วารสารวิจัยสังคม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal <p><strong>.................................................................................................</strong></p> <p><strong>ชื่อวารสาร: </strong>วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ <span lang="TH">(Journal of Social Research and review)</span><strong><br /></strong></p> <p><strong>ISSN:</strong> XXXX - XXXX (online)</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่: </strong>2 ฉบับ ต่อ ปี<br /> ฉบับที่ 1 มิถุนายน <br /> ฉบับที่ 2 ธันวาคม</p> <p><strong>Publisher </strong><strong>: </strong>สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ลิขสิทธิ์)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong><strong><br /></strong> 1) เพื่อเผยแพร่บทความพิเศษ บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์และบทวิจารณ์หนังสือด้านสังคมศาสตร์ การพัฒนาสังคม การวิจัยทางสังคม<br /> 2) เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาหรือผู้ที่มีความสนใจ</p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหา</strong><strong><br /> </strong>บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ การพัฒนาสังคม การวิจัยทางสังคม</p> <p><strong>................................................................................................</strong></p> th-TH <p>1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง<br>2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์</p> [email protected] (Wichaya Komin) [email protected] (นางสาวณัฐภัสสร กรอกกลาง) Fri, 19 Jan 2024 10:56:45 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269752 <p>บทความในวารสารวิจัยสังคม ปีที่ 46 ฉบับที่ 2 นี้ มีบทความวิจัย จำนวน 5 บทความ และบทปริทัศน์หนังสือ จำนวน 1 บทความ เนื้อหาของบทความที่หลากหลาย เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อม และสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน บทความวิจัยทั้ง 5 บทความได้นำเสนอสถานการณ์และข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค</p> กองบรรณาธิการ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยสังคม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269752 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ฉากสุดท้ายในคืนฝันของฆาตกร รวมเรื่องสั้นจากโครงการการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 6 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/268744 <p><span class="TextRun SCXW116630983 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW116630983 BCX0"> </span></span>‘ฉากสุดท้ายในคืนฝันของฆาตกร’ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นจากโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 6 จัดโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ซึ่งได้รวบรวมงานเขียนประเภทเรื่องสั้นไว้หลากเรื่องราว ร้อยเรียงความคิดจากนักเขียนหลายอาชีพ สร้างความประหลาดใจ ความฝันไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์<br /> ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ คือ เป็นผลงานล้ำค่าที่กลั่นกรองจากความคิดและประสบการณ์ของผู้ประพันธ์ แสดงให้เห็นว่างานวรรณกรรมเป็นงานเขียนที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ กลวิธีการเล่าเรื่อง กระบวนการขั้นตอนที่ลึกซึ้ง ซึ่งหนังสือเล่มนี้สามารถหลอมรวมกับศาสตร์อื่นได้อย่างน่าพิศวง เกิดเป็นผลลัพธ์ของการผสมผสานระหว่างวรรณกรรม สังคม และวิทยาศาสตร์ เป็นการหยิบยกองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเผยแพร่ผ่านจินตนาการของนักเขียน เกิดเป็นเรื่องราวน่าสนใจ ชวนติดตาม ให้ผู้อ่านสนุกไปกับเรื่องราววิทยาศาสตร์ในจินตนาการไปด้วยกัน</p> ณัฐกรณ์ สร้อยสนธิ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยสังคม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/268744 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสังเคราะห์องค์ความรู้สถานการณ์ความเสี่ยง และการฟื้นฟูชีวิตของแรงงานนอกระบบ กรณีการระบาดของโรคโควิด-19 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/268794 <p> การสังเคราะห์องค์ความรู้สถานการณ์ความเสี่ยง และการฟื้นฟูชีวิตของแรงงานนอกระบบ มีเป้าหมายเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ สถานการณ์ปัญหา และแสวงหาแนวทางการฟื้นฟูงานและชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานนอกระบบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการจัดสนทนากลุ่มกับนักวิชาการ นักพัฒนา และผู้แทนแรงงานนอกระบบแต่ละกลุ่มอาชีพ จำนวน 7 ครั้ง ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ทำการผลิตที่บ้าน 2) กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย 3) กลุ่มพนักงานนวดและพนักงานร้านอาหาร 4) กลุ่มคนขับแท็กซี่และจักรยานยนต์รับจ้าง 5) กลุ่มคนถีบสามล้อ 6) กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน 7) กลุ่มคนเก็บและคัดแยกของเก่า ระหว่างวันที่ 2 – 30 กรกฎาคม 2564 มีผู้ร่วมประชุม รวม 37 คน<br /> ผลการศึกษา พบว่า แรงงานนอกระบบเผชิญปัญหาความเสี่ยงก่อน การระบาดและการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดปัญหาการประกอบอาชีพ ปัญหาด้านรายได้ หนี้สิน และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งถือเป็นปัญหาร่วมที่สำคัญของแรงงานนอกระบบทุกกลุ่ม ในขณะที่แนวทางการฟื้นฟูงานและชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานนอกระบบ จำเป็นต้องส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงงานและรายได้ที่มีความมั่นคง เข้าถึงทรัพยากรและทุนการประกอบอาชีพ ได้รับการดูแลสุขภาพ การคุ้มครองทางสังคม การส่งเสริมการรวมกลุ่ม และการพัฒนาทักษะ ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานด้านการทำงาน สวัสดิการ การคุ้มครองทางสังคม อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน</p> บวร ทรัพย์สิงห์, กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล, อุ่นเรือน เล็กน้อย, วิชยา โกมินทร์, มนทกานต์ ฉิมมามี Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยสังคม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/268794 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 Towards a Just Urban Transition: promises and pitfalls for Asian cities https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269433 <p> Despite mounting global attention to the need for Just Transition, there is a gap in scholarship that examines the complex implications of these shifts in cities-moreover, a lack of attention to just urban transition in cities of the Global South. Drawing from the literature review and purposive interviews, this article proposes key principles to guide a just urban transition and discusses various themes and examples from the perspective of Asian cities. These include density, 15-minute cities, smart cities, urban greening, and good green jobs.</p> โคลอี พอททิงเจอร์-กลาส Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยสังคม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269433 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน: ด้านคุณธรรม จริยธรรม ของบุคลากรสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269400 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านคุณธรรม จริยธรรม ของสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อได้แนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ภายในองค์กรภาครัฐ ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีคุณธรรม จริยธรรม ของสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรีต่อไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรในสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 13 คน และใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อหาข้อสรุปและตีความข้อค้นพบ<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการวางแผน มีการวางแผนและการขับเคลื่อนโครงการ โดยการวางแผนจำแนกออกเป็น 2 ประเด็น คือ ด้านบทบาทผู้บริหารและความพยายามริเริ่มของหน่วยงานในการสร้างความโปร่งใส การเสริมสร้างองค์กรคุณธรรม พอเพียง วินัย จิตอาสา กตัญญู และการขับเคลื่อนโครงการมี 4 แนวทาง 2) ด้านการปฏิบัติงาน มีแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการเสริมสร้างองค์กร โดยมีวิธีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ บุคลากรในสังกัดมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแผนคุณธรรม คุณธรรมเป้าหมาย 4 ประการ ดำเนินกิจกรรมภายใต้คุณธรรมเป้าหมาย 4 ประการ การให้รางวัล การกล่าวชื่นชม/คำขอบคุณ และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมในด้านคุณธรรม จริยธรรม 3) ด้านการประเมิน มีตัวชี้วัดการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติงานและด้านเอกสาร</p> ปนัดดา ทองเย็น, ธัญลักษณ์ กิ่งมณี, รจนาภรณ์ ศรีช่วงโชติ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยสังคม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269400 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 From Layering to Conversion Investigating ASEAN's Gradual Shift in Dealing with Transboundary Haze Pollution (2015-2016) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269309 <p> นับตั้งแต่มีการดำเนินการตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน (AATHP) ในปี พ.ศ. 2546 อาเซียนได้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 - 2563 จากกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบ layering เป็น แบบ conversionซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสถาบันดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเพิ่มองค์ประกอสนับสนุนและผู้มีบทบาทในการดำเนินการตามข้อตกลงระดับภูมิภาค รวมทั้งการนำโรดแมปอาเซียนปลอดหมอกควันข้ามแดน (พ.ศ. 2559 - 2563) มาใช้โดยมีการตีความบางมาตราของความตกลง AATHP ใหม่ให้อยู่ภายใต้การดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์ของโรดแมปอาเซียนปลอดหมอกควันข้ามแดนเพื่อจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าวอย่างครอบคลุม อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสถาบันอาเซียนจากแบบ layering เป็น conversion ในระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2559 ยังคงเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้สำรวจ<br /> การศึกษานี้ใช้กรอบทฤษฎีเชิงพลวัตของ Koreh et al. (2019) เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับสถานการณ์และผู้มีบทบาทหลักที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงสถาบันของอาเซียนในช่วงปี พ.ศ. 2558 - 2559 ข้อค้นพบของการศึกษานี้ ได้เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการอาเซียน โดยเฉพาะคณะกรรมการขับเคลื่อนระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (MSC-Mekong) ซึ่งนำโดยประเทศไทย และรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียนภายใต้การประชุมประเทศภาคีต่อความตกลงระดับภูมิภาคดังกล่าว (COP) การศึกษานี้ยังพบว่ามีเหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2558 โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตหมอกควันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยากระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันของอาเซียนในการพัฒนาการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างภูมิภาคดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่การดำเนินการโรดแมปอาเซียนปลอดหมอกควันข้ามแดนในปี พ.ศ. 2559 กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ได้เพิ่มความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายของอาเซียนในการกำจัดหมอกควันให้หมดสิ้นภายในปี พ.ศ. 2563 รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นในการจัดการกับมลพิษหมอกควันข้ามพรมแดนทั่วทั้งภูมิภาคด้วย</p> ภูริดา จารุสมบัติ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยสังคม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269309 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 เพื่อนสัมพันธ์: เป็นมากเกินกว่าเพื่อน แต่ไม่ใช่คนรัก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269321 <p> มีวิธีวิทยาจำนวนมากที่จะนำผู้วิจัยให้สามารถแสวงหาความรู้ ความจริง ความดี ความงามได้ วิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณาก็เช่นกัน ที่สามารถเข้าถึงความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งในพื้นที่ออนไลน์และออฟไลน์ตามวิธีการของ Professor Robert V. Kozinets โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเด็นที่ต้องการศึกษามีความละเอียดอ่อนต่อการให้ข้อมูลและการเปิดเผยความจริง ผู้วิจัยจึงเลือกวิธีวิทยานี้ในการแสวงหาข้อมูล ผ่านชายรักชาย 5 คู่ ที่มีสถานะเพื่อนสัมพันธ์ โดยใช้ระยะเวลาศึกษาทั้งสิ้น 8 เดือน เริ่มตั้งแต่กุมภาพันธ์ ถึง ตุลาคม 2566<br /> ผลการศึกษา พบว่า สถานะเพื่อนสัมพันธ์ (Friends with benefits relationships : FWBRs) เป็นสถานะหรือความสัมพันธ์ที่มีความแตกต่าง จากคู่รักทั่วไปอาจเพียงแค่ประการเดียว คือ การตัดสินใจคบหาดูใจ เพราะในรายละเอียดของสถานะนี้นั้น ต้องมีความไว้วางใจ รู้ใจ และสามารถเป็นที่ปรึกษาของกันและกันได้ และก็ไม่สามารถปฏิเสธได้อีกเช่นกันว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ปรากฏการณ์ FWB เกิดขึ้นในวงกว้างตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ก็คือ สังคมที่ บ่มเพาะการไม่ยอมรับ สังคมแห่งการตีตรา สังคมแห่งการดูถูก จึงส่งผลให้บุคคลจำเป็นที่จะต้องแสวงหาทางออก เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง</p> เบญจรงค์ ถิระผลิกะ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยสังคม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/269321 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700