วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal
<p><strong>................................................................................................</strong></p> <p><strong>ชื่อวารสาร <br /></strong> วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ <span lang="TH">(Journal of Social Research and Review)</span></p> <p><strong>eISSN</strong> 3056-9508 (Online)<br /><br /><strong>จัดทำขึ้นโดย<br /></strong> สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ลิขสิทธิ์)</p> <p><strong>กำหนดออก </strong>2 ฉบับต่อปี <br /> - ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ<br /> - ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายขอบเขตการตีพิมพ์</strong><strong><br /></strong> วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทปริทัศน์หนังสือ และบทวิจารณ์หนังสือในด้านสังคมศาสตร์ การพัฒนาสังคม การวิจัยทางสังคม เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาหรือผู้ที่มีความสนใจ<br /><br /><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ <br /></strong> วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ (Page Charge)</p>สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยth-THวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์3056-9508<p>1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง<br>2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์</p>Foregrounding Marginalized Voices: Evaluating Deliberative Capacities in the Policy Process of the Agricultural Sector in Siquijor, Philippines
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/270380
<p>This paper critically evaluates how agricultural sectors in Siquijor, Philippines, navigate around deliberative policy analysis and deliberative capacities to correspond to participatory policy processes. In a case study through informant interviews and secondary data, we identified sectoral involvement in the policy process (agricultural agenda, involvement in policy-making, and implementation), which is linked to how the sector and society advance deliberative capacities. Mindful of the deliberative approach principles, the work contends that deliberative capacities of the marginalized are critical in genuinely addressing sectoral problems and public concern - that is, fundamental to strengthening within the sector-civil society-government dynamics of doing policy analysis.</p>Noe John Joseph SacramentoClyde Andaya Maningo
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-232024-09-23472สถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/270097
<p>เขตพื้นที่ชายแดนภาคตะวันตกประเทศไทยเป็นดินแดนติดกับประเทศเมียนมา มีช่องทางในการเข้าออกของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพระหว่างประเทศ จึงมักพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพอย่างไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ชายแดน ผู้วิจัยจึงเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้และต้องการทราบสถานการณ์ยา<br />และผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดน เพื่อจะนำไปสู่การเฝ้าระวัง การให้ความรู้แก่ประชาชน ตลอดจนพัฒนาระบบสาธารณสุขของพื้นที่เขตชายแดน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี โดยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้วิธีการสุ่มแบบตามสะดวก ได้กลุ่มตัวอย่าง 95 คน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีประวัติได้รับยาในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 70 คน ยาที่มีความชุก 3 อันดับแรก ได้แก่ ยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพร และยาชุด ตามลำดับ โดยส่วนมากใช้ยาเพื่อรักษาโรค ผู้ที่ใช้ยาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรและรับจ้าง แหล่งจำหน่ายยาส่วนใหญ่<br />มาจากโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ยาส่วนใหญ่เป็นยาที่มาจากประเทศไทย รองลงมาเป็นประเทศเมียนมา และไม่พบการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ดังนั้นการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมบริเวณเขตพื้นที่ชายแดนยังคงเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง</p>ชินวัจน์ แสงอังศุมาลีสันติ โฉมยงค์ผการัตน์ ตั้งเขื่อนขันธ์สุญาณี พงษ์ธนานิกรกมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุลปณิธิ วิจินธนสาร
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-072024-10-07472ประสบการณ์และความคิดเห็นข้ามเพศต่อกระบวนการเกณฑ์ทหารและการเข้าสู่กระบวนการ ขอใบรับรองแพทย์ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269582
<p>การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์และความคิดเห็นของคนข้ามเพศต่อกระบวนการเกณฑ์ทหาร การเข้าสู่กระบวนการขอใบรับรองแพทย์ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด และการระบุผลการตรวจร่างกายในใบรับรองแพทย์ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดและแบบ สด.43 โดยใช้วิจัยแบบผสมผสาน คือ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 78 คน และด้วยแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับประสบการณ์ของคนข้ามเพศต่อกระบวนการเกณฑ์ทหาร และการขอใบรับรองแพทย์ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด ร่วมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าคนข้ามเพศต้องเผชิญปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ความกลัว ความวิตกกังวล ความกังวลใจต่อถ้อยคำที่ถูกระบุในใบรับรองแพทย์ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดและแบบ สด.43 ส่งผลให้ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารและการดำเนินชีวิต รวมทั้งภาครัฐยังไม่มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน ระยะเวลาในการขอ ลำดับการเข้าพบสหวิชาชีพ และคำถามที่ใช้ถามเพื่อวินิจฉัย จึงมีข้อเสนอแนะการวิจัยต่อการดำเนินการของภาครัฐ ควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่จำเป็นและชัดเจน แนวทางการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเป็นการปฏิบัติต่อคนข้ามเพศอย่างเท่าเทียมภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน</p>รณภูมิ สามัคคีคารมย์อสมาภรณ์ ทิมฉิม
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-282024-10-28472The Marcos-Duterte Dynastic Regime in the Philippines: How Long Will It Last?
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269641
<p>Philippine politics has traditionally been shaped by dynastic interests and patron-client relationships. When the Marcos dictatorship was toppled in 1986, the country saw a succession of liberal democratic regimes. However, the Marcoses and Dutertes, two major dynasties, have undermined this democracy while maintaining dynastic politics and clientelism. As with any opportunistic alliance between elite families, the Marcos-Duterte pact was expected to dissolve quickly. This paper examines key developments that led to the unraveling of their alliance, highlighting how the competing political strategies they employed for their survival reflect the dynamics of dynastic, patronage, and clientelist politics. In addition to this prevailing view of Philippine politics, the paper examines the role of civil society in negotiating and contesting national politics, influenced by their collective historical experiences and a culture that emphasizes obedience and individual survival over collective welfare.</p> <p>Furthermore, the study links the breakdown of the Marcos-Duterte alliance to geopolitical tensions between the US and China. The Philippines' strategic location in the Pacific positions it as a crucial area of interest for both superpowers. While the Marcoses lean towards the US, the Dutertes favor China, thereby implicating their political survival in the escalating geopolitical tensions while also making Philippine politics a battleground for these competing influences. Ultimately, the dissolution of the Marcos-Duterte alliance raises important questions about the future of Philippine politics, emphasizing the need for ordinary Filipinos to reclaim and reshape their political landscape for a more inclusive future.</p>Walden BelloBianca MartinezRaphael Baladad
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-242024-10-24472