TY - JOUR AU - รื่นเริง, พิมพ์ใจ PY - 2020/12/29 Y2 - 2024/03/29 TI - การบังคับมาตรการทางจริยธรรมและจรรยาบรรณขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย JF - วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น JA - J.law VL - 4 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/245109 SP - 1-33 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความจำเป็นและแนวทางการนำมาตรการกำกับดูแลตนเอง (Self-regulation) มาใช้ในภาคธุรกิจควบคู่กับมาตรการกำกับดูแล โดยการออกกฎหมายของภาครัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในการประกอบธุรกิจที่กำลังเป็นธุรกิจแบบไร้พรหมแดนอันเนื่องมาจากการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ก้าวหน้ามาประยุกต์ใช้</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า มาตรการกำกับดูแลโดยกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ของรัฐ (Statutory regulation) ไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่วนการนำมาตรการกำกับดูแลตนเองภายใต้หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณขององค์กรธุรกิจมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของภาคธุรกิจเองและยังขาดสภาพบังคับ</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการวางระบบการกำกับดูแลตนเองให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และนำมาใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ของภาครัฐโดยในระยะแรกอาจต้องให้มีสภาพบังคับกึ่งรัฐ แต่ให้องค์กรภาคเอกชนที่มีบทบาทในการส่งเสริมภาคธุรกิจ เช่น สมาคมการค้า หอการค้า สภาอุตสาหกรรม เป็นต้น เป็นผู้ทำการกำกับดูแลแทนภาครัฐโดยการกำหนดประมวลจริยธรรม ประกาศมาตรฐานของการประกอบการ&nbsp; การให้ข้อมูลที่ทันสมัยและการอบรมความรู้ต่าง ๆ การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ประกอบการเพื่อให้ยอมรับและนำระบบการกำกับดูแลตนเองไปใช้โดยสมัครใจ รวมทั้งเพิ่มบทบาทให้องค์กรผู้บริโภคเข้ามาเฝ้าระวัง สอดส่องมิให้ผู้ประกอบการละเมิดจริยธรรมหรือมาตรฐานของการประกอบการ โดยมีองค์กรภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมอีกชั้นหนึ่ง</p> ER -