วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน – ธันวาคม) รับพิจารณาบทความในด้านบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิติศาสาตร์ &quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}"> วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกปีละ 4 ฉบับ เริ่ม ฉบับที่ 1 ปีที่ 12 พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – มีนาคม ฉบับที่ 2 ประจำเดือน เมษายน - มิถุนายน ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กรกฎาคม - กันยายน และฉบับที่ 4 ประจำเดือน ตุลาคม - ธันวาคม) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ในด้านบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิติศาสตร์<br /> บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)<br /></span></p> มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ th-TH วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1906-7267 แนวทางการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสื่อสาร SMCR https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/276013 <p>การศึกษาไทยในยุคศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับชีวิต และการทำงานในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้เรียนและสภาพสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญ แนวทาง SMCROF ซึ่งพัฒนามาจากทฤษฎีการสื่อสาร SMCR ของเดวิด เค เบอร์โล (David K. Berlo) มีองค์ประกอบหลัก 6 ประการ ได้แก่ 1) ผู้สอน (Sender) เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ 2) เนื้อหาความรู้ (Message) เป็นข้อมูลหรือความรู้ 3) ช่องทางการรับรู้/สื่อ (Channel) เป็นวิธีการหรือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน 4) ผู้เรียน(Receiver) เป็นผู้รับความรู้ 5) ผลที่เกิดขึ้น (Output) เป็นผลลัพธ์จากกระบวนการเรียนรู้ และ 6) การสื่อสารกลับ (Feedback) เป็นข้อมูลย้อนกลับตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน ดังนั้น การประยุกต์ใช้แนวทาง SMCROF และการนำหลักการวงจรคุณภาพ (PDCA Cycle) มาประเมินกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนสามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต</p> กิตติศักดิ์ ดียา จริยา ปันทวังกูร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 14 4 171 185 กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272174 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน และข้าราชการครู จำนวน 277 คน รวมทั้งสิ้น 297 คน กำหนดขนาดโดยคำนวณจากสูตร Taro Yamane วิธีการสุ่มแบบตัวอย่างแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม มาตรประมาณค่า 5 มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เชิงข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของ การเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 สภาพปัจจุบันโดยรวม อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทั้งหมด 6 ด้าน 2) กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ กลยุทธ์ 30 ตัวชี้วัด และ 30 มาตรการ</p> อัจฉราวรรณ เชื้อเจ้าทรัพย์ ยุทธศาสตร์ กงเพชร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-08 2024-12-08 14 4 1 15 การลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุถัง กรณีศึกษา โรงงานผลิตน้ำดื่มแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273934 <p>การลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นมาจากความล่าช้า ภายในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุถังเป็นการป้องกันการสูญเสีย และลดปัญหาความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้า การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเปล่านี้ และนำเสนอแนวทางที่จะช่วยลดความสูญเปล่าดังกล่าวที่เกิดจากความล่าช้าในโรงงานผลิตน้ำดื่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากการสังเกต แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 20 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนภาพกระบวนการไหล และกิจกรรมการผลิตเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า และเสนอแนวทางลดความสูญเปล่า ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า เกิดขึ้นในกิจกรรมขนย้ายถังไปยังห้องบรรจุน้ำถัง กิจกรรมการบรรจุน้ำถัง และกิจกรรมเคลื่อนย้ายน้ำถังไปคลังสินค้า สามารถนำกิจกรรม มาปรับปรุงเพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุถัง ด้วยทฤษฎี ECRS โดยเสนอแนวทาง 3 แนวทาง ได้แก่ การอบรมเพิ่มทักษะการทำงาน การเพิ่มกำลังการผลิต และการเพิ่มอุปกรณ์ทุ่นแรง หลังจากได้เสนอแนวทางเพื่อลดความสูญเปล่าที่ได้เกิดจากความล่าช้า ในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุถัง จำนวนครั้งที่ล่าช้า ลดลง 8 ครั้ง คิดเป็นลดลงร้อยละ 47.36 ในขณะที่เวลาที่ใช้ในกระบวนการผลิตลดลง 99.19 นาที คิดเป็นร้อยละ 32.04 และทำให้ลดต้นทุนค่าเสียโอกาสจาก 26,000 บาทต่อเดือน ส่งผลให้ได้กำไรจากกระบวนการผลิตที่เร็วขึ้น 1,200 บาทต่อเดือน</p> ชลาธาร โควังชัย ปณัทพร เรืองเชิงชุม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-08 2024-12-08 14 4 16 30 องค์ประกอบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272905 <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 350 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการแจกแจงความถี่ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจโดยวิธี Principal-Component Analysis และใช้วิธีการหมุนแกนออโธโกนอลแบบวาริแมกซ์ค่า KMO ที่ใช้ในประเมินความเหมาะสมของข้อมูล เท่ากับ 0.924</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในด้านของปัจจัยจูงใจ ด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุดและด้านของปัจจัยค้ำจุน ด้านนโยบายและการบริหารงานขององค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งหมายความว่า พนักงานให้ความสำคัญกับด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล และด้านนโยบาย และการบริหารงานขององค์กรมาเป็นอันดับแรก ในส่วนขององค์ประกอบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบองค์ประกอบที่สำคัญ 11 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ กับผู้บังคับบัญชา องค์ประกอบที่ 2 ด้านนโยบายบริหารงานและการจัดการขององค์กร องค์ประกอบที่ 3 ด้านความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาและการยอมรับนับถือ องค์ประกอบที่ 4 ด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล องค์ประกอบที่ 5 ด้านความก้าวหน้าในอาชีพและการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบที่ 6 ด้านสภาพการทำงานและความมั่นคงของในการทำงาน องค์ประกอบที่ 7 ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน องค์ประกอบที่ 8 ด้านสถานะของอาชีพ องค์ประกอบที่ 9 ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ องค์ประกอบที่ 10 ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว และองค์ประกอบที่ 11 ด้านสวัสดิการและผลตอบแทนขององค์กร (ร้อยละความแปรปรวน เท่ากับ 11.231 8.465 8.194 7.948 6.483 5.199 4.854 3.615 3.285 3.135 และ 2.405 ตามลำดับ) โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการไฟฟ้าเขตอื่น ๆ ที่มีบริบทเช่นเดียวกัน สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา และสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในสังกัดได้</p> ฉัตรดนัย วงษ์คำชัย ฐิตารีย์ ศิริมงคล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-08 2024-12-08 14 4 31 46 แนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมโรงแรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272842 <ul> <li>บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากผู้พักในโรงแรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (อบจ.อุดรธานี) ที่เก็บได้ ตามความเป็นจริง 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียม บำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักในโรงแรมของ อบจ.อุดรธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ออกแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้างเจาะลึก (In-depth interview) แบบกรณีศึกษาทางเดียว (Single Case Study) จากผู้พัก ในโรงแรมของ อบจ.อุดรธานี และสัมภาษณ์บุคลากรของ อบจ.อุดรธานี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของ อบจ.อุดรธานี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ด้านการจัดเก็บรายได้ใน อบจ.อุดรธานี และ 2) กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมในเขตพื้นที่อบจ.อุดรธานี ได้แก่ เจ้าของกิจการโรงแรม ผู้จัดการโรงแรม</li> </ul> <ul> <li>ผลการศึกษาพบว่า <ol> <li>กระบวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากผู้พักในโรงแรม ของ อบจ.อุดรธานี ที่เก็บได้ตามความเป็นจริง พบว่า อบจ.อุดรธานีมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การสำรวจข้อมูลโรงแรมไม่ครอบคลุมส่งผลให้ไม่สามารถได้ข้อมูลค่าเช่าห้องพักรายวัน จำนวนวันและจำนวนห้องพักที่มีผู้เข้าพักจริงและผู้ประกอบกิจการโรงแรมเป็นผู้มีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมฯ ไว้แทน อบจ.อุดรธานี การประเมินค่าธรรมเนียมฯ จึงขึ้นอยู่กับความเต็มใจจ่ายของผู้ประกอบกิจการโรงแรม ในทุก ๆ เดือน ผู้ประกอบกิจการโรงแรมต้องเดินทางมายัง อบจ.อุดรธานีเพื่อชำระค่าธรรมเนียมฯ เกิดต้นทุนในการเดินทาง หรืออาจรอให้เจ้าหน้าที่ออกพื้นที่ไปจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว ซึ่งไม่สะดวกในการชำระเงิน การติดต่อสอบถามและประชาสัมพันธ์ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้และพบว่า ผู้ประกอบการบางรายไม่ทราบว่าต้องชำระค่าธรรมเนียมฯ ก่อนวันที่ 10 ของทุกเดือน</li> <li><span style="font-size: 0.875rem;">แนวทางการพัฒนากระบวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากผู้พักในโรงแรมของ อบจ.อุดรธานี พบว่า เนื่องจากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล มีข้อมูลเชิญพื้นที่ที่แม่นยำกว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัด และต้องสื่อสารทำความเข้าใจในค่าธรรมเนียมฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการรับรู้ การจ่ายค่าธรรมเนียมฯ จะก่อให้เกิดประโยชน์ใดบ้างต่อกิจการของตนเอง และยินดีที่จะจ่าย ตลอดจนอำนวยความสะดวกโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ อาทิ เพิ่มช่องทางออนไลน์ในการแจ้งการชำระค่าธรรมเนียมฯ อาจใช้แอพพลิเคชัน Line Official เป็นบัญชีของการรับชำระค่าธรรมเนียมฯ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยเฉพาะ เพื่อใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ประกอบกิจการโรงแรมได้โดยตรง และเพิ่มช่องทางการรับชำระโดยการโอนเงินเข้าบัญชี เพื่อชำระค่าธรรมเนียมฯ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงแรม</span></li> </ol> </li> </ul> ชุติมา จิตต์นอก Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-08 2024-12-08 14 4 47 58 คุณภาพของการให้บริการงานจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ในกองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273690 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้รับบริการ ต่อคุณภาพการให้บริการ ของกองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษามุมมองภาพลักษณ์ของกองคลังองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ของผู้ใช้บริการ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ ที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ในกองคลังองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 327 คน ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกร จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา และมีรายได้ต่อเดือนโดยเฉลี่ย 20,001-30,000 บาท ด้านคุณภาพการให้บริการในกองคลังองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ด้านการตอบสนองลูกค้า <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.87 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการบริการที่เป็นรูปธรรม หรือการบริการในลักษณะของกายภาพ, ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือ, ด้านการเอาใจใส่ และด้านการสร้างความมั่นใจ โดยมี <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.76, 4.64, 4.63 และ 4.56 ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้ง 5 ตัวนี้ สามารถส่งผลต่อภาพลักษณ์ในกองคลังองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ได้ร้อยละ 42.1</p> อ้อมฤทัย ล้านพลแสน ทัตมัล แสงสว่าง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-08 2024-12-08 14 4 59 73 แนวทางการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับทศนิยมและเศษส่วนโดยใช้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272870 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคย (2) เปรียบเทียบยุทธวิธีในการแก้ปัญหาโดยใช้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยจำแนกตามระดับมโนทัศน์ (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และยุทธวิธีในการแก้ปัญหาประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวน 93 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบยุทธวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคย และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์งานเขียน การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนมีระดับมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ต่ำเป็นจำนวนมากที่สุดและผลการศึกษายุทธวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคย พบว่า นักเรียนเลือกใช้ยุทธวิธีการเขียนสมการมากที่สุด (2) นักเรียนที่มีระดับมโนทัศน์สูง และปานกลาง นักเรียนเลือกใช้ยุทธวิธีการเขียนสมการมากที่สุด (3) แนวทางการพัฒนาครูจะต้องวางแผนในการจัดการเรียนการสอนในเรื่องทศนิยมและเศษส่วน จะต้องอธิบายอย่างช้า ๆ สอน หรืออธิบายจากเนื้อหาง่ายไปยาก พานักเรียนทำโจทย์หลาย ๆ รูปแบบ และใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ดังนั้นสามารถนำแนวทางนี้ไปพัฒนาการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น</p> ทวีทรัพย์ พุทธตาลดง นวพล นนทภา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-08 2024-12-08 14 4 74 87 ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/271121 <p>การศึกษาวิจัยเรื่องภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบรนด์ จากประเทศจีนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ตราสินค้าของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีน ในมุมมองของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีน ของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีน ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงประมาณโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 18 - 22 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพนักเรียน นักศึกษา และอาชีพอิสระ โดยมีรายได้เฉลี่ยที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า พบว่า ทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านคุณภาพ และคุณประโยชน์ และพบว่าปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า ที่ส่งผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีน ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพ ด้านบุคลิกภาพตราสินค้า ด้านคุณประโยชน์ และด้านคุณสมบัติ ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้ง 4 ตัวนี้มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 28.3, 21.4, 18.2 และ 16.0 ตามลำดับ (adjusted R2 = .283, .214, .182, .160)</p> Yun Zhang ฐิตารีย์ ศิริมงคล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-08 2024-12-08 14 4 88 102 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273135 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (2) ศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านตรรกะ และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ (3) เปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารคามพิทยาคม สพม.มหาสารคาม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.89) แบบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (ค่าความเชื่อมั่น = 0.712) แบบวัดด้านตรรกะและคณิตศาสตร์์ (ความเชื่อมั่น = 0.740) และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์งานเขียน การบรรยายเชิงวิเคราะห์ และสถิติทดสอบทีกรณีกลุ่มเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน มีประสิทธิภาพ 80.94 / 81.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (2) การศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ พบว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงจำนวน 21 คน จำแนกเป็นนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้สูงจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 66.34 (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 8.77, S.D. = 0.83) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ปานกลางจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 33.66 (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=7.13, S.D.= 0.35) และความสามารถด้านตรรกะ และคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางจำนวน 19 คน จำแนกเป็นนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ปานกลางจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 100 (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=7.95, S.D.= 1.54) (3) ผลความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ และความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ หลังจากได้รับจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศันสนีย์ มงคลเมือง รามนรี นนทภา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-08 2024-12-08 14 4 103 117 การวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการกีฬาในเขตจังหวัดขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/276206 <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการกีฬาในเขตจังหวัดขอนแก่น 2) วิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการกีฬาในเขตจังหวัดขอนแก่น และ 3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจ ของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการกีฬาในเขตจังหวัดขอนแก่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ได้แก่ ลูกค้าที่เคยสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการกีฬาในเขตจังหวัดขอนแก่นจำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการบริหารจัดการธุรกิจมีความสำคัญที่สุด โดยปัจจัยสำคัญ ในการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการกีฬาในเขตจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยปัจจัยการบริหารจัดการที่สำคัญ 6 ปัจจัย คือ 1) การให้บริการ 2) วัสดุ อุปกรณ์ 3) การดำเนินงาน 4) การส่งเสริมการตลาด ให้ 5) ด้านการบริการหลังการขาย และ 6) ด้านลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำเอาไปเป็นแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจ ที่สามารถสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง</p> อุมาวรรณ วาทกิจ ร่มสน นิลพงษ์ ชลัช ภิรมย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 14 4 118 132 การพัฒนาสื่อการสอน เรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ และการพัฒนาระบบบันทึกการใช้งานคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273360 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการสอนการใช้กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) เพื่อพัฒนาระบบบันทึกการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ 3) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อการสอน และระบบบันทึกการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้สื่อการสอน และระบบบันทึกการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ ฟลูออเรสเซนต์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน คือ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา บุคคลทั่วไป ที่มาใช้บริการกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อการสอนพัฒนาในรูปแบบวิดีโอ ระบบบันทึกการใช้งาน แบบประเมินคุณภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการสอนการใช้กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ เป็นสื่อวิดีโอ แบบ Non-Linear Editing โดยใช้โปรแกรม Final Cut Pro จำนวน 6 เรื่อง สามารถศึกษาเรียนรู้ล่วงหน้า และทบทวน ซ้ำได้ 2) ระบบบันทึกการใช้งาน พัฒนาในรูปแบบ Web Application ด้วยภาษา PHP และใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล MySQL ระบบสามารถออกรายงานได้รวดเร็ว และตรวจเช็คข้อมูลการบันทึกการใช้งานได้ง่าย 3) ผลการประเมินคุณภาพของสื่อการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.61, S.D.=0.51) และผลการประเมินคุณภาพของระบบบันทึกการใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.60, S.D.=0.51) และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้สื่อการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.59, S.D.=0.49) และผลการประเมินความพึงพอใจระบบบันทึกการใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.63, S.D.=0.48)</p> บังอร ละเอียดออง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 14 4 133 148 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275840 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานของการประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจจำหน่ายต้นไม้อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 67 ราย ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่า t-test แบบ One-sample t-test ทำการทดสอบความมีนัยสำคัญระหว่างค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) การประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ มีระดับการดำเนินงานในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานประกอบการ ด้านการดำเนินงาน และด้านสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัย ที่ตั้งไว้ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ พบว่า มีปัจจัย ที่สำคัญจำนวน 10 ปัจจัยจากทั้งหมด 48 ปัจจัย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าทุกปัจจัยล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> ศุภิกา ประเสริฐพร ลักขโณ ยอดแคล้ว มาลีรัตน์ สาผิว Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 14 4 149 157 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจซื้อ รถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคล ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273975 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าประเภท ส่วนบุคคล ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคล ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคล ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมาที่ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง จดทะเบียนที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคล ประกอบด้วย 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านราคา 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด 5) ด้านบุคลากร 6) ด้านกระบวนการ และ 7) ด้านลักษณะทางกายภาพ ตัวแปรตามคือ การตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคล ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย1) การรับรู้ถึงปัญหา 2) การแสวงหาข้อมูล 3) การประเมินทางเลือก 4) การตัดสินใจซื้อ และ 5) พฤติกรรมภายหลังการซื้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา ด้านที่มีระดับความสำคัญสูงสุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ 2) การตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา ด้านที่มีระดับการตัดสินใจสูงสุด คือ ด้านการประเมินทางเลือก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับ การตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคใน จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง โดยด้านที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด</p> วงศ์ปกรณ์ ศิริภัทรสุนทร สุวรรณา เตชะธีระปรีดา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 14 4 158 170