TY - JOUR AU - พิลาบุตร, ศิริกาญจนา AU - ลับเหลี่ยม, ปัณชิกา AU - มังคละสินธุ์, นราธิป PY - 2021/12/30 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารและ พฤติกรรมผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา JF - วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ JA - NEUARJ VL - 11 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/254491 SP - 317-331 AB - <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาแอปพลิเคชันสั่งอาหาร และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชัน โดยมีปัจจัยที่เป็นส่วนสำคัญซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมและรูปแบบพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค (Customers Behavior Model) จะใช้เป็นแนวทางในการศึกษาถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคซึ่งมี 5 ปัจจัย คือ ความสามารถในการใช้งาน (Usability) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ราคา (Price) ราคาค่าส่งสินค้า (Delivery Fee) และคุณภาพของการบริการ (Service Quality) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์เคยใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ด้วยการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามจำนวน 400 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา</p><p>จากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์เคยใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหาร รู้จักแอปพลิเคชัน Grab, LINE MAN และ Food Panda และทุกคนรู้จักแอปพลิเคชันสั่งอาหารมากกว่า 1 แอปพลิเคชัน โดยในโทรศัพท์มือถือของกลุ่มตัวอย่างแต่ละคนมีแอปพลิเคชันสั่งอาหารอย่างน้อย 2 แอปพลิเคชัน ปัจจัยที่ทำให้นิยมใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหาร คือ ความสะดวกสบาย มีความปลอดภัยต่อสุขภาพในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แอปพลิเคชันมีการใช้งานง่าย และสะดวกสบายต่อการใช้งาน ผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันมากที่สุดคือ ความสามารถในการใช้งาน (Usability) ราคาค่าส่งสินค้า (Delivery Fee) ราคา (Price) ส่งเสริมการตลาด (Promotion) และคุณภาพของการบริการ (Service Quality) ตามลำดับ</p> ER -