TY - JOUR AU - คล่องขยัน, ศุภชัย PY - 2018/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - แนวคิดเบื้องต้นการวิจัยทางรัฐประศาสตร์ประยุกต์ JF - วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ JA - NEUARJ VL - 8 IS - 2 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/201447 SP - 87-103 AB - <p>แนวคิดเบื้องต้นการวิจัย รัฐประศาสตร์ประยุกต์ The Basic Concept of Advance Public Administration Research เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการบริหารงานภาครัฐ การวิจัยทางรัฐประศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่ช่วยแก้ไข้ปัญหาและตอบคำถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานภาครัฐ ขอบเขตของงานภาครัฐนั้นครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ในสังคมตั้งแต่ก่อนเกิดจนหลังตาย ครอบคลุมทั้งกิจกรรมของปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคลและปฏิสัมพันธ์ที่ปัจเจกบุคคลมีต่อกลุ่มบุคคลและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐจึงหลากหลายและสลับซับซ้อนมีทั้งกิจกรรมที่รัฐดำเนินการเองในรูปแบบของการควบคุม กำกับและดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย การจัดบริการสาธารณะต่าง ๆ เรื่อยไปจนถึงกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับเอกชน งานที่หลากหลายและซับซ้อนทำให้ภาครัฐมีโครงสร้างที่ใหญ่โต มีลำดับการบังคับบัญชาหลายชั้น มีระบบงานที่มากมาย ยิ่งในยุคสหัสวรรษใหม่ การตรวจสอบการทำงานของภาครัฐที่เข้มข้นยิ่งทำให้ภาครัฐมีกติกาใหม่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมีประเด็นถกเถียงอภิปรายต่อเนื่องกะนยาวนานตั้งแต่อดีตกาลว่าทำอย่างไร จึงจะทำให้ภาครัฐทำงานได้ดีที่สุดโครงสร้างระบบ วัฒนธรรมการทำงานของภาครัฐควรเป็นอย่างไร นอกจากนั้นภาครัฐยังถูกวิจารณ์ตลอดเวลาถึงความด้อยประสิทธิภาพโครงการที่ใหญ่โตเทอะทะ ระบบงานที่ไม่ทันสมัย วัฒนธรรมที่ล้าสมยคนของรัฐเองก็ถูกตำหนิว่าเฉื่อยชาไม่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนและข้อหาที่รุนแรงมากที่สุดคือการทุจริตประพฤติมิชอบหรือคอร์รัปชั่นในหมู่ข้าราชการและนักการเมือง ภาครัฐเองตระหนักถึงข้อวิจารณ์ต่าง ๆ และพยายามปรับปรุงตลอดเวลา (ศุภชัย ยาวะประภาษ,2544)</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ปัจจุบันภาครัฐในแทบทุกประเพศพยายามตรวจสอบและประเมินตัวเอง (self-review) เพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น ตราบใดที่ภาครัฐ ตราบนั้นองค์กรภาครัฐคงยังจำเป็นเพื่อความอยู่รอดและเติบโตของประเทศตราบใดที่ยังมีองค์กรภาครัฐ ตราบนั้นยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นและตราบใดที่มีสิ่งท้าทายที่ต้องทำให้ดีขึ้น ตราบนั้นก็ต้องมีการค้นคว้าหาคำตอบและวิธีการค้นคว้าหาคำตอบที่ได้รับการยอมรับว่าจะนำมาซึ่งคำตอบที่หน้าเชื่อถือได้มากกว่าวิธีอื่น ๆ ก็คือวิธีการหาคำตอบที่อยู่บนพื้นฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific inquiry) ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า “การวิจัย” (research) โจทย์หรือคำถาม ทางรัฐประศาสนศาสตร์มีมากมายแหละหลากหลาย การหาคำตอบสำหรับโจทย์เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยวิธีการวิจัยและนี่คือที่มาของการนำเสนอ แนวคิดเรื่องการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ (ศุภชัย ยาวะประภาษ,2544) แนวคิดเบื้องต้นการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ประยุกต์แบ่งเป็น 11 องค์ประกอบได้แก่ (1) การแสวงหาความรู้ของมนุษย์ (2) กระบวนการแสวงหาความรู้ (3) วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปทัสถานและเชิงวิจัยประจักษ์ (4) ตัวแบบหลักของการวิจัย (5) ที่มาของความรู้ (6) วิธีการแสวงหาความรู้ทางศาสตร์ (7) ความเป็นศาสตร์ (8) ศาสตร์ต้องเป็นสิ่งที่ได้ศึกษาได้ในเชิงปริมาณ (9) ศาสตร์ต้องมีข้อสรุปทั่วไป (10) ประเด็นข้อพิจารณาทางศาสตร์ (11) ทฤษฎีแสวงหาความรู้สำนักประจักษ์นิยม</p> ER -