https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/issue/feed วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ 2024-06-24T00:00:00+07:00 Nathapassorn Krokklang cusri.journal@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>................................................................................................</strong></p> <p><strong>ชื่อวารสาร <br /></strong> วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ <span lang="TH">(Journal of Social Research and Review)</span></p> <p><strong>ISSN</strong> 3056-9508 (Online)<br /><br /><strong>จัดทำขึ้นโดย<br /></strong> สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ลิขสิทธิ์)</p> <p><strong>กำหนดออก </strong>2 ฉบับต่อปี <br /> - ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ<br /> - ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายขอบเขตการตีพิมพ์</strong><strong><br /></strong> วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทปริทัศน์หนังสือ และบทวิจารณ์หนังสือในด้านสังคมศาสตร์ การพัฒนาสังคม การวิจัยทางสังคม เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาหรือผู้ที่มีความสนใจ<br /><br /><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ <br /></strong> วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ (Page Charge)</p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269431 ความคิดทางการเมืองของ จิตร ภูมิศักดิ์ 2024-01-21T08:56:20+07:00 ฒาลัศมา จุลเพชร thalasama@hotmail.com <p>การศึกษาความคิดทางการเมืองของจิตร ภูมิศักดิ์ ใช้กรอบวิเคราะห์การศึกษาประวัติความคิดทางการเมืองของ ควอนติน สกินเนอร์ (Quentin Skinner) เพื่อเข้าใจความคิดของนักคิดคนหนึ่งอย่างถ่องแท้ จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจควบคู่กันไปทั้งตัวบทที่เป็นตัวแทนความคิดของนักคิด และบริบทที่เป็นเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมประวัติศาสตร์ อันมีอิทธิพลต่อการก่อตัวความคิดทางการเมืองของเขา<br /><br />จากการศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของจิตร พบว่า ภาษาทางการเมืองที่นักคิดใช้เป็นประจำและเน้นย้ำให้ความสำคัญมีดังนี้ ลัทธิรักชาติแบบรุนแรง (Radical patriotism) หมายถึง ความรักในปิตุภูมิที่บรรพบุรุษของตนได้สร้างไว้ รวมทั้งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมด้วยความยึดถือสืบต่อกันมา ชาติของจิตร หมายถึง ประชาชนส่วนใหญ่ในชาตินั้น ส่วนความเป็นสากล หมายถึง การเคารพเอกลักษณ์ของกันและกันอย่างเสมอภาค และจิตรพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมเพื่อคนส่วนใหญ่ ศาสนาพุทธมีคำสอนบางส่วนคล้ายวัตถุนิยมของลัทธิมาร์กซ์ แต่ส่วนใหญ่แล้วคำสอนมีความเป็นจิตนิยมมากกว่า การต่อสู้ทางชนชั้นในสังคมไทย งานเขียนของจิตรเริ่มอธิบายตั้งแต่เรื่อง การต่อสู้ของชนชั้นไพร่ จนมาถึงชนชั้นกลางที่ต่อสู้กับระบบศักดินาไทย และคลี่คลายขยายตัวทางประวัติศาสตร์มาตามลำดับ โดยเริ่มจากระบบการเกณฑ์แรงงาน จนมาถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคม และปริทัศน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269521 วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเชิงวิพากษ์: การเสริมพลังของชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 2023-12-22T08:28:40+07:00 สุเมษย์ หนกหลัง sumaten@g.swu.ac.th ทศพล วัฒนานุกูลวงศ์ sumaten@g.swu.ac.th <p>การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเชิงวิพากษ์ (Critical participatory action research: CPAR) เป็นวิธีวิทยาการวิจัยที่เน้นการเสริมพลังของชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ผ่านการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการหาทางออกของปัญหาสังคม โดยบูรณาการแนวคิดเชิงวิพากษ์สังคมและหลักการการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ที่นำไปสู่การปลดปล่อย (Emancipation) ซึ่งชุมชนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการวิจัยและการแก้ปัญหาทางสังคม โดยการร่วมกันในการระบุและวิเคราะห์ประเด็นสังคมของชุมชนและดำเนินการหาทางออกของปัญหา<br /><br />แนวทางการปฏิบัติของการวิจัยแบบ CPAR คือ การทำงานร่วมกัน การตัดสินใจแบบประชาธิปไตย มีเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน และการสะท้อนย้อนคิดการทำงานร่วมกัน แสดงให้เห็นว่าวิธีวิทยาการวิจัยแบบ CPAR เน้นการมอบอำนาจให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการวิจัยเชื่อว่าสังคมเปลี่ยนแปลงด้วยพลังการมีส่วนร่วมของชุมชนกันเอง และตระหนักต่อความยุติธรรมทางสังคม โดยบทบาทนักวิจัย เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวิจัยมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ โดยการสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมจากความรู้สึกเชื่อมั่นในกระบวนการวิจัยที่มีเป้าหมายสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคม และปริทัศน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/270222 กระบวนทัศน์การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมกับเด็กยุค Generation Z 2024-02-13T08:58:55+07:00 โชคอนันต์ รักษาภักดี r.chokanan@gmail.com สุมิตร สุวรรณ r.chokanan@gmail.com พัชราภา ตันติชูเวช r.chokanan@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมกับเด็กยุค Generation Z ซึ่งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้ ทักษะจากการเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียนมาปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย และมีจิตสำนึกสาธารณะที่ดีงาม มีปัญญาในการใช้ทักษะชีวิต การคิด การสื่อสาร การแก้ปัญหา และการใช้เทคโนโลยี สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นสิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญ และควรมีการจัดกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ตรงตามความต้องการของผู้เรียนกับเด็กยุค Generation Z โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เริ่มตั้งแต่การคิดออกแบบกิจกรรมการวางแผน การดำเนินกิจกรรม การประเมินผล และการได้ประโยชน์ร่วมกันในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคม และปริทัศน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/270140 งานสังคมสงเคราะห์ภายใต้ VUCA World: ข้อท้าทายด้านการจัดการเรียนการสอน การฝึกภาคปฏิบัติ และการสร้างความตระหนักด้านจริยธรรมในการทำงานกับผู้ใช้บริการ ในประเทศไทย 2024-02-13T09:24:18+07:00 ทรงศักดิ์ รักพ่วง songsak.rakpuang@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบาย วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานสังคมสงเคราะห์กับข้อท้าทายด้านต่าง ๆ แบ่งการนำเสนอเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ข้อท้าทายในด้านการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน ข้อท้าทายต่อการฝึกภาคปฏิบัติ ข้อท้าทายต่อการสร้างความตระหนักด้านจริยธรรมในการทำงานกับผู้ใช้บริการ และบทสรุปจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับ VUCA World หรือสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนไม่แน่นอน สลับซับซ้อน ไม่ชัดเจน ก่อให้เกิดความท้าทายทั้งในด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่องค์ความรู้ต้องเท่าทันสถานการณ์ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวหนุนเสริมในการจัดการเรียนการสอน รวมถึงข้อท้าทายต่อการฝึกภาคปฏิบัติ ที่ต้องปรับรูปแบบให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะของผู้เรียน ตลอดจนข้อท้าทายต่อการสร้างความตระหนักด้านจริยธรรมในการทำงานกับผู้ใช้บริการ ที่ต้องจัดการกับความย้อนแย้งและการขยายขอบเขตด้านจริยธรรมให้กว้างขวางขึ้น และการให้ความสำคัญกับกฎหมาย PDPA อย่างไรก็ตามข้อท้าทายเหล่านี้ไม่ควรเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ควรพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในการพัฒนาคุณภาพด้านสังคมสงเคราะห์อย่างยั่งยืน</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคม และปริทัศน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/270755 การศึกษาการบริหารงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 2024-03-10T18:47:58+07:00 อุดมศักดิ์ สันสมบัติ udomsak333@gmail.com ธารารัตน์ มาลัยเถาว์ udomsak333@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 และเปรียบเทียบการบริหารงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 458 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) และตารางสำเร็จรูปของ Krejcie &amp; Morgan วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยการวิเคราะห์ความแปรแปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และเมื่อพบว่ามีความแตกต่างค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s)<br /><br />ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.33, S.D. = 0.50 และการเปรียบเทียบการบริหารงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ตามพื้นที่การจัดการศึกษา พบว่า มีการบริหารงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s) พบว่า มีพื้นที่การจัดการศึกษาต่างกัน จำนวน 2 คู่ ได้แก่ อำเภอพานกับอำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอป่าแดดกับอำเภอเวียงป่าเป้า</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคม และปริทัศน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/268817 การศึกษาความสำคัญของปัจจัยในการจัดการป่าชุมชนตามความคิดเห็นของประชาชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนดอนยางตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2023-12-04T17:13:53+07:00 ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์ thanongsak170226@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยในการจัดการป่าชุมชนดอนยาง เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยในการจัดการป่าชุมชนดอนยาง จำแนกตามคุณลักษณะทางประชากร และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของการจัดการป่าชุมชนดอนยาง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าชุมชนดอนยาง 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหัวขวา หมู่ที่ 8 และ 12 และบ้านหัวหนอง หมู่ที่ 11 จำนวน 170 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test (Independent samples) และ F-test (One way analysis of variance) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา<br /><br />ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยที่มีความสำคัญในการจัดการป่าชุมชนดอนยางโดยรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านการพัฒนา ด้านการอนุรักษ์ ด้านการฟื้นฟู และด้านการควบคุมดูแล โดยประชาชนที่มีคุณลักษณะทางประชากรและระยะเวลาในการตั้งครัวเรือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อความสำคัญของปัจจัยโดยรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาอุปสรรค คือ ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ ขาดความสนใจและจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่า</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคม และปริทัศน์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/270666 นวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ 2024-03-09T16:44:48+07:00 ชัชชาย จีระวัฒน์วงศ์ 658914027@crru.ac.th ประเวศ เวชชะ 658914027@crru.ac.th พูนชัย ยาวิราช 658914027@crru.ac.th <p class="106" style="margin-right: -1.4pt; text-indent: 0cm; tab-stops: 318.95pt;"><span lang="TH">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอนวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ (</span>Artificial intelligence era) <span lang="TH">ด้วยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (</span>Community-based participatory research: CBPR) <span lang="TH">ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยโดยใช้การสนทนากลุ่ม และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ศึกษานิเทศก์ คณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง<br /><br /></span>ผลการศึกษาพบว่านวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ ต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ และแผนที่ยุทธศาสตร์ ซึ่งได้กำหนดแผนที่ยุทธศาสตร์ ตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) ทั้ง 4 ด้าน ภายใต้ทฤษฎีการบริหาร Balance scorecard (BSC) ใน 4 มิติ ประกอบด้วย มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพกระบวนการภายใน และมิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากร โดยทั้ง 4 มิติ <br />แสดงถึงความเชื่อมโยงไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ </p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคม และปริทัศน์