วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj <p><strong>วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น </strong></p> <p><strong>ISSN (เดิม)</strong><br />ISSN 2586-8802 (Print)<br />ISSN 2651-2157 (Online)</p> <p><strong>ISSN (ใหม่) เริ่มใช้ตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2566</strong><br />ISSN 2985-2552 (Online)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ (Aims)</strong><br />คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นขึ้น เพื่อให้เป็นวารสารวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบของบทความวิชาการและบทความวิจัย เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จัดตีพิมพ์เผยแพร่สู่วงการวิชาการและสาธารณชนผู้สนใจทั่วไป พร้อมทั้งต้องการยกระดับให้เป็นวารสารระดับชาติและนานาชาติ</p> <p><strong>ขอบเขต (scope)</strong><br />วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น จะครอบคลุมเนื้อหาด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ ได้แก่ ด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสังคมวิทยา</p> <p><strong>ประเภทบทความที่รับ (ํTypes of Articles)</strong></p> <p>1. บทความทางวิชาการ (Article) 2. บทความงานวิจัย (Research Article)</p> <p><strong>กำหนดการออกเผยแพร่ (Publication Frequency)</strong></p> <p>มีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ </p> <p>ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม</p> คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Faculty of Law Suratthani Rajabhat University) th-TH วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น 2985-2552 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี </p> <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น</p> หน้าปกหลัง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/269689 <p>-</p> รุ่งฤทัย เต็มไป Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 บทบรรณาธิการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/269690 <p>-</p> ภูภณัช รัตนชัย Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร พื้นที่ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/267885 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และนำเสนอแนวทางการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 60 คน จาก 8 ชุมชน ประกอบด้วย เกษตรกร จำนวน 40 คน องค์กรภาคเอกชน จำนวน 5 คน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน โดยการสรุปข้อมูลจากบันทึกภาคสนามที่เป็นส่วนบันทึกละเอียดหรือบันทึกพรรณนา การวิเคราะห์สรุปข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จำแนกหรือจัดกลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์ส่วนประกอบแล้ว</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลบริบทเชิงพื้นที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรระดับสูง เนื่องจากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ทำการเกษตรแบบหลากหลายและสัมบูรณ์ โดยเฉพาะเกษตรไม้ผลที่มีชื่อเสียงคือ ลองกอง ทุเรียน เงาะ และมังคุด นอกจากนั้นพบว่าตำบลควนศรีตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ประชากรร้อยละ96 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพระอริยะสงฆ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพบูชาคือ พ่อท่านคงแก้ว มีที่พัก ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีคุณภาพ รวมถึงการมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สามารถรองรับการภาคเกษตรได้ตลอดปี</p> <p>ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การฝึกอบรมเกษตรกร การพัฒนากิจกรรมหรือบริการการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการจัดการแหล่งทุน และขั้นปฏิบัติการ โดยการจัดทำบัญชีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร การอำนวยความสะดวก การรักษาความปลอดภัย การสร้างตลาด และการประชาสัมพันธ์</p> เสาวนันท์ ขวัญแก้ว Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 149 170 ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มรองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ศึกษากรณีการตรวจพิสูจน์ การครอบครอง และการจับกุมผู้ครอบครองไก่ป่า https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/261192 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาถึงปัญหาการตรวจพิสูจน์สายพันธุ์ไก่ป่า การครอบครองไก่ป่า และการจับกุมผู้ครอบครองไก่ป่า ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ 2.เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มรองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ศึกษากรณีการตรวจพิสูจน์ การครอบครอง และการจับกุมผู้ครอบครองไก่ป่า</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การครอบครองไก่ป่าของชาวบ้านเป็นการครอบครองที่ผิดกฎหมาย การตรวจพิสูจน์ไก่ป่าของเจ้าหน้าที่ในการอนุญาตครอบครองไม่ได้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยวิธีทางรหัสพันธุกรรม และกรณีที่มีการจับกุมผู้ครอบครองไก่ป่า เจ้าหน้าที่จะพิจารณาไก่จากลักษณะทั่วไปตามความรู้ของตนเองโดยไม่ได้ตรวจสอบโดยวิธีทางรหัสพันธุกรรม นอกจากนี้ผู้เลี้ยงไก่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องไก่ป่าทำให้ครอบครองไก่ป่าโดยที่ไม่ได้ไปแจ้งการครอบครองและขออนุญาตครอบครองไก่ป่า และในการจับกุมดำเนินคดีผู้ครอบครองไก่ป่า หากเป็นการครอบครองไก่ป่าที่อยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการจับกุมและเจ้าหน้าที่มีความยืดหยุ่นในการบังคับใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562</p> <p>แนวทางแก้ไขปัญหาแบ่งออกเป็นสองแนวทางคือ 1. ยังคงให้ไก่ป่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย โดยมีแนวทางดังนี้ 1.1 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยให้ประชาชนมาแจ้งการครอบครองไก่ป่าและขออนุญาตครอบครองได้โดยไม่จำกัดเวลา 1.2.ก่อนนำไก่ป่ามาแจ้งการครอบครองและขออนุญาตครอบครอง และกรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับกุมในข้อหาครอบครองไก่ป่าโดยผิดกฎหมาย ต้องส่งไก่ป่าไปตรวจสอบโดยวิธีการทางรหัสพันธุกรรม 1.3.ให้หน่วยงานของรัฐสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในเรื่องไก่ป่า 1.4.ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจับกุมผู้ครอบครองไก่ป่าที่ครอบครองโดยผิดกฎหมายมีความเข้มงวดในการตรวจสอบจับกุม แนวทางที่ 2 ผู้วิจัยเห็นว่าควรปลดไก่ป่าออกจากการเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง</p> สมชาย บุญคงมาก พิทักษ์ พรหมสนิท Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 1 26 การพัฒนาโทษปรับให้เหมาะสมกับผู้กระทำความผิด https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/264578 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการลงโทษปรับและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษปรับ 2) เพื่อศึกษาโทษปรับตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการนำโทษปรับที่เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดมาบังคับใช้กับประเทศไทย เพื่อให้การบังคับโทษปรับมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการลงโทษ</p> <p>&nbsp;ผู้วิจัยได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้วพบว่าการกำหนดโทษปรับตามกฎหมายของประเทศไทยยังมีปัญหาที่ไม่เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดอยู่ คือ (1) อัตราโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญาเป็นอัตราค่าปรับแบบตายตัวไม่มีวิธีการการคำนวนหาอัตราค่าปรับที่แน่นอน ซึ่งอาจจะกำหนดไว้อัตราเดียวหรือกำหนดเฉพาะอัตราค่าปรับขั้นสูง หรือกำหนดเฉพาะอัตราค่าปรับขั้นต่ำหรือกำหนดทั้งอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงก็ได้ (2) อัตราโทษปรับต่ำมากเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ผู้กระทำความผิดได้รับ ทำให้การลงโทษปรับไม่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษ (3) การกำหนดอัตราค่าปรับตามบทลงโทษไม่ได้นำฐานะทางเศรษฐกิจมาพิจารณา ทำให้ความผิดฐานเดียวกันแต่ผู้กระทำความผิดมีฐานะต่างกันได้รับผลกระทบจากการลงโทษปรับที่ไม่เท่ากัน (4) การใช้มาตรการอื่นแทนค่าปรับยังไม่เหมาะสม ในกรณีผู้กระทำความผิดไม่สามารถชำระค่าปรับได้ แต่เพื่อให้เกิดสภาพบังคับในการลงโทษตามวัตถุประสงค์ของการลงโทษทางอาญาจึงต้องมีการนำมาตรการอื่นมาใช้บังคับ</p> <p>ผู้วิจัยจึงขอนำเสนอแนวทางแก้ไขที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เห็นควรยกเลิกมาตรการกักขังแทนค่าปรับ ควรปรับปรุงและแก้ไขมาตรการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ ควรปรับปรุงและแก้ไขมาตรการให้ทำงานบริการสังคม โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าจะไม่สามารถชำระค่าปรับได้ หรือต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ ทำงานบริการสังคมโดยที่จำเลยไม่ต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องขอเอง และควรมีการใช้โทษปรับตามวันและรายได้ (day fine) มาใช้ในประเทศไทยด้วย</p> พงศ์นิยะ นิยะกิจ อัคคกร ไชยพงษ์ นพดล ทัดระเบียบ Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 125 148 กลไกความสำเร็จของกระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนกองขยะหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/265813 <p>จากสถานการณ์ผู้ต้องขังยาเสพติดในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนติดอันดับโลก แนวทางการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังคดียาเสพติดล้นเรือนจำ และประสบความสำเร็จในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษากลไกความสำเร็จของกระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยชุมชน กรณีศึกษา : ชุมชนกองขยะหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการผู้ป่วยยาเสพติดที่ได้รับการยอมรับในระดับกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) ศึกษากลไกที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้กระบวนการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดด้วยชุมชนประสบความสำเร็จ ผลการศึกษาพบว่า กลไกความสำเร็จ ได้แก่ การมีเจตจำนงค์ร่วมกันประกอบกับมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่ มีการคัดกรอง ประเมินวินิจฉัยผู้ป่วยยาเสพติด เพื่อส่งต่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง มีการประสานงานกับตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารสุข เพื่อช่วยเหลือตามสิทธิมนุษยชน มีการขับเคลื่อนงานยาเสพติดโดยการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับ ติดตาม ดูแล ให้คำปรึกษา ในด้านปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตัดสินใจด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลําดับชั้น ผลการเปรียบเทียบความสำคัญรายคู่ พบว่า ปัจจัยผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการบำบัด (ร้อยละ22) มีส่วนสำคัญสูงสุดในการทำให้กระบวนการบำบัดยาเสพติดด้วยชุมชนประสบความสำเร็จ อันดับ 2 ได้แก่ ปัจจัยบทบาทการสนับสนุนจากชุมชน (ร้อยละ20) อันดับ 3 ได้แก่ ปัจจัยกระบวนการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (ร้อยละ18) ตามลำดับ</p> ชมพูนุท พบสุข Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 27 52 กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการรับรองเพศสภาพ สิทธิและหน้าที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/259825 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพเพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบ วิธีวิทยาการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary research) &nbsp;การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviewing) &nbsp;การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ (Participatory Design, Co-Design) และการรับฟังความคิดเห็น (Hearing)</p> <p>&nbsp;ผลการศึกษา พบว่า เพศสภาพของบุคคลถือว่ามีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกับบุคคลที่เป็นเพศหญิงและเพศชาย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ ให้มีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคที่เท่าเทียมกัน กฎหมายรับรองเพศสภาพจะทำให้บุคคลตามเพศสภาพได้รับความคุ้มครองถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างระหว่างเพศ จึงขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผลการวิจัยได้คำตอบเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการรับรองเพศสภาพ สิทธิและหน้าที่ โดยมีโครงสร้างกฎหมาย ประกอบด้วย คุณสมบัติการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพ วิธีการรับรองเพศสภาพ วิธีการขอเปลี่ยนแปลงเพศสภาพ สิทธิและหน้าที่ของเพศสภาพ และความรับผิดที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพ</p> <p>ข้อเสนอแนะ ให้นำกฎหมายต้นแบบเสนอการพิจารณากับฝ่ายนิติบัญญัติเพื่ออนุมัติหลักการ นำไปเผยแพร่ต่อกลุ่มบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพที่ ผ่านองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และนำเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเพื่อทำการผลักดันกฎหมายต้นแบบให้เกิดกลไกในการคุ้มครองบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพและมีสิทธิและหน้าที่ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น</p> พงศกร ถิ่นเขาต่อ สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 171 198 ปัญหาการบังคับโทษ : ศึกษากรณี การใช้แรงงานผู้ต้องขัง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/266344 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการบังโทษ กรณีการใช้แรงงานผู้ต้องขัง เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการบังคับโทษ ในการใช้แรงงานผู้ต้องขังและการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังในการจ้างงาน เพื่อเสนอแนวทางในการคุ้มครองการใช้แรงงานผู้ต้องขังประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า</p> <p>ดังนั้น</p> พรวิไล อุ้ยดำรงธรรม ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล ธานี วรภัทร์ Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 101 124 กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการก่อการร้าย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/259826 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับการก่อการร้าย เพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบ วิธีวิทยาการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviewing) การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ (Participatory Design, Co-Design) และการรับฟังความคิดเห็น (Hearing)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการก่อการร้ายใช้บังคับอยู่หลายฉบับ ซึ่งไม่ชัดเจน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผุ้บังคับใช้กฎหมายมีความสับสน ไม่สามารถนำกฎหมายที่มีอยู่ไปบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นความสำคัญที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้มีกฎหมายว่าด้วยการก่อการร้ายขึ้นเฉพาะเพื่อให้เป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักสากล ผลการวิจัยได้คำตอบเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการก่อการร้าย โดยมีโครงสร้างกฎหมาย ประกอบด้วย ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย คณะกรรมการประเมินสถานการณ์ก่อการร้ายการประเมินสถานการณ์ก่อการร้าย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย มาตรการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย &nbsp;การเยียวยาผู้เสียหาย บทกำหนดทา และอายุความ</p> <p>ข้อเสนอแนะ ให้นำกฎหมายต้นแบบเสนอการพิจารณากับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่ออนุมัติหลักการ และนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อทำการผลักดันกฎหมายต้นแบบให้มีการนำไปบังคับใช้เพื่อการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายให้หมดไปจากประเทศไทย</p> สหัส ไพภักดิ์ สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 199 228 การบริหารเรือนจำสำหรับผู้ต้องขังหญิงให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/266386 <p>การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงตามข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง (United Nations Rules for the Treatment of Women Prisoners and Non - Custodial Measures of Women Offenders) หรือเรียกว่า <a href="https://www.gotoknow.org/posts/tags/ข้อกำหนดกรุงเทพ">ข้อกำหนดกรุงเทพ</a> (Bangkok Rules) ซึ่งได้รับการรับรองในสมัชชาสหประชาชาติ&nbsp;สมัยที่ 65 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2553 ทำให้ข้อกำหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการและกลายเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่ยอมรับกันในระดับสากลและประเทศต่าง ๆ ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อยกระดับมาตรฐานของกรมราชทัณฑ์ของประเทศนั้นๆ กว่า 10 ปีที่มีการนำข้อกำหนดกรุงเทพมาใช้ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง ก็คงมีปัญหาว่า เรือนจำแต่ละแห่งจะนำข้อกำหนดกรุงเทพไปปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงอย่างไรภายใต้ข้อจำกัดของเรือนจำแต่ละแห่ง ซึ่งปัญหาหลักที่พบเจอในเรือนจำแต่ละแห่งคือ สถานที่คุมขังมีพื้นที่ความจุไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ต้องขัง แม้ว่าจำนวนสถิติผู้ต้องขังจะลดลงตามลำดับ แต่ก็ยังคงจำนวนผู้ต้องขังที่สูงกว่าความจุที่เรือนจำจะรองรับได้ ซึ่งส่งผลต่อการบริหารเรือนจำให้สอดคล้องตามข้อกำหนดกรุงเทพ เมื่อพื้นที่ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ต้องขังจะส่งผลต่อการให้การศึกษา การฝึกวิชาชีพ การพัฒนาจิตใจ รวมทั้งการจัดโปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง</p> <p>บทความวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาการบริหารเรือนจำให้สอดคล้องกับข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง (<a href="https://www.gotoknow.org/posts/tags/ข้อกำหนดกรุงเทพ">ข้อกำหนดกรุงเทพ</a>) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารเรือนจำสำหรับผู้ต้องขังหญิงตามข้อกำหนดกรุงเทพ ศึกษา กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจน บทบาทอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพ&nbsp; และหาแนวทางการบริหารจัดการเรือนจำของผู้ต้องขังหญิงให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพ</p> <p>จากการศึกษา&nbsp; ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารเรือนจำสำหรับผู้ต้องขังหญิง พบว่า &nbsp;สถานที่คุมขังไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ต้องขัง &nbsp;ทั้งในเรือนจำชายที่มีแดนหญิง และทัณฑสถานหญิง เมื่อพื้นที่ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ต้องขัง เรือนจำจึงจำเป็นต้องส่งตัวผู้ต้องขังไปไว้ในเรือนจำใกล้เคียง ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพ ควรมีมาตรการอื่นในการลงโทษผู้ต้องขังหญิงที่มิได้กระทำผิดคดีร้ายแรงแทนโทษจำคุก เช่น การนำรูปแบบบ้านกึ่งวิถี (Halfway Hourse) ซึ่งเป็นกระบวนการสงเคราะห์ผู้กระทำความผิดทั้งที่พ้นโทษแล้ว ผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษหรือลดการลงโทษ ผู้ที่อยู่ระหว่างรอลงอาญา ผู้ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งสามารถรวมถึงผู้ที่ได้รับการชะลอฟ้องได้ด้วยหากมีมาตรการชะลอฟ้อง ซึ่งจะสอดคล้องกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89/2 &nbsp;ให้จำคุกไว้ในสถานที่อื่นตามที่บุคคลดังกล่าวร้องขอหรือตามที่ศาลเห็นสมควรนอกจากเรือนจำหรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายจำคุก ทั้งนี้ ลักษณะของสถานที่ดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งต้องกำหนดวิธีการควบคุมและมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง กำหนดสถานที่คุมขัง ไว้ที่บ้านกึ่งวิถี (Halfway Hourse)</p> นิรมล ยินดี ณรงค์ ใจหาญ Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 77 100 มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/261001 <p>บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคม วัฒนธรรมและจารีตประเพณีที่การอุปการะเลี้ยงดูบุคคลภายในทางครอบครัว 2) ศึกษาเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับการสิทธิและหน้าที่ในอุปการะเลี้ยงดู&nbsp;&nbsp; ผู้สูงอายุตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ 3) เสนอแนวทางในการกำหนดมาตรการอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ อันจะเป็นตัวแบบในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายอันจะประโยชน์ในการพัฒนาทางสังคมที่ยั่งยืน&nbsp; ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า การอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุตามกฎหมายไทยกำหนดตามความสัมพันธ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคู่สมรส บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรมเท่านั้นที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส บิดามารดาซึ่งเป็นผู้สูงอายุตามกฎหมาย แม้ตามความเป็นจริงจะมีการอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุอยู่ในลักษณะอื่นอยู่ก็ตาม ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายของฝรั่งเศส นอกจากสามีภริยาซึ่งเป็นคู่สมรสแล้ว สามีภริยาที่ตกลงทำข้อตกลงในการอยู่กินร่วมกันมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในการอยู่กินร่วมกัน ขณะเดียวกันบุตรที่เกิดมาไม่ว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรมหรือบุตรที่บิดามารดารับรองต่างมีสิทธิหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูต่อบิดามารดา&nbsp; ในมิติการจัดการด้านผู้สูงอายุโดยภาครัฐนของทั้งสองประเทศได้ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้นตามสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยในประเทศฝรั่งเศสเน้นการมีส่วนร่วมอย่างมากของครอบครัวและชุมชนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่&nbsp;</p> <p>สำหรับการสร้างศักยภาพและบทบาทในการอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจุบันผู้คนมีความเข้าใจในเกณฑ์การพิจารณาความเป็นผู้สูงอายุและความเปลี่ยนแปลงทางสังคม หน้าที่ในการดูแลผู้สูงควรเป็นของบุคคลอื่นในครอบครัวนอกจากคู่สมรสและบุตรตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น โดยรัฐควรกำหนดเป็นเงื่อนไขและแนวทางที่ชัดเจน เพื่อให้สมาชิกอื่นได้เข้ามามีส่วนในการอุปการะเลี้ยงดูภายใต้การดูแลของรัฐ</p> <p>ดังนี้ จึงมีข้อเสนอแนะ ให้มีการส่งเสริมให้บุคคลภายในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงเข้ามามีบทบาทในอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ เมื่อมีการอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ตามความเป็นจริงให้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด&nbsp; ทั้งควรให้สิทธิแก่บุคคลอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ในครอบครัว สามารถร้องขอเป็น “ผู้ดูแล”&nbsp; เพื่อทำหน้าที่ให้การอุปการะเลี้ยงดู ช่วยเหลือ ดูแล รวมถึงให้พักอยู่อาศัยแก่ผู้สูงอายุ แล้วแต่กรณี</p> กมลวรรณ อยู่วัฒนะ ภัทรวิทย์ อยู่วัฒนะ ไพบูลย์ ชูวัฒนกิจ Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 53 76 สารบัญ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/269682 <p>-</p> รุ่งฤทัย เต็มไป Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 บทความวิชาการ สิทธิชุมชน : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/264363 <p>บทความฉบับนี้ มุ่งศึกษาแนวคิดว่าด้วยเรื่องสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญ ความหมาย หลักการสำคัญ รวมถึงการยกตัวอย่างกรณีศึกษาการใช้สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นในมิติการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และป่าของชุมชนท้องถิ่น</p> <p>สิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พุทธศักราช2550 และ พุทธศักราช 2560 ได้มีการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิในอำนาจอันชอบธรรมจัดการตนเองทุกมิติไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประเพณี วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ชุมชนมีระบบสวัสดิการที่มั่นคงบนฐานทุนทรัพยากร โดยมีปัจจัยสนับสนุน 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และปัจจัยด้านการเงิน เพื่อให้ชุมชนสามารจัดการวางแผน จัดการองค์การ บังคับบัญชาประสานงาน และ ควบคุมการดำเนินงานด้วยกลไกการรวมกลุ่มเครือข่าย</p> <p>อย่างไรก็ตามในการศึกษาแนวคิดสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นควรมีการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงชุดความรู้ความจริงที่เป็นปรากฏการณ์ของชุมชนท้องถิ่นตามบริบทของพื้นที่ที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะตัว</p> อัศวลักษ์ ราชพลสิทธิ์ พินิต จันทน์เสนะ กาญจนา จันทน์เสนะ ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี สุจินต์ เกิดสมบูรณ์ Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 229 246 ส่วนหน้าวารสาร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/269687 <p>-</p> รุ่งฤทัย เต็มไป Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 คำแนะนำสำหรับผู้เขียน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/269688 <p>-</p> รุ่งฤทัย เต็มไป Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 7 2 247 265