TY - JOUR AU - เค้าสิม, จงจิต AU - สุขวัน, อลงกรณ์ AU - โยลัย, นุชธิดา PY - 2022/06/30 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ JF - วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ JA - NEUARJ VL - 12 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/257853 SP - 249-265 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT)  2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 22 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling)  ใช้เวลาในการทดลอง 30 คาบๆ ละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .28-.72   ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20-.74 และค่าความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ .80 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) ใช้แบบแผนการทดลองประยุกต์ตามแบบแผนการวิจัยแบบ One – Group Pretest – Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติ t-test แบบ dependent Samples ในรูป Difference Score</p><p>ผลการวิจัยพบว่า  1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p><p>            2. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> ER -