https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/issue/feed
วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2025-02-13T09:54:51+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกอร บุญมี
neuarj@neu.ac.th
Open Journal Systems
<p><span data-sheets-value="{"1":2,"2":"วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน – ธันวาคม) รับพิจารณาบทความในด้านบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิติศาสาตร์ "}" data-sheets-userformat="{"2":513,"3":{"1":0},"12":0}"> วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกปีละ 4 ฉบับ เริ่ม ฉบับที่ 1 ปีที่ 12 พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – มีนาคม ฉบับที่ 2 ประจำเดือน เมษายน - มิถุนายน ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กรกฎาคม - กันยายน และฉบับที่ 4 ประจำเดือน ตุลาคม - ธันวาคม) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ในด้านบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิติศาสตร์<br /> บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)<br /></span></p>
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272875
การศึกษากรอบความคิด และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับพีชคณิตและเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2024-07-19T15:08:08+07:00
เกษมณี ศรีชมชื่น
658010160101@rmu.ac.th
นวพล นนทภา
658010160101@rmu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากรอบความคิดและมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับพีชคณิตและเรขาคณิต (2) เปรียบเทียบมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับพีชคณิต และเรขาคณิต จำแนกตามกลุ่มกรอบความคิด (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนากรอบความคิดและมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสารคามพิทยาคม จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบมโนทัศน์คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ แบบบันทึกการสังเกตกรอบความคิด แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์งานเขียน และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนอยู่ในกลุ่มกรอบความคิดแบบผสมมากที่สุด และผลการวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน พบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนที่สูงที่สุดด้านข้อผิดพลาดในเทคนิคการทำ(2) กลุ่มกรอบความคิดแบบเติบโต มีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านข้อผิดพลาดในเทคนิคการทำมากที่สุดกลุ่มกรอบความคิดแบบผสม มีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านข้อผิดพลาดในเทคนิคการทำมากที่สุด และกลุ่มกรอบความคิดแบบจำกัด มีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านไม่ทราบวิธีการแก้ปัญหามากที่สุด (3) แนวทางพัฒนากรอบความคิด ครูควรแสดงความชื่นชมต่อนักเรียนอย่างเหมาะสมด้วยการให้คุณค่ากับกระบวนการและความพยายามในการเรียนรู้ เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการสร้างกรอบความคิดแบบเติบโตแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกิดมโนทัศนที่คลาดเคลื่อน ควรให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในกระบวนการแก้ปัญหา ดังนั้นสามารถนำแนวทางนี้ไปพัฒนากรอบความคิดของนักเรียน และลดการเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนได้</p>
2025-01-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272630
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น
2024-08-06T09:54:38+07:00
ธนภัทร แดงบุดดา
th_thanapat@kkumail.com
<p>บทความวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4E ที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น ทำการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากแบบสอบถามผู้เข้าใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ มาทำการวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4E ทั้งสี่ด้าน ได้แก่ ด้านประสบการณ์ที่น่าจดจำ (Experience) ด้านความคุ้มค่าที่สัมผัสได้ (Exchange) ด้านการเข้าถึงที่ไร้ขอบเขต (Everywhere) และด้านความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน (Evangelism) มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีอิทธิผลอยู่ในระดับปานกลางและมีค่าความสัมพันธ์อยู่ที่ 0.401 และมีทิศทางเดียวกัน ทำให้สามารถเรียงค่าเฉลี่ยหรือค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจากมากไปน้อย จึงทำให้สามารถนำผลการวิจัยในครั้งนี้มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางการตลาดของธุรกิจฟิตเนสเซ็นเตอร์ได้ เพื่อส่งเสริมการตัดสินใจใช้บริการ และเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งค่าความสัมพันธ์ด้านความคุ้มค่าที่สัมผัสได้ (Exchange) มีค่าความสัมพันธ์มากที่สุด</p>
2025-01-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275202
การบริหารการจัดการระบบสาธารณสุขแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานคร
2024-10-31T11:58:11+07:00
วีรชัย สุขพ่วง
weearchaipaw@gmail.com
นวภัทร ณรงค์ศักดิ์
Weearchaipaw@gmail.com
อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์
Weearchaipaw@gmail.com
<p>การศึกษาวิจัย เรื่องการบริหารการจัดการระบบสาธารณสุขแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพถึงปัญหาและอุปสรรคการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงข้อกำหนด เนลสันแมนเดลลา การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังควบคู่ไปกับหลักการบริหารเรือนจำที่เหมาะสมในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาจัดการระบบบริการสาธารณสุขให้แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาวิจัย เรื่อง การบริหารการจัดการระบบสาธารณสุขแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า 1) สภาพปัญหาและอุปสรรคการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานคร มี 6 ประเด็น ได้แก่ (1) การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ (2) ด้านบุคลากรขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับเวชปฏิบัติเบื้องต้น (3) ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ (4) การขาดแคลนงบประมาณ (5) ขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ (6) ด้านทัศนคติและสภาพแวดล้อมและกิจวัตรในเรือนจำ 2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงข้อกำหนด เนลสันแมนเดลลาการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังควบคู่ไปกับหลักการบริหารเรือนจำที่เหมาะสมในเรือนจำ พบว่า มี 2 ประเด็นที่ต่างกัน ได้แก่ (1) ด้านมาตรฐานข้อกำหนดเนลสันแมนเดลลาระหว่างการบริหารเรือนจำ และ (2) ด้านมาตรฐานข้อกำหนดเนลสันแมนเดลลาระหว่างมาตรฐานสุขอนามัยในเรือนจำ และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาจัดการระบบบริการสาธารณสุขให้แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ พบว่า มี 5 ประเด็น ได้แก่ (1) เพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ (2) เพิ่มด้านยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ (3) การพัฒนา องค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่สถานพยาบาล (4) การเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข และ (5) เพิ่มด้านงบประมาณ</p>
2025-01-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273599
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2024-08-23T12:05:03+07:00
ญาณินท์ สุดชาขำ
658010160103@rmu.ac.th
รามนรี นนทภา
658010160103@rmu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อ (1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 70/70 (2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังใช้กิจกรรมการเรียนรู้ (3) แนวทางส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนสารคามพิทยาคม จำนวน 42 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 คนที่สุ่มแบบกลุ่ม ใช้แผนการเรียนรู้ 10 แผน แบบทดสอบ และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่ได้จากการพัฒนาการจัดการเรียนรู้มีค่าอยู่ที่ 81.60/83.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (2) การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่ามีนักเรียนจำนวน 24 คน หรือร้อยละ 57.14 ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 62.67, S.D.= 6.17) ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถที่ดีในระดับนี้ อย่างไรก็ตาม นักเรียนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในระดับพอใช้มีจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 35.71 (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=37.87, S.D.=7.17) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ดี ในระดับพอใช้แต่ยังไม่ถึงขั้นสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.96 ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในระดับปรับปรุง ค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้คือ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 25.67, S.D.= 0.58) ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถที่ยังต้องการการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ดีขึ้น (3) แนวทางการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ พบว่า ครูควรพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อยู่เสมอ</p>
2025-01-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273081
การวางแผนการเงินของเกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ จังหวัดมหาสารคาม
2024-08-22T12:32:45+07:00
กอบชัย นิกรพิทยา
tgig789@gmail.com
รทวรรณ อภิโชติธนกุล
tgig789@gmail.com
จินดาพร ปัสสาโก
tgig789@gmail.com
สุรศักดิ์ วงษ์เปรียว
tgig789@gmail.com
พิมพ์พรรณ คัยนันทน์
tgig789@gmail.com
ภานุทัต สวัสดิ์ถาวร
tgig789@gmail.com
<p style="font-weight: 400;">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการวางแผนการเงินของเกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ จังหวัดมหาสารคาม และ 2) เพื่อหารูปแบบการวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลที่เหมาะสมของเกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ จังหวัดมหาสารคาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการเงินและการลงทุนกับเกษตรกร 4 ตัวแทน สำหรับ เชิงปริมาณ คือ เกษตรกรที่ปลูกผักปลอดสารพิษตำบลโพนงาม อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางตารางสำเร็จรูป กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ เกษตรกรจำนวน 394 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะวิจัยคือช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ สถิติเชิงพรรณนาและเชิงคุณภาพ คือ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรมีการวางแผนใช้บริการสินเชื่อที่ไตร่ตรองแล้วมีความจำเป็น และมีความสามารถในการชําระหนี้ได้ 2) เกษตรกรมีการพิจารณาทำประกันชีวิตและสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต 3) เกษตรกรมีการพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือมีการควบคุมความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้วในการลงทุนและจากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเกษตรกรทั้ง 4 ตัวแทนหน่วยงานให้ข้อเสนอแนะแนวทางรูปแบบการวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลที่เหมาะสมของเกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ จังหวัดมหาสารคาม คือ ต้องเริ่มวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลสำหรับเกษตรกร โดยควรคำนึงถึงความไม่แน่นอนของรายได้ที่อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก เช่น สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ ความผันผวนของตลาด และฤดูกาลในการเพาะปลูก เป็นต้น</p>
2025-01-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272431
การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ร้านเบิ้มมอเตอร์ไซค์
2024-08-29T11:43:08+07:00
ธนวิชญ์ ยืนชีวิต
Mookun2001@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านเบิ้มมอเตอร์ไซค์ จังหวัดอุทัยธานี และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการร้านเบิ้มมอเตอร์ไซค์ จังหวัดอุทัยธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือบริการร้านเบิ้มมอเตอร์ไซค์ ในเดือนพฤษภาคม 2567 จำนวน 215 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถนำไปใช้ในการวิจัยได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ลูกค้ากลุ่มหลักของร้านเบิ้มมอเตอร์ไซค์ จังหวัดอุทัยธานี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 25-39 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท และ 2) อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อ ความพึงพอใจของงผู้บริโภคคร้านเบิ้มมอเตอร์ไซค์ จังหวัดอุทัยธานี ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย บุคลากร กระบวนการ และหลักฐานทางกายภาพ สมการมีอำนาจการพยากรณ์ ร้อยละ 61 และสามารถเขียนสมการได้ดังนี้ Y = -5.573 + (0.149)(ราคา) + (0.150)(ผลิตภัณฑ์) + (0.517)(ช่องทางการจัดจำหน่าย) + (0.162)(การส่งเสริมการขาย)+ (0.469)(บุคลากร) + (0.564)(กระบวนการ) + (0.331)(หลักฐานทางกายภาพ)</p>
2025-03-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/274267
พฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
2024-09-14T17:07:25+07:00
ฌัชฌานันท์ นิติวัฒนะ
chatchanum.nit@neu.ac.th
ฐิตารีย์ ศิริมงคล
Chatchanum.nit@neu.ac.th
ปริญญา วิเชียรโรจน์
Chatchanum.nit@neu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คของผู้บริโภค และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคทั่วไปที่ใช้บริการร้านกาแฟท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต จำนวน 250 คน โดยมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย และใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้การวิจัยคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ One Way ANOVA </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมใช้สื่อ Facebook เพื่อเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นเป็นประจำ จำนวน 217 คน (86.8%) การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คในช่วงเวลาไม่แน่นอนมากที่สุด จำนวน 90 คน (36.0%) การสืบหาข้อมูล ของร้านกาแฟท้องถิ่นจาก Facebook Fanpage จำนวน 194 คน (77.6%) และระยะเวลาที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คแต่ละครั้งในการค้นหาข้อมูลการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่น คือ น้อยกว่า 30 นาที จำนวน 172 คน (68.8%) 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่า (1) เพศแตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คของผู้บริโภคที่ไม่แตกต่างกัน (2) อายุแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค ของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ในเรื่องความนิยมใช้สื่อ Facebook อินสตราแกม และยูทูป เพื่อเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นเป็นประจำ (3) สถานภาพแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ในเรื่องความนิยมใช้สื่ออินสตราแกม เพื่อเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นเป็นประจำและการสืบหาข้อมูลของร้านกาแฟท้องถิ่นจาก Google และ Wongnai ของผู้บริโภค (4) ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่น ผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คของผู้บริโภคที่ไม่แตกต่างกัน (5) อาชีพแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ในเรื่องความนิยมใช้สื่อ Facebook และอินสตราแกม เพื่อเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นเป็นประจำ (6) รายได้ต่อเดือนเฉลี่ยแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ในเรื่องความนิยมใช้สื่ออินสตราแกมในการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นเป็นประจำของผู้บริโภค การสืบหาข้อมูลของร้านกาแฟท้องถิ่นจาก Facebook Fanpage และระยะเวลาที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คแต่ละครั้งในการค้นหาข้อมูลการเลือกร้านกาแฟท้องถิ่นของผู้บริโภค (P>0.05)</p>
2025-03-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272472
การส่งเสริมความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย ด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2024-08-15T15:40:40+07:00
วัลภา ไชยยะ
ying0857463288@gmail.com
ทัศนีย์ นาคุณทรง
Ying0857463288@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กชาย – หญิง อายุระหว่าง 3 - 4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหัวงัว อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 16 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ (1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น จำนวน 8 หน่วย หน่วยละ 3 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 24 แผน (2) แบบสังเกตความมีวินัยในตนเอง ทั้งหมด 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับผิดชอบ และด้านการควบคุมตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น โดยรวมและรายด้านเฉลี่ยสูงขึ้น หลังการทดลองเท่ากับ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 17.00, S.D. = 0.73) คิดเป็นร้อยละ 99.44 และก่อนการทดลองเท่ากับ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 12.63, S.D. = 1.20) คิดเป็นร้อยละ 70.14 ซึ่งหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง</p>
2025-03-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275065
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2024-11-07T14:34:55+07:00
เพชรรัตน์ ลือสันเทียะ
Weerawit.ler@neu.ac.th
วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล
weerawit.ler@neu.ac.th
โกวิทย์ แสนพงษ์
Weerawit.ler@neu.ac.th
วิยดา พันธ์โน
Weerawit.ler@neu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพัน ต่อองค์กร (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความผูกพัน (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิภาพการทำงาน (4) พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 80 คน ด้วยแบบสอบถาม และข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจในงานและ ความผูกพันต่อองค์กรในระดับสูง (M = 3.87, S.D. = 0.71 และ M = 4.08, S.D. = 0.52 ตามลำดับ) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานมากที่สุดคือ ความยืดหยุ่นในการทำงาน (β = 0.40, p(0.011) < 0.05) ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรมากที่สุดคือ ความรู้สึกมีคุณค่าในองค์กร (β = 0.50, p(0.001) < 0.05) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิภาพการทำงาน (r = 0.65, p(0.021) < 0.05 และ r = 0.70, p(0.033) < 0.05 ตามลำดับ) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป มีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการส่งเสริมความยืดหยุ่นในการทำงาน การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา และการสร้างการรับรู้คุณค่าของบุคลากรในองค์กร เพื่อยกระดับความพึงพอใจ ความผูกพัน และประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานสูง</p>
2025-03-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/271033
ปัจจัยทำนายสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
2024-06-01T09:50:49+07:00
รจนา อยู่สุข
rodjana21327@gmail.com
รินทร์หทัย กิตติ์ธนารุจน์
Rinhatai.kn@bru.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับระดับสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ ระดับความพร้อมและการส่งเสริมระบบสิ่งแวดล้อมเชิงสุขภาวะในอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ และปัจจัยทำนายสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อมด้านระบบสิ่งแวดล้อมเชิงสุขภาวะ ในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชนในอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 391 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ระดับสุขภาวะองค์รวม ระดับความพร้อมและการส่งเสริมระบบสิ่งแวดล้อมเชิงสุขภาวะของผู้สูงอายุในอำเภอกระสังอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยทำนายสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อมด้านระบบสิ่งแวดล้อมเชิงสุขภาวะ = 15.028 - 1.322 เพศ - 1.069 การเป็นสมาชิกชมรม/การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม + 0.790พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ + 0.502 ความพร้อม และการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐด้านระบบสิ่งแวดล้อมเชิงสุขภาวะ + 0.552ความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพ</p>
2025-03-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/277173
การจัดการผลิตที่ส่งผลต่อต้นทุนการปลูกข้าวโพดพันธุ์ข้าวเหนียวชมพูของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวโพดบ้านหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น
2025-01-09T10:33:44+07:00
มณีจันทร์ ยืนคง
Patharaphorn.kin@neu.ac.th
นีรนาท เสนาจันทร์
Patharaphorn.kin@neu.ac.th
ภัทรภร กินิพันธ์
patharaphorn.kin@neu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการการผลิตที่ส่งผลต่อต้นทุนการปลูกข้าวโพดพันธุ์ข้าวเหนียวชมพูของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวโพดบ้านหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรบ้านหนองบัวจำนวน 109 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane<em> </em>ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เก็บตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านเมล็ดพันธ์ ด้านการจำกัดวัชพืช ด้านการจัดการศัตรูพืชและด้านการใช้ปุ๋ย อธิบายความแปรปรวนหรือทำนายตัวแปรตาม คือ ต้นทุนการปลูกข้าวโพดพันธุ์ข้าวเหนียวชมพูได้ร้อยละ 59.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ปัจจัยด้านเมล็ดพันธ์ ด้านการจำกัดวัชพืช ด้านการจัดการศัตรูพืชส่งผลในทางบวก ในขณะที่ปัจจัยด้านการใช้ปุ๋ย ส่งผลในทางลบ โดยปัจจัยด้านการจัดการศัตรูพืชมีผลต่อต้นทุนการปลูกข้าวโพดพันธุ์ข้าวเหนียวชมพูมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการใช้ปุ๋ย ด้านการจำกัดวัชพืช ด้านเมล็ดพันธ์</p>
2025-03-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275735
กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์
2024-11-20T11:16:23+07:00
ธีรวัฒน์ วีระวัฒน์
iceteerawat2538@gmail.com
ศิวพร เสาวคนธ์
iceteerawat2538@gmail.com
ภูมิ โชคเหมาะ
iceteerawat2538@gmail.com
<p>การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ (2) แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ (3) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ ของระหว่างประเทศ ต่างประเทศ และประเทศไทย (4) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ (5) จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการควบคุม การประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า วิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ มีกฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ การควบคุมวิชาชีพนี้ในประเทศไทยมีมานานแล้วและมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดเกี่ยวกับสัญญานายหน้าไว้ ซึ่งบัญญัติไว้ในลักษณะ 16 มาตรา 845 ถึงมาตรา 849 โดยได้กำหนดเกี่ยวกับสัญญาและบทบาทหน้าที่ของนายหน้าไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฎหมายฉบับใดกำหนดเรื่องการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ไว้เป็นการเฉพาะ รวมถึงไม่มีมาตรการใดครอบคลุมถึงการขึ้นทะเบียน และขอใบอนุญาตเพื่อเป็นล็อบบี้ยีสต์ รวมถึงการกำหนดบทบาทหน้าที่ การควบคุมล็อบบี้ยีสต์ จริยธรรม คณะกรรมการ และบทกำหนดโทษ ส่งผลให้การประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์เป็นไปอย่างเสรี และปราศจากการควบคุม ซึ่งนำไปสู่ปัญหาเรื่องยึดผลประโยชน์มากเกินไป ฉ้อโกง หรือบีบบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามเงื่อนไข ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้งแก่ล็อบบี้ยีสต์ คู่สัญญา บุคคลอื่น ซึ่งเกี่ยวข้อง และสูญเสียผลประโยชน์ที่เกิดแก่สังคม ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย (1) คำนิยาม (2) หมวด 1 คณะกรรมการ (3) หมวด 2 ใบอนุญาต (4) หมวด 3 บทบาทหน้าที่ (5) หมวด 4 การควบคุม (6) หมวด 5 จริยธรรม (7) หมวด 6 บทกำหนดโทษ</p>
2025-03-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275215
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลของบุคลากร ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
2024-11-04T09:52:50+07:00
วรรณภา ธรรมรักษา
wanam1979@gmail.com
อัจฉราวรรณ รัตนพันธ์
wanam1979@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 2) การจัดการการเงินส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และ 3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคล ของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และลูกจ้างประจำ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน 1,469 คน กำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน จำนวน 306 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบตามความสะดวก โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.78) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ ค่าใช้จ่าย อัตราผลตอบแทน และรายได้ 2) การจัดการการเงินส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.86) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผนหลังเกษียณ การบริหารหนี้สิน การออม และการลงทุน และ 3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คือ รายได้ ค่าใช้จ่าย และอัตราผลตอบแทน ที่ส่งผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านภาวะเงินเฟ้อ พบว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อาจเกิดจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้มีรายได้และรายจ่ายที่แน่นอน จึงให้ความสำคัญกับการวางแผนการใช้จ่าย ภาวะเงินเฟ้อจึงเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อประชากรกลุ่มอื่นหรือตัวแปรอื่นที่นอกเหนือจากงานวิจัยนี้</p>
2025-03-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273953
แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภทผ้าไหมทอมือพื้นบ้าน ในเขตจังหวัดอุดรธานี กรณีศึกษา กลุ่มทอผ้าไหมขิดบ้านศรีชมชื่น
2024-11-27T10:44:48+07:00
กชพร สว่าง
poopreaw5@stu.ac.th
ปณิฎฐา พรรณวิเชียร
poopreaw5@stu.ac.th
เจริญชัย พรไพรเพชร
poopreaw5@stu.ac.th
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของกลุ่มทอผ้าไหมขิดทอมือบ้านศรีชมชื่นจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างในเขต จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้สถิติเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) </p> <p>ผลการวิจัย จากการทดสอบสมมติฐานของระดับความคิดเห็นผู้บริโภคต่ออัตลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อ พบว่า ในภาพรวมอัตลักษณ์ตราสินค้ามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อ (β= .755) และเมื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายด้าน พบว่า อัตลักษณ์ตราสินค้าในด้านภาพลักษณ์ส่วนตัว/ การรับรู้ตัวตนของตราสินค้ามีอิทธิพลสูงที่สุด (β= .406) รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์กับตราสินค้า (β= .249) ด้านลักษณะทางกายภาพสินค้า พบว่ามีอิทธิพลเชิงลบต่อความตั้งใจซื้อ (β= -.222) ด้านบุคลิกภาพตราสินค้า (β= .163) ด้านความสามารถในการสะท้อน การเป็นตัวตนของผู้บริโภค (β= .118) และด้านวัฒนธรรมตราสินค้ามีอิทธิพลอยู่ระดับน้อยที่สุด (β=-.094) ตามลำดับ</p>
2025-03-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275814
การคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จักรวาลนฤมิต ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2025-01-05T16:53:28+07:00
จีรนันทร์ แก่นนาคำ
keanapa@kku.ac.th
สุมาลี ชัยเจริญ
sriprapaich@kku.ac.th
สุภาภรณ์ ประสานพานิช
sriprapaich@kku.ac.th
สุดใจ ศรีจามร
sriprapaich@kku.ac.th
ศรีประไพ เพียนอก
sriprapaich@kku.ac.th
<p>สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จักรวาลนฤมิต เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ประสานกันระหว่าง สื่อจักรวาลนฤมิต กับวิธีการ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มาเป็นฐานในการออกแบบ เป็นการสร้างพลเมืองแห่งอนาคตระดับประถมศึกษาให้มีการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะการคิดที่สำคัญด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมของศตวรรษที่ 21 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จักรวาลนฤมิต ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 41 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นก่อนการทดลอง (Pre-experimental Design) แบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบหลังเรียน (One Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จักรวาลนฤมิตตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ และแบบสัมภาษณ์การคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้จากการวัดการคิดสร้างสรรค์ ใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้จากการสัมภาษณ์การคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน โดยใช้การวิเคราะห์โปรโตคอล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีคะแนนการคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยในภาพรวม 14.05 คิดเป็นร้อยละ 90.09 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และพบว่า ผลการคิดสร้างสรรค์ที่ได้จากการวิเคราะห์โปรโตรคอล ประกอบด้วย 1) การคิดคล่อง สร้างความคิดจำนวนมากภายในเวลาอันจำกัด 2) การคิดยืดหยุ่นคิดหลากหลายมุมมองเพื่อทดแทนแนวคิดเดิม 3) การคิดริเริ่ม สร้างความคิดใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม และ 4) การคิดละเอียดลออ คิดในรายละเอียดให้เห็นภาพอย่างสมบูรณ์ชัดเจนมากขึ้น</p>
2025-03-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/274400
ประสิทธิผลของการใช้ระบบบริหารจัดการเงินเดือนบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา (Up-Payroll) ในมุมมองของผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยา
2024-10-03T09:54:40+07:00
พิมพ์วิภา หวังสันติธรรม
pimwipak@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลระบบการใช้ระบบบริหารจัดการเงินเดือนบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา (Up-Payroll) โดยประเมินความพึงพอใจในการใช้งานและ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการเงินเดือนบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา (Up-Payroll) ในมุมมองของผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยา ให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยแบบเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารประเภทสายวิชาการและสายสนับสนุนและบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยพะเยาที่ปฏิบัติงานอยู่ภายในตึกสำนักงานอธิการบดี จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิจัย เชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจะใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารประเภทสายวิชาการและสายสนับสนุน และบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวนทั้งหมด 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยามีมุมมองต่อประสิทธิผลการใช้งานของระบบฯ ไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีความพึงพอใจต่อการใช้งานอยู่ในระดับพึงพอใจมาก 2) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของระบบฯ ควรพัฒนาระบบในด้านความปลอดภัยในการเข้าใช้งานเป็นอันดับแรก และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการใช้งานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้พัฒนาระบบ ควรปรับปรุงและเพิ่มเติมการใช้งานในด้านอื่น ๆ เช่น การคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา เพื่อนำไปวิเคราะห์แนวทางในการยื่นภาษีบุคคลเงินได้ธรรมดา ณ สิ้นปี หรือข้อมูลสรุปภาพรวมรายรับ-รายจ่ายประจำปีเพื่อนำไปวางแผนทางการเงินในแต่ละปีได้ดียิ่งขึ้น</p>
2025-03-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272934
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2024-07-19T15:06:34+07:00
วาสนา บุญเลี้ยง
658010160106@rmu.ac.th
นวพล นนทภา
658010160106@rmu.ac.th
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในการสอน เรื่อง สถิติ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงคณิตศาสตร์ หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในการสอน เรื่อง สถิติ ในด้านทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการให้เหตุผล และทักษะการนำเสนอตัวแทนความคิด (3) เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงคณิตศาสตร์ หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในการสอน เรื่อง สถิติ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 (4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวนนักเรียน 27 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก แบบทดสอบการคิดเชิงคณิตศาสตร์ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที กรณีกลุ่มเดียว การวิเคราะห์งานเขียน และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก75.61/79.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ (2) ระดับการคิดเชิงคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 70.22 (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 16.85, S.D.= 5.25) (3) ระดับการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ครูควรเน้นการให้สถานการณ์ ปัญหาที่น่าสนใจให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ และเน้นให้เข้าใจหลักการให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เพื่ออธิบายและสรุปคำตอบด้วยตนเอง ดังนั้น ครูควรเน้นทักษะให้เหตุผล และทักษะนำเสนอตัวแทนความคิดของนักเรียน ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน</p>
2025-03-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/277171
คุณลักษณะของผู้ประกอบการและปัจจัยในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจร้านอาหารในเขตตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
2025-01-09T10:35:14+07:00
วิภาภรณ์ ศรีหาธาตุ
wipapron.aew@neu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการและปัจจัยในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อความความสำเร็จในการประกอบธุรกิจร้านอาหารในเขตตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจธุรกิจร้านอาหาร จำนวน 146 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ <em>Taro Yamane</em><em> </em>ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เก็บตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่าคุณลักษณะของผู้ประกอบการและปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ที่ส่งผลต่อความความสำเร็จในการประกอบธุรกิจร้านอาหารในเขตตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ด้านคนหรือแรงงาน 2) ด้านนวัตกรรม 3) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และ 4) ด้านการจัดการ ทั้ง 4 ปัจจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนหรือทำนายตัวแปรตาม ได้ร้อยละ 63.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05</p>
2025-03-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272294
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพครูและผู้ปกครองโดยใช้ แนวคิดการเล่นบำบัดและการชี้แนะทางปัญญาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัย ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในจังหวัดมหาสารคาม
2024-07-24T08:48:06+07:00
รุ่งลาวัลย์ ละอำคา
runglawan.la@rmu.ac.th
พีระพร รัตนาเกียรติ์
Runglawan.la@rmu.ac.th
กฤษกนก ดวงชาทม
Runglawan.la@rmu.ac.th
นลินรัตน์ อภิชาติ
Runglawan.la@rmu.ac.th
อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร
Runglawan.la@rmu.ac.th
พรรณวิไล ดอกไม้
Runglawan.la@rmu.ac.th
วณิชา สาคร
Runglawan.la@rmu.ac.th
วรรณษา โสภานะ
Runglawan.la@rmu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบฯ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบฯ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู 30 คน ผู้ปกครอง 30 คน รวม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพครูและผู้ปกครองโดยใช้แนวคิดการเล่นบำบัดและการชี้แนะทางปัญญา 2) แบบประเมินศักยภาพครูและผู้ปกครอง และ 3) แบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ผลการศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบฯ พบว่า ครูและผู้ปกครองมีปัญหาและต้องการพัฒนาศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาวะและการเล่นของเด็กให้ดีขึ้น</li> <li>รูปแบบฯ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กิจกรรม มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ถักทอสายใยสานใจครูและผู้ปกครอง (2) เปิดรับประสบการณ์ (3) ร่วมวางแผน (4) ปฏิบัติการ และ (5) สะท้อนผลการปฏิบัติ 5) สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และ 6) การประเมินผล โดยรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .95</li> <li>ผลการใช้รูปแบบฯ พบว่า ครูมีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาวะเด็กเพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านก่อนและหลังการทดลอง คือ 2.95 (ปานกลาง) และ 3.92 (ดี) ตามลำดับ และผู้ปกครองมีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาวะเด็กเพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยรวมก่อนและหลังการทดลอง คือ 2.72 (ปานกลาง) และ 3.90 (ดี) ตามลำดับ</li> <li>ผลการประเมินสุขภาวะของเด็กก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า เด็กมีสุขภาวะดีขึ้น โดยค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านก่อนและหลังการทดลอง คือ 2.60 (ปานกลาง) และ 3.35 (ปานกลาง) ตามลำดับ</li> </ol>
2025-03-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/277248
Examining the Effect of Service Quality on Customer Loyalty: The Fitness Center Context in Mid Northeastern Provincial Cluster
2025-01-27T10:02:32+07:00
Thitaree Sirimongkol
thitaree.dur@neu.ac.th
Chatchanun Nitiwattana
Thitaree.dur@neu.ac.th
Malichan Thongkam
Thitaree.dur@neu.ac.th
<p>This research aims to study the perceived service quality in the fitness center and how it affects customer loyalty, using perceived value and satisfaction as intermediate variables. The results show that the perceived service quality in the fitness center does affect perceived value and satisfaction. Perceived value has a positive influence on satisfaction and loyalty. Satisfaction has a positive influence on loyalty, although service quality does not have a significant direct influence on it. The research findings are beneficial for entrepreneurs in fitness centers who want to increase customer loyalty. Service providers need to ensure their service quality to meet consumer expectations. If service providers want consumers to be loyal, they need to create perceived value and satisfaction.</p>
2025-03-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273173
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับการทดสอบมาตรฐานตามเกณฑ์ CEFR ระดับ B1 โดยใช้แอพพลิเคชัน สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
2024-10-15T10:45:20+07:00
ขันแก้ว มาพรม
khankaeo@yahoo.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบแผนการทดลองขั้นต้นซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับการทดสอบมาตรฐานตามเกณฑ์ CEFR ระดับ B1 โดยใช้แอพพลิเคชัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 26 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการเรียนรู้ 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ใช้สถิติการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้ E1/E2 และทดสอบคาที (t-test independent) ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้คำศัพท์เพื่อใช้ในการทดสอบมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.69/81.54 สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (80/80) 2) ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก</p>
2025-03-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/277215
แนวทางการพัฒนาด้านภาษีอากรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
2025-01-26T11:04:53+07:00
นฤมล อริยพิมพ์
naruemol.ari@neu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาภาษีและเสนอแนวทางในการพัฒนาความรู้ด้านภาษีอากรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ค่าร้อยละ และ 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่รับผิดชอบงานด้านการดูแลหรือจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีประสบการณ์ด้านบัญชี และภาษีน้อย และมีความเข้าใจในหลักการบัญชีภาษีอากรน้อย ซึ่งพบปัญหาทางด้านภาษีอากร จำนวน 7 ข้อ ดังนี้ 1) การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษี 2) การคำนวณค่าเสื่อมราคาทางบัญชี 3) การจำแนกรายได้ที่ได้รับ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 4) การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ 5) การให้บริการตามสัญญา 6) การขายสินค้าผ่านตัวแทน และ 7) การกำหนดมูลค่าฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ดังนั้นจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขโดยการส่งเสริมความรู้ทางภาษีอากรผ่านการอบรม และการจัดทำคู่มือบัญชีและภาษีที่ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสามารถปฏิบัติตามกฎหมายภาษีได้อย่างถูกต้อง และลดความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ควรมีการอัพเดทข้อมูลทางบัญชีและภาษีอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ และการสร้างช่องทางให้คำปรึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2025-03-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275328
Online Marketing Mix Factors Affecting the Consumer’s Purchase Decision on River Snail Rice Noodle Products in Guangxi, the People's Republic of China
2024-12-19T11:27:21+07:00
Yueming Li
176424744@qq.com
Siriporn Lertyingyot
Lertyingyot@nrru.ac.th
Nutcharee Nutcharee
Pakdeechoho@nrru.ac.th
<p>The purposes of this research were (1) to study the important level of the online marketing mix factors on River Snail Rice Noodles products, and (2) to study the importance of consumers' purchase decisions on River Snail Rice Noodles products and (3) to study online marketing mix factors affecting the consumer's purchase decision on River Snail Rice Noodles products in Guangxi, the People's Republic of China. The sample group was 400 people who had experience using River Snail Noodles products on their own through online business. The research tool was an online questionnaire. Data were analyzed using descriptive and inferential statistics with MRA.</p> <p>The online marketing mix concerning the place was the first very high importance, followed by product and people, price, process, and the physical, respectively, according to the consumers' purchase decisions. The results showed that all factors were highly important. These findings showed that the online marketing mix (product) had a direct effect on the purchase decisions of consumers, with coefficient equal to (β=.304). The online marketing mix (price) had a direct effect on the purchase decisions of consumers, with a coefficient equal to (β=.266). The online marketing mix (promotion) had a direct effect on the purchase decisions of consumers, with a coefficient equal to (β=.185). The online marketing mix (physical) had a direct effect on the purchase decisions of consumers, with a coefficient equal to (β=.181). The online marketing mix (process) had a direct effect on the purchase decisions of consumers, with a coefficient equal to (β=.089). Lastly, the online marketing mix (people) had a direct effect on the purchase decisions of consumers, with a coefficient equal to (β=.077). All the factors were significant at 0.05 level. While the variable online marketing mix (place) had a direct effect on consumer's purchase decisions, a coefficient equal to (β=.048), Adjusted R<sup>2</sup> = 0.584, which was not significant at 0.05 level. The research contributed to understanding how social media marketing and influencer endorsements affected the purchase decision process for traditional or regional food products, offering insights into the influence of digital word-of-mouth on niche products.</p>
2025-03-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275343
พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ 2 ฝั่งโขง กรณีศึกษา จังหวัดนครพนม
2024-11-10T10:40:38+07:00
ชลิดา ช่วยสุข
chalida@npu.ac.th
ดาริกาญจน์ วิชาเดช
darikarn.wic@neu.ac.th
จิราภรณ์ พรหมเทพ
darikarn.wic@neu.ac.th
อัจฉริยา ทุมพานิชย์
darikarn.wic@neu.ac.th
ชัยธวัช ศิริบวรพิทักษ์
darikarn.wic@neu.ac.th
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวสำราญทางน้ำของ จังหวัดนครพนม และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ ตามตัวชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว (TTCI) ใช้ที่วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวสำราญทางน้ำที่เดินทางมายังจังหวัดนครพนม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสำราญทางน้ำเดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนมายังจังหวัดนครพนม มีจุดประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อการพักผ่อนนักท่องเที่ยวไม่มีประสบการณ์การท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ มีระยะเวลาของการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดนครพนม จำนวน 1-2 วัน เดินทางท่องเที่ยวภายในจังหวัดนครพนมเท่านั้น และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวต่อครั้งอยู่ที่ 15,001-20,000 บาท 2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ ตามตัวชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว (TTCI) พบว่า ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.24 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความน่าสนใจของทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเพณี และงานเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และความหลากหลายของผู้คนและวิถีชีวิตชนเผ่า ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.28 ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำโขงของจังหวัดนครพนม โดยการจัดให้มีกิจกรรมนันทนาการ เพื่อการท่องเที่ยวทางน้ำให้มากขึ้น สถานประกอบการการท่องเที่ยวควรมีการนำเสนอรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวทางน้ำที่นักท่องเที่ยวทุกคนสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้มากขึ้น และผู้ประกอบการการท่องเที่ยวควรสร้างกิจกรรมสำราญทางน้ำรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อลดความต้องการที่สูงในช่วงฤดูท่องเที่ยว</p>
2025-03-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/274525
การวิเคราะห์อิทธิพลของลักษณะบุคลิกภาพต่อพฤติกรรมการออมของคนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร
2024-11-23T11:54:41+07:00
ธารทิพย์ พจน์สุภาพ
thantip.poj@kbu.ac.th
ปราณี คงธนสมุทร
thantip.poj@kbu.ac.th
ชนิกานต์ พนมอุปถัมภ์
thantip.poj@kbu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ศึกษาลักษณะบุคลิกภาพ ได้แก่ การเปิดรับประสบการณ์ การมีจิตสำนึก การประนีประนอม ความหวั่นไหว และการแสดงตัว ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ข้อมูลสำหรับการศึกษานี้รวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มคนวัยทำงานมีส่วนร่วมในการสำรวจ จำนวน 400 คน เลือกโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ทางสถิติ ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า การเปิดรับประสบการณ์ และการมีจิตสำนึก มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการออมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ในทางกลับกันบุคลิกภาพแบบแสดงตัวมีอิทธิพลเชิงลบต่อพฤติกรรมการออมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แม้ว่าคุณลักษณะการประนีประนอม และความหวั่นไหวจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออม แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อิทธิพลของตัวแปรอิสระสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการออม ได้ร้อยละ 39.6</p>
2025-03-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/277418
การพัฒนาบอร์ดชิพสมองกลฝังตัวเพื่อการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้สำหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2025-02-13T09:54:51+07:00
จารุกิตติ์ สายสิงห์
jarukitt.sai@neu.ac.th
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)พัฒนาบอร์ดชิพสมองกลฝังตัวสำหรับการเรียนรู้และประยุกต์ใช้งาน 2)หาประสิทธิภาพบอร์ดชุดฝึกสำหรับการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 3)ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียน ประชากรได้แก่นักศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 25 คน และกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเจาะจงกลุ่มนักศึกษาที่เรียนรายวิชาเกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์และการออกแบบโปรแกรมการสอนผ่านเว็บ เครื่องมือที่ใช้คือ ชุดฝึกบอร์ดชิพสมองกล ฝังตัว ตำรา เอกสารประกอบการสอน แบบทดสอบ จำนวน 20 ข้อ คุณภาพแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า บอร์ดชิพสมองกลฝังตัวมีประสิทธิภาพด้านคุณสมบัติโดยผ่านการวัดสอบเทียบได้ตามเกณฑ์กำหนด ผลการทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 24.64 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 75.20 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนพบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีต่อชุดฝึกสมองกลฝังตัวเพื่อการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้งาน ซึ่ง ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกสมองกลฝังตัว เพื่อการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้งาน มีค่า <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.40 และค่า S.D. = 0.50 ซึ่งอยู่ในช่วงของระดับพอใจมาก</p>
2025-03-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275163
การพัฒนาชุดการสอนการอ่านอังกฤษเชิงวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ PTGAR เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2024-11-13T11:02:32+07:00
กาญจนา หารจันทร์
kanjana187@gmail.com
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนการอ่านอังกฤษเชิงวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษอ่านเขียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยชุดการสอนการอ่านอังกฤษเชิงวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ (Reading for Gist or Information) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 315 คน กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน จากห้อง ม. 6/7 จำนวน 30 คน โดยสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน จำนวน 60 ชั่วโมง ระยะเวลาดำเนินการ 1 ภาคเรียน สื่อที่ใช้ คือ ชุดการสอนการอ่านอังกฤษเชิงวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าที t-test (Dependent) และค่าประสิทธิภาพเกณฑ์ 80/80</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดการสอนทั้งประสิทธิภาพของกระบวนการที่จัดไว้ในชุดการสอนและประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอน มีประสิทธิภาพ E1/E2 คือ 80.05/83.66 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) ความก้าวหน้าทางการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษอ่านเขียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยเท่ากับ 7.3 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 36.5 อยู่ในระดับต่ำ 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้</p>
2025-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/269988
การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
2024-05-21T10:52:55+07:00
สุริยา ชานกัน
slacinternet@gmail.com
อาคม อึ่งพวง
slacinternet@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 437 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความผูกพันที่จะปฏิบัติ ความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกันและการไว้วางใจกัน 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 เมื่อจําแนกตามสถานภาพ วุฒิการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน</p>
2025-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273318
การพัฒนาที่ยั่งยืน: การบูรณาการพุทธธรรม ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
2024-07-15T13:11:55+07:00
ธนภณ สมหวัง
dhanapon.so@spu.ac.th
ปริยา ศุภวงศ์
Dhanapon.so@spu.ac.th
<p>บทความนี้ ศึกษาการบูรณาการหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) โดยชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เน้นเศรษฐกิ และอุตสาหกรรม นำไปสู่ปัญหาสังคมและการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เนื่องจากแนวคิดที่ผิดพลาด เช่น การมองมนุษย์แยกจากธรรมชาติ ท่านเสนอการบูรณาการพุทธธรรม โดยอธิบายหลักเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยงมนุษย์ ธรรมชาติและสังคม ให้พึ่งพาอาศัยกันเพื่อสร้างความยั่งยืน (ศีล) จิตใจ (สมาธิ) และสติปัญญา (ปัญญา) เพื่อเชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน</p>
2025-01-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/276184
แนวทางการออกแบบสื่อสาร เพื่อสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ในการตลาดดิจิทัลยุคใหม่
2024-11-29T10:41:37+07:00
มนชญา สระบัว
monchaya.sa@spu.ac.th
สถิร ทัศนวัฒน์
Monchaya.sa@spu.ac.th
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อทบทวนกลยุทธ์ในการออกแบบเพื่อการสื่อสาร และ (2) เพื่อศึกษาการออกแบบริการเพื่อสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ในการตลาดดิจิทัลยุคใหม่ ซึ่งในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว การออกแบบสื่อสารเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้นั้นถือเป็นหัวใจสำคัญของการตลาดสมัยใหม่ ผู้บริโภคในปัจจุบันไม่เพียงต้องการสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังต้องการประสบการณ์ที่น่าประทับใจในทุกการมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ เพราะการออกแบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องเริ่มจากการเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้อย่างลึกซึ้ง ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและการทำวิจัยตลาด เพื่อนำมาสร้างสรรค์เนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย การใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็น AI, AR หรือ VR ช่วยเพิ่มมิติใหม่ ๆ ให้กับประสบการณ์ของผู้ใช้ การสร้าง Customer Journey Map ที่ละเอียดและครอบคลุมทุกจุดสัมผัส ช่วยให้แบรนด์สามารถออกแบบประสบการณ์ที่ราบรื่นและต่อเนื่อง ตั้งแต่การรับรู้แบรนด์ครั้งแรกไปจนถึงการตัดสินใจซื้อและการบริการ หลังการขาย การใช้การเล่าเรื่อง (Storytelling) ที่สร้างอารมณ์ร่วมและความผูกพันกับแบรนด์ ผสมผสานกับการออกแบบที่สวยงามและใช้งานง่าย จะช่วยสร้างความประทับใจที่ยาวนาน ในขณะเดียวกัน การเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน แต่ละแพลตฟอร์มมีลักษณะเฉพาะและพฤติกรรมผู้ใช้ที่แตกต่างกัน การปรับแต่งเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอให้เข้ากับแต่ละช่องทางจึงเป็นสิ่งจำเป็น การวัดผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การรับฟังเสียงตอบรับจากผู้ใช้และการติดตามพฤติกรรมการใช้งานจะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจว่าอะไรที่ทำงานได้ดีและอะไรที่ควรปรับปรุง ท้ายที่สุดความสำเร็จของการตลาดดิจิทัลในยุคใหม่ไม่ได้วัดกันที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่วัดจากความพึงพอใจและความผูกพันที่ผู้ใช้มีต่อแบรนด์ซึ่งเกิดจากการออกแบบประสบการณ์ที่น่าประทับใจและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง</p>
2025-01-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ