วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru <p><strong> วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัย วารสารมุ่งเน้นบทความทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ด้านบริหารการศึกษา ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการจัดการ ด้านศิลปศาสตร์ ด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ด้านการเงิน การบัญชี และธนาคาร ด้านการท่องเที่ยว ด้านโลจิสติกส์ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ <br /> วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายใน หรือนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสารที่มีความเชี่ยวชาญในสาขา และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์</p> th-TH Aeknarajindawut@gmail.com (ณัฏฐชัย เอกนราจินดาวัฒน์) journal.jdar@gmail.com (นายอภิชาติ ปามา) Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 คุณภาพการให้บริการน้ำประปาของบริษัททีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) สาขานิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/273169 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการน้ำประปาของบริษัททีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) สาขานิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการน้ำประปาของบริษัททีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) สาขานิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการน้ำประปาของบริษัททีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) สาขานิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 225 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้การคำนวณค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอ้างอิงใช้ t-test และ f-test ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพการให้บริการน้ำประปาของบริษัททีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) สาขานิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้า ด้านความเชื่อถือไว้วางใจกับด้านการตอบสนองต่อลูกค้าและด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ 2) คุณภาพการให้บริการของบริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน)มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลในหลายด้าน โดยเฉพาะเพศและระยะเวลาในการใช้บริการที่มีผลต่อการยอมรับสมมติฐานอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความแตกต่างในการรับรู้และความพึงพอใจต่อการบริการ</p> พีรพัฒน์ กล่อมใจ, อภิชา พรเจริญกิจกุล Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/273169 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชนเพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272360 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน เพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายของภาครัฐ การมีส่วนร่วมของภาคสังคมและโครงการส่งเสริมในการพัฒนา 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายของภาครัฐ การมีส่วนร่วมของภาคสังคม และโครงการส่งเสริมในการพัฒนาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน เพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน เพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย นายก-รองนายกองค์การปกครองส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ นายกเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และตัวแทนภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาสภาเด็กและเยาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการมีส่วนร่วมของภาคสังคม ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการส่งเสริมในการพัฒนา และนโยบายของภาครัฐ มีความสำคัญอยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) นโยบายของภาครัฐมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการพัฒนาสภาเด็กและเยาชนเพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด รองลงมาได้แก่ โครงการส่งเสริมในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของภาคสังคม ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชนเพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย นโยบายของภาครัฐที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีโครงการส่งเสริมในการพัฒนา และภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ตรงกลาง และการมีส่วนร่วมของภาคสังคมช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นความสำเร็จของการพัฒนาสภาเด็กและเยาชนเพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ต้องประกอบด้วย สิทธิในการอยู่รอดและการส่งเสริมชีวิต สิทธิในการปกป้องคุ้มครอง สิทธิในการศึกษา และสิทธิในการใช้แรงงานเด็ก ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อการนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ และใช้เป็นแนวทางให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นไปใช้ในการพัฒนาสภาเด็กและเยาชน ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> รุ่งปรีชา ปั๋นแก้ว, ทวี แจ่มจำรัส, ปิยะวดี จินดาโชติ, ไปรพร แสงจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272360 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้โดยการใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาทักษะชีวิต https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272399 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาทักษะชีวิตก่อนและหลังการจัดการเรียนโดยใช้เกมเป็นฐาน ใช้แบบสอบทดสอบ การเรียนรายวิชาทักษะชีวิตก่อนและหลังการจัดการเรียนโดยใช้เกมเป็นฐาน ประกอบด้วย แผนการสอน 1 แผน ประกอบด้วย กระบวนการสอน กิจกรรม สื่อ <br />การทวนสอบ มีการตรวจสอบคุณภาพโดยการให้คณะอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาทักษะชีวิตดำเนินการพิจารณาและปรับแก้ไข และข้อสอบนักวิจัยได้จัดทำ Test Blue Print และออกข้อสอบปรนัย จำนวน 30 ข้อ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาโปรแกรมการศึกษาปฐมวัย(ในมหาวิทยาลัย) จำนวน 28 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ t-test dependent</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรายวิชาทักษะชีวิตก่อนและหลังการจัดการเรียนโดยใช้เกมเป็นฐานเป็นหลัก แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติในทักษะชีวิตระหว่างก่อนและหลังการใช้เกมเป็นฐานในการเรียนรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยทักษะชีวิตก่อนการเรียนเท่ากับ 18.11 และหลังการเรียนเท่ากับ 20.36 และได้นำเสนอแผนการสอนที่ชัดเจน ซึ่งประกอบไปด้วยกระบวนการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาทักษะชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการใช้เกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และการสอบที่ช่วยให้นักศึกษาปรับปรุง<br />และฝึกฝนทักษะในระหว่างการเรียนรู้ เพื่อให้การวิจัยเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น</p> นงคราญ สุขเวชชวรกิจ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272399 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน กรณีศึกษาเขตปฏิรูปที่ดินในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272538 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 2) การเมืองในองค์การของหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับบริหารจัดการที่ดินบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานในเขตปฏิรูปที่ดินอำเภอวังน้ำเขียว 3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ในเขตปฏิรูปที่ดินอำเภอวังน้ำเขียว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดจำนวน 15 คน </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการถือครองที่ดิน ในอุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอวังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา มาจากกฎหมายที่ซับซ้อนและหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจในการบริหารจัดการที่ดินมากมายซ้อนกัน และยังไม่มีการนำนโยบายการปฏิรูปที่ดินมาใช้อย่างเหมาะสม ทั้งยังไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของ คทช. และคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรยังคงอยู่ 2) ปัญหาการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. ของราษฎรอำเภอวังน้ำเขียวยังคงอยู่ โดยมีการการยึดครองเนื่องมาจากการมีกำหนดการบริหารจัดการที่ดินของรัฐที่ซับซ้อนและหลากหลาย 3) ข้อเสนอแนะคือ 3.1) จัดระเบียบการบริหารราชการแบบบูรณาการโดยกำหนดเป้าหมายร่วมให้ชัดเจน และให้แต่ละหน่วยงานกำหนดเป้าหมายรองตามภารกิจเฉพาะของตน 3.2) ปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐตามมาตราส่วน 1:4000 และปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.3) ปรับรูปแบบการบริหารราชการให้เป็นการกระจายอำนาจให้หน่วยงานภูมิภาคและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและตรวจสอบผลลัพธ์ในทุกๆ ระดับหน่วยงานภาครัฐ</p> จันธนพัล วงฐ์ธนชัยพล, นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ, นิพนธ์ โซะเฮง, ณัฐพงศ์ บุญเหลือ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272538 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของ Influencer บนสื่อโซเชียลมีเดีย Facebook Instagram และ Tiktok ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหาร ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272637 <p> วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อลักษณะเนื้อหาในสื่อโซเชียลมีเดียของ Influencer 2) ความคิดเห็นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อ Influencer 3) การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และ 4) อิทธิพลของ Influencer บนสื่อโซเชียลมีเดีย Facebook Instagram และ Tiktok ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร <span style="text-decoration: line-through;">ใ</span>ช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อลักษณะเนื้อหาในสื่อโซเชียลมีเดียของ Influencer มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านคุณภาพของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความน่าสนใจของเนื้อหา และด้านประโยชน์ของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2) ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อ Influencer โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านความน่าเชื่อถือของ Influencer มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเชี่ยวชาญของ Influencer และด้านความมีชื่อเสียงของ Influencer มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 3) การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ลักษณะเนื้อหาในสื่อโซเชียลมีเดียของ Influencer และ Influencer มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ผู้ประกอบการร้านอาหารควรให้ความสำคัญกับการทำเนื้อหาในสื่อโซเชียลมีเดีย (Content) ให้มีความน่าสนใจ โดยตัวอินฟลูเอนเซอร์ไม่จำเป็นจะต้องเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบก็สามารถได้รับความนิยมได้ ถ้าสามารถทำเนื้อหาของ content ให้มีรูปแบบของภาพหรือคลิปวีดีโอให้มีความน่าสนใจ ก็จะได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลทำให้การประกอบการธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น</p> เกสรี สมประสงค์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272637 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 พัฒนาการนโยบายการจัดการที่ดินของรัฐบาลไทยในช่วงเวลา พ.ศ. 2500-2564 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272801 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการเกี่ยวกับนโยบายการจัดการที่ดินของรัฐบาลไทย ในช่วงเวลา พ.ศ. 2500-2564 2) ความคิด การเคลื่อนไหว และนโยบายการจัดการที่ดินของรัฐบาลไทยในช่วงเวลา พ.ศ. 2500-2564 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการจัดการที่ดินของภาครัฐกับการเมืองการปกครองของประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศ ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสารและข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายการจัดการที่ดินของรัฐบาลไทยเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น มีการปรับกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนและให้เอกชนสะดวกยิ่งขึ้น แต่เกิดปัญหาที่ดินที่ส่งผลให้ชาวนาชาวไร่ประท้วง ในท้ายที่สุดมีการก่อตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของประชาชนในยุคที่ประชาธิปไตยกำลังเข้าสู่การเติบโต 2) การปรับกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนของเอกชนและเพิ่มความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจที่สร้างงานและรายได้ และการเกิดปัญหาที่ดินที่มีผลต่อชุมชนชาวนาชาวไร่ เช่น วิกฤตการเงินปี พ.ศ. 2540 เป็นเหตุผลที่ภาครัฐมุ่งพัฒนานโยบายและนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ 3) นโยบายการจัดการที่ดินของภาครัฐในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับการเมืองและการปกครองที่มีผลกระทบต่อทั้งการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศไทย การบริหารจัดการที่ดินของภาครัฐ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทั้งการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศไทย ในทุกช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางนโยบายและการดำเนินการ</p> สุรางค์รัตน์ สุริยสมบูรณ์, สุรพล ราชภัณฑารักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272801 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272802 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี ภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว นโยบายภาครัฐ กลยุทธ์การตลาด และการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว นโยบายภาครัฐ กลยุทธ์การตลาด และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี และ 3) แนวทางการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายหาดในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การเลือกตัวอย่างตามหลักเกณฑ์ของแม็กซ์เวล (ณรงค์ กุลนิเทศ และสุดาวรรณ สมใจ, 2558) โดยผู้วิจัยเลือกสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ 1) เจ้าหน้าที่จากสำนักการท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี 1 คน 2) เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเขตปกครองพิเศษพัทยา 6 คน 3) เจ้าหน้าที่อำเภอที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว 3 คน 4) ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่มีประสบการณ์ในพื้นที่ 5 ปีขึ้นไป 2 คน 5) ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชายหาดชลบุรี 3 คน 6) นักท่องเที่ยวที่มาเยือนชายหาดในจังหวัดชลบุรี 3-5 ครั้งขึ้นไป 3 คน รวมทั้งหมด 18 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชายเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี การมีส่วนร่วมของประชาชน และกลยุทธ์การตลาดมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน นโยบายของภาครัฐ และภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านนโยบายของภาครัฐ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการพัฒนาชายเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี มากที่สุด รองลงมาได้แก่ นโยบายของภาครัฐภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว และ การมีส่วนร่วมของประชาชน ตามลำดับ และ3) ได้แนวทางการพัฒนาชายเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยนโยบายของภาครัฐ ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุดเป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด ส่วนกลยุทธ์การตลาดและ ภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว อยู่ตรงกลาง และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี ต้องประกอบด้วย ความสะอาด ความพร้อมของสาธารณูปโภค ความลื่นไหลของจราจร และความปลอดภัย ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวนำข้อมูลที่ได้จากแนวทางการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี ไปเป็นตัวแบบและแนวทางในการการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรีให้ดียิ่งขึ้นไป</p> ธัชณภัค ธนินบวรกิจ, ทวี แจ่มจำรัส, ธิปัตย์ โสถิวรรณ์, พัทธ์สิริ สุวรรณาภิรมย์, สุชิน ปัญญะสิน Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272802 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปปฏิบัติในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/271929 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการประสานงาน และ ด้านทรัพยากรในการปฏิบัติตามนโยบาย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการประสานงาน และ ด้านทรัพยากรในการปฏิบัติตามนโยบาย กับการนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปปฏิบัติในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการประสานงาน และ ด้านทรัพยากรในการปฏิบัติตามนโยบาย ภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) มีความสัมพันธ์กับการนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปปฏิบัติในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ในระดับค่อนข้างน้อยถึงปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้การนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปปฏิบัติ สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้อย่างมีคุณค่า และยังช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นที่พึ่งพิงของประชาชนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน</p> สถาพร สมบุญ, เฉลิมพร เย็นเยือก Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/271929 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272888 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงาน 56-1 และงบการเงินประจำปีจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2557 – 2566 เป็นเวลา 10 ปี โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร หมวดธุรกิจพลังงาน ที่ดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ไปจนถึง ปี พ.ศ. 2566 ทำให้ได้ จำนวน 33 บริษัท เป็นจำนวน 330 ตัวอย่าง โดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณผลการศึกษา</p> <p>พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานมีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับผลการดำเนินงานด้านการเงิน ได้แก่ อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์รวม (ROA) อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (ROE) และ Tobin’s Q <br />มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับรางวัลที่ได้รับจากผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01</p> ภณิตา จามิตร, ปวีณา แซ่จู , ไกรวิทย์ หลีกภัย Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272888 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความพร้อมที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/273153 <p>การวิจัยนี้ เป็นการงานวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความพร้อมของที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุความปลอดภัยของสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพในสถานที่พักในแหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงทั้งหมด 27 โรงแรม-รีสอร์ท ที่สมัครใจเข้าร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของโรงแรม และแบบประเมินมาตรฐานด้านสถานที่ความปลอดภัย และการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 100 มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสะดวกตามมาตรฐานโรงแรม แต่ยังไม่มีความพร้อมด้านห้องน้ำในห้องพักอาศัย ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ โดยพบว่ามีโรงแรมที่พักเพียง ร้อยละ 44.44 ที่ห้องน้ำไม่ลื่นมีพื้นเรียบเสมอกัน และมีเพียงร้อยละ 40.74 ที่มีที่นั่งอาบน้ำที่พนักพิงที่มั่นคงและมีราวจับช่วยพยุง นอกจากนี้ยังพบว่ามีเพียงร้อยละ 18.51 ของโรงแรมที่พักในการศึกษาครั้งนี้ที่มีราวพยุงจากประตูไปถึงโถส้วมและที่นั่งอาบน้ำ เมื่อพิจารณามาตรฐานด้านความปลอดภัยส่วนใหญ่ผ่านมาตรฐาน แต่มีข้อที่ควรปรับปรุงเพื่อความปลอดภัย โดยพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 100.00 ไม่มีความพร้อมในการเตรียมให้มีเครื่องกระตุกหัวใจ (AED) รองลงมาร้อยละ 40.74 ไม่มีอุปกรณ์สัญญาณเรียกฉุกเฉิน และพบว่า ร้อยละ 40.74 ไม่มีการจัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการป้องกัน ระงับอัคคีภัยและการช่วยฟื้นคืนชีพตามมาตรฐาน</p> ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์, สุภาวดี เลิศสำราญ, ภัทฐิตา พงศ์ธนา, สุจิตรา อู่รัตนมณี Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/273153 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ศักยภาพของเกษตรกร กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล และนวัตกรรมการจัดการที่มีต่อความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272804 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับตัวแปรศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน การมุ่งเน้นตลาดความสามารถในการแข่งขัน และความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย 2) อิทธิพลของตัวแปรศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน การมุ่งเน้นตลาดความสามารถในการแข่งขัน ที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย 3) สร้างแบบจำลองความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย ใช้การวิจัยแบบผสานผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย จำนวน 320 ตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบแบบเจาะลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งออกทุเรียนใน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน การมุ่งเน้นตลาด ความสามารถในการแข่งขัน และความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย อยู่ในระดับมาก 2) ศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน การมุ่งเน้นตลาดความสามารถในการแข่งขันที่มีต่อความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย และ 3) แบบจำลองความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีชื่อว่า PMCS Model (P = Potential, M = Market Oriented, C = Competitiveness, S = Success of durian farmers exporting) นอกจากนี้ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ<br />ยังพบว่า ในการสร้างความสำเร็จของเกษตรกร ผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนนั้น ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในการขายและการขนส่งโลจิสติกส์ภายใต้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และการใช้เทคโนลียีที่ทันสมัยมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรในการควบคุมขั้นตอนการปลูกและรักษาคุณภาพทุเรียนให้ตรงตามมาตรฐานเพื่อการส่งออก ผลของงานวิจัยนี้สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายในการดำเนินธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป</p> อัควัฒน์ เมธาจรัสสินทวี, ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา, บัณฑิต ผังนิรันดร์, ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์, ชมภู สายเสมา Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272804 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การลดคดีอาญาในกระบวนการยุติธรรมกับองค์กรพุทธตามหลักพุทธธรรม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272836 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การลดปริมาณผู้กระทำผิดในครั้งแรกและกระทำผิดซ้ำ และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมาประยุกต์ด้วยแนวคิดองค์กรพุทธศาสนาตามหลักพุทธธรรมเพื่อลดคดีอาญาในกระบวนการยุติธรรม 2) ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำของกระบวนการยุติธรรมสู่การปรับใช้แนวคิดองค์กรพุทธศาสนาตามหลักพุทธธรรมมาช่วยลดปัญหาอาชญากรรมและลดจำนวนผู้ต้องขัง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม 10 ราย พนักงานอัยการ 10 ราย ทนายความ 10 ราย ตำรวจ 10 ราย เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ 10 ราย ผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมทางศาสนา ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนา 10 ราย เจ้าอาวาส 10 ราย โรงเรียน ได้แก่ ผอ.โรงเรียนและครู 20 ราย วัยรุ่น 10 ราย และผู้ใหญ่ 10 ราย ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างความเข้าใจและเห็นธรรมชาติของความผิดที่เกิดขึ้น การสนับสนุนให้ผู้กระทำผิดได้รับการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิต ช่วยลดความเสี่ยงที่จะกลับมากระทำผิดอีกครั้งในอนาคต 2) ส่วนใหญ่มักจะมีความเห็นเชิงบวกต่อการปรับใช้แนวคิดพระพุทธศาสนาตามหลักพุทธธรรมเพื่อลดปัญหาอาชญากรรมและลดจำนวนผู้ต้องขังเพราะเห็นคุณค่าและประโยชน์ที่มากมายในการใช้หลักพุทธธรรมในชีวิตประจำวันและการแก้ไขปัญหาทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมและชุมชนในระยะยาว ดังนั้น การใช้หลักพุทธธรรมในการแก้ไขปัญหาทางสังคมยังสามารถสร้างความเข้าใจและความเอื้อเฟื้อในชุมชน และช่วยสร้างสังคมที่มีสันติภาพและความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในระยะยาวทำให้มีโอกาสลดปัญหาอาชญากรรมและลดจำนวนผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพในชุมชนและสังคมโดยรวม</p> ณพลเดช มณีลังกา Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/272836 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งสินค้าการเกษตร : กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุดรธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/265225 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่เสนอกับกรณีศึกษาการเลือกเส้นทางการขนส่งสินค้าทางถนนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษารูปแบบการขนส่งและกระจายสินค้าของสินค้าการเกษตร ศูนย์กระจายสินค้าการเกษตร ใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุดรธานี จำนวน 2,717 กลุ่ม เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือศึกษารูปแบบการขนส่งและกระจายสินค้าของสินค้าการเกษตร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สนับสนุนการตัดสินใจที่เสนอกับกรณีศึกษาการเลือกเส้นทางการขนส่งสินค้าทางถนนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุดรธานี สู่ศูนย์กระจายสินค้าการเกษตรจังหวัดอุดรธานี 2) รูปแบบการขนส่งศูนย์กระจายสินค้าการเกษตร Transportation with cross docking. กับ Milk runs รูปแบบการขนส่ง 2 แบบ ผลการเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งศูนย์กระจายสินค้าการเกษตร รูปแบบการขนส่ง Milk runs เป็นการให้บริการเชื่อมโยงภายในศูนย์กระจายสินค้าการเกษตรจังหวัดอุดรธานี อย่างเหมาะสม</p> สุรพงศ์ อินทรภักดิ์, กิตติภัทธ์ พลทัศน์โยธิน, พรชัย แย้มบาน Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/265225 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700