มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong></p> <p> “<strong>มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันภาษาและกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย</strong>” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ทางด้าน Social Sciences แยกเป็นสาขาย่อย ได้แก่ General Arts and Humanities, Language and Linguistics, Religious studies, Education, Cultural Studies และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง มีวาระการออกปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (ประจำเดือนมกราคม - มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม) ซึ่งได้จัดทำเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ทั้งนี้บทความที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความ (Peer Review) จำนวน 3 คน โดยข้อมูลของผู้ประเมินและผู้เขียน(ผู้นิพนธ์) จะไม่ถูกเปิดเผย (Double-blind Peer review)</p> <p> </p> <p><strong>ISSN</strong> (Print) : 2672-9113</p> <p><strong>ISSN</strong> (Online) : 2673-0170</p> <p> </p> <p>ภาษาที่พิมพ์ : ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ</p> <p>กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (มกราคม - มิถุนายน และ กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p> </p> <p>*** หมายเหตุ ***</p> <p>- ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฯ ฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารฯ</p> <p>- ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</p> <p> </p> <p><strong>ประกาศ</strong><br /> การเผยแพร่บทความผ่านระบบออนไลน์ (เว็บไซต์วารสาร) <strong>ตั้งแต่ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2567</strong> เป็นต้นไป กองบรรณาธิการจะดำเนินการขอรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือ ตัวระบุวัตถุดิจิทัล (Digital Object Identifier : DOI) ให้กับทุกบทความ กรณีผู้เขียนไม่ต้องการรหัส DOI สำหรับบทความกรุณาแจ้งกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน</p> <p> ในส่วนของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ (เว็บไซต์วารสาร) <strong>ก่อนปีที่ 12 ฉบับที่ 1</strong> ผู้เขียนที่มีความประสงค์ขอรับรหัส DOI สำหรับบทความ โปรดแจ้งต่อแจ้งกองบรรณาธิการวารสารมังรายสาร</p> <p> ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม <a href="https://sites.google.com/crru.ac.th/mangraisaan-doi/home" target="_blank" rel="noopener">&gt;&gt; Click ที่นี่ &lt;&lt;</a></p> สถาบันภาษาและกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย th-TH มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2672-9113 <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> <p>&nbsp;</p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น</p> กลวิธีความไม่สุภาพในปริจเฉทรายการสัมภาษณ์บุคคลจากข่าวในกระแส https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/266741 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีความไม่สุภาพในการใช้ภาษาของผู้สัมภาษณ์และ ผู้ร่วมรายการซึ่งเป็นคู่สนทนาที่มีทรรศนะแตกต่างกันในปริจเฉทรายการสัมภาษณ์บุคคลจากข่าวในกระแส เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์บุคคลจากรายการโหนกระแสและรายการต่างคนต่างคิด ระหว่างเดือนมิถุนายน 2561 – เดือนมิถุนายน 2562 ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีความไม่สุภาพที่ปรากฏใช้มี 2 กลวิธีหลัก</p> <p>กลวิธีที่หนึ่ง คือ การถาม จำแนกเป็น 1.การถามในเชิงดูถูกเพื่อยั่วยุอารมณ์ 2.การถามแย้ง 3.การถามชี้นำคำตอบ 4.การถามด้วยถ้อยคำบ่งชี้เรื่องเพศและกามารมณ์ 5.การถามรุกไล่ด้วยคำถามต่อเนื่อง 6.การถามในลักษณะใส่ความหรือตัดสินชี้ขาด ส่วนกลวิธีที่สอง คือ กลวิธีอื่น ๆ จำแนกเป็น 1.กลวิธีการกล่าวเตือน 2.กลวิธีการแสดงความเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ 3.กลวิธีการผรุสวาท การสบถโดยใช้คำต้องห้ามการใช้คำสแลงที่บ่งชี้ถึงคำหรือเรื่องต้องห้าม ทั้งนี้ผู้วิจัยพบว่ากลวิธีความไม่สุภาพทั้ง 2 กลวิธีหลักดังกล่าวปรากฏในรายการสัมภาษณ์บุคคลจากข่าวในกระแสทั้งในการใช้ภาษาของผู้สัมภาษณ์หรือผู้ดำเนินรายการ และในการใช้ภาษาของผู้ร่วมรายการซึ่งเป็นคู่สนทนาที่มีทรรศนะแตกต่างกัน นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่าการใช้ภาษาระหว่างผู้ร่วมรายการซึ่งเป็นคู่สนทนา 2 ฝ่ายนั้นจะปรากฏกลวิธีความไม่สุภาพหลากหลายกลวิธีกว่าการใช้ภาษาที่ผู้สัมภาษณ์หรือผู้ดำเนินรายการใช้สนทนากับผู้ร่วมรายการอีกด้วย</p> นันทพร ศรจิตติ ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์ Copyright (c) 2023 วารสารมังรายสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-05 2023-10-05 11 2 1 15 การตั้งชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/266540 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี จากแอปพลิเคชัน Viu หมวดซีรีส์พากย์ไทย ตั้งแต่วันที่ 1-31 มกราคม 2565 พบชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี จำนวน 161 ชื่อ</p> <p>ผลการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี พบว่ามีจำนวนทั้งหมด 15 กลวิธี โดยพบการใช้โวหารภาพพจน์มากที่สุด รองลงมาพบการใช้คำคล้องจอง การใช้ คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ การใช้คำนำหน้าชื่อและชื่อคน การใช้คำสแลง และคำภาษาปาก การใช้คำบอกตำแหน่งและคำบอกอาชีพ การใช้คำซ้ำ คำซ้อน และคำที่สร้างขึ้นใหม่ การใช้คำธรรมดาเข้าใจง่าย การใช้คำรุนแรง การใช้ตัวเลข คำบอกจำนวนนับ และคำบอกเวลา การใช้คำสรรพนาม การใช้คำบอกสถานที่ การใช้คำลงท้าย การใช้คำแสดงคำถาม และการใช้คำเชื่อมเพื่อให้เกิดความตรงกันข้าม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การตั้งชื่อเรื่อง 1 ชื่อสามารถใช้กลวิธีทางภาษาได้ตั้งแต่ 1 ถึง 6 กลวิธีด้วยกัน ซึ่งจากงานวิจัยนี้พบว่ามีการตั้งชื่อแบบใช้ 2 กลวิธีมากที่สุด รองลงมาคือ ใช้เพียง 1 กลวิธี</p> พรรณวดี รัตนศักดิ์ สุทธา รัตนศักดิ์ Copyright (c) 2023 วารสารมังรายสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-05 2023-10-05 11 2 16 32 ปัจจัยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเข้าพักโรงแรมในจังหวัดเชียงรายช่วงสถานการณ์โควิด-19 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/266412 <p>ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเข้าพักโรงแรมในระยะที่ 6 ของการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของปัจจัยด้านราคาและความคุ้มค่า คือ ช่องทางการชำระเงิน ที่หลากหลาย เช่น เงินสด บัตรเครดิต ชำระออนไลน์ ในด้านสุขอนามัย (Hygiene) พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ห้องพักมีความสะอาด ด้านสภาพแวดล้อม (Environment) พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการระบายอากาศที่ดี มีอัตราการหมุนเวียนของอากาศเพียงพอในอาคาร ด้านความปลอดภัย (Safety) พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการจัดเตรียมเจลล้างมือ หน้ากาก รวมทั้งตู้ฆ่าเชื้อโรคสำหรับแขกที่มาพัก ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การจัดบริการในสถานบริการ ภายในโรงแรม เช่น ฟิตเนส สปา สถานบันเทิง และอื่น ๆ ปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ด้านการบริการ (Service) พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ พนักงานให้บริการ ด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านของปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเข้าพักโรงแรมในช่วงสถานการณ์วิกฤต โรคระบาดโควิด-19 สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ ปัจจัยด้านการบริการ ปัจจัยด้านราคาและความคุ้มค่า ปัจจัยด้านสุขอนามัย ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านความปลอดภัย และสุดท้ายคือ ปัจจัยด้านสิ่งอำนวย ความสะดวก ตามลำดับ</p> มนสิชา ซาวคำ สุริยา ส้มจันทร์ ประกอบศิริ ภักดีพินิจ นิรมล พรมนิล Copyright (c) 2023 วารสารมังรายสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-05 2023-10-05 11 2 33 47 ภูมิปัญญาช่างทองอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ : กรณีศึกษากระบวนการสกัดทองคำและเงินบริสุทธิ์ด้วยวิธีกัดกรด https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/266784 <p>งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการความรู้ภูมิปัญญาเรื่องการสกัดทองคำและเงินบริสุทธิ์ ด้วยวิธีกัดกรด ของช่างทองอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่อประเมินค่าความบริสุทธิ์ของทองคำและเงินที่ผ่านการสกัดด้วยวิธีกัดกรด โดยมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Random Sampling) คือผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาช่างทอง ของร้านทองเจียนบุญนาค ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ผู้วิจัยเพียงผู้เดียวเท่านั้น ดังนั้นผู้วิจัย จึงเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และจัดการความรู้ภูมิปัญญาด้วยตนเอง</p> <p>ผู้วิจัยดำเนินการจัดการความรู้ภูมิปัญญา ตามกระบวนการถ่ายทอดความรู้ซ่อนเร้น ให้เป็น ความรู้เด่นชัด ใช้วิธีการสาธิตในรูปแบบวีดิทัศน์และภาพนิ่งพร้อมการพรรณนาวิเคราะห์ เพื่อจัดเก็บเป็น คลังความรู้ สำหรับเผยแพร่ความรู้ ตามลำดับ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้ภูมิปัญญาเรื่องการสกัดทองคำและเงินบริสุทธิ์ด้วยวิธีกัดกรด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. วัสดุและอุปกรณ์ 2. ขั้นตอนและกระบวนการ 3. การประเมินผล ซึ่งผู้วิจัยสามารถสรุปองค์ความรู้โดยการประยุกต์ และสร้างรูปแบบการสกัดโลหะมีค่าในแบบจำลองที่มีชื่อว่า “SUTTHA R. MODEL” ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ได้แก่ S (Smelt) หลอม - U (Unify) รวม - T (Thin) รีด - T (Truncate) ตัด - H (Hasten Corrosion) กัด - A (Amass) เก็บ - R (Refinery) กลับ</p> <p>เมื่อนำทองคำและเงินที่ผ่านการสกัดด้วยวิธีกัดกรดไปวิเคราะห์เพื่อประเมินค่าความบริสุทธิ์ ของโลหะด้วยเครื่องวิเคราะห์โลหะมีค่าพบว่า ทองคำมีค่าความบริสุทธิ์อยู่ในระดับร้อยละ 99.34 และ เงินมีค่าความบริสุทธิ์อยู่ในระดับร้อยละ 99.56 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้</p> สุทธา รัตนศักดิ์ พรรณวดี รัตนศักดิ์ Copyright (c) 2023 วารสารมังรายสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-05 2023-10-05 11 2 48 63 ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: “อู่ฮั่น” ตำนานชัยชนะแห่งมนุษยชาติ สำหรับวงแจ๊สอองซอมเบลอร่วมสมัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/266222 <p>บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์: “อู่ฮั่น” ตำนานชัยชนะแห่งมนุษยชาติสำหรับวงแจ๊สอองซอมเบลอร่วมสมัยประพันธ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมบทประพันธ์เพลงบทใหม่ ซึ่งตีความจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) ในประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการนำเรื่องราวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงต่าง ๆ ของประเทศไทยมาถอดความเพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นบทประพันธ์ที่มีสำเนียง ลีลาสีสัน และถ่ายทอดความรู้สึกในรูปแบบดนตรีแจ๊ส ร่วมสมัย โดยบูรณาการแนวคิดของดนตรีแจ๊ส ดนตรีคลาสสิก และดนตรีร่วมสมัย รวมถึงใช้เทคนิค การประพันธ์ต่าง ๆ เทคนิคการคัดทำนองและการถอดสัญญะของบทเพลง ได้แก่ เพลง ช้าง แสดงถึง ประเทศไทย เพลง ธรณีกรรแสง เป็นตัวแทนความโศกเศร้า มาเป็นวัตถุดิบในการประพันธ์</p> <p>ผลการวิจัยในครั้งนี้เป็นการสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงนี้มีความยาวโดยรวมประมาณ 40 นาที ประกอบด้วย 5 บทเพลง ได้แก่ บทประพันธ์เพลงที่ 1 The Attack: BKK 3/26/2020 แสดงถึงจุดเริ่มต้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย บทประพันธ์เพลงที่ 2 The Chaos แสดงถึงความแตกตื่นของผู้คน บทประพันธ์เพลงที่ 3 The Sacrificing แสดงถึงความเสียสละและ ความสูญเสียที่เกิดขึ้น บทประพันธ์เพลงที่ 4 Time of the Black Shadow สะท้อนถึงความมืดมน ของประเทศจากการระบาดแพร่ของไวรัสโคโรนา 2019 หลายระลอก และบทประพันธ์เพลงที่ 5 Rising of the Heroes แสดงถึง ความยืนหยัดต่อสู้และสุดท้ายเราได้ผ่านพ้นไป การนำเสนอบทประพันธ์เพลงประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดอย่างสมบูรณ์ เป็นผลงานวิชาการทางด้านการประพันธ์เพลง ที่ผสมผสานระหว่างองค์ความรู้ทางดนตรีร่วมกับการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน สร้างสรรค์ เป็นบทประพันธ์เพลงแจ๊สร่วมสมัย เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางด้านการประพันธ์เพลง และช่วยพัฒนาวิชาการทางด้านดนตรีของประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น</p> พุทธพร ลี้วิเศษ วีรชาติ เปรมานนท์ Copyright (c) 2023 วารสารมังรายสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-05 2023-10-05 11 2 64 81 ประเภทของพจนานุกรมภาษาล้านนา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/265236 <p>บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพจนานุกรมภาษาล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านประเภทของพจนานุกรมภาษาล้านนา เก็บข้อมูลจากพจนานุกรมภาษาล้านนา จำนวน 13 ฉบับ และใช้แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหาและแนวคิดเกี่ยวกับการทำพจนานุกรม ผลการวิเคราะห์ พบว่า สามารถจำแนกประเภทของพจนานุกรมได้ 2 ประเภท ได้แก่ พจนานุกรมภาษาไทย-ภาษาล้านนา และพจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทย โดยพจนานุกรมภาษาไทย-ภาษาล้านนา ปรากฏ 2 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 13.33 มีลักษณะเป็นพจนานุกรมที่มีคำตั้งเป็นคำภาษาไทยแล้วแสดงคำอธิบายหรือความหมายเป็นข้อความภาษาล้านนา ซึ่งปรากฏในรูปของการใช้อักษรไทยกลางบันทึกคำอ่าน ทั้งนี้ พจนานุกรมภาษาไทย-ภาษาล้านนาจะปรากฏเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในพจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทย ส่วนพจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทย ปรากฏ 13 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.67 มีลักษณะเป็นพจนานุกรมที่มีคำตั้งเป็นคำภาษาล้านนาแล้วแสดงคำอธิบายหรือความหมายเป็นข้อความภาษาไทย ซึ่งสามารถจำแนกประเภทย่อยได้ 2 ประเภท ได้แก่ พจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทยประเภทที่ใช้อักษรไทยกลางบันทึกคำอ่านของคำตั้ง ปรากฏจำนวน 5 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 38.46 และพจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทยประเภทที่ใช้อักษรธรรมล้านนา บันทึกคำตั้ง ปรากฏจำนวน 8 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 61.54 พจนานุกรมประเภทย่อยทั้ง 2 ประเภท มีองค์ประกอบพื้นฐานที่แสดงไว้เหมือนกันทุกฉบับคือ คำตั้งและคำนิยามความหมาย ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ จะแสดงหรือไม่ก็ได้ การทำพจนานุกรมภาษาล้านนา-ภาษาไทยในช่วงแรกเริ่มได้รับการจัดทำขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานที่ไม่ได้ใช้ภาษาล้านนาเป็นภาษาแม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ ยังเพื่อใช้แนวทางสำหรับการเรียนรู้ หรือการค้นหาความหมายคำศัพท์ภาษาล้านนา และเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดภาษาล้านนาอีกด้วย</p> ภคภต เทียมทัน Copyright (c) 2023 วารสารมังรายสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-05 2023-10-05 11 2 82 98 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในงานของ คามิน คมนีย์: วิเคราะห์เชิงวาทกรรม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/266853 <p>บทความนี้ มุ่งวิเคราะห์วาทกรรมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในงานของ คามิน คมนีย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ วรรณกรรมของ คามิน คมนีย์ ทั้งหมด 18 เรื่อง โดยใช้ทฤษฎีวาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ และทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศของเชอร์ริลล์ กล็อตเฟลตี เป็นแนวทางการวิเคราะห์ พบว่า งานของ คามิน คมนีย์ นำเสนอวาทกรรม 2 ชุด คือ 1) วาทกรรมการเดินทางกับธรรมชาติ ประกอบสร้างผ่านอุดมการณ์สำนึกนิเวศ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.1) การสร้างจิตสำนึกเชิงนิเวศ และ 1.2) มนุษย์กับการพึ่งพาและทำลายธรรมชาติ 2) วาทกรรมตัวตนกับธรรมชาติ ประกอบสร้างผ่านกฎไตรลักษณ์ ได้แก่ 2.1) สรรพสิ่งคืออนิจจัง 2.2) การตระหนักในทุกข์ และ 2.3) การไม่มีตัวตน โดยคามิน คมนีย์ ใช้การเดินทางเป็นสัญญะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และสำนึกในพลังของธรรมชาติ ขณะเดียวกันคามินได้อธิบายความย้อนแย้งของมนุษย์ว่ามนุษย์ยังมุ่งเอาชนะธรรมชาติไปพร้อมกัน</p> อุไรวรรณ สิงห์ทอง ธนพร หมูคำ วัฒนชัย หมั่นยิ่ง ภูริวรรณ วรานุสาสน์ Copyright (c) 2023 มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-16 2023-10-16 11 2 99 116 การศึกษาการแปลแบบถอดเสียงชื่อโบราณสถานภาษาไทยเป็นภาษาจีนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/266526 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิธีการแปลแบบถอดเสียงชื่อโบราณสถาน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อเสนอแนวทางการแปลแบบถอดเสียงชื่อโบราณสถาน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาวิเคราะห์จากกลุ่มตัวอย่างที่ปรากฏในแผนที่ท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ฉบับภาษาจีนแล้วนำมาวิเคราะห์ภายใต้เกณฑ์การแปลแบบถอดเสียงของ Pei Xiaorui (2018) ผลวิจัยพบว่า จากข้อมูลชื่อโบราณสถานจำนวน 78 แห่ง ใช้กลวิธีการถอดเสียงมากที่สุดจำนวน 40 แห่ง ร้อยละ 51.28 หลังจากนั้นนำเฉพาะรายชื่อที่ใช้กลวิธีการถอดเสียงมาวิเคราะห์ปัญหา พบว่า ปัญหาในการเลือกพยางค์เสียงในภาษาจีนที่ต่างจากพยางค์เสียงในภาษาไทยพบมากที่สุด 40% สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการแปลแบบถอดเสียงนั้น ควรพิจารณาเลือกพยางค์เสียงเป็นอันดับแรก แล้วจึงพิจารณาความหมายของคำประกอบว่าเป็นคำที่มีความหมายดี หรือเป็นความหมายที่สื่อถึง ลักษณะเด่นของสถานที่นั้น และหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรจีนที่มีเสียงอ่านหลายเสียง หลีกเลี่ยงการใช้ ตัวอักษรจีนที่เป็นคำกริยา และคำสรรพนาม ควรเลือกพยางค์เสียงในภาษาจีนที่มีจำนวนเท่ากับพยางค์เสียงในภาษาไทย และหากคำที่แปลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเฉพาะไปแล้วให้แปลโดยใช้การถอดเสียงแทน นอกจากนี้ก่อนลงมือแปลผู้แปลควรศึกษาข้อมูล ประวัติ ลักษณะเด่น และวัฒนธรรมแฝงของสถานที่ ที่ต้องการแปลด้วย เมื่อแปลเสร็จควรได้รับการตรวจทานจากผู้เชี่ยวชาญทั้งภาษาไทยและภาษาจีน</p> นิรัตน์ ทองขาว สมยศ จันทร์บุญ สุริยา กีรตินันทิพัฒน์ Copyright (c) 2023 มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-17 2023-10-17 11 2 117 135 จากงานชาติพันธุ์วรรณาของมิชชันนารีสู่งานเขียนชาตินิยม: กรณีศึกษา “The Tai Race: Elder Brother of the Chinese” https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/266588 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนตัวบทของงานเขียนเรื่อง “The Tai Race: Elder Brother of the Chinese” และบริบททางประวัติศาสตร์ที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ใช้การศึกษาด้วยการวิเคราะห์ตัวบท โดยศึกษาจากงานเขียนเรื่อง “The Tai Race: Elder Brother of the Chinese” ของวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (William Cliffton Dodd) และงานที่ได้รับการแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2460-2510 <br />ผลการศึกษาพบว่าการแปลงานชิ้นนี้จากภาษาอังกฤษสู่ภาษาไทยในระหว่าง พ.ศ.2467-2474 มีการเลือกแปลเฉพาะเนื้อหาที่สัมพันธ์กับคนไทย มีการใช้ “ไทย” แทนที่ “ไท” และเน้นที่ความเป็นชนชาติและชาติพันธุ์ สร้างคำอธิบายเกี่ยวกับชนชาติไทยเพิ่มเติมลงในเนื้อหา รวมทั้งการอธิบายโดยนำความเป็น รัฐชาติสมัยใหม่เพิ่มในตัวบท ก่อให้เกิดวาทกรรมเรื่อง “ความยิ่งใหญ่ของชนชาติไทย” และสอดคล้อง กับนโยบายการสร้างรัฐชาติแบบใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และนโยบายชาตินิยมของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม</p> ดารุณี สมศรี Copyright (c) 2023 มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-26 2023-10-26 11 2 136 152 “หลวง”: การศึกษาเชิงประวัติ หน้าที่และความหมาย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/263708 <p>การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงประวัติของคำว่า “หลวง” เพื่อศึกษาด้านอักษร อักขรวิธี ของคำว่า “หลวง” และศึกษาหมวดคำ หน้าที่ ความหมายคำว่า “หลวง” ตั้งแต่สมัยสุโขทัยต่อเนื่องจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง (รัชกาลที่ 5) โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดของทฤษฎีด้านวากยสัมพันธ์ การรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาวิจัยตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง (รัชกาลที่ 5) โดยช่วงเวลาที่เก็บข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้อยู่ในระหว่าง พ.ศ. 1835 – 2468 ซึ่งการศึกษาใช้วิธีการเลือกเอกสารตัวแทนในแต่ละสมัยที่เป็นบทร้อยแก้ว<br />ผลการวิจัยพบ ด้านมิติอักษรและอักขรวิธี “หลวง” ปรากฏพบใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยในด้านวิวัฒนาการของคำว่า “หลวง” เมื่อแยกส่วนตามพยัญชนะต้น สระ และพยัญชนะสะกด พบว่า คำว่า “หลวง” มีการเปลี่ยนแปลงด้านพยัญชนะต้นและสระไม่มากนัก แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านพยัญชนะตัวสะกด ง ด้านการลากเส้นหยักเป็นเส้นโค้งมากขึ้น ด้านอักขรวิธี สระจะเขียนติดกับพยัญชนะต้น ส่วนพยัญชนะสะกดวางอยู่ข้างหลังสระ โดยจะเขียนตัวสะกดห่างจากสระเล็กน้อยเพื่อให้รู้ว่าเป็นตัวสะกด สำหรับการประกอบรูปคำของคำว่า “หลวง” พบว่า เป็นคำพยางค์เดียวแบบ (พพสสน4)<br />การสร้างคำว่า หลวง สมัยสุโขทัย พบการสร้างคำประสม 3 วิธีคือ 1) การสร้างคำประสมแบบ ส่วนหลัก [คำเดี่ยว] + ส่วนขยาย [คำเดี่ยว] 2) การสร้างคำประสมแบบ ส่วนหลัก [คำเดี่ยว] + ส่วนขยาย [ประสม] และ 3) การสร้างคำประสมแบบ ส่วนหลัก [คำประสม] + ส่วนขยาย [คำเดี่ยว] สมัยอยุธยา พบการสร้างคำ 2 วิธีคือ 1) การสร้างคำประสมแบบ ส่วนหลัก [คำเดี่ยว] + ส่วนขยาย [คำเดี่ยว] และ 2) การสร้างคำประสมแบบ ส่วนหลัก [คำประสม] + ส่วนขยาย [คำเดี่ยว]<br />หน้าที่ของคำว่า “หลวง” ในประโยค พบคำว่า “หลวง” ทำหน้าที่เป็นส่วนสำคัญของประโยค ได้แก่ เป็น หน่วยประธาน หน่วยกรรมตรง หน่วยกรรมรอง หน่วยกรรมตามหลังบุพบท และส่วนขยายของประโยค</p> อรทัย ขันโท บุษราคัม ยอดชะลูด เบญจมาภรณ์ สุริยาวงศ์ Copyright (c) 2023 มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-06 2023-11-06 11 2 153 169