบรัฐสภาในฐานะองค์กร  ฝ่ายนิติบัญญัติภายใต้หลักประชาธิปไตย และหลักอำนาจอธิปไตย รวมทั้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญไทย และต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งของวุฒิสภา ซึ่งเป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบของสภาคู่</p> <p>            เมื่อทำการศึกษาจึงพบว่า ระบบรัฐสภาของไทยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากการบัญญัติของรัฐธรรมนูญ     แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง ทำให้ความชอบธรรมของวุฒิสภามีความชัดเจนในที่มาของอำนาจในฐานะที่เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย รัฐธรรมนูญของไทยที่ผ่านมามีการบัญญัติเกี่ยวกับการเข้าสู่ตำแหน่งของวุฒิสภาในหลายรูปแบบ แตกต่างกัน บางฉบับบัญญัติให้มาจากการเลือกตั้ง หรือบางฉบับบัญญัติให้มาจากการแต่งตั้ง รวมทั้งบางฉบับบัญญัติให้มาจากการเลือกตั้งและสรรหา</p> <p>            ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า การดำรงอยู่ของสถาบันวุฒิสภายังคงมีความสำคัญต่อระบอบการเมืองการปกครองของไทย และควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้อำนาจของวุฒิสภา โดยพิจารณาถึงกระบวนการที่มาของการเข้าสู่ตำแหน่งให้มีความสัมพันธ์กับอำนาจหน้าที่ ซึ่งจะทำให้สามารถอธิบายความเชื่อมโยงกับอำนาจอธิปไตยของประชาชนภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง</p> <p>   </p>}, number={2}, journal={วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น}, author={สุขสังข์ มาโนช and สระมาลีย์ สถาพร}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={35–60} }