https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nlt/issue/feed วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ 2023-12-30T17:43:14+07:00 ดร.ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ</strong></p> <p>ISSN 2985-2668 (Print)</p> <p>ISSN 2985-2676 (Online)</p> <p>กำหนดออก : ปีละ 2 ฉบับ</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน</p> <p>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nlt/article/view/267859 “หนังสือหายาก ๑ ศตวรรษ” ของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ 2023-10-04T15:23:55+07:00 สุคนธ์ทิพย์ จันทะลุน [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหนังสือหายากที่มีการจัดพิมพ์ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่มีความสำคัญทางวิชาการทั้งด้านประวัติและพัฒนาการของการพิมพ์ ตัวอักษร ภาษา รวมถึงประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นในแต่ละยุคแต่ละสมัย โดยใช้เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย นอกจากนี้ยังอธิบายถึงความเป็นมาและพัฒนาการของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ในฐานะเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือหายากในท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้หนังสือหายากที่สำคัญประจำภาคเหนือ</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nlt/article/view/269395 ประสบการณ์การน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” มาประยุกต์ใช้กับงานของห้องสมุด 2023-12-14T14:55:50+07:00 ปรียานุช คลอวุฒิวัฒน์ [email protected] <p>แนวคิดในการน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” มาประยุกต์ใช้กับงานหอสมุดรัฐสภานั้นเริ่มต้นจากงานวิจัยเรื่อง “การสืบสานศาสตร์พระราชาเพื่อสร้างคุณค่าในงานจัดหาองค์ความรู้ของห้องสมุดรัฐสภา” ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาไว้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้นำผลการศึกษาที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้ไปพัฒนางานตามที่เสนอไว้ ๓ ด้าน ได้แก่ การจัดหาองค์ความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดหาองค์ความรู้ของห้องสมุดในชุมชนบริเวณใกล้เคียงกับอาคารรัฐสภา และการจัดกิจกรรมห้องสมุดมนุษย์ (Human Library) นอกเหนือจากนี้ในช่วงวิกฤติโควิด-๑๙ ผู้เขียนยังได้น้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การจัดประชุมสัมมนา และจัดฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ รวมทั้ง การรวบรวมแหล่งความรู้ที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ เพื่อให้บริการออนไลน์อีกด้วย การพัฒนางานทั้งหมดนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณ และทำเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยในบทความนี้จะอธิบายถึง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสตร์พระราชา (ความหมาย วิธีการของศาสตร์พระราชา หลักการทรงงาน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชากับงานห้องสมุดของหอสมุดรัฐสภา งานวิจัยสู่การปฏิบัติจริง และการต่อยอดแนวคิดการสืบสานศาสตร์พระราชากับงานห้องสมุด</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nlt/article/view/268251 การอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานภาคกลางของประเทศไทย 2023-12-14T11:20:07+07:00 วัฒนา พึ่งชื่น [email protected] <p>การอนุรักษ์สืบสานมรดกภูมิปัญญาของบรรพชนเป็นภารกิจสำคัญของกรมศิลปากร น้อมนำกระแสพระราชดำรัสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานเป็นคำขวัญวันอนุรักษ์มรดกไทยว่า “การรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม ย่อมเป็นการรักษาชาติ” มาเป็นหลักชัยในการดำเนินงาน ดังนั้น การอนุรักษ์จัดเก็บเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานจึงเป็นหน้าที่สำคัญและภารกิจนี้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักหอสมุดแห่งชาติ</p> <p>กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก เป็นหน่วยงานระดับกลุ่มภายใต้บังคับบัญชาของสำนักหอสมุดแห่งชาติ มีหน้าที่ในการดูแลรักษาและจัดเก็บเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานซึ่งตกค้างอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามวัดทั่วประเทศ ปรากฏว่ามีคัมภีร์ใบลานอยู่อีกเป็นจำนวนมากภายหลังจากที่คนไทยลดความนิยมในการสร้างคัมภีร์ใบลานถวายวัดเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เนื่องจากการสร้างพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา</p> <p>ประมาณการว่า คัมภีร์ใบลานที่หลงเหลือเป็นวัตถุโบราณตกค้างอยู่ตามวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย มีอยู่ถึง ๑๘๐,๐๐๐ รายการ (ผูก) สิบกว่าปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการจัดระบบคัมภีร์ใบลานตามวัดต่าง ๆ ในภาคกลางของประเทศไทย ไม่ต่ำกว่า ๓๐ วัด ใน ๑๕ จังหวัด ถึงอย่างนั้นก็ตาม คัมภีร์ใบลานเป็นส่วนน้อยจากการประมาณการไว้เท่านั้นที่ได้รับการดูแลรักษาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการสืบค้น คิดเป็นหนึ่งในสามของจำนวนคัมภีร์ที่คาดว่ามีอยู่ทั้งหมดในภาคกลาง หรือประมาณร้อยละ ๓๐ ที่จัดเก็บอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ส่วนที่เหลือยังต้องสืบสานภารกิจต่อไป</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nlt/article/view/268736 แนวคิดการนำสัตว์เลี้ยงมาใช้เพื่อส่งเสริมบริการของห้องสมุด กรณีศึกษาหอสมุดปรีดี พนมยงค์ 2023-11-19T10:18:40+07:00 ชัยสิทธิ์ อังคะปัญญาเดช [email protected] ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ [email protected] <p>สมัยโบราณห้องสมุดในต่างประเทศมีแมวประจำห้องสมุดเพื่อทำหน้าที่กำจัดหนู แต่ปัจจุบันแมวที่อยู่ในห้องสมุดอาจทำหน้าที่เป็นสิ่งดึงดูดใจให้ผู้รับบริการเข้ามาที่ห้องสมุด ดังเช่นห้องสมุดในประเทศไทยที่มีแมวในหอสมุดปรีดี พนมยงค์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์) คือ นุ่มนิ่ม ซึ่งนำมาใช้เป็นตัวแทนของห้องสมุด เพื่อการสื่อสารกับผู้รับบริการและยังเป็นการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดได้อีกด้วย ถือเป็นแนวคิดใหม่ที่ยังไม่เคยมีห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาแห่งใดในประเทศไทยริเริ่มมาก่อน เนื่องจากห้องสมุดแต่ละประเภทในประเทศไทยยังไม่มีนโยบายอนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในพื้นที่บริการของห้องสมุด การนำแมวมาให้บริการในห้องสมุดลักษณะนี้จึงกลายเป็นปรากฏการณ์ที่ผู้รับบริการเข้ามาห้องสมุดเพื่อมาเยี่ยมชมแมวซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนในการส่งเสริมภาพลักษณ์ (Brand Ambassador) ของห้องสมุด อย่างไรก็ตามการให้บริการนี้อาจมีข้อจำกัดบางประการ เช่น พื้นที่สำหรับการบริการเฉพาะสำหรับการอ่านหนังสือกับแมว เวลาการให้บริการหลังจากแมวได้พักผ่อนเต็มที่ นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงผู้ที่มีอาการแพ้ขนสัตว์ด้วย</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nlt/article/view/269404 การบริหารประสบการณ์ลูกค้า กับการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อการสร้างประสบการณ์ที่ดีสู่ผู้รับบริการ: กรณีตัวอย่างการยืมหนังสือระหว่างห้องสมุดภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2023-12-24T09:50:48+07:00 พ้นพันธ์ ปิลกศิริ [email protected] <p>การบริการเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ หรือเป็นทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการ ทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐ เพราะในชีวิตประจำวันหากเราทำสิ่งใดให้คนอื่นหรือให้คนอื่นทำสิ่งใดให้เรา ไม่ว่าจะทำงานส่งผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น สอนลูกศิษย์ ส่งของขวัญให้เพื่อน ส่งของให้ผู้ใหญ่ หรือจะส่งสินค้าให้ลูกค้า ก็ล้วนแล้วต้องใช้ความคิดเกี่ยวกับการบริการว่าควรจะต้องทำอย่างไรให้ได้ผลออกมาดี เป็นที่พอใจของกันและกัน กล่าวคือมีความพึงพอใจที่ยุติธรรมกับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น ๆ โดยเฉพาะการบริการในห้องสมุด</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ