วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน – ธันวาคม) รับพิจารณาบทความในด้านบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิติศาสาตร์ &quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}"> วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกปีละ 4 ฉบับ เริ่ม ฉบับที่ 1 ปีที่ 12 พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – มีนาคม ฉบับที่ 2 ประจำเดือน เมษายน - มิถุนายน ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กรกฎาคม - กันยายน และฉบับที่ 4 ประจำเดือน ตุลาคม - ธันวาคม) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ในด้านบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิติศาสตร์<br /> บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)<br /></span></p> th-TH neuarj@neu.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกอร บุญมี) neuarj@neu.ac.th (ดร.สัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน์) Wed, 25 Sep 2024 19:16:30 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 นัยยะทางวิชาการของการปฏิรูปบริการสาธารณะ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/269399 <p>การปฏิรูปบริการสาธารณะถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลายทางการบริหารงานภาครัฐแต่นัยยะใดถือว่าเป็นการปฏิรูปบริการสาธารณะอย่างแท้จริง บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิรูปบริการสาธารณะ หลักการปฏิรูปบริการสาธารณะ รากฐานแรงกดดันการปฏิรูปบริการสาธารณะ ลักษณะการปฏิรูปบริการสาธารณะและปัจจัยทำให้เกิดการปฏิรูปบริการสาธารณะ การศึกษาใช้การวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการ ที่มีการเผยแพร่ระดับนานาชาติ โดยเฉพาะบทความวิชาการ บทความวิจัยและหนังสือเป็นหลัก การศึกษา พบว่า การปฏิรูปบริการสาธารณะมีหลักการสำคัญเกี่ยวกับการปรับปรุงขีดความสามารถ ของสถาบันสาธารณะอย่างต่อเนื่อง โดยมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงหลากหลายแตกต่างกัน อาทิ การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน ซึ่งการปฏิรูปบริการสาธารณะถือเป็นเครื่องมือการบริหารงานภาครัฐที่มีรากฐานแรงกดดันสำคัญมาจากบรรดาแนวคิดการบริหารงานภาครัฐใหม่ อาทิ การจัดการปกครอง การจัดการภาครัฐแนวใหม่และการบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เข้ามาอิทธิพลต่อการบริหารงานภาครัฐแบบดั้งเดิม โดยทั้งลักษณะการปฏิรูปบริการสาธารณะและรากฐานแรงกดดันการปฏิรูปบริการสาธารณะ มีข้อค้นพบทิศทางเดียวกับการศึกษาในส่วนกรณีศึกษาการปฏิรูปบริการสาธารณะ และสุดท้ายการศึกษาปัจจัยทำให้เกิดการปฏิรูปบริการสาธารณะ พบว่า ระบบการเมือง ความเข้มแข็งของระบบพรรคการเมือง นักการเมืองวัยหนุ่มสาว แรงกดดันทางเศรษฐกิจและสังคม ความคิดใหม่ทางการบริหารและการมีส่วนร่วม ถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล</p> ยศธร ทวีพล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/269399 Wed, 25 Sep 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272289 <p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ประสบการณ์การทำงานและตำแหน่งหน้าที่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 315 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเปรียบเทียบของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) พบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาครูให้มีทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ</li> <li><span style="font-size: 0.875rem;">ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 แตกต่างกัน โดยจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ประสบการณ์การทำงาน พบว่า ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ยุคดิจิทัลและด้านการพัฒนาครูให้มีทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ ไม่แตกต่างกัน</span></li> </ol> ศรินญา ทองโคตร, วิเชียร รู้ยืนยง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272289 Wed, 25 Sep 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะและคุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ของข้อมูลในงบการเงินของกลุ่มธุรกิจการผลิตขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272298 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของข้อมูลในงบการเงินของกลุ่มธุรกิจการผลิตขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาคุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชี ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของข้อมูลในงบการเงินของกลุ่มธุรกิจการผลิตขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักบัญชีที่ปฏิบัติงานกลุ่มธุรกิจการผลิตขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 311 คน ที่มาจากการคำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ โดยใช้สูตร Yamane (1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคูณ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมประสิทธิภาพของข้อมูลงบการเงิน ที่ได้จากการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัย เช่น ความรู้ความสามารถของนักบัญชี หรือความพร้อมของบริษัทที่สนับสนุนให้การดำเนินการของระบบสารสนเทศทางการบัญชีอย่างมีระบบแบบแผน รวมถึงการกำหนดนโยบายต่างที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน หรือมีข้อจำกัดในการทำงานมากจนเกินไป รวมไปถึงระบบสารสนเทศการบัญชีควรมีความเสถียร และมีความปลอดภัยขั้นสูงเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลบริษัทที่เป็นสำคัญต่อการดำเนินกิจการ และการนำระบบสารสนเทศการบัญชีมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> ประสูติ ช้างสีสุก, ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272298 Wed, 25 Sep 2024 00:00:00 +0700 การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/271852 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้แนวคิด เชิงออกแบบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเลี่ยมพิลึก อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ 8 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยละ 4 แผน รวมทั้งสิ้น 32 แผน มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.85, S.D. = 0.26) และ 2) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC = 0.96) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการและขั้นตอนประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการทำความเข้าใจปัญหา ขั้นการกำหนดปัญหา ขั้นการระดมความคิด ขั้นการสร้างต้นแบบ และ ขั้นการทดลองใช้ ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยสูงขึ้น 2) หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมทุกด้านเพิ่มขึ้น โดยก่อนทดลอง มีผลคะแนนระดับพอใช้ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=35.50, S.D. = 7.82) และหลังการทดลองมีผลคะแนนระดับดี (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=45.33, S.D. = 5.61)</p> ทิพย์สุดา ชื่นชม, รุ่งลาวัลย์ ละอำคา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/271852 Wed, 25 Sep 2024 00:00:00 +0700 การจัดกิจกรรมเกมดนตรี เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/271816 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมเกมดนตรี เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลัง ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมดนตรี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 – 5 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 20 คน ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาล สว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเกมดนตรี เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย 8 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยละ 3 แผน รวมทั้งสิ้น 24 แผน 2) แบบทดสอบทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย 2 ทักษะ คือ ทักษะการฟังจำนวน 20 ข้อ และทักษะการพูดจำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดกิจกรรมเกมดนตรี โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ ขั้นที่ 2 ชี้แจงและอธิบายกิจกรรม ขั้นที่ 3 ดำเนินกิจกรรม ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์ และขั้นที่ 5 สรุป ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางทักษะภาษาอังกฤษ ทั้ง 2 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการฟังและทักษะการพูดภาษาอังกฤษสูงขึ้น 2) เปรียบเทียบทักษะทางภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมเกมดนตรี และหลังการจัดกิจกรรมเกมดนตรี พบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมเกมดนตรี เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับระดับพอใช้ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 8.20) และหลังการจัดกิจกรรมเกมดนตรี เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาอังกฤษในระดับดี (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 22.70) แสดงว่าก่อนการทดลองและหลังการทดลองการจัดกิจกรรมเกมดนตรี เด็กปฐมวัยมีผลคะแนนการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษโดยเฉลี่ยรวมทุกทักษะเพิ่มขึ้น</p> อาทิติยา วงค์คำ, รุ่งลาวัลย์ ละอำคา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/271816 Wed, 25 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนโปรแกรมผ่านอีเลิร์นนิงโดยใช้เทคนิคไมโครเลิร์นนิง เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องความปลอดภัยในการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพสนามแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/267362 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนโปรแกรมผ่านระบบอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคไมโครเลิร์นนิง เรื่องความปลอดภัยในการใช้เครื่องตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังโดยใช้บทเรียนโปรแกรม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ที่เรียนผ่านบทเรียนโปรแกรมผ่านระบบอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคไมโครเลิร์นนิง กลุ่มเป้าหมาย คือ อาสาสมัครบุคลากรทางการแพทย์ ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานในหน่วยตรวจเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจำนวน 50 คน วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน เครื่องมือวิจัย คือ บทเรียนโปรแกรม แบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ คุณภาพของเครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าเท่ากับ 1.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบหนึ่งกลุ่มสัมพันธ์กัน</p> <p>ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) บทเรียนโปรแกรมที่พัฒนาโดยใช้เทคนิคไมโครเลิร์นนิงและผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมีผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนโปรแกรมในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 และมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ในการเรียนรู้อยู่ระดับสูงมากที่ร้อยละ 60 ของอาสาสมัครทั้งหมด (2) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้การใช้บทเรียนโปรแกรมที่สร้างโดยใช้เทคนิคไมโครเลิร์นนิง ค่าเฉลี่ยของคะแนนการเรียนรู้หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (3) ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมของบทเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38</p> ภัสรา ตรีรัตนประยูร, สิรินธร สินจินดาวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/267362 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ของร้านกาแฟท้องถิ่นที่มีต่อความตั้งใจใช้บริการร้านกาแฟท้องถิ่นของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272894 <p> งานวิจัยเชิงปริมาณชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ของร้านกาแฟท้องถิ่นที่มีต่อความตั้งใจใช้บริการร้านกาแฟท้องถิ่นของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างจำนวน 250 ราย ใช้การเลือกตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบไปด้วย ร้อยละ ความถี่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยวิธี Stepwise ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความเกี่ยวพันกับการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านคุณภาพข้อมูล และด้านปริมาณข้อมูลจาก การบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการร้านกาแฟท้องถิ่นของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้งานวิจัยนี้มีคุณค่าทางวิชาการ กล่าวคือ มีการวิจัยเกี่ยวกับการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะตัวแปรต้น ซึ่งนักวิจัยส่วนใหญ่ประยุกต์ใช้ตัวแปรการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวแปรตาม รวมทั้งการศึกษาการบอกปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์กับ ร้านกาแฟท้องถิ่น ซึ่งมีงานวิจัยไม่แพร่หลายมากนัก</p> ฐิตารีย์ ศิริมงคล, ฌัชฌานันท์ นิติวัฒนะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272894 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของการพึ่งพาตนเองกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ยุคดิจิทัล ในจังหวัดหนองคาย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/270008 <p>การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งพาตนเองกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย การศึกษาจะใช้กลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย จำนวน 398 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) หรือการทดสอบสมมติฐาน F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุทางด้านร่างกายอยู่ในระดับมาก ตามด้วย ด้านสังคม จิตใจ และการเงิน ตามลำดับ 2) การยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุด้านการรับรู้ถึงประโยชน์อยู่ในระดับมาก ตามด้วยด้านพฤติกรรมการตั้งใจใช้งาน การรับรู้ความเพลิดเพลิน อิทธิพลทางสังคม และการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ตามลำดับ 3) ผู้สูงอายุที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่ต่างกัน จะมีการยอมรับเทคโนโลยีต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 4) ไม่อาจสรุปได้ว่าการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ผลการศึกษาข้างต้นจะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ในการออกแบบนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย</p> ไพจิต ผาตะเนตร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/270008 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0700 The Effects of Using Task-Based Learning with Edutainment to Develop English Communication Skills in an Intensive Islamic Studies of an Opportunity Expansion School https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/270358 <p>This study used task-based learning and edutainment aimed to improve research participants' English communication skills in English for communication subject and to examine students’ satisfaction levels towards English lessons during the second semester of the 2022 academic year. The target group included 14 third-graders from Ban Khaena School in Narathiwat. It was chosen by a purposive sampling with students’ less proficient English communication. The instruments were 1) English communication skills tests, including reading and writing test, listening and speaking assessment, 2) lesson plans, and 3) questionnaire. The statistics were used mean, percentage, and standard deviation. One sample t-test was used to test the hypothesis.</p> <p>The results revealed that the target group who took the tests for the reading and writing test was15.85, or 79.28 percent, while the average score for the listening and speaking assessment was 15.07, or 75.35 percent. After conducting and comparing a hypothesis test, it found that the average score was 30.92 with the requirement of 70 percent and it was discovered that the target group students achieved the standard with a statistical significance of .01. The levels of students' satisfaction were shown at a high level in 4 aspects (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=2.79). According to the content analysis, students preferred studying outside of the classroom over inside classroom setting. At the same time, having more electronic devices such as tablets, mobile phone with Internet connection, was needed in every subject to provide students with their new experiences and their pleasant learning environment.</p> Rosenee Lohyita, Alisara Chomchuen, Bordin Waelateh, Bordin Waelateh Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/270358 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272906 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดของเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3) ศึกษาอิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ กลุ่ม Generation Z มีอายุระหว่าง 18-27 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่เคยซื้อเสื้อผ่านแอปพลิเคชัน TikTok จำนวน 250 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดของเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีความสำคัญในระดับมาก โดยด้านผลิตภัณฑ์มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และด้านการให้บริการส่วนบุคคล ตามลำดับ การตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีความสำคัญในระดับมาก โดยด้านการตัดสินใจซื้อ มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินทางเลือก ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ ด้านการแสวงหาข้อมูล และ ด้านการรับรู้ถึงปัญหา ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อ ทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และด้านราคา ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้ง 3 ตัวนี้สามารถร่วมกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 32.70 29.00 และ 18.70</p> พงศธร ศักดิ์ดาภิวัฒน์, ฐิตารีย์ ศิริมงคล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272906 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการยุคโลกพลิกผันของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272128 <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และ 2) สร้างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการยุคโลกพลิกผัน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน ระยะที่ 1 ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 3,347 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 358 คน จากสูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อนในการสุ่ม .05 ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดสถานศึกษาเป็นเกณฑ์ แล้วสุ่มแบบง่าย ระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น ด้านที่ค่าสูงที่สุด คือ การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน รองลงมา คือ การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา รองลงมา คือ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ 2) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการยุคโลกพลิกผันของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ (1) ยกระดับการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผล การเรียนยุคโลกพลิกผัน มี 6 มาตรการ (2) ส่งเสริมการพัฒนาและใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษายุคโลกพลิกผันอย่างมีประสิทธิภาพ มี 6 มาตรการ (3) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับยุคโลกพลิกผัน มี 6 มาตรการ และ (4) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษายุคโลกพลิกผัน มุ่งเน้นผู้เรียน สู่ทักษะแห่งอนาคต มี 4 มาตรการ</p> พิทยา แหลมคม, วิเชียร รู้ยืนยง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272128 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272139 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยุคดิจิทัลของสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และตำแหน่งหน้าที่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยุคดิจิทัลของสถานศึกษาโดยภาพรวม และรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบ การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยุคดิจิทัลของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหามีการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยุคดิจิทัล ไม่แตกต่างกันส่วนด้านการคัดกรองนักเรียนมีการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยุคดิจิทัล แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ด้านการส่งเสริมนักเรียนและด้านการส่งต่อนักเรียนมีการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยุคดิจิทัล แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 เปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยุคดิจิทัลของสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยุคดิจิทัล โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</p> วัชระ ประโพธิ์ศรี, นิยดา เปี่ยมพืชนะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272139 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 การตรวจสอบภายในและการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ในหน่วยงานสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272663 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตรวจสอบภายในและการบริหารความเสี่ยง ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีในหน่วยงานสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม กลุ่มตัวอย่างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีในหน่วยงานสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมทั้งหมด 289 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า การตรวจสอบภายใน ด้านการตรวจสอบทางการเงิน ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน และด้านความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญของผู้ตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ ด้านการเงิน ด้านการปฏิบัติงาน และด้านกฎระเบียบและข้อบังคับ ส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีในหน่วยงาน สังกัดสำนักงาน ศาลยุติธรรม ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถสรุปได้ว่า หากหน่วยงานให้ความสำคัญในเรื่องของการตรวจสอบภายในและการบริหารความเสี่ยง เพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ป้องกันความผิดพลาดในทุกขั้นตอน โดยอิงกับข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ และการรายงานผลการปฏิบัติงานภายในระยะเวลาที่เหมาะสม รวมถึงการติดตามผลการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานและบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้</p> ฉัตราลี ทองนาค, พรรณทิพย์ อย่างกลั่น Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272663 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดมหาสารคาม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273122 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคในจังหวัดมหาสารคาม 2) ระดับความสุขในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดมหาสารคามและ 3) อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดมหาสารคาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อการสอบถามแรงจูงใจในการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มประชากรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดมหาสารคามทั้งหมดจำนวน 191 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 18-30 ปี สถานภาพ สมรส ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ระดับตำแหน่ง 5-7 มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 20,000-35,000 บาท และมีเวลาในการทำงาน 6-10 ปีและ 20 ปีขึ้นไป พบว่าปัจจัย จูงใจในการทำงานด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน และด้านการบริหารจัดการ การบังคับบัญชา ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรปัจจัยจูงใจในการทำงานสามารถร่วมกันทำนายความสุขในการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 54.8 (Adjusted R<sup>2</sup> = 0.548) และตัวแปรปัจจัยค้ำจุนในการทำงานสามารถร่วมกันทำนายความสุขในการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 71.3 (Adjusted R<sup>2</sup> = 0.713)</p> ปริญญา ปานาเต, ฐิตารีย์ ศิริมงคล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273122 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/269078 <p>บทความวิจัย เรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา โดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่นที่สามารถส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ชาย - หญิง (อายุระหว่าง 4 – 5 ปี) ที่กำลังศึกษาอยู่ที่กําลังศึกษาอยู่ระดับ ปฐมวัยปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านกิ่วดงมะไฟ อําเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมเกมตามแนวคิดไฮสโคป จำนวน 3 แผน ได้แก่ แผนที่ 1 เจ้าหนูน้อย นักสังเกต แผนที่ 2 เจ้าหนูน้อยจอมจัดวาง แผนที่ 3 เจ้าหนูน้อยเข้าใจละนะ 2) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยสำหรับทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (t-test) ผลวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมเกมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่นมีประ สิทธิภาพเท่ากับ 80.00/92.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 2) การจัดกิจกรรมเกมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่นก่อนและหลัง การทดลองของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านกิ่วดงมะไฟ จังหวัดอุดรธานี มีทักษะการคิดวิเคราะห์ภายหลังได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อ ธรรมชาติท้องถิ่น สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่นทั้ง ภาพรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> รพิพรรณ แก้วโภคา, โสภา ชัยพัฒน์, ญาณิน ดาจง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/269078 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอลสำหรับนักกีฬาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/269887 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน และเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะพื้นฐาน ในกีฬาฟุตบอลของนักกีฬาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครก่อนและหลังการฝึกทักษะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นนักกีฬาฟุตบอล ในปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนทั้งสิ้น 30 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบ การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 15 คน โดยใช้รูปแบบฝึกทักษะฟุตบอลและแบบทดสอบทักษะฟุตบอลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยทักษะฟุตบอล 6 รายการ 1) การเดาะลูกฟุตบอล 2) การรับลูกฟุตบอล 3) การโหม่งลูกฟุตบอลลงสู่เป้าหมาย 4) การเลี้ยงลูกฟุตบอล 5) การส่งลูกฟุตบอลเรียดพื้นตรงเป้าหมาย 6) การส่งลูกฟุตบอลระยะไกลเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนารูปแบบฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล 6 รายการ 1) ทดสอบการเดาะลูกฟุตบอล 2) ทดสอบการรับลูกฟุตบอล 3) ทดสอบการโหม่งลูกฟุตบอลลงสู่เป้าหมาย 4) ทดสอบการเลี้ยงลูกฟุตบอล 5) ทดสอบการส่งลูกฟุตบอลเรียดพื้นตรงเป้าหมาย 6) ทดสอบการส่งลูกฟุตบอลระยะไกล ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะพื้นฐานในกีฬาฟุตบอลพบว่าการฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.77 หลังการฝึกทักษะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.55 และคะแนนทดสอบหลังเรียนของนักกีฬาโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นกลุ่มตัวอย่าง มีการพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลที่ดีขึ้น</p> เทพพิทักษ์ แย้มศิลา, ภัทรานิษฐ์ พรหมสุรินทร์, สุนิศา โยธารส Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/269887 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมสุขนิสัยของเด็กปฐมวัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/271845 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อ สุขนิสัยของเด็กปฐมวัย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสุขนิสัยของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ห้อง 1/4 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 12 คน เลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร โดยพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับ มากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.52, S.D.= 0.81) และแบบประเมินสุขนิสัยของเด็กปฐมวัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 1.00 การวิจัยใช้แผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อสุขนิสัยของเด็กปฐมวัยใช้แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมการก่อนประกอบอาหาร ขั้นลงมือปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร ขั้นสรุปและประเมินผล ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขนิสัย ดีขึ้น 2) ผลการเปรียบเทียบสุขนิสัยของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร พบว่า หลังจากการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร เด็กปฐมวัยทุกคนมีสุขนิสัยที่สูงขึ้น โดยคะแนนค่าเฉลี่ยสุขนิสัยของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมเท่ากับ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=11.25, S.D = 3.57) ผลรวมคะแนนที่ได้คิดเป็นร้อยละ 46.87 และคะแนนค่าเฉลี่ยสุขนิสัยของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 18.83, S.D. = 3.93) ผลรวมคะแนนได้คิดเป็นร้อยละ 78.82</p> จิราวรรณ รามะโคตร, รุ่งลาวัลย์ ละอำคา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/271845 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็ก (ทุนจดทะเบียนหนึ่งล้านถึงสองล้านบาท) ในจังหวัดขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272378 <p>บทความนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็ก เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อปัจจัยบริบทภายนอก (PESTEL Analysis) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็ก (ทุนจดทะเบียนหนึ่งล้านถึงสองล้านบาท) ในจังหวัดขอนแก่น ทั้งหมด 96 แห่ง คัดเลือกสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane โดยใช้ความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 โดยมีสมมุติฐานประกอบการวิจัยว่า ทฤษฎีความสัมพันธ์ของด้านปัจจัยบริบทภายนอก (PESTEL Analysis) ประกอบด้วย 1) การเมือง 2) ภาวะเศฐกิจ 3) สังคมประเพณี 4) เทคโนโลยีหรือดิจิทัล 5) ปัจจัยด้านสภาพอากาศหรือสิ่งแวดล้อมและ 6) กฎหมาย ที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็ก (ทุนจดทะเบียนหนึ่งล้านถึงสองล้านบาท) ในจังหวัดขอนแก่น โดยใช้สูตรเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) เพื่อที่จะหาของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มอาสาสมัครผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็ก (ทุนจดทะเบียนหนึ่งล้านถึงสองล้านบาท) ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ผลการทดสอบระดับความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ของด้านปัจจัยบริบทภายนอก (PESTEL Analysis) พบว่าความสัมพันธ์ของปัจจัยบริบทภายนอก (PESTEL Analysis) การทดสอบสมมติฐานด้วย การคำนวณค่า p-value (Sig.) พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.001 ซึ่งน้อยกว่าระดับนัยสำคัญที่เป็นที่ยอมรับ (α = 0.05) ดังนั้นจึงสามารถปฏิเสธสมมติฐาน H<sub>0 </sub>และยอมรับสมมติฐาน H<sub>1 </sub>ได้ ผลก็คือ ความสัมพันธ์ของด้านปัจจัยบริบทภายนอก (PESTEL Analysis) มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับมาก และมีทิศเป็นบวกในทิศเดียวกัน ทำให้สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลในการส่งเสริมให้ธุรกิจเกิดความสำเร็จ รวมถึงช่วยให้ในการเลือกหรือกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับบริบทการปฏิบัติงาน หรือการลงทุนของอุตสาหกรรมภาคธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ทั้งนี้ผู้วิจัยคาดว่าหากผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างจะนำผลการทดสอบในงานวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง</p> ณัฐพล ฝ่ายเพชร, อารีย์ นัยพินิจ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272378 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความพึงพอใจต่อการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลดิจิทัล บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272784 <p>บทความวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความพึงพอใจการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน“เป๋าตัง” ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการเลือกซื้อ ความพึงพอใจการซื้อสลากดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน เป๋าตัง โดยมีประชากรในการวิจัย คือ กลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจการซื้อสลากดิจิทัลบนแอปพลิเคชันเป๋าตัง ทั้งด้านของเพศ อายุ และการศึกษา โดยการเก็บรวบข้อมูลซึ่งใช้แบบสอบถามออนไลน์ และการแจกแบบสอบถามโดยการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชากรตัวอย่าง กลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทาง การวิจัยคือ ค่าร้อยล่ะ ค่าฐานนิยม ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Independent Sample T– test and One way Anova ณ ระดับนัยสำคัญ .05</p> <p> สรุปได้ว่า ความพึงพอใจในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลออนไลน์ ด้านผลิตภัณฑ์ ในเกณฑ์มากถึง มากที่สุด ในด้านราคาของสลากดิจิทัลต่อหน่วย มีค่าเฉลี่ย 4.46 รองลงมาเป็นความง่ายต่อการขึ้นเงินรางวัล มีค่าเฉลี่ย 4.39 ด้านความโปร่งใสตรวจสอบได้ ค่าเฉลี่ยที่ 4.32 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีความพึงพอใจมากในด้านความสะดวกในการชำระเงิน มีค่าเฉลี่ย 4.41 รองลงมาเป็นแอปพลิเคชัน เป๋าตัง ที่มีขั้นตอน การเลือกซื้อสลากดิจิทัลที่สะดวกและเข้าใจง่าย มีค่าเฉลี่ย 4.39 และขั้นตอนการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน เป๋าตัง มีค่าเฉลี่ยที่ 4.32 ในด้านความพร้อมของแอปพลิเคชัน เป๋าตัง มีค่าเฉลี่ย 4.20 รองลงมาเป็น แอปพลิเคชันมีความดึงดูด ความน่าสนใจในการใช้บริการ มีค่าเฉลี่ย 4.14 และการแนะนำขั้นหรือวิธีการใช้งานของหน่วยงานของรัฐ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.08 ด้านเทคโนโลยี ในด้านความพร้อมของโทรศัพท์มือถือในการเข้าถึงแอปพลิเคชัน เป่าตัง มีค่าเฉลี่ย 4.26 รองลงมาเป็นด้านการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ย 4.24 และความเสถียรของเครือข่ายอินเตอร์เน็ทกับแอปพลิเคชัน เป๋าตัง ค่าเฉลี่ยที่ 4.18 และด้านความพร้อมของแอปพลิเคชัน เป๋าตัง ในด้านการเก็บรักษา สลากดิจิทัลที่ได้ทำการซื้อ มีค่าเฉลี่ย 4.48 รองลงมาเป็นการตรวจรางวัล และการขึ้นเงิน มีค่าเฉลี่ย 4.47 และการหาตัวเลขที่ต้องการซื้อในแต่ละครั้ง ค่าเฉลี่ยที่ 4.32 ตามลำดับ</p> <p>ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า เพศชายและเพศหญิง มีความพึงพอใจในการซื้อสลากดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน เป๋าตัง โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า ระดับการศึกษาที่ต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจในการซื้อสลากดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน เป๋าตัง โดยรวม ไม่มีความแตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญ .05 และผลการทดสอบสมมติฐานที่ 3 พบว่า อายุที่ต่างกันมีผลต่อ ความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชัน เป๋าตัง โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญ .05</p> สิริพัฒน์ เสวิกุล, จรัญ รันลอด Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272784 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 องค์ประกอบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272448 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 296 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยการหมุนแกนด้วยวิธีแวริแมกซ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อนการวิเคราะห์องค์ประกอบค่าดัชนีไคเซอร์-เมเยอร์-ออลคิน มีค่าเท่ากับ 0.941 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 แสดงให้เห็นว่าข้อมูลทั้งหมด และตัวแปรต่าง ๆ นั้นมีความสัมพันธ์กันดีมาก และจากค่าสถิติของบาร์ทเลทท์ พบว่า ค่าสถิติไค-สแควร์ ที่ใช้ในการทดสอบมีค่าเท่ากับ 24439.947 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่าเมตริกซ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันเมื่อสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ ซึ่งผู้วิจัยทำการหมุนแกนองค์ประกอบและพบว่า ได้องค์ประกอบทั้งหมด 4 องค์ประกอบ มีค่าไอเกนอยู่ระหว่าง 5.593 – 15.948 อธิบายความแปรปรวนได้รวมกันร้อยละ 11.899 - 33.932 และอธิบายความแปรปรวนสะสมร้อยละ 77.449 เรียงตามน้ำหนักค่าองค์ประกอบดังนี้ 1) การปฏิบัติหน้าที่พลเมืองดิจิทัลอย่างมืออาชีพค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.616 – 0.917 2) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบโลกยุคดิจิทัลค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.687 – 0.831 3) การรู้ดิจิทัลค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.870 – 0.934 4) การมีวิสัยทัศน์ยุคดิจิทัลค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.701 – 0.829</p> ดนุพล แสงสว่าง, นิยดา เปี่ยมพืชนะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272448 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 สภาพปัญหา ความต้องการและความพึงพอใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273142 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ ความพึงพอใจและแนวทางในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 230 คน โดยการกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกนแล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจกแจงความถี่</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครูและจรรยาบรรณ และด้านความสัมพันธ์กับบุคลากร ผู้ปกครองและชุมชน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความต้องการพัฒนาตนเองหลังจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความพึงพอใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและด้านการบริหารจัดการของศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) แนวทางในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเรียงตามลำดับความถี่ 3 ลำดับแรก ได้แก่ คณะครุศาสตร์ควรจัดสวัสดิการในการทำประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ควรจัดการเรียนการสอนหรือจัดอบรมความรู้ทางด้านจิตวิทยาและสุขภาพจิตให้มากกว่านี้และแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพควรจัดที่พักให้กับนักศึกษา ตามลำดับ</p> บุญมั่น ธนาศุภวัฒน์, สุภาภรณ์ หนูเมือง, จามรี ศรีรัตนบัลล์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273142 Sat, 28 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยส่วนประสมการตลาดเพื่อการส่งเสริมของนักท่องเที่ยว ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273442 <p>การท่องเที่ยวถือเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ/ประกอบธุรกิจส่วนตัว มีสถานภาพสมรสแล้ว และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพบว่า ส่วนใหญ่พาครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อนมาเที่ยว และเดินทางมาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมที่อุทยานจัดขึ้น โดยมักเดินทางมาในช่วงวันหยุดหรือวันสำคัญทางศาสนา ข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ คือ ข้อมูลจากเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ และส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่นักท่องเที่ยวเห็นด้วยสูงที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการให้บริการ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการนำหลักการส่วนประสมการตลาดมาใช้ในการจัดการนักท่องเที่ยว คือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคาควรจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีพธุรกิจส่วนตัวซึ่งมีกำลังซื้อสูงและใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ประกอบการตัดสินใจ</p> ยุพยง เนติธรรมกุล, นิติพล ภูตะโชติ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273442 Sat, 28 Sep 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความสามารถและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ในศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272195 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีวิจัย รูปแบบวิธีการแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย เป็นการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ คัดเลือกประชากรจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 104 คน ทำแบบประเมินความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ที่มีผลการประเมินสูงที่สุดและมีผลการประเมินน้อยที่สุด จำนวน 6 คน บันทึกการสัมภาษณ์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ และสังเกตคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์เพื่อเก็บข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เฉลี่ย ร้อยละ 69.6 2) ปัจจัยที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ คือ การได้ฝึกฝนทางความคิด การได้รับการยอมรับ สนับสนุนทางความคิดอย่างเหมาะสม ปฏิสัมพันธ์ที่ดี และทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์ คือ การถูกจำกัดการเรียนรู้ การขาดการฝึกฝนทางความคิด การขาดทักษะการคิด การขาดปฏิสัมพันธ์ การขาดทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ การขาดทักษะการสื่อสาร</p> พุธิตา ชนาพงษ์จารุ, เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์, พลรพี ทุมมาพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272195 Sat, 28 Sep 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาการจัดการชั้นเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273025 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ (2) เพื่อศึกษาการจัดการชั้นเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูรายวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 10 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม การสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แบบสังเกตและแบบบันทึกการเปิดชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ พบว่าในด้านบุคลิกภาพส่วนใหญ่แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีบุคลิกร่าเริง แจ่มใส กระฉับกระเฉง แต่ก็มีบางคนที่ดูเงียบขรึม เข้มงวด ด้านการศึกษา มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านลักษณะนิสัยส่วนใหญ่เป็นคนใจดี มีเมตตา สุภาพอ่อนโยน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความเป็นผู้นำ ในด้านพฤติกรรมการแก้ปัญหาส่วนใหญ่สามารถแก้ปัญหาได้ดี มีสติ รอบคอบ (2) ผลการศึกษาทักษะการจัดการชั้นเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่านักศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ดี และมีจรรยาบรรณที่ดีต่อตนเอง วิชาชีพผู้รับบริการ สังคม และผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ นอกจากนี้ยังมีการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน และมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างดี และมีการอธิบายหรือการแสดงแทนเชิงคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายปัญหา อ่าน แปลความหมาย และทำความเข้าใจข้อความ คำถาม กิจกรรม สิ่งของ หรือ รูปภาพ อีกทั้งยังมีการให้คะแนนหรือรางวัลให้กับนักเรียนที่ตอบคำถาม นักเรียนที่ออกมาแสดงวิธีทำหน้าชั้นเรียน</p> นนทินี จันทะจร, นวพล นนทภา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/273025 Sat, 28 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะทางการปฏิบัติเปียโนตามแนวคิดของ Dalcroze ของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272166 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะทางการปฏิบัติเปียโนก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติเปียโน โดยเป็นการวิจัยแบบผสม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่รายวิชาปฏิบัติเปียโน 7 สาขาวิชาดนตรีศึกษา จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.86 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.84 4) แบบวัดทักษะทางการปฏิบัติเปียโน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.84 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.90 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา มีผลคะแนนการวัดทักษะทางการปฏิบัติเปียโนตามแนวคิดของ Dalcroze หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการปฏิบัติเปียโนตามแนวคิดของ Dalcroze หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษามีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติเปียโน โดยรวมอยู่ในระดับมากและรายด้าน ได้แก่ ด้านทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ และ ด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมาก คุณค่าที่ได้จากงานวิจัยสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้น</p> เอกชัย ธีรภัคสิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272166 Sat, 28 Sep 2024 00:00:00 +0700