https://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/issue/feedวารสารสังคมศาสตร์วิชาการ2024-09-14T00:09:26+07:00ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จามรี พระสุนิลjamaree.pra@crru.ac.thOpen Journal Systems<p>วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ จัดทำโดยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 มาจนถึงปัจจุบัน โดย<span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่บทความ</span><span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา การพัฒนาชุมชน/สังคม สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงสหวิทยาการที่สอดคล้องกับบริบทสังคมปัจจุบัน</span><span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">ของนักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป</span> </p> <p>กองบรรณาธิการวารสารฯ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมาตรฐานของวารสารตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai - Journal Citation Index : TCI) อย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันได้ดำเนินการในรูปแบบของการตีพิมพ์ระบบ e- Journal </p> <p>วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ จึงเป็นวารสารที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานและทรรศนะทางวิชาการ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นแหล่งข้อมูลจากการเสนอผลงานวิจัย และงานวิชาการ<span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">แขนงต่าง ๆ </span>ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการเผยแพร่บทความจากคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิชาการทั่วประเทศทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย</p>https://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/article/view/272508การรับรู้คุณภาพการบริการของสายการบินในการเลือกใช้บริการของผู้โดยสารในประเทศไทย 2024-06-26T11:15:19+07:00สิริกร เลิศลัคธนาธารsiricru111@gmail.comเขมกร อภิชาติยะกุลsiricru111@gmail.comอำนาจ อัศวชัยกุลsiricru111@gmail.comวิชัย เปรมมณีสกุลsiricru111@gmail.comผกามาศ มุสิกะมาศsiricru111@gmail.comณฐินีพร ลาภจรัสมนธีร์siricru111@gmail.com<p>งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสารในการรับรู้คุณภาพการบริการ</p> <p>ผู้โดยสารของสายการบินในการเลือกใช้บริการสายการบิน 2. เพื่อศึกษาระดับการรับรู้คุณภาพบริการของสายการบินในการเลือกใช้บริการของผู้โดยสาร 3. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจคุณภาพการบริการผู้โดยสารของสายการบินจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพการบริการผู้โดยสารของสารการบินกับการเลือกใช้บริการสายการบิน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากลุ่มประชากรที่เป็นผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินในประเทศไทยช่วงระยะเวลา 1-2 ปี และมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มแบบสะดวก (Convenience Sampling) และการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยได้มีการแจกแบบสอบถามแก่กลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกด้วยการใช้ Google form จำนวน 200 ชุดและแบบเจาะจงกับผู้โดยสารบางอาชีพด้วยการใช้วิธีการแจกแบบเจาะจงด้วยตนเองจำนวน 200 ชุด เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วยส่วนปัจจัยส่วนบุคคลและส่วนการรับรู้คุณภาพการบริการผู้โดยสารของสารการบินในการเลือกใช้บริการสายการบิน การพัฒนาเครื่องมือมีการทดสอบความตรงเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีผู้เชี่ยวชาญ ได้ผลค่าความเที่ยงที่ยอมรับได้โดยมีค่า IOC ของเครื่องมือเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และการทดสอบค่าความเชื่อมั่นตามขั้นตอนทดลองสอบถาม แล้วนำหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับได้ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.905 ซึ่งมีความเชื่อมั่นสูง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน การรับรู้คุณภาพการบริการผู้โดยสารของสารการบินที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ แตกต่างกันในการเลือกใช้บริการสายการบินแตกต่างกัน โดยการทดสอบค่า t (t-test) และการทดสอบ One-Way ANOVA เพื่อทดสอบสมมติฐาน 3 ตัวแปร คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ โดยทดสอบสมมติฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพการบริการผู้โดยสารของสารการบินและการเลือกใช้บริการสายการบิน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลจากการศึกษาข้อ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้โดยสารที่เลือกใช้บริการสายการบินในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำแนกตามปัจจัยมีผลส่วนใหญ่แต่ละด้านได้ดังนี้ อายุ 50 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว ความถี่ในการใช้บริการสายการบิน 1-2 ครั้งต่อปี วัตถุประสงค์ของการเดินทางโดยใช้สายการบินเพื่อการท่องเที่ยว เดินทางโดยใช้บริการสายการบินพร้อมกับครอบครัวและญาติ และใช้บริการสายการบินไทยเวียตเจ็ทมากที่สุด</p> <p>ผลการศึกษาข้อ 2 พบว่า เพื่อศึกษาการรับรู้ระดับคุณภาพการบริการของผู้โดยสารในการเลือกใช้บริการสายการบิน ผลการศึกษาการรับรู้ระดับคุณภาพการบริการของผู้โดยสารในการเลือกใช้บริการสายการบิน พบว่าโดยภาพรวมในแต่ละด้านของคุณภาพการบริการของผู้โดยสารในการเลือกใช้บริการเที่ยวบินอยู่ในระดับมาก ( = 4.12) เมื่อพิจารณาจากคุณภาพการบริการ 5 ด้าน พบว่า ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.31) และน้อยที่สุดคือด้านความรวดเร็วในการตอบสนองต่อผู้โดยสารอยู่ในระดับมาก ( = 3.95) ตามลำดับ</p> <p>ผลการศึกษาข้อ 3 พบว่า ความพึงพอใจคุณภาพการบริการของผู้โดยสารที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินของเพศชายและหญิงมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุพบว่า กลุ่มอายุ 18-29 ปี มีการรับรู้คุณภาพการบริการของสายการบินที่ความแตกต่างจากกลุ่มอายุอื่นมากที่สุดในด้านความรวดเร็วในการตอบสนองต่อผู้โดยสารและด้านลักษณะทางกายภาพที่สัมผัสได้ ส่วนระดับการศึกษาพบว่า กลุ่มต่ำกว่าปริญญาตรีถึงปริญญาเอกมีการรับรู้คุณภาพการบริการของสายการบินทั้ง 5 ด้านไม่แตกต่างกัน และปัจจัยด้านอาชีพพบว่า นักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มอายุ 18-29 ปี มีการรับรู้คุณภาพการบริการของสายการบินที่แตกต่างจากกลุ่มอาชีพอื่นมากที่สุดในด้านลักษณะทางกายภาพที่สัมผัสได้</p> <p>ผลการศึกษาข้อ 4 พบว่า การทดสอบสมมติฐานสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อหาความสัมพันธ์รายคู่ระหว่างตัวแปรปัจจัยความพึงพอใจคุณภาพการบริการของผู้โดยสารที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการเที่ยวบิน พบว่า สหสัมพันธ์ในภาพรวมระหว่างตัวแปรปัจจัยความพึงพอใจคุณภาพการบริการของผู้โดยสารที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการเที่ยวบินมีทิศทางเป็นบวกมีค่าเท่ากับ 0.794 ส่วนผลสหสัมพันธ์รายคู่ทั้งหมดมีค่าเป็นบวกโดยสามารถเรียงลำดับความสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านความน่าเชื่อถือ 0.522 มากที่สุดและด้านความรวดเร็วในการตอบสนองต่อผู้โดยสาร 0.423 น้อยที่สุด โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>This research objectives aimed: 1) to study the factors of passengers’ personal towards the perception of passengers’ service quality of airlines, 2) to measure the perception of passengers’ service quality towards the selection of airline service, 3) to compare the satisfaction towards passengers’ service quality of airlines via personal factors, and 4) to study the relation between the perception of passengers’ service quality of airlines and selection of airline service.</p> <p>This quantitative research studied the population of domestic passengers travelling within 2 years. Using sample of 400 units, the sampling methods were convenience and purposive sampling.</p> <p> The research instrument was the 400 questionnaires in which was developed by IOC and reliable coefficient resultants, 1.00 and 0.905 respectively. The descriptive data analysis were frequency, mean and standard deviation. The inferential statistics for hypotheses testing were t-value, ANOVA to analyze the difference between groups of age, education and occupation, and the Pearson’s product-moment correlation coefficient to analyze the bivariate correlation between the factors of passengers’ service quality satisfaction towards the selection of flight service.</p> <p>The findings revealed that: As of objective 1, the study found that mostly the sample units were females. Mostly respondents regarding: the age was over 50 years old, the education was bachelor degree, the occupation was private business, frequency of using of airlines was 1 – 2 per year, travelling purpose was for tourism, travelling companion was family and cousin and the most used airline was Thai Vietjet airlines.</p> <p> As of objective 2, the study found that overall of passengers’ service quality towards the was at high level ( = 4.12). The five dimensions of passengers’ service quality were at high level and sorted in descending order as follows: assurance was at highest level ( = 4.31), and responsiveness was at high level ( = 3.95) respectively.</p> <p>As of objective 3, the satisfaction between male and female passengers were not different significantly. The hypothesis testing of age factor revealed that group of 18-29 years old perceived the passengers’ service quality of airlines differently from other groups in the dimensions of responsiveness and tangibles. Education groups were not different significantly and student group was the occupation that perceived the passengers’ service quality of airlines differently from other groups in the dimensions of tangibles.</p> <p>As of objective 4, the hypothesis testing by the Pearson’s product-moment correlation coefficient analyzing the bivariate correlation between the factors of passengers’ service quality satisfaction towards the selection of flight service revealed that: The overall correlation between the factors of passengers’ service quality satisfaction towards the selection of flight service was positive at 0.794. The bivariate correlations were in positive directions and can be sorted in descending order as follows: reliability 0.522, responsiveness 0.423 respectively at a significance level of 0.05</p> <p> </p>2024-07-15T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์วิชาการhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/article/view/271780การขับเคลื่อนสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จังหวัดสระบุรี2024-04-19T17:42:39+07:00อำนวย ปิ่นพิลาdr.amnuay_@hotmai.comเตวิช พฤกษ์ปีติtewitp@sau.ac.th<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการขับเคลื่อนสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จังหวัดสระบุรี 2) รูปแบบกระบวนการ แนวทางวิธีการขับเคลื่อนสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จังหวัดสระบุรีการวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดย 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 2)การสนทนากลุ่มและ 3) การจัดเวทีสาธารณะ กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 รายประกอบด้วยแกนนำของภาคประชาชน</p> <p>ผลของการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มีฐานรากมาจากระบบเศรษฐกิจและสังคม เป็นรูปแบบการบูรณาการผสมผสานความหลากหลายด้วยแนวคิด วิธีการและหลักการยังมีข้อจำกัดและไม่สามารถจัดรูปแบบสวัสดิการสังคมอย่างมีประสิทธิภาพได้ 2) รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเชิงสถาบันซึ่งรัฐเป็นศูนย์กลางในการให้บริการประชาชนโดยความร่วมมือของภาคประชาชน เป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้ตามสิทธิที่ประชาชนพึงได้รับ เป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานและรูปแบบการจัดสวัสดิการแบบพหุลักษณ์(Pluralism Model)ที่เน้นถึงความหลากหลาย แนวคิดผสมผสานกันจากหลายวิชาชีพ และการมีส่วนร่วมในฐานะ เจ้าภาพร่วม และ 3)การจัดสวัสดิการสังคมท้องถิ่น เป็นการผสมผสานระหว่างสวัสดิการสังคมกระแสหลักและกระแสรองซึ่งเป็นผลจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น</p> <p>This research aims to study: 1) guidelines for driving for the social welfare of quality of life by through public sector participation at Saraburi province. 2) the format, process, guidelines , method of work, driving for the social welfare of quality of life by through public sector participation at Saraburi province. The research uses qualitative research methods by 1) in-depth interviews 2) conversation group 3) the public arena with 150 users who are axis of the public.</p> <p>Research has found that 1) The in-depth interviews and a group conversation in accordance by public sector participation with the foundation of the social and economic. It is an integrated model combining diversity with concept, methods and principles are also limited. It can not be formulated effectively for social welfare. 2) The public arena of the axis public sector in 13 district at Saraburi province. It is consistent with group conversation and in-depth interviews are found that 1) The format for the Social Welfare of the Institution by the government to be a center for the services to the public with the cooperation of the people. It is a welfare of state that the government is based on the right to the people and welfare is a basic. 2) The Pluralism model focused on a wide range, the concept combines blend several professional organizations and participation as co-host. And 3) The Social Welfare Local is a mix between social welfare as primary and secondary. As a result of the enforcement of the decentralization act to the local.</p>2024-07-15T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์วิชาการhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/article/view/273200การวางแผนการเงินส่วนบุคคล พฤติกรรมการออม และสุขภาวะทางการเงิน ของพนักงานบริษัทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3 บริษัท ในจังหวัดราชบุรี2024-07-15T20:50:29+07:00ภูมภัสส์ รุ่งราษีphumpat.r@gmail.comทิพย์วัลย์ สุรินยาphumpat.r@gmail.com<p>วิด-19 ที่ทวีคูณมากขึ้นทุกวันและส่งผลกระทบไปทั่วโลกเป็นวงกว้าง การศึกษาการวางแผนทางการเงิน พฤติกรรมการออม และสุขภาวะทางการเงินจึงมีบทบาทอย่างมากกับชีวิตประจำวันเพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤติในอนาคต บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการวางแผนการเงินส่วนบุคคล พฤติกรรมการออม และสุขภาวะทางการเงินของพนักงาน 2) ศึกษาเปรียบเทียบสุขภาวะทางการเงิน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนการเงินส่วนบุคคล กับสุขภาวะทางการเงินของพนักงาน และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออม กับสุขภาวะทางการเงินของพนักงาน เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ พนักงานบริษัทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3 บริษัท ในจังหวัดราชบุรี จำนวน 150 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การวางแผนการเงินส่วนบุคคลและพฤติกรรมการออมของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่สุขภาวะทางการเงินของพนักงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2) พนักงานที่มีระดับการศึกษา ความสมดุลระหว่างรายรับรายจ่าย การจัดการหนี้สิน ภาพรวมของรายได้ ประสบการณ์ลงทุนหรือความรู้ในสินทรัพย์ และภาพรวมสินทรัพย์ ที่แตกต่างกันมีสุขภาวะทางการเงินแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001 3) พนักงานที่มี เพศ อายุ สถานภาพสมรส การเลือกออมเงินกับสถาบันการเงิน และมีบุคคลที่ต้องดูแลรับผิดชอบที่แตกต่างกันมีสุขภาวะทางการเงินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) การวางแผนการเงินส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะทางการเงิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5) พฤติกรรมการออมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะทางการเงิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p>2024-09-14T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์วิชาการhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/article/view/273804แนวทางป้องกันการกลายเป็นคนจนเมืองของแรงงานฟรีแลนซ์ ของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่2024-08-20T16:54:19+07:00ฐากูร ข่าขันมะลีthakhoon_kha@g.cmru.ac.th<p>งานวิจัยเรื่อง แนวทางป้องกันการกลายเป็นคนจนเมืองของแรงงานฟรีแลนซ์ ของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงบรรยาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำเสนอปฏิบัติการของแรงงานฟรีแลนซ์ และแนวทางป้องกันการกลายเป็นคนจนเมืองของแรงงานฟรีแลนซ์ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพของแรงงานฟรีแลนซ์สามารถแบ่งออกได้สองกลุ่มคือ กลุ่มแรงงานฟรีแลนซ์มั่นคง และกลุ่มแรงงานฟรีแลนซ์เปราะบาง โดยตัวชี้วัดสถานภาพของแรงงาน ฟรีแลนซ์คือ อำนาจในการต่อรอง โดยปฏิบัติการของแรงงานฟรีแลนซ์ มีการนำทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสัญลักษณ์ มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองกับ ผู้จ้างงาน ช่วงชิงโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ และต่อสู้กับโครงสร้างความเหลื่อมล้ำที่จะนำไปสู่การเป็นคนจนเมือง เพราะฉะนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการนำเสนอแรงงานฟรีแลนซ์ในฐานะผู้กระทำการทางสังคม (active actor) ผ่านปฏิบัติการในการต่อสู้ ต่อรอง เพื่อไม่ให้ตนเองตกเป็นคนจนเมือง และเพื่อให้แรงงานฟรีแลนซ์ที่มีเงื่อนไขในปฏิบัติการที่แตกต่างหลากหลาย จึงได้นำเสนอแนวทางอย่างเหมาะสม ทั้งในทางส่งเสริม และ ป้องกันการกลายเป็นคนจนเมืองของแรงงานฟรีแลนซ์ ของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> แรงงานฟรีแลนซ์ ปฏิบัติการ อำนาจในการต่อรอง คนจนเมือง</p>2024-09-14T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์วิชาการhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/article/view/273361แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลของโรงเรียนขยายโอกาสกลุ่มเครือข่ายเนินมะปราง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 22024-07-20T00:29:44+07:00ปฐมน คำแย้มpathamonbitebite@gmail.comวจี ปัญญาใสathamonbitebite@gmail.comศุภราภรณ์ ทองสุขแก้วpathamonbitebite@gmail.com<p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในโรงเรียนขยายโอกาสกลุ่มเครือข่ายเนินมะปรางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 13 คน ครู จำนวน 227 คน รวม 240 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง 2) เพื่อหาแนวทางการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ครูหัวหน้างานกิจการนักเรียน จำนวน 2 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ข้อที่ 1) สภาพปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล พบว่า 1) ด้านงานกิจการนักเรียน โรงเรียนควรสำรวจความต้องการของนักเรียนและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เสนอเนื้อหาที่ตนเองเน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม 2) ด้านงานส่งเสริมวินัย/คุณธรรม โรงเรียนควรส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ฝึกระเบียบวินัย/การแต่งกาย ทรงผม คุณธรรม ความเสียสละ 3) ด้านงานระบบดูแลช่วยเหลือ โรงเรียนควรให้ความสำคัญกับการเยี่ยมบ้าน และเสริมการสร้างภูมิคุ้มกัน แก้ไขปัญหาของนักเรียนผ่านทางกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต 4) ด้านงานสวัสดิการนักเรียน โรงเรียนควรอำนวยความสะดวกในกับนักเรียนทั้งในด้านสภาพแวดล้อม สาธารณูปโภคที่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน และจัดซื้อจัดหาเวชภัณฑ์พื้นฐานให้กับนักเรียน 5) ด้านงานส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโรงเรียนควรดำเนินโครงการที่มุ่งสอนหลักการและคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองที่ถูกต้อง</p>2024-09-14T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์วิชาการhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/article/view/273420ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ความไม่มั่นคงในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม และความสุขเชิงอัตวิสัยของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินแห่งหนึ่งในประเทศไทย2024-07-20T00:24:29+07:00ลลิตา เอี่ยมประดิษฐ์lalita.e@ku.thนรุตม์ พรประสิทธิ์Lalita.e@ku.th<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความเสี่ยงโรคติดเชื้อโควิด 19 ความไม่มั่นคงในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม และความสุขเชิงอัตวิสัยของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงโรคติดเชื้อโควิด 19 ความไม่มั่นคงในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคมและความสุขเชิงอัตวิสัยของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 196 คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ความเสี่ยงโรคติดเชื้อโควิด 19 ความไม่มั่นคงในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม และความสุขเชิงอัตวิสัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้ความเสี่ยงโรคติดเชื้อโควิด 19 ความไม่มั่นคงในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม และความสุขเชิงอัตวิสัยของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน อยู่ในระดับปานกลาง 2) การรับรู้ความเสี่ยงโควิด 19 มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขเชิงอัตวิสัยของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (r= -.208, p=.003) ความไม่มั่นคงในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขเชิงอัตวิสัยของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (r= -.245, p=.001) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (r= .640, p<.001)</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: การรับรู้ความเสี่ยงโรคติดเชื้อโควิด 19 ความไม่มั่นคงในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม ความสุขเชิงอัตวิสัย</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The objectives of this study were: 1) to study the level of risk perception of COVID-19, job insecurity, social support, and subjective well-being of flight attendants of an airline company in Thailand. 2) To study the relationship between risk perception of COVID-19, job insecurity, social support, and subjective well-being of flight attendants of an airline company in Thailand. The sample group is 196 flight attendants of an airline company in Thailand. The sampling is selected by systematic sampling method. Data is collected by using a questionnaire regarding risk perception of COVID-19, job insecurity, social support, and subjective well-being.</p> <p>The results of the research found that 1) the level of risk perception of COVID-19, job insecurity, social support, and the subjective happiness of flight attendants is at a moderate level. 2) Risk perception of COVID-19 is negatively related to subjective well-being of flight attendants (r= -.208, p=.003). Job insecurity is negatively related to Flight attendants' subjective well-being (r= -.245, p=.001). and social support is positively related to flight attendants' subjective well-being (r= .640, p< .001).</p> <p><strong>Keywords</strong>: Risk perception of COVID-19, job insecurity, social support, and subjective well-being</p>2024-09-14T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์วิชาการhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/article/view/273483เหตุใดบทละครเรื่องรามเกียรติ์ของรัชกาลที่ 1 ต้องเริ่มต้นที่ตอนหิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดิน2024-07-24T23:13:55+07:00ศิริพร สุวัฒนสุขsally_nui@hotmail.comอนันต์ เหล่าเลิศวรกุลsiribhorn.s@chandra.ac.th<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคตินารายณ์อวตารกับแนวคิดการสร้างกรุงเทพมหานครและการสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ที่ปรากฏในบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตามแนววรรณคดีศึกษา และใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร และวิเคราะห์เนื้อหาบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นนิทานพระรามฉบับไทยที่ยาวและสมบูรณ์ที่สุด แม้ว่าจุดมุ่งหมายหลักคือเล่าวีรกรรมอันกล้าหาญของพระรามในฐานะที่เป็นอวตารของพระนารายณ์ แต่ความที่เพิ่มเข้ามาในตอนต้นของรามเกียรติ์ฉบับนี้ คือ เรื่องหิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดินซึ่งเล่าเรื่องพระนารายณ์ทรงอวตารเป็นหมูป่าลงมาปราบอสูรร้าย แล้วขวิดเอาแผ่นโลกกลับคืนมา ต่อด้วยตอนกำเนิดท้าวอโนมาตัน กุมารผู้เกิดในดอกบัวจากนาภีพระนารายณ์ ยังแฝงนัยทางการเมืองอันแยบคายเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีว่า ทรงเป็นดั่งพระนารายณ์ผู้อวตารลงมาปราบยุคเข็ญแก่ชาวสยาม และทรงสิทธิ์โดยชอบที่จะปกครองกรุงเทพมหานครในฐานะที่เป็นกรุงอยุธยาหรือเมืองพระรามแห่งใหม่แทนราชวงศ์เดิมและนครหลวงเดิมของชาวสยามที่ล่มจมไปเพราะไฟสงคราม</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: รามเกียรติ์ ร. 1 หิรันตยักษ์ อยุธยา พระราม อวตาร</p> <p> </p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p> This research employs a literary approach to examine the principle of Vishnu’s incarnation in the context of Bangkok’s construction and the establishment of the Chakri Dynasty, as depicted in King Rama I’s play, <em>Ramakien</em>. Utilizing qualitative methods, documentary research, and content analysis, the study analyzes the play and its relevant theme in line with the research objectives.</p> <p> The finding reveals that the play <em>Ramakien</em>, composed by King Buddhayodfa Chulalok, represents the longest and most comprehensive Thai version of the Rāma story. While its main primary aim is to narrate the heroic exploits of Rāma as an avatar or incarnation of Lord Vishnu, it begins with an additional prologue about a demon named Hiranyak, who brings a dreadful calamity to humanity by rolling the earth’s surface and hiding it in the underworld. This narrative recounts Vishnu’s incarnation as a wild boar to defeat the evil demon and restore the earth. The story further introduces Anomātan, a child born from a lotus flower that emerged from Vishnu’s navel. This narrative subtly conveys political implications, legitimizing the reign of the first king of the Chakri Dynasty by portraying him as a Vishnu avatar who descends to alleviate the plight of the Siamese people. This portrayal justifies his right to rule over Bangkok as the new Ayodhyā, the city of Rāma, thereby replacing the fallen previous dynasty and capital, which had been ravaged by the fires of war.</p> <p><strong>Keywords </strong>: Ramakian, King Rama I, Hiranyak, Ayodhyā, Rāma, avatar</p>2024-09-14T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์วิชาการhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/article/view/272133การส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมในวัยเด็ก ด้วยทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ Skinner และทฤษฎีการรู้คิดทางสังคมของ Bandura2024-06-08T18:51:13+07:00อธิวัฒน์ รัตนวงศ์แขathiwat.rat@kbu.ac.thอรรควิช จารึกจารีตagkawitch.jar@kbu.ac.th<p>พฤติกรรมเอื้อต่อสังคม คือ การกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือสังคมโดยรวม ด้วยความเต็มใจและไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน ได้แก่ การช่วยเหลือ การแบ่งปัน และการปลอบโยน ซึ่งอาจทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลต้องเสียสละกำลังกาย ความคิด เวลา ทรัพย์สิน หรือบางครั้งอาจเสี่ยงต่อชีวิตของผู้กระทำได้ การส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมในวัยเด็ก สามารถประยุกต์การเรียนรู้จากการเสริมแรงของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ Skinner อาทิ หากเด็กแสดงพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมแล้วได้รับการเสริมแรงจากบุคคลรอบข้าง อาทิ คำชม รางวัล เบี้ยอรรถกร การให้ทำกิจกรรมที่ชอบ ฯลฯ ย่อมทำให้มีพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้สามารถส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมผ่านการเรียนรู้จากตัวแบบด้วยทฤษฎีการรู้คิดทางสังคมของ Bandura โดยการสังเกตจากตัวแบบที่เป็นบุคคลที่มีชีวิต อาทิ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท หรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ผ่านทางสื่อต่าง ๆ หากตัวแบบเหล่านี้เป็นแบบอย่างของพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมที่ดีแก่เด็ก จะทำให้มีโอกาสเกิดการเลียนแบบได้ง่าย นอกจากนี้ควรจัดประสบการณ์ให้เด็กได้พบกับตัวแบบที่ดี และมีการนำเสนอเรื่องราวของตัวแบบที่มีพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แนวโน้มในอนาคตอาจมีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ในการส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมเพิ่มมากขึ้นด้วย</p> <p>Prosocial behavior is the action of an individual or group of people that benefits others or society as a whole. With willingness and without expecting any benefit in return, including helping, sharing, and comforting. This may require a person or group of people to sacrifice their physical strength, thoughts, time, and property, or sometimes even risk the life of the perpetrator. Promoting prosocial behavior can be done by learning from reinforcement with Skinner's Operant conditioning theory, which states that if a childhood has prosocial behavior and receives reinforcement from those around him such as praise, rewards, token economy, favorite activities, etc., it will lead to Increased prosocial behavior. In addition can be done by learning from models in Bandura's social cognitive theory by observing living models such as parents, guardians, teachers, relatives, close friends, or symbolic models through various media. If these models are examples of good prosocial behavior for those around them, This will create an opportunity for easy imitation. In addition, experiences should be arranged for people to meet good models. And presenting stories of models with prosocial behavior through various media continuously. In the future, artificial intelligence technology may be increasingly used to promote prosocial behavior.</p>2024-07-15T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ