วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj <p><strong>วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น </strong></p> <p><strong>ISSN (เดิม)</strong><br />ISSN 2586-8802 (Print)<br />ISSN 2651-2157 (Online)</p> <p><strong>ISSN (ใหม่) เริ่มใช้ตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2566</strong><br />ISSN 2985-2552 (Online)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ (Aims)</strong><br />คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นขึ้น เพื่อให้เป็นวารสารวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบของบทความวิชาการและบทความวิจัย เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จัดตีพิมพ์เผยแพร่สู่วงการวิชาการและสาธารณชนผู้สนใจทั่วไป พร้อมทั้งต้องการยกระดับให้เป็นวารสารระดับชาติและนานาชาติ</p> <p><strong>ขอบเขต (scope)</strong><br />วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น จะครอบคลุมเนื้อหาด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ ได้แก่ ด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสังคมวิทยา</p> <p><strong>ประเภทบทความที่รับ (ํTypes of Articles)</strong></p> <p>1. บทความทางวิชาการ (Article) 2. บทความงานวิจัย (Research Article)</p> <p><strong>กำหนดการออกเผยแพร่ (Publication Frequency)</strong></p> <p>มีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ </p> <p>ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเสนอบทความ และค่าตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสาร</p> <p><strong>ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) </strong><strong>ด้วยรูปแบบ Semi-Blind Peer Review เฉพาะสาขานิติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 คน</strong></p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี </p> <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น</p> j.sociallaw@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูภณัช รัตนชัย) nongkran.jew@sru.ac.th (นางนงคราญ จิวจีรชยา) Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ส่วนหน้าวารสาร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/273524 <p>ส่วนหน้าวารสาร</p> นางสาวรุ่งฤทัย เต็มไป Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/273524 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/273525 <p>บทบรรณาธิการ</p> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูภณัช รัตนชัย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/273525 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาความรับผิดทางวินัยและความรับผิดทางละเมิดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/268662 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับความรับผิดทางวินัยและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการกระทำความผิดทั้งวินัยข้าราชการและกระทำผิดทางละเมิดได้ และอาจต้องรับผิดจากการกระทำโดยประมาทและหากเกิดเสียหายแก่ราชการร้ายแรงย่อมมีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงด้วยแม้การกระทำนั้นจะกระทำโดยขาดเจตนา หรือประมาทแต่ไม่ถึงขั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และไม่ถึงกับก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรงก็ตาม แต่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 บัญญัติให้การกระทำนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแม้จะกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมิใช่เป็นการเฉพาะตัว ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำต้องรับโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงเช่นเดียวกัน ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ซึ่งจะต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัวก็ต่อเมื่อกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น</p> <p>ข้อเสนอแนะการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจมีความผิดวินัยและความรับผิดทางละเมิดได้ หากแต่ผลแห่งความรับผิดของกฎหมายทั้งสองฉบับแตกต่างกัน ส่งผลให้ระดับการลงโทษไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น กฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาฯ ควรวางหลักความรับผิดของผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความเหมาะสม เป็นธรรม และเช่นเดียวกับเจตนารมณ์แห่งกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่</p> นายพีระพงศ์ ธราเดชสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/268662 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง กรณีการถือหุ้นสื่อของนักการเมือง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/268721 <p>บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาของกฎหมายลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง กรณีของการถือหุ้นสื่อของนักการเมือง ตามที่มีปรากฏในกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 โดยเปรียบเทียบกฎหมายการถือหุ้นสื่อของนักการเมืองของประเทศประชาธิปไตยตะวันตก</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า บทบัญญัติลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งกรณีของการถือหุ้นสื่อดังกล่าว มิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นไปในลักษณะของนิตินิยมล้นเกิน ที่ยึดรูปแบบมากกว่าเนื้อหา ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการกลั่นแกล้งและหาผลประโยชน์ทางการเมือง.</p> <p>ผู้เขียนตั้งข้อเสนอแนะกฎหมายการถือหุ้นสื่อของนักการเมือง ที่ปรากฏในประเทศตุรกี, ประเทศบราซิล, ประเทศอิตาลี, ประเทศเยอรมัน,ประเทศสวีเดน, ประเทศออสเตรเลีย ประเทศประชาธิปไตยตะวันตกมักจะไม่ห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของสื่อเพื่อรักษาหลักเสรีภาพในการแสดงความเห็นและความหลากหลายหรือความเป็นพหุนิยมในสังคมมักจะไม่ห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของสื่อเพื่อรักษาหลักเสรีภาพในการแสดงความเห็นและความหลากหลายหรือความเป็นพหุนิยมในสังคม</p> นายมารุตพงศ์ มาสิงห์ , รองศาสตราจารย์พัฒนะ เรือนใจดี Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/268721 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ก่อนรัฐประหารครั้งที่ 14 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/266991 <p>บทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งนำเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและการเมืองบางประการเพื่อยับยั้งการรัฐประหารครั้งที่ 14 มิให้เกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยนำแนวคิดวงจรรัฐประหารในการเมืองไทยที่มาจากแนวคิดทางการเมืองของชัยอนันต์ สมุทวณิช มาเป็นฐานคิดสำคัญในการเขียนบทความวิชาการเรื่องนี้</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า นับแต่การปฏิวัติการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน(2567) เกิดรัฐประหารในประเทศไทยถึง 13 ครั้ง โดยคำกล่าวอ้างของคณะผู้ก่อการเพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน คือ รัฐบาลพลเรือนไม่สามารถแก้ไขวิกฤต เศรษฐกิจ การคอร์รัปชันและความขัดแย้งทางการเมืองจนส่งผลให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงของประชาชนในสังคม สถาบันทหารจึงจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงการเมืองการปกครองเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบสุขและความสามัคคีของคนในชาติ</p> <p>ผู้เขียนจึงเสนอว่า การยับยั้งวงจรรัฐประหารไม่ให้เกิดซ้ำเป็นครั้งที่ 14 สามารถทำได้โดยปฏิรูปกองทัพแยกทหารออกจากการเมือง ยกระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้ปวงชนชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ในการต่อต้านและยับยั้งการรัฐประหาร บรรจุหลักสูตรพลเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษาเพื่อให้เยาวชนความตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาระบอบประชาธิปไตย</p> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐดนัย พยัฆพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/266991 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 สารบัญ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/273526 <p>สารบัญ</p> นางสาวรุ่งฤทัย เต็มไป Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/273526 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 คำแนะนำสำหรับผู้เขียน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/273527 <p>คำแนะนำสำหรับผู้เขียน</p> นางสาวรุ่งฤทัย เต็มไป Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/273527 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 หน้าปกหลัง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/273528 <p>หน้าปกหลัง</p> นางสาวรุ่งฤทัย เต็มไป Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/273528 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการออกแบบองค์กรและกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/268088 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบองค์กรและวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งองค์กรจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองได้ดังที่ตั้งเจตนารมณ์ไว้ เกิดสภาพการณ์ “เผด็จการทางรัฐสภา” นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง และการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ก็ไม่สามารถป้องกันและยุติความขัดแย้งทางการเมืองได้ จึงเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 3 ปี กว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 แต่ก็ไม่ใช่กุญแจสู่ประชาธิปไตยซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและพฤติการณ์ที่ปรากฏของสมาชิกรัฐสภาเสียงข้างมากในการลงมติต่อร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึง “อุปสรรคเชิงโครงสร้าง” ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะหากเป็นการแก้ไขทั้งฉบับเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ย่อมเกิดแรงต้านภายในระบบการเมืองสูงมาก ส่งผลให้ท้ายที่สุดการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่อาจเกิดขึ้นได้</p> <p> ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า สมาชิกองค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญควรมีที่มาจากสมัชชาแห่งชาติโดยสมาชิกแต่ละจังหวัดเลือกกันเองให้เหลือจังหวัดละ 10 คนและให้สมาชิกรัฐสภาเลือกจังหวัดละ 1 คน รวมกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน รัฐศาสตร์และการร่างรัฐธรรมนูญอีก 22 คน รวมเป็น 99 คน และมีกระบวนการจัดทำที่เน้นการมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอน ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาและมีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนใช้บังคับ</p> ดร.ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/268088 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการควบคุมสิทธิในที่ดินจากการปฏิรูปที่ดิน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/268067 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิดและปรัชญาเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เข้าใจถึงเจตนารมณ์และเหตุผลของการจำกัดสิทธิในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และข้อเสนอแนะเพื่อให้การควบคุมสิทธิในที่ดินจากการปฏิรูปมีประสิทธิภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การควบคุมสิทธิในที่ดินยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการควบคุมการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เกษตรกรได้รับสิทธิในที่ดินจากการปฏิรูปได้ เพราะมิได้กำหนดให้เกษตรกรที่ได้รับโอนหรือรับมอบที่ดินไปแล้วต้องใช้ที่ดินเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว แต่อาจกำหนดเป็นเขตชุมชนหรือเพื่อกิจกรรมอื่น ๆ ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจและแสวงหากำไร</p> <p> ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ต้องแก้ไขพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 ให้ชัดเจนถึงผู้โอนและผู้รับโอนให้ชัดเจนมากขึ้นและกำหนดมาตรการในการลงโทษกรณีฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้มาตรการทางกฎหมายอื่น ๆ เช่น กฎหมายผังเมือง กฎหมายภาษี เป็นต้น และการแก้ไขสัญญาเช่าซื้อที่ดินโดยการกำหนดบทลงโทษในกรณีฝ่าฝืนสัญญาให้ชัดเจน เพื่อแก้ไขปัญหาการควบคุมสิทธิในที่ดินดังกล่าว</p> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุล Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/268067 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/271674 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีกฎหมาย หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 และ3) เพื่อศึกษาหาแนวทาง ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้เหมาะสมต่อไป</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2562 แต่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำกองทุนเป็นการเฉพาะเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ในกระบวนการการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน และมาตรการทางกฎหมายในการกำหนดมาตรฐานผลผลิตและการให้บริการของวิสาหกิจ ซึ่งพบว่าบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว มิได้กล่าวถึงมาตรการการกำหนดมาตรฐานผลผลิตและการให้บริการของวิสาหกิจชุมชนไว้ เพื่อให้ผลิตผลผลิตและการบริการของวิสาหกิจชุมชนเป็นที่น่ายอมรับ น่าเชื่อถือ และเกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการ</p> <p>ดังนั้น จึงควรมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 เพื่อใหเกิดความเหมาะสมซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน ท้องถิ่น และประเทศต่อไป</p> ดร.เยาวพา กองเกตุ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/271674 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์: ศึกษากรณีการใช้รูปภาพหรือวีดิทัศน์ที่มีการปรับแต่ง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/270232 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ วิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ และหาแนวทางในการพัฒนากฎหมายของประเทศไทยให้มีความครอบคลุมและเหมาะสมในการคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับการเข้าถึงการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ในการนำรูปภาพหรือวีดิทัศน์ที่มีการปรับแต่งมาใช้ในการโฆษณา ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการนำกฎหมายหลายฉบับมาปรับใช้ และมาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะนำมาใช้คุ้มครองผู้บริโภคในกรณีดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่ประเทศนอร์เวย์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ผู้บริโภคทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรูปภาพหรือวีดิทัศน์ที่นำมาใช้ในการโฆษณาอย่างถูกต้อง</p> <p>ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า ควรบัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ไว้เป็นการเฉพาะ ในการแสดงเครื่องหมายหรือข้อความกำกับรูปภาพหรือวีดิทัศน์ที่มีการปรับแต่งมาใช้ในการโฆษณา เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสในการโฆษณา ตลอดจนควรให้ความรู้และสร้างทัศนคติเกี่ยวกับมาตรฐานความงามที่ถูกต้อง รวมทั้งหน่วยงานของรัฐควรดำเนินการเชิงรุก เพื่อกำกับดูแลและตรวจสอบการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม</p> นางสาวสุธีราภรณ์ แสงจันทร์ศรี , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมุข สุศีลสัมพันธ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตยา โภคสุทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/270232 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแบบจัดจ้าง: กรณีศึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/271247 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการจัดจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยมุ่งเน้นไปที่งานรักษาความปลอดภัยซึ่งดำเนินงานโดยบริษัทเอกชน กรณีศึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขหรือข้อขัดข้องที่เกี่ยวกับกฎหมายรวมไปถึงระเบียบ และพัฒนามาตรการรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และสร้างความสงบสุข</p> <p>จากการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของธนาคารแห่งประเทศไทย พบปัญหาหลักสองประการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัย ได้แก่ ความซับซ้อนของกฎหมาย และการขาดการฝึกอบรมอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดช่องว่างและประสบปัญหาในกระบวนการจัดจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และส่งผลต่อมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง</p> <p>ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัยของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ (1) พัฒนากฎหมายควบคุมมาตรฐานผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย (2) พัฒนาระบบการฝึกอบรม และ (3) พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และมาตรฐานการจ้างงาน การยกระดับระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อปกป้องบุคคล สถานที่ ข้อมูลข่าวสาร และทรัพย์สินจากภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ซึ่งแนวทางที่เสนอในบทความนี้ จะช่วยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับบุคคล สถาบันการเงิน และระบบเศรษฐกิจโดยรวม</p> นายธนาธิป นงค์นวล , รองศาสตราจารย์ พันตำรวจเอกหญิง ดร.ศิริพร นุชสำเนียง Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/271247 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ: ศึกษากรณี คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/268193 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาท หน้าที่ อำนาจ และสถานะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (2) วิเคราะห์ปัญหาการใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และ (3) นำเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า การกำหนดให้มีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ อาจมีความ ไม่มั่นคง เนื่องจากมีกลุ่มที่เสียประโยชน์ต้องการจำกัดอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และพบว่ากฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีปัญหาบางประการที่อาจเป็นอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดระยะเวลาในการไต่สวนที่ยาวนาน การไม่เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลปกครอง และข้าราชการอัยการให้ประชาชนทราบ</p> <p>ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยกำหนดหลักการเรื่ององค์กรอิสระไว้อย่างกว้าง ๆ การจะกำหนดให้องค์กรใดเป็นองค์กรอิสระ ให้จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ และแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับการไต่สวน การดำเนินการต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกกล่าวหา การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และการให้เจ้าหน้าที่ที่ถูกดำเนินคดีร่วมกับผู้บังคับบัญชาสามารถอ้างพยานบุคคลในการไต่สวนได้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561 ให้ผู้ถูกร้องสามารถนำบุคคลอื่นหรือทนายความอยู่ด้วยในการให้ปากคำกับพนักงานเจ้าหน้าที่ได้</p> พลตรี ไพโรจน์ มณีอ่อน Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/268193 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการยุติธรรมทางอาญากับปัญหาการคอร์รัปชันทางการเมืองในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/266997 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ การคอร์รัปชันทางการเมืองแล้วสร้างข้อสรุปเป็นหลักทั่วไป ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นำแนวความคิดและทฤษฎีด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญามาใช้ในการแก้ไขปัญหา และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อต่อสู้ ป้องกัน ป้องปราม และปราบปรามการคอร์รัปชันทางการเมืองในอนาคต</p> <p>ผลการวิจัยเชิงคุณภาพทั้งโดยวิจัยเอกสารวิเคราะห์คำพิพากษาและ โดยศึกษาเฉพาะกรณีคดีตัวอย่างพบว่า ปรากฎการณ์การคอร์รัปชันทางการเมืองของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีลักษณะธุรกิจการเมือง ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม จริยธรรมทางการเมือง ความชอบธรรมทางการเมือง ครอบงำการตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจรัฐ และความเสื่อมโทรมทางการเมือง จึงถูกควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษจำคุกและให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน</p> <p>ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ กลั่นกรองคุณสมบัติที่เหมาะสมและไม่มีลักษณะต้องห้าม มีความชอบธรรมขณะดำรงตำแหน่งทางการเมือง กำหนดทิศทางลดละเลิก คอร์รัปชันอย่างจริงจัง จัดระบบควบคุมตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกองค์กร สร้างดุลยภาพที่เหมาะสมระหว่างฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ทำลายแรงจูงใจ คอร์รัปชันของนักการเมืองธุรกิจและนักธุรกิจการเมือง วางระเบียบกฎเกณฑ์คุ้มครองคุณธรรมของกฎหมาย และใช้กลไกภายในบุคคลควบคุมปัจจัยเสี่ยงควบคู่ไปกับควบคุมภายนอกโดยกฎหมายและกลไกทางสังคม</p> ว่าที่ร้อยตรีสุคิด ลั่นซ้าย , รองศาสตราจารย์ ดร. ณภัทร สรอัฑฒ์ , ศาสตราจารย์ ดร. อุดม รัฐอมฤต Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/266997 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700